แก้จน ด้วยตนเอง ตามแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


แก้จน ด้วยตนเอง ตามแนวทาง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

3 ห่วง 2 เงื่อนไข

ห่วง 1. ใช้จ่ายเงินอย่างมีเหตุผล

ห่วง 2. ใช้จ่ายเงินอย่างพอประมาณ

ห่วง 3. ใช้จ่ายเงินอย่างมีภูมิคุ้มกัน

เงื่อนไข 1 . ใช้จ่ายเงินตามหลักวิชาการเงิน การถือเงินเป็น 3 ส่วน ในสัดส่วนที่เหมาะสม พอเพียง

4.1 ถือเงินเพื่อใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (transaction demand for money)

4.2 ถือเงินสดในกรณีฉุกเฉิน(Precaution Demand for Money)

4.3 ถือเงินเพื่อเก็งกำไร (Speculative Demand for Money)

เงื่อนไข 2 . ใช้จ่ายเงินตามหัวข้อธรรม สมชีวิตา แปลว่า ความเลี้ยงชีพตามสมควร หมายความว่า รู้จักใช้จ่ายทรัพย์เลี้ยงชีพให้พอดี ไม่จ่ายน้อยเกินไปถึงกับอดอยาก ไม่สุรุ่ยสุร่ายจ่ายมากเกินไป รู้จักประมาณฐานะของตนว่ารายรับเท่าไร รายจ่ายเท่าไรและควรจ่ายเท่าไรจึงจะดี


พระพุทธเจ้าทรงสอนให้แบ่งเงินเป็น 4 ส่วน คือ

ใช้หนี้เก่า คือ ให้พ่อแม่ ท่านให้กำเนิดและเลี้ยงเรามา เราเป็นหนี้บุญคุณท่าน ต้องตอบแทน

ใช้หนี้ใหม่ คือ ให้ลูก ลูกเป็นเจ้าหนี้ที่เราสร้างขึ้นมาทีหลัง เป็นเจ้าหนี้ใหม่ ที่เราต้องชดใช้

ฝังไว้ คือ ทำบุญ เพื่อฝังไว้เป็นอริยะทรัพย์ สำหรับใช้ในการเดินทางไปใน สังสารวัฏ

ทิ้งเหว คือ เที่ยวกินใช้ไป พระองค์ทรงเปรียบท้องคนเราเป็นเหวลึก กินเข้าไปเท่าไหร่ก็ไม่เคยเต็ม



พีระพงศ์ วาระเสน
29 ธันวาคม 2559

คำสำคัญ (Tags): #แก้จน#สมชีวิตา
หมายเลขบันทึก: 620833เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2016 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2016 20:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท