ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวันนี้ไม่มีกำแพงความรู้


วันนี้เป็นวันที่ 30 ธันวาคม 2559 เป็นวันทำงานวันสุดท้ายของหน่วยงานราชการในปี 2559

ใช้เวลา 2 ชม.ก่อนกลับบ้านเคลียร์เครื่อง จัดระบบไฟล์ และเห็นตัวอย่างโครงการ การบริการชุมชน ในการเป็นที่ปรึกษาการจัดตั้งห้องสมุดชุมชน

ที่ได้นำเสนอบทคัดย่อ ให้กรรมการพิจารณาในงาน KKU Library Show&Share 2016 ในรูปแบบโปสเตอร์ ผลปรากฏว่า งานชิ้นนี้ไม่ได้รับรางวัล

แต่ผู้จัดทำยังอยากที่จะแบ่งปันประสบการณ์ เผื่อได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันและเป็นแรงจูงใจสำหรับผู้ที่ต้องรับผิดชอบงานที่คล้ายคลึงกัน


ห้องสมุดมหาวิทยาลัยวันนี้ไม่มีกำแพงความรู้

บริการวิชาการแก่ชุมชนด้วยการให้คำแนะนำในการจัดตั้งห้องสมุดในชุมชน

ความเป็นมา

การบริการวิชการแก่ชุมชนเป็นภารกิจหนึ่งของสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยขอนแก่น นอกจากการสนับสนุนการเรียนการสอน โดยใช้องค์ความรู้ที่เป็นสมรรถนะหลักขององค์กรในการพัฒนาชุมชนด้วยศาสตร์ของการจัดการห้องสมุด การจัดการสารสนเทศ เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการอ่าน และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน

สอดคล้องกับปัญหาของประเทศไทย ที่พบว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อยและมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น (ล่าสุดผลวิจัยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ปรากฎว่า คนไทยใช้เวลาในการอ่าน“เฉลี่ย 66 นาที/วัน”) และตอบสนองต่อนโนบายของ กระทรวงศึกษาธิการในการลดเวลาเรียนและเพิ่มเวลารู้(Moderate Class More Knowledge) ที่กำหนดขึ้นในปี 2558 ดังนั้นการมีห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชน จึงเป็นโครงการที่สำนักหอวมุด มหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ความสำคัญ อย่างน้อยปีละ 1 แห่ง นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาประเทศ ดังที่ปรากฏในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) ที่ว่า “...คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและ สุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดีรับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม...” (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559) ซึ่งห้องสมุดหรือแหล่งเรียนรู้สามารถเป็นแหล่งความรู้ที่ผู้คนสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพในส่วนที่เกี่ยวข้องได้


วัตถุประสงค์

1. เพื่อพัฒนาสังคมแห่งการอ่านและการเรียนรู้ในจังหวัดขอนแก่น

2. เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในด้านความต้องการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้

ประโยชน์ที่ได้รับ

1. จังหวัดขอนแก่นเป็นสังคมรักการอ่าน ช่วยกระตุ้นให้เยาวชนและคนไทยเพิ่มอัตราการอ่านให้มากขึ้นกว่าเดิม

2. โรงเรียน/วัด/ชุมชน มีแหล่งเรียนรู้ที่ใกล้บ้าน สะดวกในการเข้าถึง เป็นปหล่งที่สามารถใช้เวลาว่างให้เกิดประโนชน์ ไม่มีค่าใช้จ่าย

3. บุคลากรสำนักหอสมุดได้ใช้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพให้เกิดประสงค์ต่อสังคม นับเป็นการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

รูปแบบการบริการวิชาการ

ดำเนินการหลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับความต้องการของชุมชน อาทิ

-เป็นที่ปรึกษาในการจัดตั้งห้องสมุด

-อบรมให้ความรู้ในการจัดการห้องสมุด และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ โดย

1. หากเป็นห้องสมุดที่สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ แนะนำให้ใช้โปรแกรม Openbiblio

2. หากเป็นห้องสมุดทีสังกัดหน่วยงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น แนะนำให้ใช้โปรแกรม ULibM (เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยบุคลากรของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหาสารคาม)

-ร่วมจัดตั้ง/พัฒนาห้องสมุด ทั้งในด้านกายภาพ ระบห้องสมุดอัตโนมัติ และการบริหาร

-จัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด เพื่อความทันสมัยของทรัพยากร

เป็นต้น


กลุ่มเป้าหมาย

  • โรงเรียนในเขตอ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
  • วัดในเขตอ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
  • ชุมชนต่างๆ ในเขตอ.เมือง จังหวัดขอนแก่น
  • ปี 2555 ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการจัดผ้าป่าหนังสือที่สร้างห้องสมุดชุมชนวัดสุคนธาราม ต.กองนาง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย เป็นกรณีพิเศษ
  • ปี 2556 ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนบ้านหนองปอ อ.เมือง จ.ขอนแก่น
  • ปี 2557 ได้ดำเนินการจัดระบบห้องสมุดอัตโนมัติให้กับห้องสมุดประชาชนบ้านโนนเขวา ต. ท่าพระ อ.เมือง จ.ขอนแก่น โดยการร้องขอของชุมชน และอบรมให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน
  • ร่ปี 2558 ร่วมกับเทศบาลนครขอนแก่น ในด้านจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุดชุมชน โดยการสนับสนุนหนังสือในการจัดห้องสมุดเคลื่อนที่
  • ปี 2558 ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนบ้านดงกลาง ต. พระลับ อ.เมือง จ.ขอนแก่นเนื่องในโอกาสมหาวิทยาลัยขอนแก่นครบรอบ 50 ปี
  • ปี 2559 ได้ห้องสมุดโรงเรียนบ้านโนนแต้ ต.สำราญ อ.เมือง จ.ขอนแก่นตามคำร้องขอของโรงเรียน
  • ปี 2559 ร่วมกับบริษัทเอกชนในการเป็นผู้เชี่ยวชาญสำรวจความต้องการของโรงเรียนในการต้องการห้องสมุด เพื่อการให้ทุนสนับสนุนในการดำเนินการต่อไป



รูปแบบการดำเนินงาน เป็นการดำเนินงานโดยสำนักหอสมุดเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมทั้งศิษย์เก่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิ สำนักพิมพ์ ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน เป็นต้น โดยการขอบริจาคทุนสนับสนุนหรือทรัพยากรสารสนเทศตามคำแนะนำของห้องสมุด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะให้การสนับสนุนเป็นทรัพยากรสารสนเทศ มีทั้งหนังสือใหม่ และหนังสือบริจาค

มี Tips สำหรับการบริจาคหนังสือ/วารวาร มาฝากด้วยนะคะ

กิจกรรมการบริจาคเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำให้โครงการจัดตั้งห้องสมุดในชุมชนได้รับความสำเร็จ หากคุณเป็นผู้ที่มีแนวคิดในการ “แบ่งปันหนังสือสู่มือน้อง” “หนังสือนี้-พี่ให้น้อง” หรือ “หนังสือนี้ดี...มีค่าแก่การอ่านแล้ว” หากท่านจะบริจาคเข้าร่วมโครงการใดๆ มี Tips เล็กๆ สำหรับการบริจาคหนังสือแล้วทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนี้

1. หนังสือควรมีสภาพดี เนื้อหามีความทันสมัย มีเนื้อหาตรงกับปัจจุบัน ไม่เก่าเก็บ เพราะหากเป็นหนังสือที่เก่ามาก เนื้อหาจะล้าสมัย เป็นปัญหาในด้านการขนย้าย การจัดเก็บของห้องสมุด เป็นภาระมากกว่าเกิดประโยชน์ฃ

2. หากเป็นวารสาร ควรพิจารณาความต่อเนื่องของวารสาร (มีจำนวนฉบับมากพอ) ปีไม่เก่าจนเกินไป อายุวารสารไม่ควรเกิน 3 ปี

3. สอบถามเจ้าของโครงการว่าต้องการหนังสือ/วารสารประเภทใด จะได้เลือกบริจาคให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย หากหนังสือที่บริจาคมาไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของห้องสมุดหรือกลุ่มอายุผู้อ่าน จะไม่เกิดประโยชน์

4. แบบฝึกหัดที่ลูกๆ ทำแล้วนั้น หนังสทือที่มีการขีดเขียน อาจไม่เหมาะสำหรับการบริจาค เนื่องจากยุคปัจจุบันองค์ความรู้สามารถเข้าถึงได้ง่าย และหนังสือที่มีการเขีดเขียนแล้วจะเป็นภาพจำ ที่อาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ได้

งานเห็นผล-คนเป็นสุข

กิจกรรมนี้สำเร็จได้ด้วยดีในทุกๆโครงการ ทุกๆ ปีที่ผ่านมา เนื่องจาก เป็นกิจกรรมที่ทุกภาคส่วนสามารถมีส่วนร่วมได้และนับเป็นการพัฒนาเยาวชนในด้านการอ่าน ตอบโจทย์รัฐบาลในด้านการศึกษาที่ว่า-ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้



แผนงานในอนาคต

1. ร่วมกับเครือข่ายในการทำงานให้มีความกว้างขวางมากขึ้นในเชิงสิ่งของสนับสนุน พื้นที่บริการ ความหลากหลายของกิจกรรม และความยั่งยืน

2. ขยายพื้นที่ในการให้บริการไปยังพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดขอนแก่น ให้มากขึ้นกว่า เขตอำเภอเมือง

3. ให้คำปรึกษาในด้านการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น

4. ปรับเปลี่ยนการให้บริการในรูปแบบอื่นๆ ที่ส่งเสริมการอ่าน เช่น การจัดค่ายการอ่าน เป็นต้น


หมายเลขบันทึก: 620867เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 16:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 ธันวาคม 2016 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท