เรากำลังติดคำว่า "ครูที่ดี มากกว่า ครูที่โค้ช"


การเรียนการสอนให้เป็นครูในทุกๆวันนี้ เรายังติดคำว่าครูที่ดี มากกว่าการเป็นครูที่โค้ช หมายความว่า เรากำลังจะบอกว่าการเป็นครูที่ดี(แบบปัญญาจริยะตะวันออก)สำคัญกว่าการโค้ช(แบบตะวันตก) เเละมันมีนัยยะ มีหลายประการที่เราต้องเข้าใจเเละพยายามข้ามพ้นให้ได้ ไม่งั้นเราก็จะย่ำอยู่ที่เดิม เเล้วจินตนาการไปว่าเราปฏิรูปแบบไทยๆ

เมื่อเราพูดถึงครูที่ดี เรามักจะตีความว่า ครูต้องเป็นเเม่พิมพ์ เคร่งระเบียบ เรียบร้อย เเละน่าเคารพเกรงขาม เเต่ทว่ายุคสมัยนี้ที่เรากำลังจะก้าวข้ามให้การศึกษาแบบศตวรรษที่ ๒๑ เจริญงอกงาม "มันไม่สอดคล้องกับการตีความอย่างนั้นของเราเลยเสียทีเดียว นี่สิ" มันจึงเป็นมายาคติของการฝึกครูให้เป็นผลผลิตของระบบการศึกษาแบบเดิมอยู่ดี เช่น บอกว่าตนเป็นเเม่พิมพ์เเล้วพยายามสร้างโรงพิมพ์ให้เด็กมีพิมพ์เดียว เขียวทั้งโรงเรียน เคร่งระเบียบ เพราะตีความว่า ระเบียบ คือ จุดเริ่มต้นของคนดี "เราจะสร้างคนดี" เเละปรารถนาความเคารพน่าเกรงขาม โดยเลยไปว่าเราเเละเด็กคนละ Gen กัน ในขณะที่ครูที่เป็นโค้ช จะหันมาเล่นเพื่อเรียน ออกนอกห้องเพื่อเรียนรู้ เเละกล้าหาญในการออกนอกกรอบเพื่ออภิวัฒน์การศึกษาตามแนวทางของตนเอง

จะเห็นว่าความเป็นครูที่ดีกับครูที่โค้ชต่างกัน เเต่มิได้หมายความว่า ความเป็นครูที่ดีนั้นไม่ดี เเต่ความเป็นครูที่ดีควรพยายามข้ามพ้นให้ตนเองเป็นครูที่โค้ชด้วย การเป็นเเม่พิมพ์ เราอาจเปลี่ยนเป็นนักเติมฝัน จากเคร่งระเบียบเปลี่ยนเป็นยืดหยุ่น จากต้องการความเคารพเปลี่ยนเป็นหาวิธีการที่สร้างสรรค์ให้นักเรียนเคารพ เป็นต้น

ทางออก คือ เราต้องให้ความสำคัญกับครูที่โค้ช มากกว่าครูที่ดี เราจึงจะข้ามพ้นระบบสารัตถเดิมไปได้

หมายเลขบันทึก: 621338เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2017 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มกราคม 2017 20:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แวะมาเยี่ยมยาม บทความดีมากครับ ปีนี้ทำงานหรือยังท่าน

"ครูที่ดี" กับ "ครูที่โค้ช" เป็นคนเดียวกันเสมอไปหรือไม่ มีครูที่ดีที่โค้ชไม่เป็นไหม? มีครูที่โค้ชเป็นโค้ชเก่งและเป็นครูที่ไม่ดีหรือไม่? หรือปัจจัยนั้นขึ้นอยู่กับอะไร?

มีอาจารย์ผู้ใหญ่บอกกับผมวันหนึ่งว่า "เมื่อศิษย์เกิดขึ้น วันนั้นจะมีครู" บางที่การเรียนรู้ที่ดี อาจจะไม่จำเป็นต้องมี "ครูที่มีตัวตนก็ได้" ไหม?

การศึกษา อาจต้องหันมามองคำว่า "ศิษย์มีครู" หรือ "ศิษย์ไม่มีครู" ซึ่งคำแรกน่าจะเป็นถ้อยความจำที่ครอบงำการศึกษาไทยมานาน (ว่าจะดีต้องศิษย์มีครู) ทั้งที่ความจริงศิษย์แบบหลังนั้น มีพลังสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ได้มากกว่า

ว่ามั้ยแสน.....

วันก่อนได้พาน้องๆไปเรียนรู้อาชีพในชุมชน ที่ค่ายมวยเพชรเจริญวิทย์

น้องๆ ไปถึงค่ายมวยก่อนเวลานัดนิดหนึ่ง มันน่าประหลาดมากที่ไม่ถึง5นาที นักมวยทุกคนมาพร้อมเพียงกันดีมาก แต่งตัวเรียบร้อย คนที่ครูประทับใจมากที่สุดคือเจ้าของค่ายมวย จบป4

ประทับใจมากที่ครูถามเจ้าของค่านมวยเขาว่าอะไรคือปัจจัยแห่งความสำเร็จของค่าย

เขาบอกว่าความมีวินัย

กุมารดอยค่าตัว90,000และได้แชมประเทศไทยเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว

ถามว่าเขาเป็นครูที่ดี หรือเป็นครูที่โค๊ช

แต่ที่ชอบมากที่สุด คือคนที่อยู่ตรงกลาง คือคู่ซ้อม ถ้าไม่มีเขา ไม่มีกุมารดอย เขาเป็ครูที่ดีหรือเป็นครูที่โค๊ช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท