เครื่องมือการรู้จักตนเอง : ๓ เหลี่ยมความฝัน


เข้าใจตนเอง เพื่อเข้าใจผู้อื่น

"เครื่องมือนี้ให้ชื่อว่า ๓ เหลี่ยมความฝัน"
ความเป็นมา
เครื่องมือนี้ ถูกออกแบบไว้ ตอน BAR เพื่อที่จะลงไปเเนะเเนวตัวตน ให้กับน้องๆในโรงเรียน โดยโครงการเด็กดีมีที่เรียน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งเป็นการระดมความคิดกันในกลุ่มว่า จริงๆเเล้วสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความฝันของเรานั้น มันมีอะไรบ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการเขียนเเละความเข้าใจ จึงออกมาเป็น ๓ เหลี่ยมความฝัน ดังกล่าว

จุดประสงค์
๑) เพื่อนำไปกระตุ้นให้น้องๆหรือผู้อื่นได้เห็นถึงความฝันของตนเอง
๒) เพื่อเป็นเครื่องมือในการสะท้อนตนเองให้เข้าใจตนเองด้วยตนเอง เน้นดึงออกมาจากภายในตามกลไกจิตตปัญญา
๓) เพื่อเป็นเครื่องมือของชมรมต้นกล้าพันธุ์ดี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ไว้ใช้ในกิจกรรมออกไป เสริมการเข้าใจตนเองให้กับน้องๆในหลายๆโรงเรียน

คำอธิบาย
ในสามเหลี่ยม
๑) สิ่งที่อยากทำ(เพื่อตนเอง) ในช่องนี้ให้เขียนว่า ในชีวิตนี้ เราอยากจะทำอะไรบ้าง เช่น อยากเที่ยวทุกจังหวัด อยากมีรถขับ อยากได้เกียรตินิยม อยากไปนั่งโง่ๆอยู่ริมทะเล เป็นต้น
๒) ความสุข (ตนเอง+ผู้อื่น) ในช่องนี้ให้เขียนว่า ในชีวิตนี้ อยากทำอะไรบ้างให้ตนเองมีความสุขเเละผู้อื่นมีความสุขด้วย เช่น อยากสร้างบ้านให้พ่อกับเเม่ อยากสอบได้ให้พ่อเเม่ภูมิใจ อยากมีเงินใช้เยอะๆ อยากทำคายอาสา อยากแบ่งปันเสื้อผ้าให้ผู้อื่น เป็นต้น
๓) ความฝัน (ตนเอง+ผู้อื่น+สังคม) ในช่องนี้ให้เขียนว่า ในชีวิตนี้ เรามีความฝันอะไรบ้าง ยกมา ๓ อันดับ เเล้วเลือกความฝันที่เราอยากเป็นมากที่สุดเเค่ ๑ ฝัน
นอกสามเหลี่ยม
๑) กรอบครอบครัว ในช่องนี้ให้เขียนว่า พ่อเเม่คาดหวังอยากให้เราเป็นอะไร ให้ตั้งคำถามต่อว่า จริงๆเเล้วมันตรงตามความฝันที่เเท้จริงของเราหรือไม่
๒) กรอบค่านิยม ในช่องนี้ให้เขียนว่า ในยุคนี้ เขากำลังบูมสาขาวิชาอะไร หรือเขาฮิตคณะ/มหาวิทยาลัยอะไร หากความฝันเราตรงกับค่านิยมบูมดังกล่าว ให้ตั้งคำถามต่อว่า จริงๆเเล้วมันตรงตามความฝันที่เเท้จริงของเราหรือไม่
๓) กรอบเหตุผลอื่นๆ ในช่องนี้ให้เขียนว่า เรามีความฝันอื่นๆในเหตุผลอื่นๆหรือไม่ เช่น เพื่อนบอกว่าเราเหมือนครูเลย "เธอต้องเรียนครูนะ" หรือ เรียนหมอยากเกินไปครูจึงเเนะนำว่าเรียนพยาบาลก็น่าสนใจนะ เป็นต้น

สะท้อนบทเรียน
สามารถทำได้หลายรูปแบบ เช่น การจับคู่/กลุ่มเล่าให้กันฟัง หรือ ให้สุ่มออกมานำเสนอของตนเองให้เพื่อนฟัง เป็นต้น

***หมายเหตุ ด้านระยะเวลานั้นเราสามารถปรับได้ตามจุดประสงค์ เช่น อาจไม่ใช้ "เป็นแผนทั้งชีวิต เเต่เป็นแผน ๔-๕ ปีในรั้วมหาวิทยาลัย เป็นต้น"


หมายเลขบันทึก: 617278เขียนเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 00:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2016 00:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท