กิจกรรมบำบัดกับการใช้ชีวิตประจำวันในคนแขนหัก


การสัมภาษณ์คุณป้าในการใช้ชีวิตประจำวันหลังแขนหัก

จากการไปสัมภาษณ์คุณป้า อายุ 52 ปี ทำงานเกี่ยวกับเอกสารที่โรงงานเย็บผ้า โดยเมื่อประมาณ4ปีที่แล้ว คุณป้าเคยแขนข้างขวาหัก(ซึ่งเป็นแขนข้างถนัด)อันเนื่องมาจากการลื่นล้มในห้องน้ำ และทำให้ต้องดามเฝือกไว้ 4 สัปดาห์ ส่งผลให้กิจกรรมการดำเนินชีวิตของคุณป้านั้นเปลี่ยนไปจากเดิม (Occupational Deprivation) ในช่วงประมาณ 4-5วันแรก คุณป้าใช้แขนข้าขวาไม่ได้อันเนื่องมาจากคุณหมอสั่งให้หลีกเลี่ยงการใช้ และมีอาการปวด ทำให้ยากในการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตหลายๆสิ่ง เช่น อาบน้ำ เข้าห้องน้ำ รับประทานอาหาร แปรงฟัน การเขียนเอกสาร แต่จากประสบการณ์ยากลำบากครั้งนี้ทำให้คุณป้าได้เรียนรู้การใช้แขนอีกข้างนั่นก็คือข้างซ้าย ในการประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิต และรู้วิธีการป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้มีอาการมากขึ้นหรือเกิดผลข้างเคียง จึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้แขนขวาที่ใส่เฝือกอยู่โดนน้ำพร้อมกับดูแลความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่แขนข้างขวา และเรียนรู้ ฝึกการใช้แขนซ้ายในการทำกิจวัตรประจำวัน เช่น การแปรงฟันด้วยมือซ้าย กินข้าวโดยใช้มือซ้ายตักเข้าปาก ใช้แขนซ้ายในการเอื้อมหยิบของ ใช้แขนข้างซ้ายในการแต่งตัว และเลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่ง่าย เช่น เสื้อมีกระดุม ที่สำคัญคือกระทบต่อการทำงาน โดยคุณป้าจะฝึกเขียนโดยใช้มือซ้ายไปก่อน หรือมีคนมาช่วยทำงานในส่วนนั้นไปก่อนโดยคุณป้าคอยช่วยพูด และหลังจากสี่สัปดาห์ คุณป้าสามารถใช้แขนข้างซ้ายในการทำกิจวัตรประจำวันได้อย่างคล่องแคล่วถึงแม้จะเป็นข้างที่ไม่ถนัดก็ตาม ในช่วงนี้เริ่มกลับมาใช้แขนขวาได้บ้าง แต่จะใช้ได้ไม่นานก็จะปวดเลยต้องกลับไปใช้แขนข้างซ้ายตามเดิม และทำให้ระมัดระวังตัวมากขึ้นในการใช้ชีวิตประจำวันในด้านต่างๆมากขึ้น เช่น ซื้อแผ่นกันลื่นมาติดในห้องน้ำเพื่อป้องกันการลื่นล้มในห้องน้ำซ้ำอีก

จากการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ ทำให้พบว่าแต่ละบุคคลนั้นมีวิธีเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตตามรูปแบบของแต่ละคนที่ต่างกัน โดยกิจกรรมบำบัดจะนำมาประยุกต์ในการฝึกผู้รับบริการตามความสามารถที่คงเหลืออยู่และส่งเสริมกิจกรรมตามสิ่งที่ผู้รับบริการต้องการจะทำให้ได้มีประสิทธิภาพสูงสุด


นายภัทรนันท์ รังสิมันตุชาติ 5723013

หมายเลขบันทึก: 620086เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 12:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2016 12:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท