การศึกษาเพื่อการเข้าถึงความจริง



การศึกษาในปัจจุบันเราถูกครอบด้วยลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม เเละวัตถุนิยม จำนวนมาก เเน่นอนว่าการศึกษาในศตวรรษที่ ๒๑ เน้นการพัฒนาบนความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เเต่ทว่าการศึกษาภายในนั้นมีความสำคัญ ฉะนั้นเเล้วการศึกษาเพื่อความเข้าใจความจริงจึงสำคัญมากต่อการสอน ในเรื่องการศึกษาเรียนรู้เราจะเป็นต้องเข้าใจเรื่อง "ความจริงและระดับของความจริง" เพราะหากเราวางแผนอย่างไม่เข้าใจความจริง จะทำให้ผู้เรียน "ติดแหง็กอยู่เพียงความรู้ระดับนั้น" ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรฯ กล่าวว่า "การศึกษาต้องเพิ่มพูน" ฉะนั้นเเล้วการศึกษาต้องยกระดับทางสมองเเละจิตวิญญาณให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ความจริง คือ อะไร ??? คงเป็นคำถามที่ไม่มีคำตอบไหนที่สมบูรณ์แบบ เเต่มองว่าคำตอบที่ดีที่สุด คือ "ความจริง คือ สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง" ฉะนั้นเเล้วความจริงในด้านการศึกษา จึงหมายถึงความรู้ที่เเท้ เเน่นอน ทักษะที่เเท้ เเน่นอน ถาวรหรือคงทน นั่นเอง โดยในความจริงนั้นมีระดับหลักๆอยู่ ๓ ระดับ ได้แก่

  • Fact คือ ความจริงที่เกิดผัสสะจากประสาทสัมผัสทั้ง ๕ (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตอดเวลา) ในทางความรู้ คือ ความรู้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา วันนี้เป็นความจริงเเต่วันหน้ากลับไม่ใช่ความจริงอีกต่อไปเเล้ว เช่น ความรู้แบบความเห็น(เหตุผล) หรือ ความรู้แบบตำรา เป็นต้น
  • Truth คือ ความจริงที่เป็นสากล เช่น การเกิด เเก่ เจ็บ ตาย (สามารถเปลี่ยนแปลงได้ยาก) ในทางความรู้ คือ จะเป็นหลักการ ศีลธรรม คุณธรรม เเละทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับเเล้วใช้กันเป็นสากล เเต่ทว่ามีน้อยที่จะเปลี่ยนแปลง
  • Reality คือ ความจริงเเท้ที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความจริงสูงสุดของศาสนา เป็นต้น ในทางความรู้ คือ จะไม่เปลี่ยนแปลงเลยเพราะเป็นที่สูงสุดเเล้วของความรู้ ดีเเล้ว สมบูรณ์เเล้ว

การศึกษาเราต้อง "เพิ่มพูน" คือ พัฒนายกระดับทางสมองเเละจิตวิญญาณ จากระดับ Fact ไปสู่ Truth ไปสู่ Reality นั่นเอง

หากจะมองในอีกเเง่มุมนึง จะเห็นว่า Fact คือ คุณวิทยา / Truth คือ ญาณวิทยา / เเละ Reality คือ อภิปรัชญา เเต่อย่างไรก็ดี ความจริงในด้านการศึกษานั้นต้องเพิ่มพูน โดยการจำกัดซึ่งการเปลี่ยนแปลง(ความไม่รู้)ออกไปให้น้อยที่สุด จึงจะเป็นความรู้ที่เเท้ในเเบบความจริง

การรู้เรื่องความจริงมีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างไร ??? มีเเน่นอนครับ เพราะการเข้าใจเรื่องความจริง เราจะเข้าใจชั้นของความรู้ด้วย ซึ่งเราไม่อาจให้เด็กตั้งคำถามเเล้วเรียนรู้คำตอบเพียงในระดับ Fact เเต่เราต้องพยายามยกระดับไปสู่ความจริงในระดับที่สูงขึ้นไปด้วย เช่น เหตุผลด้านประโยชน์นิยม อยู่ต่ำกว่าการให้/ความเมตตา หรือ เหตุผลด้านการวิพากษ์ผู้อื่นอยู่ตำกว่าลงมือช่วยผู้อื่นให้พ้นจากปัญหาเหล่านั้น เป็นต้น

ธีระวุฒิ ศรีมังคละ
๑๖ ธ.ค. ๒๕๕๙

หมายเลขบันทึก: 620306เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2016 21:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2016 21:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท