ประวัติศาสตร์กระบวนทัศน์ใหม่ ๓


ประวัติศาสตร์ หมายถึง การศึกษาอดีตของสังคมมนุษย์ในมิติของกาลเวลา ซึ่งหัวใจหลักสำคัญ คือ การวิพากษ์ เรียกว่า “วิธีวิพากษ์ทางประวัติศาสตร์” ฉะนั้นเเล้วให้เข้าใจว่า “ประวัติศาสตร์ คือ การวิพากา์ประวัติศาสตร์”
ในบทนี้ขอเขียนเล่าถึง “หลักวิพากษ์ทางประวัติศาสตร์สำหรับนักเรียน/นักศึกษาหรือนักแสวงหความรู้” ว่ามีหลักคิดอะไรบ้างเเละเป็นอย่างไร ดังนี้
๑) วิเคราะห์ ๓ กระเเส (เเนวคิดกระเเสหลัก เเนวคิดกระเเสรอง เเละเเนวคิดกระเเสเรา) ได้แก่

  • แนวคิดกระเเสหลัก คือ เเนวคิดทางประวัติศาสตร์ของส่วนกลางในลักษณะปฏิฐานนิยม เช่น กระทรวงศึกษาธิการยึดเอาพงศาวดารเป็นหลักสำคัญ เเละ เเนวคิดที่เอนเข้าด้านรัฐชาติ เป็นต้น
  • เเนวคิดกระเเสรอง คือ แนวคิดทางประวัติศาสตร์ของนักประวัติศาสตร์ส่วนนึงที่เห็นต่างจากแนวคิดกระเเสหลัก เช่น พระเจ้าอู่ทองเป็นคนจีน เเละสุโขทัยไม่ได้เป็นราชธานีลำดับเเรกของไทย เป็นต้น
  • แนวคิดกระเเสเรา คือ เเนวคิดของเราเองจากการศึกษาหลักฐานหรือเเนวคิดต่างๆ เเล้วสรุปในเเบบที่ตอบคำถามว่า "ทำไมเเละอย่างไร" ในแบบของเราเอง หากเราเชื่อเเนวคิดไหน เราก็เอาเเนวคิดนั้นมียึดเพื่อหาคำตอบ เช่น แนวคิดตะวันตกเชื่อว่าไทยอพยพมาจึงมาอยู่บริเวณนี้ คำว่า "อพยพ" เป็นแนวคิดตะวันตก หรือ ไทยเราสร้างบ้านแปงเมืองจึงมาอยู่บริเวณนี้ คำว่า "สร้างบ้านแปงเมืองเป็นเเนวคิดแบบไทย"
    จากความข้างต้น หมายความว่า ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้วิธีคิดแบบไหนในการมอง ทั้งนี้ไม่รู้ถูกผิดเเน่ชัดเพราะเราไม่ได้เกิดในช่วงนั้น
    ฉะนั้นเเล้วการตีความประวัติศาสตร์แบบกระเเสเราเเละกระเเสต่างๆนั้น "จึงไม่ชัวร์เเต่หาความน่าจะเป็นให้มากที่สุดนั่นเอง"

๒) วิเคราะห์เเละสังเคราะห์ (เเนวคิดการจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อหาองค์ความรู้ใหม่) ได้แก่

  • การวิเคราะห์เพื่อหาความเชื่อมโยงระหว่างหักฐาน เหตุการณ์ เเละความเป็นไปได้ จากเรื่องนั้นๆที่สนใจ
  • การนำความเชื่อมโยงจากผลการวิเคราะห์เหล่านั้นมาจัดหมวดหมู่ เช่น ด้านสังคม ด้านการศึกษา เเละด้านวัฒนธรรม เป็นต้น
  • สังเคราะห์โดยใช้มิติเวลาเป็นตัวจัดแบ่งข้อมูล เช่น การเเบ่งยุคสมัย ร.๑-๓ เเละ ร.๔-๗ เป็นต้น

หลักคิดวิพากษ์ที่กล่าวมานี้ "เป็นวิธีคิด" ยังมีวิธีอื่นๆอีกมากในการศึกษาประวัติศาสตร์
คำว่า "แนวคิด ไม่มีผิดถูก" เเต่จะมีคำว่า "น่าเชื่อถือหรือไม่น่าเชื่อถือ"

บทขหมวดหลักคิด หลังเรียนกับ รศ.ดร.ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ (๒๘ ตุลาคม ๒๕๕๙)

หมายเลขบันทึก: 617561เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2016 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2016 17:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีบางคนบอกว่า พระพุทธเจ้าเป็นคนไทย ที่นี่

และอีกเรื่องที่น่าสนใจมาก ๆ ในมุมของคนช่างสงสัย และสำหรับคนที่มีศรัทธาต่อครูบาอาจารย์อย่างยิ่ง บอกว่า คนไทยทั้งหมดรวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่อพยพมาจากอินเดียตอนช่วงสงครามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ที่นี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท