วันที่ 15 "กิจกรรม ชื่นชมยินดี" (17พ.ย.59)


ทุก ๆ วันพฤหัสบดี โรงเรียนวชิรวิทย์ จะมีกิจกรรมที่สำคัญอยู่ 1 กิจกรรม คือ กิจกรรม ชื่นชมยินดี เป็นการมอบเกียรติบัตร ถ้วยรางวัล เหรียญรางวัล หรือประกาศเกียรติคุณ แก่นักเรียนี่เป็นตัวแทนโรงเรียน ไปแข่งขันทักษะต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา ด้านการศึกษา ทุก ๆ วันพฤหัสบดี (ฝนไม่ตก) เราจะได้เห็นโฉมหน้าของเด็กเก่ง ที่มีความสามารถแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับสัปดาห์นี้ ที่มีตัวแทนนักเรียน ทั้งจากแผนกประถมศึกษา และมัธยม ไปแข่งขันเทควันโด และว่ายน้ำ ผลการแข่งขันไม่เคยน้อยหน้าใครค่ะ มีทุกเหรียญ นักเรียนเก่งเราควรชื่นชมยินดีค่ะ ท่านผู้อำนวยการจะเป็นผู้มอบเหรียญและให้โอวาทแก่นักเรียน


ในชั่วโมงภาษาไทย จะเรียนช่วงบ่ายคาบแรก นักเรียนจะไม่ค่อยมีสมาธิกับสิ่งที่เรียน วันนี้ทิชเชอร์แคทเลยให้นักเรียนแข่งขันกัน ใครสามารถเขียนเสร็จเร็วที่สุด 5 คนแรก และเขียนสวย ไม่ผิด จะได้รับรางวัล เป็นแรงกระตุ้นที่ดีทีเดียวค่ะ เด็ก ๆ ดูมุ่งมั่น ตั้งใจมากกว่าทุกครั้ง เพราะครูมีของรางวัลมาล่อนี่เอง การเป็นครูนั้นการเขียนกระดานเป็นสิ่งสำคัญไม่น้อย สังเกตจากการที่นักเรียนจะเขียนเลียนแบบเราทุกอย่าง ถ้าเราเผลอเขียนผิด นักเรียนก็จะเขียนไปตามเรา เพราะฉะนั้น เราควรระมัดระวังอย่างมาก ตัวหนังสือก็สำคัญ จากการสังเกตส่วนตัว นักเรียนบางคนตอนที่มาฝึกสอนแรก ๆ จะทำงานไม่เรียบร้อยเลย เช่น ไม่ขีดเส้นกั้นหน้า ไม่เขียนวันที่ ไม่ขีดเส้นใต้เมื่อเขียนจบ และที่สำคัญคือ บางคนตัวหนังสืออ่านไม่ได้เลยค่ะ จากการฝึกฝน การทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ทิชเชอร์แคทจะย้ำทุกครั้งว่าให้เขียนวันที่ ขีดเส้นกั้นหน้า ถ้าเขียนจบแล้วให้ขีดเส้น 1 เส้น เพื่อความเรียบร้อย ถ้ามีหัวข้อในการเขียน จะเขียนให้เขาดูว่าต้องขีดเส้นใต้ นักเรียนก็จะเขียนตาม ในบางเรื่องที่เป็นตอบคำถาม แล้วต้องเว้นช่องว่าง ก็จะขีดเส้นด้วยไม้บรรทัด เว้นช่องว่าง นักเรียนเห็นเราทำ เขาก็ทำ ที่รู้สึกดีและภูมิใจไปกว่านั้น ทิชเชอร์แคทจะเขียนตัวหนังสือมีหัวทุกตัว และตัวหนังสือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และบอกนักเรียนว่า ตัวหนังสือทุกตัวมีหัว ที่ไม่มีหัวมีอยู่ 2 ตัวเท่านั้น คือ ก ธ ถ้าใครเขียนตัวหนังสือไม่มีหัว ทิชเชอร์จะตัดหัวทิ้งเลย พูดแบบติดตลก น่าแปลกที่ตอนนี้นักเรียนที่เคยเขียนไม่มีมีหัว มีหัวทุกตัวค่ะ หลายคนเขียนหนังสือสวยขึ้นจากเดิมมาก ทำงานเรียบร้อยขึ้นมาก นี่แหละที่เขาว่า แบบอย่างที่ดีมีค่ามากกว่าคำสอน ไม่ได้อวดตัวเองนะคะ แค่อยากจะบอกว่า การเป็นแบบอย่างมันสำคัญ บางอย่างเด็กเรียนรู้จากการฝึกฝน บางอย่างเรียนรู้จากครู บางอย่างเรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบ เด็กก็เหมือนผู้ใหญ่ค่ะ ที่เรื่องบางเรื่องก็สอนได้ บางเรื่องก็สอนไม่ได้ เหมือนกันค่ะ ความเป็นครู บางทีก็สอนกันไม่ได้ ถ้าใครไม่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูพอ จะมองไม่เห็นความสำคัญเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ควรจะฝึกให้เด็ก เราอยากให้เด็กเป็นอย่างไร เราก็ควรเป็นแบบอย่างให้เขาดู บอกให้เด็กมาโรงเรียนตรงเวลา แต่ครูมาสายกว่าเวลาที่กำหนด มันก็ไม่สวควรค่ะ แต่เด็กก็ยังดีนะคะ ยังเป็นไม้อ่อน แต่ผู้ใหญ่นี่สิ ไม้แก่ดัดยากคือเรื่องจริงค่ะ


หมายเลขบันทึก: 620052เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2016 18:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท