นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย


ตอนนี้ รับรู้ และ ลึกซึ้งกับคำนี้ คนของระบบราชการที่มีกรอบในการทำงาน แต่ บังเอิญหาแนวร่วมผู้มีอุดมการณ์ เดียวกันได้ และรู้สึกถึงความมีพลังในการทำงาน

" ภาคีเครือข่าย คือ กลุ่มบุคคล องค์กรที่มีเป้าหมายร่วมกัน มารวมตัวกันด้วยความสมัครใจ เพื่อทำกิจกรรมให้บรรลุเป้าหมาย
(ร่วมคิด / วางแผน ร่วมทำ ร่วมประเมินผล) โดยมีความสัมพันธ์แนวราบ มีความเสมอภาค และเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง "

ตอนนี้ รับรู้ และ ลึกซึ้งกับคำนี้ คนของระบบราชการที่มีกรอบในการทำงาน แต่ บังเอิญหาแนวร่วมผู้มีอุดมการณ์ เดียวกันได้ และรู้สึกถึงความมีพลังในการทำงาน

ปัญหา ภาพรวมการศึกษาของจังหวัดกาฬสินธุ์
ความต้องการ ผู้เรียนมีการเรียนรู้ที่ดี มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และ โรงเรียนต้นแบบ

การรวมตัวกันโดยสมาชิกในองค์กรต่างๆ ได้แก่ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1 : อบจ.กาฬสินธุ์ : คณะทำงานวิชาการ กศจ. กาฬสินธุ์ สภาการศึกษาเพื่อปวงชนภาคอีสาน : สมาคมศึกษานิเทศก์จังหวัดกาฬสินธุ์ และ : องค์การActionAid Thailand


เข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุุ์ นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป เพื่อแจ้งเจตนารมณ์





ประชุมกลุ่มย่อย

AAR กับ ผู้บริหาร


พบประธานสภาจังหวัดกาฬสินธุ์



AAR ผู้บริหาร พบปะกับภาคีเครือข่าย และ ศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์


สรุป งานล่าสุด คือ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 ณ สวนดอนธรรม อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์

ประเด็นคำถามที่ร่วมกันสะท้อน

1. ภาพที่ต้องการให้เกิดในโรงเรียน เป็นอย่างไร ?
2. แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา และ ความต้องการจากภาคีเครือข่าย คืออะไร?
3. ปัญหา อุปสรรค ทุกข์ ของสถานศึกษา คืออะไร ?
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

คำถามที่ 1 ภาพที่ต้องการให้เกิดในโรงเรียน เป็นอย่างไร

ผู้เรียน
1. เป็นคนดี
2. คุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบ
3. มีผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
4. อ่านออก เขียนได้
5. ทักษะการคิด การแสวงหาความรู้
6. รักโรงเรียน เรียนรู้อย่างมีความสุข

ครู
1. รักโรงเรียน
2. รัก เมตตา ต่อศิษย์
3. ทำงานด้วยหัวใจ
4. มีความรัก สามัคคี ไม่ขัดแย้ง
5. ให้ความร่วมมือ
6. มีเทคนิคการสอน นวัตกรรมใหม่ๆ

ผู้อำนวยการโรงเรียน

1. การคิดเชิงระบบ
2. มีคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้นำ
3. สามารถบูรณาการงานนโยบายที่หลากหลาย
4. สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วม ให้ทุกคน มีความสุข
5. สร้างเครือข่ายการทำงาน
6. สร้างศรัทธาให้กับชุมชน ผู้ปกครอง
7. พัฒนาโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้
8. สร้างการเรียนรู้ให้เกิดในโรงเรียน

ชุมชน

1. มีความเชื่อมั่นและศรัทธา ต่อโรงเรียน
2. ให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียน
3. ช่วยเหลือ สนับสนุน และ ให้กำลังใจ เกื้อกูลโรงเรียน

คำถามที่ 2 แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา และ ความต้องการจากภาคีเครือข่าย คืออะไร

1. เปิดกรอบการบริหารจัดการในโรงเรียน อิสระในการพัฒนา
2. การนำแนวคิดของโรงเรียนลำปลายมาศ โรงเรียนบ้านปะทาย โรงเรียนบ้านนาขนวน มาปฏิบัติ ได้แก่ การพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรม สมาธิ การสอนบูรณาการ และ การใช้กระบวนการ PLC
3. พัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนต้นแบบในจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เห็นผลงานและเป็นแหล่งเรียนรู้ได้
4. ความร่วมมือ กำลังใจ จากภาคีเครือข่าย แลกเปลี่ยนเรียนรู้
5. พี่เลี้ยงในการทำงานต่อเนื่อง ที่มีศักยภาพ และมีพลัง
6. มีเครือข่ายเชิงนโยบาย ช่วยเหลือการบริหารจัดการ ช่วยบูรณาการนโยบาย
7. สร้างโรงเรียนให้เป็นชุมชนการเรียนรู้
8. การพัฒนาครูอย่างต่อเนื่อง
- พาครูทำงาน
- สร้างเครือข่ายการทำงาน
-พัฒนาครูแบบฝังตัว
- มีผู้เลี้ยง ผู้เชี่ยวชาญ
9. งบประมาณ

คำถามที่ 3 ปัญหา อุปสรรค ทุกข์ ของสถานศึกษา คืออะไร ?

1. การเร่งรัด นโยบาย ยกผลสัมฤทธิ์
2. ความขัดแย้ง ความคิดที่แตกต่าง าภายในโรงเรียนและชุมชน
3. ครู ยังไม่เปลี่ยนพฤติกรรม ยึดเนื้อหาการสอน
4. ศรัทธา และการยอมรับ ของชุมชนที่มีต่อโรงเรียน
5. การบริหารจัดการนโยบายหลายเรื่อง
6. ขาดแคลนงบประมาณ
7. การยุบ ควบรวม โรงเรียนขนาดเล็ก
8. ความไม่ต่อเนื่อง ไม่แน่นอน ของนโยบาย และการทำงาน

สรุปการขับเคลื่อนต่อ ของ ภาคีเครือข่าย
1. จังหวัดกาฬสินธุ์มีโรงเรียนต้นแบบ
2. สร้างภาคีเครือข่ายกับโรงเรียนต้นแบบระดับประเทศ ลำปลายมาศพัฒนา โรงเรียนบ้านปะทาย โรงเรียนนาขนวน
3. เสนอแผนงบประมาณ และ ความช่วยเหลือ จากจังหวัดกาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ องค์การเอกชน ActionAid Thailand
4. เสนอการขับเคลื่อนเชิงนโยบายในระดับ จังหวัด และ กลุ่มจังหวัด
5. พัฒนาภาคีเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง

หมายเลขบันทึก: 619977เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 05:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ธันวาคม 2016 05:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เครือข่าย คือ "เพื่อนร่วมอุดมการณ์" สมาชิกต่างคนต่างมีหน้าที่ของตนเองที่ต้องทำไป... แต่เพื่อนจะให้ความช่วยเหลือและร่วมมือในการกระทำบางอย่างให้บรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน ในเรื่องนั้นๆ ....
  • เครือข่ายเหมือน "เพื่อนร่วมทาง" นอกจากจะมีเป้าหมายเหมือนกันแล้ว เรายังมีแนวทางและวิธีในการไปสู่เป้าหมายคล้ายกันด้วย และมีความเห็น ความรู้ ความเข้าใจในความถูกต้องไม่ถูกต้อง มีวิธีการที่สอดคล้องเสริม ...
  • เครือข่ายเป็น "เพื่อนร่วมให้" แต่ละคนในเครือข่ายจะมีมุมมองและการกระทำเรื่องการเสียสละ การให้ที่สอดคล้องส่งเสริมกัน ....
  • หากเกิดเครือข่ายจะ "เพื่อนร่วมมือ" ไปสู่เป้าหมายร่วมกัน แม้ไม่มีกฎกติกาหรือระเบียบใดจะกำหนดไว้ในการเป็นเครือข่ายกัน แต่ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันจะนำมาสู่ชุมชนนักปฏิบัติที่ต่อเนื่อง ยาวนาน และทำให้งานใหญ่สำเร็จได้

เข้ามาชื่นชมกับความเครือข่าย "กาฬสินธุ์" ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท