การพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ (Active Learning) โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม


การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ ๒๑ (Active Learning) จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๗ ธ.ค. ๒๕๕๙ ณโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม โดยมีคณะคุณครูในโรงเรียนเ เข้าร่วมเรียนรู้ด้วยกัน ครั้งนี้ผมทำหน้าที่ช่วยจับประเด็นในวงใหญ่ ซึ่งสิ่งที่น่าสนใจในครั้งนี้ คือ Education ๔.๐ เเละการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม ว่าเราจะสอนไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร

กระบวนการในขั้นแรก กิจกรรมคลายใจ

  • กิจกรรมนี้ต้องการสื่อว่า "การจะเรียนรู้สิ่งใดๆนั้น ต้องเปิดใจออกรับรู้เสียก่อน เพราะเมื่อเรายิ่งปิดใจ เราจะไม่เกิดการรับรู้อะไรเลย" โดยในวงสะท้อนว่า
  • การจัดบรรยากาศการเรียนรู้นั้นต้อง สนุก สร้างสรรค์เเละมีความพยายาม(ท้าทายต่อความสามารถของนักเรียน)
  • การสอนเราต้องสร้างสิ่งเร้ากระตุ้นให้เด็กสนใจแก้ไขปัญหา จึงจะนำไปสู่การเรียนรู้(การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม)
  • เรียนโดยธรรมชาติ โดยธรรมชาติของเด็กต้องพูดคุยกัน/ซุกซน ครูควรเข้าใจเเละใช้วิธีการอื่นๆให้เขาเรียนอย่างเคารพเเทนการสั่งให้เงียบ เเละธรรมชาติของจิตมนุษย์จะจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเท่านั้น
  • AAR คือ กระบวนการฝึกสมองให้คิดเป็น เเละคิดเก่ง เเละการฝึกพูด/สะท้อนผล คือ การฝึกคิดที่ดีมากๆ
  • ใช้กิจกรรมที่สนุกเเล้วสอดแทรกเนื้อหาบทเรียนเข้าไป

กระบวนการขั้นสอง กิจกรรมมุมมองใหม่(ถ่ายภาพ)

  • กิจกรรมนี้ต้องการสื่อว่า "หากเราเปลี่ยนมุมมองสักนิด เราจะสามารถคิดสร้างสรรค์หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆได้"
  • เมื่อเรามองภาพเก่าๆควรมองด้วยใจเเล้วให้เปลี่ยนมุมมอง คือ เมื่อเราสอนเด็กในไปเนื้อหาเดิมๆ เกิดปัญหาเดิม ควรน่าจะมองใหม่ หาวิธีการใหม่ๆ หรือ ปรับบุคลิกภาพเราใหม่ เพื่อให้กระตุ้นความสนใจเรียนรู้
  • การเรียนทุกครั้ง เด็กต้องมีส่วนร่วม ไม่มากก็น้อย
  • อาวุธของครู คือ ชุดคำถามเพื่อกระตุ้นการคิด
  • การถอดบทเรียน(AAR) อาจมีทั้งเป็นรูปแบบเเละไม่เป็นรูปแบบ
  • ๑ กิจกรรมสอนได้ทุกอย่าง เพียงเราเชื่อมโยงให้เด็กๆได้เห็นในคุณค่าของสิ่งนั้น

การบวนการขั้นสาม กิจกรรมทดลองสร้างนวัตกรรม ได้ประเด็นดังนี้

  • ระดับของการคิดมีหลายขั้น ได้แก่ การคิดลอกเลียนแบบ การคิดต่อยอด เเละการคิดสร้างสรรค์ ซึ่งในปัจจุบันเรามีผลผลิตจากการคิดเลียนแบบจำนวนมาก คิดต่อยอดก็มีบ้าง เเต่คิดสร้างสรรค์ในระดับที่แปลกใหม่จริงๆมีน้อยมาก
  • ประเภทของการคิดมีหลากหลายมาก เเต่เราใช้จริงๆในการศึกษามีเด่นๆ เช่น การคิดสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรมหรืออื่นๆ เเต่อย่างไรก็ดีทักษะทางการคิดมันจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันอย่างองค์รวมแบบ(แบบมรรค)
  • บทบาทของครูคือ R and R หมายถึง พยายามจัดกระบวนการให้เด็กสะท้อนผลมากๆ จากความรู้ในตำรา(Explicit Knowledge) ขึ้นมาเน้นความรู้จากการลงมือทำมากยิ่งขึ้น(Tacit knowledge) จึงจะได้ความรู้แบบใหม่หรือค้นพบ(Discovery Learning) ทั้งนี้จะเกิดความรู้ใหม่ไม่ได้เลยหากขาดการสร้างสรรค์ กล่าวคือ ต้องลงมือทำไปคิดสร้างสรรค์ไป จึงจะเกิดการค้นพบความรู้ใหม่
  • นวัตกรรมมีหลายแบบ บางครั้งการที่เด็กคิดวิธีการของตัวเขาเองเเล้วมันสามารถทำได้จริง นั่นก็เป็นนวัตกรรมของเขา เพราะเขาเป็นเจ้าของความรู้นั้น อาจเรียกว่ นวัตกรรมเชิงกระบวนการ ซึ่งอาจเป็นเรื่องเล็กๆเเต่มีคุณค่าตามศักยภาพของนักเรียน
  • ครูอาจใช้นวัตกรรมตามแนวทางที่ครูถนัด เเต่ให้มีการตั้งประเด็นเเละลงมือทำจริง
  • หากมองแบบกลับด้าน เมื่อเราเปลี่ยนมุมมองเราจะเห็นนวัตกรรม เเละการสร้างนวัตกรรมของครูกับของศิษย์อาจสวนทางกัน กล่าว คือ ครูมีความรู้ ก็จะเริ่มจากความรู้ไปจัดการปัญหา เเต่ศิษย์ไม่มีพื้นฐนความรู้ ต้องเอาปัญหานำเเล้วให้เขาไปหาความรู้หรือคำตอบนั่นเอง
  • การสอนแบบ ๔.๐ เชิงนวัตกรรมของครู ครูต้องมีฐานความรู้ ให้เด็กเป็นเจ้าของความรู้ เเละปลูกใจรักษ์บ้านเกิด

ข้อสรุปตามทรรศนะของผม มีดังนี้

  • Education ๔.๐ เเละการเรียนรู้เชิงนวัตกรรม คือ Constructivism และ Constructionism ซึ่งเราควรกลับไปมองดูว่า เป้าหมาย คือ การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ทั้งเชิงปัจเจกเเละแบบมีส่วนร่วม
  • ในเเง่ปรัชญา ความรู้ คือ ความไม่เที่ยง ความรู้ที่เเท้ คือ ความเที่ยง กล่าวคือ Fact(ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา) Truth(ความรู้ที่เปลี่ยนแปลงน้อย) เเละReality(ความรู้ที่เที่ยงเเท้เเน่นอน) ในการการศึกษาเราควรพัฒนาเด็กให้ยกระดับจาก Fact ไปสู่ Truth เเละในระดับสูงขึ้นไปทั้งความคิดและจิตวิญญาณ
  • เมื่อกระบวนการรอบ ๑ ไม่ได้ผล ให้ปั่นรอบ ๒ หรือ รอบ ๓ เเต่ใช้วิธีการต่างกันออกไป "เพราะการใช้กระบวนการใช้เพื่อฝึกกระบวนการ" ยิ่งปั่นหลายๆรอบ จะยิ่งฝึกทักษะทางการคิด
  • สุดท้าย คือ ครูใช้หลักการ คิดวิธีคิด กระบวนการ หรือ วิธีการอะไรก็เเล้วเเต่ความถนัดของครูทุกๆท่าน เเต่จุดมุ่งหมาย คือ ทักษะทางการคิดเชิงนวัตกรรมเเละสร้างสรรค์ นั่นคือยอดธง

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
๑๘ ธ.ค. ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 620360เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ธันวาคม 2016 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท