นักวิทยาศาสตร์หญิง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คว้ารางวัล นักวิทยาศาสตร์หญิงอาเซียน-สหรัฐ


ดร.วรจิตต์ กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงงานอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวไทยให้ดีขึ้นและยั่งยืน ความมุ่งมั่นของพระองค์ท่านได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ทีมของดิฉันและตัวดิฉันเองในการสร้าง “เมืองสีเขียว” ขึ้นให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชีวิตของจริงในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ดิฉันมีความรู้สึกขอบคุณและขอน้อมรับรางวัลอันทรงคุณค่านี้เพื่อเดินหน้างานของพวก

ยินดีกับ อ. ดร วรจิตต์ และทีมงานที่นำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยของเรา นักวิทยาศาสตร์รางวัล 2016 ASEAN-U.S.Science Prize for Women

บีบีซีไทย - BBC Thai

18 hrs ·

นักวิทยาศาสตร์ไทยคว้ารางวัลนักวิทยาศาสตร์หญิงอาเซียน-สหรัฐฯ

ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับรางวัล 2016 ASEAN-U.S. Science Prize for Women ในที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนว่าด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ประเทศกัมพูชา จากผลงานวิจัยด้านพลังงานอย่างยั่งยืนที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับภูมิภาคอาเซียน ดร.วรจิตต์ เผยได้รับแรงบันดาลใจจากความมุ่งมั่นของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวไทยให้ดีขึ้น

ดร.วรจิตต์ได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัครกว่า 60 คนจากประเทศสมาชิกอาเซียน และเป็นตัวแทนของนักวิทยาศาสตร์หญิงที่มีความเป็นเลิศด้านพลังงานที่ยั่งยืน และได้รับรางวัลมูลค่า 25,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งมอบเป็นประจำทุกปีเพื่อสนับสนุนนักวิทยาศาสตร์หญิงในภูมิภาคอาเซียนที่มีศักยภาพ

ดร.วรจิตต์ กล่าวว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงงานอย่างทรงไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนชาวไทยให้ดีขึ้นและยั่งยืน ความมุ่งมั่นของพระองค์ท่านได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ทีมของดิฉันและตัวดิฉันเองในการสร้าง “เมืองสีเขียว” ขึ้นให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ชีวิตของจริงในด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ดิฉันมีความรู้สึกขอบคุณและขอน้อมรับรางวัลอันทรงคุณค่านี้เพื่อเดินหน้างานของพวกเราในสายงานนี้ต่อไป”

ดร.วรจิตต์ มีประสบการณ์ในการพัฒนาระบบพลังงานที่มีราคาไม่สูงมาก ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้ในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพในชุมชนขนาดเล็กรวมทั้งเป็นผู้พัฒนาและบริหารโครงการเชียงใหม่-เมืองสีเขียวโลก

รางวัลนักวิทยาศาสตร์หญิงยอดเยี่ยมประจำปี 2016 นี้เป็นหนึ่งในหลากหลายความริเริ่มของสหรัฐฯ ในการส่งเสริมอาเซียนและประเทศสมาชิก ในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การขยายความร่วมมือทางทะเล การบ่มเพาะผู้นำรุ่นใหม่ ส่งเสริมโอกาสสำหรับผู้หญิง และการรับมือกับประเด็นความท้าทายต่าง ๆ ข้ามประเทศ



หมายเลขบันทึก: 617586เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2016 10:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ตุลาคม 2016 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

-ยินดีกับ"อ. ดร วรจิตต์ และทีมงาน"ด้วยคร้าบ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท