คุณค่าของเครือข่ายความรู้



บทความ Can Networked Knowledge Help Communities Thrive on a Turbulent Planet โดย Andrew C. Revkin ในเว็บไซต์ของ นสพ. The New York Times ซึ่งอ่านได้ ที่นี่ ชี้ทิศทางใหม่ของผลงานเชิง impact ของผลงานวิชาการในมหาวิทยาลัย ที่ฉีกแนวมาจาก impact factor ในวารสารวิชาการ หรือในวงการวิชาการ สู่ impact ต่อชุมชน หรือสังคม หรือในโลกแห่งชีวิตจริง


เขาแนะนำองค์กร Thriving Earth Exchange (TEX) ที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่าง ผู้นำชุมชน, นักวิทยาศาสตร์, และหน่วยสนับสนุนทุน ในการแก้ปัญหาด้าน ทรัพยากรธรรมชาติ, การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ, และภัยธรรมชาติ โดยได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากหลายหน่วยงานและมูลนิธิ ดังนี้ ซึ่งผมตีความว่า TEX เป็นแม่สื่อเชื่อมนักวิทยาศาสตร์/นักวิชาการ ด้านสิ่งแวดล้อม ธรณีวิทยา ฯลฯ ให้ได้ไปทำงาน knowledge translation ในสถานการณ์จริง ในชุมชน ในลักษณะ S2P – Science to Practice ในทำนองเดียวกันกับ R2R – Routine to Research แต่การจัดการ translational research สองแบบนี้ แตกต่างกันมาก


กลไกเเชื่อมโยงผู้มีความรู้กับผู้ต้องการใช้ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีกมาตรการหนึ่งคือ The Resilience Dialogues ที่ริเริ่มดำเนินการโดย The White House Office of Science and Technology Policy


เครือข่ายความรู้แบบนี้ เป็นกลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคธุรกิจเอกชนรูปแบบหนึ่ง และเป็นกลไกให้ฝ่ายต่างๆ เข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาสาธารณะด้วยความรู้ สร้างความโปร่งใส ในการแก้ปัญหาสาธารณะ



วิจารณ์ พานิช

๗ พ.ย. ๕๙


หมายเลขบันทึก: 619526เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2016 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 ธันวาคม 2016 07:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท