จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๕ : Coaching and Mentoring of Ethics and Medical professionalism Part I


จิตตปัญญาเวชศึกษา ๒๗๕ : Coaching and Mentoring of Ethics and Medical professionalism Part I

วันที่ ๑๗ และ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๙ ได้ไปร่วมอบรมเรื่อง coaching and mentoring of Ethics and Medical professionalism เป็นโครงการสนับสนุนโดยคุณะอนุกรรมการจริยธรรมแพทยสภา และคณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีเป็นเจ้าภาพ มีทีมวิทยากร/กระบวนกรร่วมหลายท่าน ได้แก่ อาจารย์พนม เกตุมาน อาจารย์ชัชวาลย์ ศิลปกิจ อาจารย์้เชิดศักดิ์ ไอรมณีรัตน์ อาจารย์ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล เดินทางไปทำกันที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ พระนครศรีอยุธยา

สนใจเรื่องนี้ในแพทยศาสตรศึกษา และหาที่เรียนยาก นานๆมีมาที เลยช่วยโอกาสสมัครมา

แล้วก็ไม่ผิดหวัง ค่อนไปทางเกินความคาดหมายในสิ่งที่ได้เรียนรู้ เติบโต และประโยชน์ที่จะนำไปใช้ เลยขอนำมาเขียนแชร์กัน ณ ที่นี้ (ยินดีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้วย) เนื่องจากเนื้อหาเยอะ เลยเขียนปะไว้ก่อนว่า Part I โดยยังไม่ทราบว่าจะมีกี่ Part และจะไม่เขียนแบบ chronological คือตามตารางสอน แต่จะวิพากษ์และสะท้อนแบบรวมๆในเรื่องดังต่อไปนี้
๑) Coaching and Mentoring คืออะไร สำคัญยังไง
๒) Awareness and how to
๓) Professionalism คืออะไร และ how to develop
๔) Attributes of Medical professionalism
๕) Empathy and how to
๖) Techniques of how to set learning experiences

Coaching and Mentoring

เราคุ้นชินกับ "โค้ช" มานาน เพราะดูบอลกันเยอะ มักจะเป็นลุงอะไรสักคน ตะโกนโหวกเหวกข้างสนาม สั่งนักบอลซึ่งทั้งหนุ่มและฟิตกว่าเท่าให้ทำโน้นทำนี่ และพอทีมแพ้มากๆก็สามารถเป็น target ในการถูกไล่ออกอย่างรวดเร็ว ดูแล้วอาชีพมีความเสี่ยงสูงมาก แต่เงินเดือนก็ดีตามไปด้วย เพราะหาๆดูแล้ว ที่เจ๋งๆมีไม่กี่คน แสดงว่า "competency" ของอาชีพนี้มันพิเศษพอสมควรทีเดียว

โค้ช คือ คนที่สามารถ "ช่วย" ให้ใครบรรลุศักยภาพสูงสุดของคนๆนั้นใน specific task ดังนั้น competency ของโค้ชคือ "How people learn" นั่นเอง และโค้ชต้องทั้งมีความรู้และความสามารถในการดึงเอาทฤษฎีต่างๆมาใช้ให้สัมฤทธิผลได้จริงๆ ซึ่งต้องใช้ทั้งศาสตร์แห่งการ "เรียนรู้" และศาสตร์แห่งความรู้/ทักษะ นั้นๆจริงๆ ในทางการแพทย์น่าจะพอเปรียบเทียบได้กับการสร้าง "expert" หรือผู้เชี่ยวชาญนั่นเอง ในกระบวนทัศน์ตามที่เคยเขียนไว้ https://www.facebook.com/notes/sakon-singha/จิตตปัญญาเวชศึกษา-๒๖๘-การเรียนรู้เพื่อการวิวัฒน์/1353877994622839
ก็จะเป็น informative learning หรือ instructive learning

Mentoring

แต่เมื่อศาสตร์ใดก็ตาม เริ่มมี "ความลึกซึ้ง" ซึ่งอาจจะเป็น skill ที่มิใช้ได้มาโดยง่ายหากปราศจากการทุ่มเทอย่างจริงจังและเป็นเวลานาน ซึ่งหมายความว่าถ้าจะไม่ให้ท้อแท้หรือหมดแรงอยากไปเสียก่อน มักจะต้องมีเรื่องของ "คุณค่า (values)" สำหรับคนๆนั้นมากๆถึงจะมีแรงบันดาลใจที่จะทำได้สำเร็จ การฝึก การเรียน ที่ต้องไปด้วยกันกับ values development นี้ต้องใช้ความสัมพันธ์แบบ Mentor (ยังหาภาษาไทยที่ถูกใจไม่ได้) ได้แก่ศาสตร์หรือวิชาชีพที่เป็นระดับ Professional สาขาต่างๆนั่นเอง ในการเรียนรู้ต้องใช้ formative learning เพื่อที่จะ "บ่มเพาะ" วิถีชีวิตแห่ง craft นั้นๆ และสามารถตั้งตคำถาม รับรู้รับทราบ ถึง values นั้นๆได้

การถ่ายทอด values ซึ่งเป็นนามธรรมนั้นเป็นงานที่ท้าทาย ดังนั้น contact time และ "กระบวนการดำเนินและความสัมพันธ์" ระหว่าง mentor กับ mentee (ผู้เรียน) มีความสำคัญมาก เป็น commitment ที่ dynamic และลึกซึ้งระหว่างทั้งสองคน มีเรื่องของ trust ของความศรัทธา ของแรงบันดาลใจ จึงขาดมิได้ที่บางทีอาจจะมีเรื่องของ "จริยะ" ของ mentor ในการดำเนินชีวิตด้วย

ในความสัมพันธ์แบบ mentor นั้น ไม่ได้จำเป็นต้องลึกซึ้งมากเสมอไป แต่โดยพื้นฐาน ความลึกซึ้งนั้นจะแปรไปตามบริบทของ values ที่พึงปราถนา ว่าต้องการความ "ลึก" ในการจะรับรู้มากเพียงไร กระบวนการและระยะเวลาก็จะซับซ้อนไปตามนั้น

หมายเลขบันทึก: 620426เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2016 19:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2016 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท