I=PAT ไอเท่ากับแพท สมการเปลี่ยนโลก!!!


การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หนึ่งในบรรดาปัญหาที่รุมล้อมพวกเรา มนุษยชาติในปัจจุบัน คือปัญหา สิ่งแวดล้อม อย่างเคยเกริ่นให้ทราบไว้ในบทความก่อน ปัญหาหลักของเรา คือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การลดลงของความหลากหลายทางชีวภาพ พันธุ์พืชและสัตว์ต่างๆ ตลอดจนการขยายตัวของจำนวนประชากร และปัญหาของเสียและวัตถุอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม จนทำให้นานาชาติหันมาร่วมกันคิดว่าจะทำยังไงมนุษยชาติจะอยู่รอดได้ และมีความสุขมีคุณภาพชีวิตที่ดี จนกระทั่งแม้แต่องค์การสหประชาชาติในปี 1972ได้จัดการประชุมกันขึ้นที่กรุงสต๊อกโฮม ประเทศสวีเดนและตั้งหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นเปนกิจจะลักษณะ และจัดการประชุมต่อเนื่องเรื่อยมาทุกๆยี่สิบปีเพื่อติดตามและแก้ไขปัญหา

เกริ่นมาพอแรงแล้ว ใครเรียนสิ่งแวดล้อมคงรู้แล้ว ไม่ต้องเกริ่นมาก เข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ว่ากันง่ายๆ ผลจากรการเร่งพัฒนาของมนุษยชาติในช่วงทศวรรษหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ในช่วงทศวรรษที่ 1970 มีการกเถียงกันของนักวิชาการเพื่อหา ผลกระทบจากการกระทำมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ เพื่อการแก้ปัญหาได้ถูกจุด ผลที่ได้รับคือกลายมาเปนเจ้าสูตรที่ผมจะเล่าให้ฟังนี้ ใครจะเถียงกับใครยังไงรายละเอียดไปหาอ่านเพิ่มเอานะครับ เกริ่นง่ายๆ แบบนี้ไปก่อน

I=P x A x T

I= Impact of Human activity to environment (ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์) </p>

P= Population (จำนวนประชากร)

A= Affluence (ใช้ในความหมายของปริมาณเฉลี่ยการบริโภคต่อประชากรหนึ่งคน)

T= Technology (ระดับของเทคโนโลยี)

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการกระทำของมนุษย์= (จำนวนประชากร x ปริมาณเฉลี่ยของการบริโภคต่อประชากรหนึ่งคน x ระดับเทคโนโลยี)

ที่ผมเขียนว่ามันเป็นสมการเปลี่ยนโลก เพราะ สมการนี้ยังส่งผลต่อแนวคิดการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกจนกระทั่งปัจจุบัน พูดง่ายๆว่า ถ้าจะให้ผลกระทบของกิจกรรมกของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมของโลกน้อยลงแล้ว ต้องปรับตัวแปรในอีกด้านให้ลดลงด้วยนั่น คือ

๑) จำนวนประชากร (คือ ถ้ามีประชากรมาก ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งมาก เพราะประชากรใช้ ทรัพยากรก็จะมากตามไปด้วยเปนเงาตามตัว)

๒) ระดับการบริโภคของประชากรหนึ่งคน

๓) ระดับของเทคโนโลยี คือ ถ้ายิ่งใช้เทคโนโลยีที่เปนมิตรกับสิ่งแวดล้มมากเท่าไหร่ หรือเทคโนโลยีที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติคุ้มค่ามากเท่าไหร่ยิ่งดี

เพราะปัจจุบันเราเน้นกันมากกับคำว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน คือการพัฒนาที่ยังคงระดับการรักษาทรัพยากรธรรมชาติไว้ให้ได้มากที่สุด หรือเกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติน้อยที่สุด (ปัจจุบันการพัฒนาแบบที่เราเร่งลาญทรัพยากรธรรมชาติ หรือนักวิชาการฝรั่งเรียกว่า Brown development มันทำให้การใช้ทรัพยากรธรรมชาติมันเกินระดับสมดุลไปเปนที่เรียบร้อยแล้ว)

แต่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก มันไม่ง่ายอย่างการแก้สูตรสมการนะสิครับพี่น้อง!!!

เพราะ การควบคุมจำนวนประชากรมันเปนนโยบายของรัฐใครรัฐมัน แถมมันเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเสียด้วย อยู่ดีๆจับคนไปทำหมันหรือ คุมกำเนิดนี้ ถ้าไม่ใช่อินตระเดียกับพี่จีนเรานี่ รัฐอื่นทำไม่ได้นะครับเนี่ย เพราะมันขัดหลักสิทธิมนุษยชน แต่ที่จริง บทบัญญัติในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้นก็ยังมีข้อยกเว้นให้รัฐคุมกำเนิดประชากรได้ เพื่อความสงบสุขของรัฐนั้นๆ

ในส่วนของการบริโภค ก็นับเป็นเรื่องยาก เพราะปัจจุบันเราใช้ระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม แถมถือว่า ถ้าประเทศไหนมีการบริโภคมาก ก็จะมีเงินอัดฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเยอะ ทำให้เศรษฐกิจดีอีกต่างหาก ทำให้เป็นเรื่องที่เกือบทำไม่ได้ที่จะควบคุมระดับการบริโภคของคนให้น้อยลงเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ให้มันอยู่ยั่งยืนสืบไป.... ที่นักวิชาการเสนอให้ทำคือ

๑ พยายามใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและจำเปน Sufficiency หรือบางท่านจะแปลว่าพอเพียง ก็ไม่ผิด แต่ต้องเปนในความหมายของการใช้ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น (ในกระแสบริโภคนิยม แทบจะเป็นไม่ได้)

๒ ใช้กลไกตลาดเข้ามากำหนดราคาของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าที่สุด... แต่ปัญหาที่เกิดคือ ถ้าระบบตลาดถูกผูกขาดหรือบิดเบือนหล่ะ.... (คนรับกรรมคือประชาชน?) ๓ ปรับปรุงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรให้การใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุดและใช้เทคโนโลยีที่เปนมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ท้ายสุด เทคโนลียีครับ ควรใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม คือ ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และใช้ทรัพยากรคุ้มค่ามากที่สุดดดด ปัญหาที่เกิดคือเทคโนโลยีบางอย่าง กว่าจะแสดงผลเสียมันกินเวลานานมาก เช่น ยาปราบศัตรูพืช DDT ที่คนรุ่นผมรู้จักนั่นแหละครับ เดิมทีคนคิดค้นได้รับรางวัลโนเบล เพราะเชื่อว่า เปนยาปราบศัตรูพืชที่เปนมิตรกับคนและสิ่งแวดล้อม แต่ไปๆมาๆ กลับพบว่า DDTละลายในไขมัน ทำให้ เกิดผลเสีย เมื่อตับดูดซึมสารพิษเข้าไปสะสมในร่างกาย หรือ เทคโนโลยีบางอย่าง แม้จะเปนมิตรกับสิ่งแวดล้อม แต่ไม่มีโอกาสเกิดในตลาดเพราะต้นทุนสูง โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาแล้ว เทคโนโลยี เลิกคิดได้เลยครับ


ไม่แปลกใจที่รัฐไทยมีความคิดจะไปซื้อเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์มาใช้เพราะมันผลิตกระแสไฟฟ้าได้มาก และราคาถูก เมื่อเทียบค่าก่อสร้างกับปริมาณไฟฟ้าที่ได้ แต่ความเสี่ยงมันสูงหากมีการรั่วไหลของสารกัมมันตรรังสี อันจะนำไปสูการปนเปื้อนของสารกัมมันตรรังสี อย่างที่ฟูกูชิม่าเป็นต้น และยังมีปัญหาการจัดเก็บกากนิวเคลียร์ ที่แม้แต่ประเทศพัฒนาแล้ว ก็ยังปวดหัวอยู่จนทุกวันนี้


ครับ ชวนคุยมาถึงตรงนี้ อยากให้ทุกท่านเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมันใกล้ตัวเรามากขึ้น และเราน่าจะมาหาวิธีอยู่รอดไปด้วยกัน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนทั้งชาติไปด้วยกันครับ

All rights reserved

หมายเลขบันทึก: 620334เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2016 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ธันวาคม 2016 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากครับอาจารย์
 ผมพึ่งเปิดโกทูโน หลัง ไม่ได้ใช้งานมาเกือบสองปีครับ  ไม่ได้ดูว่า ใครคอมเมนท์ว่าอย่างไรเลย  ขอบคุณมากๆครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท