ไปเยี่ยมเครือข่าย “มูลนิธิข้าวขวัญ” จังหวัดสุพรรณบุรี


ความรู้ที่เรามีอยู่ในตัวตนของทุกความรู้ เราอาจจะหยิบใช้มันอย่างไม่รู้ตัว เพราะเป็นองค์ความรู้ที่ซ่อนเร้น

                 ถึงแม้น้ำจะท่วม  แดดจะร้อน  และฝนจะแล้ง  แต่เมื่อเพื่อนจัดงาน ตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้ เราก็ต้องไป  ซึ่งงานดังกล่าวได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 21 พฤศจิกายน 2549    มูลนิธิข้าวขวัญ  จังหวัดสุพรรณบุรี

     ภาพที่ 1  เปิดตลาดนัดเครือข่ายการจัดการความรู้ โดย คุณเดชา  ศิริภัทร

      49112101.gif

     ภาพที่ 2  รวมพลคนสัมพันธ์กับ KM (ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช , จนท. กสก.ส่วนกลาง , สำนักงานเกษตร

                   จังหวัดสุพรรณบุรี  และเกษตรกร)

          49112104.gif

                ในงานตลาดนัดแห่งนี้เป็นการเรียนรู้ตาม อัธยาศัย  ใครสนใจอะไรและใครอยากเรียนรู้อะไร ก็เข้าไปศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเองตามบอร์ดนิทรรศการต่าง ๆ หรือผู้รู้ที่ประจำซุ้ม หรือของจริงและของจำลอง ที่เจ้าภาพได้ออกแบบและเชิญชวนเจ้าขององค์ความรู้เข้ามาร่วมจัดงานในครั้งนี้

     ภาพที่ 3  บรรยากาศของการเรียนรู้ตามอัธยาศัย ของแต่ละบุคคลจากสื่อต่าง ๆ

          49112102.gif          49112103.gif

                แต่มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ของการจัดการความรู้ (KM) ก็คือ เจ้าขององค์ความรู้ หรือ Best Practice เป็นตัวอย่างเกษตรกรที่ประกอบอาชีพทางการเกษตรแล้วประสบผลสำเร็จ  ได้แก่      

1)  เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าว (ข้าวพันธุ์ปทุม  พันธุ์สุพรรณ 1 และพันธุ์สุพรรณ 5)  

2)  เรื่องการทำนาข้าวแบบอินทรีย์ 

3)  เรื่องกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ 

4)  เรื่องการทำนาโดยการลดต้นทุนการผลิต

5)  เรื่องอื่น ๆ

     ภาพที่ 5  คุณนคร  แก้วพิลา "Best Practice เรื่องการพัฒนาพันธุ์ข้าว  เรื่องปุ๋ยอินทรีย์ และ อื่น ๆ"

          49112105.gif          49112107.gif

     ภาพที่ 6 คุณประทิน  ห้อยมาลา "Best Practice เรื่องเกษตรอินทรีย์ และอื่น ๆ"

          49112106.gif

     * เจ้าของสโลแกน "ถ้าท่านจุดไฟเผาแบ๊งค์พันเสร็จแล้ว...ท่านก็ค่อยจุดไฟเผาฟางในนาข้าวของท่าน"

                ส่วนจุดขายของมูลนิธิข้าวขวัญในการจัดการความรู้ก็คือ โรงเรียนชาวนา ที่ทำการส่งเสริมและถ่ายทอดความรู้ให้เกษตรกรลด  ละ  เลิกสารเคมี แล้วหันกลับมาทำนาแบบเกษตรอินทรีย์ ซึ่งได้เห็นผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสภาพแวดล้อมที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมคือ 1) ดินในนาข้าวที่เจ้าภาพใช้เป็นสถานที่จัดงานในครั้งนี้ เมื่อย่ำเท้าลงไปจะรู้สึกนุ่มและดินยุบตัว  ดินเนียน  ดินมีสีดำ  และ 2) นาข้าวของที่นี่ แปลงเรียนรู้ ต้องกางมุ้งให้ด้วย เพราะนกชอบมากินข้าวอินทรีย์ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงข้างเคียงของชาวบ้านที่ใช้สารเคมีจะเห็นว่า นกไม่มากินข้าว แต่จะมากินข้าวในนาที่เป็นแปลงอินทรีย์แทน

                นอกจากนี้ผู้คนที่มาชมตลาดนัดแห่งนี้ จะมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งเด็กนักเรียน  ภาครัฐ  ภาคเอกชน  และเกษตรกรที่ทำนาข้าว ที่เป็นวงศาคณาญาติและเครือข่ายของเจ้าของตลาดนัดความรู้ (มูลนิธิข้าวขวัญ)  ผู้คนที่มานั้นจะมีความหลากหลายทางด้านวิชาการ  ด้านประสบการณ์ และด้านองค์ความรู้ แต่ทุกคนต่างมีจุดร่วมเดียวกันก็คือ เวทีการจัดการความรู้  หมายความว่า ทุกส่วน (ส่วนใหญ่) ต่างมีเป้าหมาย (KV)  มีองค์ความรู้ที่พร้อมสำหรับการแลกเปลี่ยน (KS)  และมีคลังความรู้อยู่ในตัวของตนเอง (KA)

                ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่ได้ไปดู ไปเห็น และไปสัมผัส กับบรรยากาศจริง ๆ ที่ เพื่อนได้ชวนเพื่อน ไปดูงานที่ตนเองทำ และไปชื่นชมกับผลสำเร็จของการจัดการความรู้ในงานที่ตนเอง กลุ่ม  และองค์กร กำลังทำกันอยู่ค่ะ. 

หมายเลขบันทึก: 62100เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2006 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • มีโอกาสได้เข้าไปเหมือนกันค่ะ แต่โชคไม่ดีมีปัญหาเรื่องรถ จึงทำให้เข้าไปช้าในวันที่ 20 พ.ย. บ่ายแก่ ๆ ทันช่วงเวทีเสวนา "การจัดการความรู้กับสังคมไทย" พอดี แต่ก็ไม่มีโอกาสได้เข้าไปในวันรุ่งขึ้นอีก เนื่องจากติดภารกิจสำคัญเร่งด่วนที่เขตพื้นที่ฯ
  • ชื่นชมคน มขข. ที่ทุ่มเทอุทิศตนเพื่อ "ชาวนา" ประทับใจและซาบซึ้งกับผลพวงที่ มขข. ได้รับ ซึ่ง ผอ.เดชา ศิริภัทร เล่าว่า....นอกจากการจัดการความรู้ของชาวนา คือ การได้ "ศักดิ์ศรีของชาวนา" กลับคืนมา มีการฟื้นประเพณีดั้งเดิมที่ชาวนาทิ้งร้างไป กลับมายึดถือปฏิบัติโดยที่ มขข. ไม่ได้บอก นักเรียนชาวนารวมตัวดำเนินการกันเอง....
  • เสียดายที่ไม่มีโอกาสได้ชมงานในส่วนอื่นด้วยตัวเอง ได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้และชมภาพทำให้เห็นบรรยากาศมากขึ้น
  • ขอบคุณมากค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท