ความเป็นมาของวันหยุดของไทย (The History of Thailand's Holidays)


ความเป็นมาของวันหยุดของไทย

การหยุดราชการของไทยนั้นมีมาช้านาน แต่ไม่ได้กำหนดให้มีวันหยุดราชการตรงกัน ซึ่งราชการแต่ละหน่วยงานต่างก็กำหนดวันหยุดราชการกันเองแตกต่างกันไปไม่เป็นระเบียบเดียวกัน[1] ทั้งนี้ประเทศไทยเริ่มมีการกำหนดวันหยุดประจำชาติอย่างเป็นทางการเมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา กล่าวคือมีประกาศพระบรมราชโองการเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดราชการลงในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 30 เมื่อ วันที่ 30 มีนาคม 2456 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้อ้างถึงการกำหนดให้มีวันหยุดว่ามีวัตถุประสงค์ 3 อย่างคือ[2]

  • สำหรับพักผ่อนร่างกาย
  • เพื่อแสดงความเคารพต่อพระบรมราชวงศ์
  • เพื่อเคารพต่อศาสนา

ในประกาศราชกิจจานุเบกษาเล่มดังกล่าวระบุว่ากำหนดให้มีวันหยุดราชการดังต่อไปนี้[3]

  • พระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์ แลนักขัตฤกษ์ (28 มีนาคม – 15 เมษายน) รวม 19 วัน
  • วิสาขะบูชา (7 – 9 พฤษภาคม) รวม 3 วัน
  • เข้าปุริมพรรษา (6 – 12 กรกฎาคม) รวม 7 วัน
  • ทำบุญพระบรมอัษฐิพระพุทธเจ้าหลวง (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • ทำบุญพระบรมอัษฐิ แลพระราชพิธีฉัตรมงคล (9 – 12 พฤศจิกายน) รวม 4 วัน
  • เฉลิมพระชนมพรรษา (30 ธันวาคม – 3 มกราคม) รวม 5 วัน
  • มาฆะบูชา จาตุรงค์สันนิบาต (1 มีนาคม) รวม 1 วัน

ทั้งนี้วันพระราชพิธีฉัตรมงคลนั้นกำหนดตามวันที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก (Coronation) คือวันที่ 11 พฤศจิกายน 2453 ส่วนวันเฉลิมพระชนมพรรษานั้นกำหนดตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม 2423 ดังนั้นวันหยุดราชการอย่างเป็นทางการของประเทศไทยเริ่มแรกจึงมีทั้งหมด 40 วัน โดยวันที่มีการกำหนดตามทางสุริยคติ (Solar calendar) ก็กำหนดให้หยุดตามวันนั้นทุกปี ส่วนวันที่เกี่ยวกับทางพระพุทธศาสนาซึ่งเป็นการกำหนดตามทางจันทรคติ (Lunar calendar) ก็เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละปีแล้วแต่ว่าจะตรงกับวันที่เท่าไหร่เดือนอะไร[4] และยังเปิดให้หน่วยงานราชการแต่ละหน่วยพิจารณาความเหมาะสมเกี่ยวกับการดำเนินการในวันหยุดรวมทั้งสามารถกำหนดวันหยุดพิเศษเองได้

ต่อมามีประกาศพระบรมราชโองการลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2457 เล่มที่ 31 ระบุให้กระทรวงยุติธรรมสามารถหยุดราชการได้ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคมถึงวันที่ 27 เมษายนรวมเป็นหนึ่งเดือน โดยให้เหตุผลว่าข้าราชการกระทรวงยุติธรรมนั้นทำงานหนักกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีคดีฟ้องร้องกันมากขึ้น ทำให้ต้องอยู่ทำงานเกินเวลาเป็นประจำ จึงสมควรได้รับวันหยุดยาวเป็นพิเศษในช่วงพระราชพิธีตะรุษะสงกรานต์ แลนักขัตฤกษ์เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน[5] นับเป็นการประกาศให้มีวันหยุดเฉพาะหน่วยงานเป็นครั้งแรก

การกำหนดวันหยุดราชการมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือได้มีประกาศราชกิจจานุเบกษาเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดราชการนักขัตฤกษ์ประจำปี เล่มที่ 42 วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2468 ให้ยกเลิกการหยุดใหญ่ในต้นปีคือช่วงตรุษสงกรานต์ลงโดยระบุว่าระเบียบกระทรวงต่างๆก็ได้อนุญาตให้ข้าราชการได้ลาหยุดกันได้อยู่แล้ว รวมทั้งแก้ไขวันหยุดอื่นๆอีก โดยกำหนดให้มีวันหยุดราชการใหม่ดังนี้

  • ตะรุสะสงกรานต์[6] (31 มีนาคม – 3 เมษายน) รวม 4 วัน
  • วันที่ระลึกมหาจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วิศาขะบูชา[7] (ขึ้น 14, 15 และ แรม 1 ค่ำ เดือน 6) รวม 3 วัน
  • เข้าปุริมพรรษา (ขึ้น 14, 15 และ แรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน
  • วันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • เฉลิมพระชนม์พรรษา (7 – 9 พฤศจิกายน) รวม 3 วัน
  • พระราชพิธีฉัตรมงคล (24 – 26 กุมภาพันธ์) รวม 3 วัน

ทั้งนี้วันหยุดราชการในช่วงตรุษสงกรานต์ลดลงจากวันที่ 28 มีนาคม – 15 เมษายนรวม 19 วัน เหลือเพียงให้หยุดราชการแค่วันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายนรวม 4 วัน โดยเพิ่มวันที่ระลึกมหาจักรีคือวันที่ 6 เมษายน คงวันวิสาขะบูชาไว้ 3 วันเท่าเดิม แต่ลดวันเข้าปุริมพรรษาจากเดิมให้หยุด 7 วันเหลือเพียง 3 วัน คงวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงไว้ 1 วันเท่าเดิม ตัดวันมาฆะบูชาจาตุรงค์สันนิบาต วันทำบุญพระบรมอัษฐิ และพระราชพิธีฉัตรมงคลของรัชสมัยเดิมออก ทั้งนี้เนื่องจากการประกาศวันหยุดในราชกิจจานุเบกษาอยู่ในช่วงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นจึงมีการกำหนดวันหยุดราชการในพระราชพิธีฉัตรมงคลใหม่เป็นวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ รวม 3 วัน ตามวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2468 (นับศักราชแบบเก่า) และเปลี่ยนวันหยุดเฉลิมพระชนมพรรษาจากเดิมคือวันที่ 30 ธันวาคม – 3 มกราคมซึ่งกำหนดตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวที่เคยให้หยุดราชการ 5 วัน เหลือเพียง 3 วันคือวันที่ 7-9 พฤศจิกายนซึ่งกำหนดใหม่ตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งตรงกับวันที่ 8 พฤศจิกายน 2436 ทำให้วันหยุดราชการตามประกาศราชกิจจานุเบกษาใหม่รวมแล้วเหลือเพียง 18 วัน

ปี 2477 มีการเปลี่ยนรัชสมัยมาสู่การครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลหลังพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวสละราชสมบัติแล้ว ต่อมาในปี 2478 คณะรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เห็นควรให้มีการกำหนดวันหยุดราชการ และการประกอบพิธีทางราชการที่เกี่ยวกับวันหยุดราชการให้เป็นระเบียบเรียบร้อย จึงได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาในการกำหนดวันหยุดราชการซึ่งประกอบด้วย[8]

  • หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ เป็นประธานกรรมการ
  • พระยาเทวาธิราช เป็นกรรมการ
  • หลวงนาถนิติธาดา เป็นกรรมการ
  • หลวงวิจิตรวาทการ เป็นกรรมการ
  • ขุนสมาหารหิตคดี เป็นกรรมการ

และในเวลาต่อมามีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดวันหยุดราชการตามมติคณะรัฐมนตรี[9] ได้แก่

  • วันตรุษสงกรานต์ (New Year) (31 มีนาคม – 2 เมษายน) รวม 3 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7)[10] รวม 2 วัน
  • วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (Constitution Petition Day) (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (Provisional Constitution Day) (27 มิถุนายน) รวม 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (20 กันยายน) รวม 1 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (วันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

การเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการดังกล่าวทำให้จำนวนวันหยุดราชการลดลงไป 3 วันเหลือเพียง 15 วัน กล่าวคือวันหยุดในช่วงตรุษสงกรานต์หายไป 1 วันคือวันที่ 3 เมษายน ลดวันหยุดเนื่องในวันวิสาขะบูชาไป 1 วันคือลดวันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันก่อนถึงวันวิสาขะบูชา และลดวันหยุดเนื่องในวันเข้าพรรษาไป 1 วันคือลดวันขึ้น 14 ค่ำ ซึ่งเป็นวันก่อนถึงวันเข้าพรรษา นอกจากนี้ยังไม่มีวันหยุดเนื่องในวันวันสวรรคตแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง (23 ตุลาคม) อย่างเช่นในปีที่ผ่านๆมา รวมทั้งไม่มีการกำหนดวันหยุดเนื่องในพระราชพิธีฉัตรมงคลทั้งนี้เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นครองราชย์ในขณะทรงพระเยาว์และทรงประทับอยู่ต่างประเทศเพื่อศึกษาต่อจึงยังไม่ได้มีพระราชพิธีราชาภิเษก และได้เปลี่ยนวันหยุดราชการเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาจากเดิม 7 – 9 พฤศจิกายนตามวันพระราชสมภพของรัชกาลก่อนหน้ามาเป็น 20 กันยายนตามวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลซึ่งลดจำนวนวันหยุดราชการเนื่องในวันดังกล่าวจากเดิม 3 วันเหลือเพียง 1 วัน อย่างไรก็ตามในประกาศดังกล่าวได้มีการเพิ่มวันหยุดราชการใหม่เพิ่มเข้ามา 4 วันได้แก่ วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (24 มิถุนายน 1 วัน) วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (27 มิถุนายน 1 วัน) วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม 3 วัน) และวันมาฆะบูชา 1วัน[11]

ในปี พ.ศ. 2481 ได้มีประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดทำงานของธนาคารประจำปี 2481-2482 โดยมีวันหยุดของธนาคารดังต่อไปนี้[12]

  • วันจันทร์ที่ 1 มกราคม วันหยุดประจำภาค
  • วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ วันมาฆะบูชา
  • วันจันทร์ที่ 20 และวันอังคารที่ 21 กุมภาพันธ์ วันตรุษจีน
  • วันศุกร์ที่ 31 มีนาคมและวันเสาร์ที่ 1 เมษายน วันตรุษสงกรานต์
  • วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน วันที่ระลึกมหาจักรี
  • วันศุกร์ที่ 7 เมษายน วันอีสเตอร์
  • วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม วันวิสาขะบูชา[13]
  • วันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ
  • วันอังคารที่ 27 มิถุนายน วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว
  • วันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม วันหยุดประจำภาค
  • วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม วันเข้าปุริมพรรษา
  • วันพุธที่ 20 กันยายน วันเฉลิมพระชนม์พรรษา
  • วันจันทร์ที่ 2 ตุลาคม วันหยุดประจำภาค
  • วันจันทร์ที่ 11 ธันวาคม วันรัฐธรรมนูญ
  • วันจันทร์ที่ 25 ธันวาคม วันตรุษฝรั่ง
  • วันพฤหัสบดีที่ 8 และวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ วันตรุษจีน
  • วันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ วันมาฆะบูชา
  • วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม วันอีสเตอร์

และในปีเดียวกันกระทรวงการคลังได้มีประกาศเพิ่มเติมให้วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน 2481 เป็นวันหยุดธนาคารอีกหนึ่งวัน เนื่องจากช่วงดังกล่าวเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร[14][15] ซึ่งในปีต่อๆมาก็มีประกาศกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดธนาคารมาโดยตลอดทุกปี

ส่วนการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการนั้นมีขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2482 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการประกาศเวลาทำงานของราชการอย่างเป็นทางการ โดยวันจันทร์ถึงวันศุกร์ให้เริ่มงานเวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น.* และให้หยุดพักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. ส่วนวันเสาร์นั้นให้หยุดครึ่งวันคือทำงานตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 12.00 น.[16] โดยให้อำนาจหน่วยงานราชการมีระเบียบพิเศษสามารถเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานได้ตามความสะดวกแต่เมื่อรวมเวลาทำงานแล้วต้องไม่น้อยกว่าเวลาทำงานหนึ่งสัปดาห์ตามประกาศนี้ รวมทั้งยังยังกำหนดให้วันอาทิตย์เป็นวันหยุดประจำทุกๆสัปดาห์ทั่วราชอาณาจักร แต่ยังยกเว้นให้สำหรับโรงเรียนที่อาศัยสถานที่วัดเป็นสถานศึกษาที่ให้หยุดวันพระแทนวันอาทิตย์ ส่วนโรงเรียนที่ไม่ต้องอาศัยวัดก็ให้หยุดวันอาทิตย์ นอกจากนี้ยังกำหนดวันหยุดราชการไว้ด้วย โดยกำหนดให้มีวันหยุดราชการ ดังนี้[17]

  • วันตรุษสงกรานต์และขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 มีนาคม – 1 เมษายน) รวม 2 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

ตามประกาศใหม่ทำให้มีวันหยุดราชการรวม 16 วัน โดยให้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2482 โดยวันหยุดราชการดังกล่าวประกาศใช้เพียง 2 ปีเท่านั้นคือปี 2482 และ 2483 เนื่องจากมีพระราชบัญญัติปีปฏิทินพุทธศักราช 2483 ซึ่งได้กำหนดให้เริ่มปีใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมและสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม ดังนั้นจึงมีการการออกประกาศกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการออกมาใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2483 เพื่อให้สอดคล้องกับปีปฏิทินกล่าวคือได้กำหนดวันขึ้นปีใหม่เป็น 1 มกราคมแทนวันเดิมที่ใช้วันที่ 1 เมษายนเป็นวันขึ้นปีใหม่ ทั้งนี้เวลาต่อมาได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าให้พระบรมวงศานุวงศ์ คณะสงฆ์และประชาชนถือเอาวันที่ 1 มกราคมเป็นวันขึ้นปีใหม่และให้ถือเป็นจารีตประเพณีของชาตินับแต่นั้นมา[18] โดยในประกาศดังกล่าวมีวันหยุดดังนี้[19]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

ทำให้มีวันหยุดราชการตามประกาศดังกล่าวทั้งหมด 17 วัน นอกจากนี้ในประกาศยังคงกำหนดวันเวลาทำงานตามเดิมคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ให้เริ่มงานเวลา 9.00 น. ถึง 16.00 น. และให้หยุดพักรับประทานอาหารกลางวันเวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. ส่วนวันเสาร์นั้นให้หยุดครึ่งวันคือทำงานตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 12.00 น. ส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์นั้นยังคงกำหนดให้เป็นวันอาทิตย์ตามเดิมและระเบียบการหยุดราชการของโรงเรียนก็ให้เป็นไปตามเดิม

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2484 ได้มีประกาศวันหยุดราชการเพิ่มเติมตามมติคณะรัฐมนตรีให้ถือวันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งตรงกับวันที่ 28 มกราคมโดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 57 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2484[20] และต่อมาในสมัยที่นายควง อภัยวงศ์เป็นนายกรัฐมนตรีก็ได้มีการยกเลิกให้วันดังกล่าวเป็นหยุดราชการในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 61 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2487 เท่ากับว่าวันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศสเป็นวันหยุดราชการของปี 2485 และ 2486 เท่านั้นทำให้สองปีนี้มีวันหยุดราชการทั้งสิ้น 18 วัน

ในปี 2488 ได้มีประกาศเกี่ยวกับการกำหนดวันหยุดราชการอีกครั้ง โดยมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้มีวันหยุดราชการดังนี้[21]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 1 มกราคม) รวม 2 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Magha Buja) (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

หลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทรเมื่อ 9 มิถุนายน 2489 และได้อัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชขึ้นครองราชย์ต่อ คณะรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงได้แก้ไขวันหยุดราชการให้มีความเหมาะสมกับรัชสมัยกล่าวคือได้มีการเปลี่ยนวันเฉลิมพระชนมพรรษามาเป็นตามวันพระราชสมภพของรัชกาลปัจจุบันและมีการเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการบางวัน โดยมีวันหยุดราชการรวม 18 วันดังนี้[22]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 1 มกราคม) รวม 2 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน
  • วันประกาศสันติภาพ (Peace Proclamation Day) (16 สิงหาคม) รวม 1 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (5 - 6 ธันวาคม) รวม 2 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

ทั้งนี้รัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้นได้เพิ่มวันประกาศสันติภาพเป็นวันหยุดราชการด้วยโดยวันสันติภาพไทย คือ วันที่ 16 สิงหาคมของทุกปีซึ่งเป็นวันที่ระลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเมื่อย้อนไปในปี พ.ศ. 2488 ก็เป็นวันที่รัฐบาลไทยออก “ประกาศสันติภาพ” อันมีใจความสำคัญส่วนหนึ่งว่า

“การประกาศสงครามเมื่อวันที่ 25 มกราคม พุทธศักราช 2485 ต่อบริเตนใหญ่และสหรัฐอเมริกา ตลอดทั้งการกระทำทั้งหลายซึ่งเป็นปรปักษ์ต่อสหประชาชาตินั้น เป็นการกระทำอันผิดจากเจตจำนงของประชาชาวไทย และฝ่าฝืนขืนขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายบ้านเมือง ประชาชนชายไทยทั้งภายในและภายนอกประเทศ . . . ได้กระทำการทุกวิถีทางที่จะช่วยเหลือสหประชาชาติดังที่สหประชาชาติส่วนมากย่อมทราบอยู่แล้ว ทั้งนี้เป็นการแสดงเจตจำนงของประชาชนชาวไทยอีกครั้งหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยต่อการประกาศสงคราม และการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสหประชาชาติดังกล่าวมาแล้ว”

ผลคือ ประเทศไทยยุติความเป็นปฏิปักษ์กับฝ่ายสัมพันธมิตร พร้อมให้ความร่วมมือ และสนับสนุนการหวนคืนมาของสันติภาพ โดยตัวประกาศมีผู้ลงนามคือ นายปรีดี พนมยงค์ ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ นายทวี บุณยเกตุ ประกาศสันติภาพนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วยไม่ให้ประเทศไทยต้องตกเป็นชาติผู้แพ้สงคราม[23]

ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรีได้มีการประกาศเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการของสี่จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ปัตตานี สตูล ยะลาและนราธิวาสให้สอดคล้องกับทางลัทธิศาสนา โดยให้หยุดราชการประจำทุกๆสัปดาห์ในวันพฤหัสบดี หยุดครึ่งวัน ตั้งแต่เวลา 12.00 น. และวันศุกร์หยุดเต็มวัน[24] โดยประกาศ ณ วันที่ 26 เมษายน 2491 และในปีเดียวกันก็มีประกาศอีกฉบับลงในราชกิจจานุเบกษาเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ พ.ศ. 2491 ที่ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการที่ผ่านมาทั้งหมด และให้ใช้ตามระเบียบใหม่ โดยเรื่องเวลาทำงาน ให้เริ่ม 9.00 น. ถึง 16.00 น. หยุดรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. ส่วนวันเสาร์นั้นหยุดครึ่งวัน ทำงานตั้งแต่ 9.00 น. ถึง 12.00 น. โดยให้วันหยุดประจำสัปดาห์คือวันเสาร์ครึ่งวันตั้งแต่ 12.00 น. และวันอาทิตย์ ส่วนการหยุดของโรงเรียนให้ใช้ระเบียบเดิมคือถ้าโรงเรียนใดอาศัยวัดเป็นสถานที่ในการศึกษาให้หยุดวันพระเพื่อเป็นการสะดวกของทางวัด ถ้าโรงเรียนใดไม่อาศัยวัดก็ให้หยุดวันอาทิตย์ ส่วนการหยุดของสี่จังหวัดทางภาคใต้คือปัตตานี สตูล ยะลาและนราธิวาสให้หยุดราชการประจำทุกๆสัปดาห์ในวันพฤหัสบดี หยุดครึ่งวัน ตั้งแต่เวลา 12.00 น. และวันศุกร์หยุดเต็มวัน ส่วนเรื่องวันหยุดราชการ ได้กำหนดให้มีวันหยุดราชการรวม 20 วัน ดังต่อไปนี้[25]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันสงกรานต์ (Songkran) (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (4 - 6 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

ประกาศวันหยุดนี้ถูกยกเลิกในปี 2493 เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรีให้กำหนดวันหยุดราชการใหม่อีกครั้งตามประกาศเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2493 ดังนี้[26]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันสงกรานต์ (Songkran) (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันสหประชาชาติ (United Nations Day) (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (4 - 6 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

ตามติใหม่ของคณะรัฐมนตรีทำให้มีวันหยุดราชการทั้งหมด 23 วัน โดยมีวันหยุดใหม่เพิ่มเข้ามาคือวันสหประชาชาติ

ต่อมามีการออกประกาศเรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2494 ตามติคณะรัฐมนตรีที่ให้แก้ไขวันหยุดราชการใหม่ โดยมีวันหยุดราชการรวม 27 วัน ดังนี้[27]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) (วันเพ็ญและวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันสงกรานต์ (Songkran) (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน
  • วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King’s Coronation) (5 พฤษภาคม) รวม 1 วัน
  • วันพืชมงคล (Harvest Festival) (วันข้างขึ้นเดือน 6 แล้วแต่วันใดจะเป็นวันอุดมฤกษ์ดีที่สุด ซึ่งสำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23, 24, 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันสหประชาชาติ (United Nations Day) (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (The King’s Birthday) (4 - 6 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

และต่อมาในปีเดียวกันมีการประกาศเปลี่ยนแปลงวันหยุดราชการเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาเป็น 5 – 7 ธันวาคม[28]

คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยกเลิกวันหยุดราชการเดิม และให้แก้ไขวันหยุดราชการใหม่ โดยเพิ่มวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดให้มีวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินีเป็นวันหยุดราชการ ดังนั้นจึงมีวันหยุดราชการรวม 28 วันดังต่อไปนี้[29]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) (วันเพ็ญและวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) รวม 1 วัน
  • วันสงกรานต์ (Songkran) (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน
  • วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King’s Coronation) (5 พฤษภาคม) รวม 1 วัน
  • วันพืชมงคล (Harvest Festival) (วันข้างขึ้นเดือน 6 แล้วแต่วันใดจะเป็นวันอุดมฤกษ์ดีที่สุด ซึ่งสำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) รวม 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน
  • วันชาติ (National Day) (23, 24, 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (The Queen’s Birthday) (12 สิงหาคม) รวม 1 วัน
  • วันปิยมหาราช (Chulalongkorn Day) (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันสหประชาชาติ (United Nations Day) (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King’s Birthday) (4 - 6 ธันวาคม) รวม 3 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

ปี 2497 ทางคณะรัฐมนตรีเห็นว่าวันหยุดราชการมีมากเกินไป ไม่เหมาะกับการบริหารราชการในสมัยนั้น เนื่องจากกระทบกับเศรษฐกิจของชาติ จึงได้ลงมติให้แก้ไขวันหยุดราชการอีกครั้ง โดยลดวันหยุดราชการแต่ละวันให้เหลือเพียงแค่ 1 วันจากเดิมที่วันหยุดบางวันนั้นมีการกำหนดให้ติดต่อต่อกัน 2-3 วัน และยกเลิกวันหยุดราชการในวันสงกรานต์ วันปิยมหาราชและวันสหประชาชาติ[30] แต่ต่อมาในปีเดียวกัน ได้มีประกาศให้วันที่ 24 ตุลาคมซึ่งเป็นวันสหประชาชาติเป็นวันหยุดราชการเหมือนเดิม[31] ดังนั้นจึงมีวันหยุดราชการ 12 วันดังนี้

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (1 มกราคม) 1 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) 1 วัน
  • วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King’s Coronation) (5 พฤษภาคม) 1 วัน
  • วันพืชมงคล (Harvest Festival) (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) 1 วัน
  • วันชาติ (National Day) (24 มิถุนายน) 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (The Queen’s Birthday) (12 สิงหาคม) 1 วัน
  • วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม) 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King’s Birthday) (5 ธันวาคม) 1 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (10 ธันวาคม) 1 วัน

อีก 2 ปีต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรี ประกาศ ณ วันที่ 14 เมษายน 2499 ให้เพิ่มวันหยุดราชการอีก 2 วันคือวันที่ 15 เมษายน ซึ่งกำหนดให้เป็นวันแม่ และวันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม ซึ่งกำหนดให้เป็นวันเด็ก[32] นับเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดวันแม่และวันเด็กให้เป็นวันหยุดอย่างเป็นทางการ แต่ในการจัดฉลองวันเด็กแห่งชาตินั้น รัฐบาลได้จัดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2498 ซึ่งจัดขึ้นพร้อมกับวันเด็กสากลทั่วโลกคือวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความต้องการของเด็ก[33] ส่วนการจัดงานวันแม่นั้นจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2486 ณ สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 จนมีมติคณะรัฐมนตรีในปี 2499 ให้วันที่ 15 เมษายน เป็นวันหยุดราชการเนื่องในวันแม่ และถูกยกเลิกในปีต่อมา[34] ส่วนการจัดงานวันแม่ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน จนในปี พ.ศ. 2519 คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[35]

ต่อมาก็มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2500 อนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้เด็กและครูหยุดราชการในวันเด็ก (จันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปี) และวันครู (วันที่ 16 มกราคมของทุกปี) ได้เช่นกัน แต่ก็ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2503 เปลี่ยนแปลงวันเด็กจากจันทร์แรกของเดือนตุลาคมของทุกปีเป็นวันเสาร์ที่สองของเดือนมกราคมของทุกปีแทน[36]

นอกจากนี้ในปี 2499 คณะรัฐมนตรีได้พิจารณาแก้ไขวันหยุดราชการประจำสัปดาห์อีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่าการหยุดวันเสาร์ครึ่งวันและวันอาทิตย์เต็มวันนั้น เป็นวันหยุดสากลสำหรับธุรกิจทั่วไป แต่สำหรับประเทศไทยซึ่งมีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติและใช้พุทธศักราชนับปีราชการ จึงสมควรที่จะมีวันหยุดเพื่อบำเพ็ญศาสนกิจด้วย ดังนั้นจึงกำหนดให้หยุดประจำสัปดาห์ในวันธรรมสวนะและวันอาทิตย์แทน และยกเลิกการหยุดวันเสาร์ครึ่งวันเสีย ซึ่งวันหยุดราชการประจำสัปดาห์นี้ให้ใช้สำหรับโรงเรียนด้วย นอกจากนี้ยังกำหนดให้สี่จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ยะลา สตูล และนราธิวาสให้หยุดราชการประจำสัปดาห์ทุกวันศุกร์และวันอาทิตย์แทน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2499 เป็นต้นไป[37] แต่การประกาศให้หยุดราชการในวันธรรมสวนะใช้ได้ไม่นานก็พบว่าไม่สะดวกแก่การปฏิบัติราชการ ดังนั้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2500 จึงได้ประกาศให้กลับไปใช้วันหยุดประจำสัปดาห์ตามเดิมคือ วันเสาร์หยุดครึ่งวันและวันอาทิตย์เต็มวัน และโรงเรียนก็ให้ไปใช้ระเบียบเดิม ส่วนสี่จังหวัดภาคใต้ก็ให้ไปหยุดวันพฤหัสบดีครึ่งวันและวันศุกร์เต็มวันตามเดิม[38] และในปีเดียวกันก็มีการแก้ไขวันหยุดราชการใหม่อีกด้วย โดยเพิ่มวันสงกรานต์ และวันปิยมหาราช และยกเลิกวันสหประชาชาติ ทำให้ตามประกาศมีวันหยุดราชการ 13 วันดังนี้[39]

  • วันขึ้นปีใหม่ (New Year) (1 มกราคม) 1 วัน
  • วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน
  • วันจักรี (Chakri Day) (วันที่ 6 เมษายน) 1 วัน
  • วันสงกรานต์ (Songkran) (13 เมษายน) 1 วัน
  • วันฉัตรมงคล (Anniversary of H.M. the King’s Coronation) (5 พฤษภาคม) 1 วัน
  • วันพืชมงคล (Harvest Festival) (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน
  • วันวิสาขะบูชา (Wisakha Buja) 1 วัน
  • วันชาติ (National Day) (24 มิถุนายน) 1 วัน
  • วันเข้าพรรษา (Buddhist Lent) 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (The Queen’s Birthday) (12 สิงหาคม) 1 วัน
  • วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) 1 วัน
  • วันเฉลิมพระชนมพรรษา (The King’s Birthday) (5 ธันวาคม) 1 วัน
  • วันรัฐธรรมนูญ (Constitution Day) (10 ธันวาคม) 1 วัน

ถึงแม้วันหยุดราชการจะเป็นหลักให้หน่วยงานอื่นๆได้หยุดตาม แต่การกำหนดวันหยุดทำงานของบางหน่วยงานมีความเป็นพลวัตมากกว่าวันหยุดราชการ เช่น ธนาคารพาณิชย์ กล่าวคือมีการประกาศกระทรวงการคลังให้วันหยุดเพิ่มเติมหรือแตกต่างไปจากวันหยุดราชการตามปกติ เช่น การหยุดในวันที่มิใช่วันหยุดราชการตามปกติ อาทิ วันตรุษจีน วันอีสเตอร์ วันหยุดประจำภาค เป็นต้น รวมทั้งมีการเพิ่มเติมวันหยุดทำงานชดเชยวันหยุดราชการต่างๆ หากวันหยุดนั้นตรงกับวันเสาร์หรืออาทิตย์ เช่น วันหยุดชดเชย เนื่องจากวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี ในปี 2499 ในวันจันทร์ที่ 13 สิงหาคมอีก 1 วัน เนื่องจากวันที่ 12 สิงหาคมตรงกับวันอาทิตย์[40] นอกจากนี้ยังมีการกำหนดให้มีวันหยุดในวาระพิเศษ เช่น ในปี 2500 มีประกาศให้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นวันหยุดทำงานของธนาคารพาณิชย์อีกด้วย[41] อย่างไรก็ตามนอกจากธนาคารพาณิชย์แล้ว ยังพบว่ามีหน่วยงานราชการอื่นที่ได้กำหนดวันทำงานและวันหยุดของหน่วยงานที่นอกเหนือไปจากประกาศของสำนักนายกรัฐมนตรี เช่น กระทรวงการคลัง ได้ออกกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2500) ออกตามความในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 เพื่อกำหนดให้วันสงกรานต์ และวันปิยมหาราช เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติม และรวมทั้งกำหนดเวลาทำการในวันเสาร์[42] การกำหนดวันหยุดราชการมีการใช้มาช้านาน แต่ใช้เฉพาะหน่วยงานราชการ รวมทั้งบางหน่วยงานที่หยุดตามประกาศเฉพาะ เช่น ธนาคารพาณิชย์ ที่หยุดตามประกาศกระทรวงการคลัง วันหยุดราชการดังกล่าวมิได้บังคับใช้กับลูกจ้างที่มิใช้หน่วยงานราชการ ดังนั้นในปี 2501 จึงได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน วันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้างและการจัดให้มีสวัสดิการเพื่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง โดยใช้กับงานที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป กำหนดให้มีชั่วโมงทำงานของงานแต่ละประเภท คืองานอุตสาหกรรมมีเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมงส่วนงานพาณิชยกรรมเวลาทำงานสัปดาห์ละไม่เกินห้าสิบสี่ชั่วโมง และมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่า 1 วัน วันหยุดงานตามประเพณีตามที่ตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่น้อยกว่าปีละ 12 วัน นอกจากนี้ยังกำหนดให้นายจ้างมีวันหยุดงานพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วันให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปีอีกด้วยโดยไม่นำไปนับรวมกับวันหยุดประจำสัปดาห์และวันหยุดตามประเพณีและให้จ่ายค่าจ้างในวันหยุดดังกล่าวให้ลูกจ้างด้วย อันเป็นการริเริ่มกำหนดให้ลูกจ้างได้รับเงินค่าจ้างในวันหยุด (Paid Holiday) ในประเทศไทย กับมีการกำหนดการจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลาในวันทำงานปกติและค่าล่วงเวลาในวันหยุดอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก[43] และต่อมาในปี 2502 มีประกาศเรื่องกำหนดวันหยุดงานประจำสัปดาห์ของลูกจ้างในงานอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมที่ใช้ลูกจ้างไม่ถึงสิบคนออกมาด้วย[44]

ในปี 2502 ได้มีประกาศเปลี่ยนแปลงเวลาทำงานและวันหยุดราชการอีกครั้ง เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ กล่าวคือคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าเวลาทำงานและวันหยุดราชการในขณะนั้น คือเวลาทำงานที่ให้เริ่ม 9.00 น. ถึง 16.00 น. หยุดรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. ให้วันหยุดราชการประจำสัปดาห์ในวันเสาร์ครึ่งวันและวันอาทิตย์เต็มวันยังไม่เหมาะสม จึงลงมติให้กำหนดเวลาทำงานใหม่เป็น เริ่ม 8.30 น. ถึง 16.30 น. หยุดกลางวัน เวลา 12.00 น. ถึง 13.00 น. และให้หยุดราชการประจำสัปดาห์ในวันเสาร์และวันอาทิตย์เต็มวันทั้ง 2 วัน ส่วนสี่จังหวัดภาคใต้ก็ให้ไปหยุดวันพฤหัสบดีและวันศุกร์เต็มวันทั้ง 2 วันเช่นกัน[45] แต่ต่อมามีมติคณะรัฐมนตรีให้ภาคใต้ 4 จังหวัด คือ ปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส ให้เปลี่ยนเป็นหยุดในวันเสาร์และวันอาทิตย์เต็มวัน เช่นเดียวกับในจังหวัดอื่น (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2506 เรื่องกำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ ซึ่งปรากฏตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2506)[46]

ในปี 2503 ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้ถือวันพระราชสมภพเป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย ดังนั้นคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ยกเลิกวันหยุดราชการในวันที่ 24 มิถุนายน ซึ่งเดิมกำหนดให้เป็นวันชาติ นับแต่นั้นเป็นต้นมา วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีนอกจากจะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแล้วยังเป็นวันชาติอีกด้วย[47] และในปี 2505 ได้มีประกาศให้หยุดราชการในวันขึ้นปีใหม่ เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ทำให้วันหยุดราชการในวันขึ้นปีใหม่มีวันหยุด 2 วันคือวันที่ 31 ธันวาคมและวันที่ 1 มกราคม ซึ่งปรากฏตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 15)[48]

ประเทศไทยมีการกำหนดให้วันที่ 1 พฤษภาคมเป็นวันหยุดทำงานของลูกจ้างตามสากลนิยม (International Worker’s Day) โดยประกาศของกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 27 เมษายน 2504 ซึ่งกำหนดให้เป็น “วันกรรมกรแห่งชาติ (National Labor Day)” ทำให้ต่อมามีการแก้ไขวันหยุดตามประเพณีของลุกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2507) เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน วันหยุดงานของลูกจ้าง การใช้แรงงานหญิงและเด็ก การจ่ายค่าจ้าง และการจัดให้มีสวัสดิการ เพื่อสุขภาพอนามัยของลูกจ้าง ซึ่งระบุให้ “นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างหยุดงานตามประเพณีนิยมปีละไม่น้อยกว่าสิบสามวัน โดยรวมวันที่ 1 พฤษภาคมด้วย ส่วนวันหยุดงานตามประเพณีนิยมวันอื่นให้เป็นไปตามข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ถ้าวันหยุดงานตามประเพณีนิยมวันใดตรงกับวันหยุดงานประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนวันหยุดงานตามประเพณีวันนั้นไปหยุดในวันถัดไป”[49]

คณะรัฐมนตรีมีมติให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันหยุดราชการประจำปีเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน โดยกำหนดให้วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 แต่ถ้าปีใดเป็นปีอธิกมาส (มีเดือนแปดสองหน) ก็ให้ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 หลัง โดยเริ่มตั้งแต่ปี 2505 [50] ทั้งนี้เพราะเหตุผลว่าก่อนหน้านี้ทางราชการก็ได้ประกาศให้วันอาสาฬหบูชาเป็นวันสำคัญทางราชการและให้ชักธงชาติในวันดังกล่าวไปแล้ว และที่ผ่านมาพุทธศาสนิกชนก็ยินดีนิยมประกอบพิธีบูชาและทำบุญในวันอาสาฬหบูชาอย่างทั่วถึงจึงสมควรที่ทางราชการจะหยุดราชการเช่นเดียวกับวันวิสาขบูชาและวันมาฆบูชา สำหรับจังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสตูล นั้น มีวันหยุดราชการเพิ่มขึ้นอีก 2 วัน คือ วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) หนึ่งวัน และวันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) หนึ่งวัน อันเป็นวันสำคัญทางศาสนาอิสลาม เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมและประเพณีอันเป็นวัฒนธรรมท้องถิ่น และเปิดโอกาสให้ข้าราชการได้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาอิสลามตามสมควร (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2517)[51]

นอกจากนั้นยังมีวันหยุดราชการประจำปีที่ใช้เฉพาะส่วนราชการบางแห่ง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม ซึ่งมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2523 อนุมัติใ ห้ข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดกระทรวงกลาโหมหยุดราชการในวันกองทัพไทย (วันที่ 25 มกราคม) ได้ 1 วัน

ในปี 2525 ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้วันที่ 6 เมษายน ซึ่งเดิมเรียกกันว่าวันจักรี ให้เป็น “วันพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและวันที่ระลึกมหาจีกรีบรมราชวงศ์”[52]

ในเดือนเมษายน 2532 คณะรัฐมนตรีมีมติให้กำหนดวันหยุดเพิ่มเติมในวันสงกรานต์ โดยให้หยุดในวันที่ 12-14 เมษายน[53] แต่ต่อมาในปี 2540 คณะรัฐมนตรีลงมติเห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดวันสงกรานต์เป็นวันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน เพื่อให้คนไทยในภาคต่าง ๆ ที่ทำงานต่างถิ่นได้มีโอกาสกลับไปร่วมกิจกรรมให้ตรงกับประเพณีที่สำคัญและยึดถือมาแต่โบราณ[54]

ประเทศไทยมีการประกาศวันหยุดเป็นกรณีพิเศษหลายครั้ง เช่น ในปี 2535 รัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูรได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตท้องที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30 น. เป็นต้นไป และได้มีมติให้หยุดราชการตั้งแต่วันที่ 18-20 พฤษภาคม เฉพาะปีนั้น เพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อยภายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว[55] ปี 2545 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคมเป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเฉพาะปีนั้นอีก 1[56] วันเนื่องจากต้องการให้ประชาชนได้มีวันหยุดยาวในช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ปี 2549 มีมติให้วันที่ 19 เมษายน ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เป็นวันหยุดราชการ[57] เพื่อให้ข้าราชการตลอดจนประชาชนได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2549 กําหนดให้วันจันทร์ที่ 12 และวันอังคารที่ 13 มิถุนายน 2549 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะหน่วยงานที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี และนครปฐม) เนื่องในโอกาสพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี[58] และในปีเดียวกันเกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจจากรัฐบาลโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ก็ได้มีคำสั่งให้วันที่ 20 กันยายน 2549 เป็นวันหยุดราชการและวันหยุดธนาคาร[59] โดยมีเหตุผลว่าเพื่อให้การรักษาความสงบเรียบร้อย กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็วที่สุด ต่อมาในปี 2550 มีการกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 23 ธันวาคม คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคมเป็นวันหยุดราชการเพื่อสนับสนุนให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีความสะดวกในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง นอกจากนี้ยังมีวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษตามคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2551 กําหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2552 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เพื่อให้ประชาชนเดินทางกลับภูมิลําเนา และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศให้ฟื้นตัว[60] และมติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2552 กําหนดให้วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม 2552 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้เป็นวันหยุดต่อเนื่องยาวจากวันเสาร์และอาทิตย์ไปจนถึงวันหยุดเนื่องในวันอาสาฬหบูชาและวันเข้าพรรษาคือวันอังคารที่ 7 และวันพุธที่ 8 กรกฎาคม 2552 เพื่อกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยและส่งเสริมการท่องเที่ยว[61] และในปี 2553 ก็มีมติคณะรัฐมนตรีให้วันศุกร์ที่ 16 เมษายน เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องในเทศกาลสงกรานต์และวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2553 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้มีวันหยุดยาวต่อเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ[62] ระหว่างวันที่ 13-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งรัฐบาลได้ส่งกำลังทหารพร้อมอาวุธสงคราม และรถหุ้มเกราะ เข้าปิดล้อมพื้นที่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) บริเวณแยกราชประสงค์ ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยุบสภาและจัดการเลือกตั้งใหม่ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 19-21 พฤษภาคม 2553 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร เนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศมีความไม่แน่นอนสูง[63] ส่วนปี 2554 ก็มีมติคณะรัฐมนตรีให้วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคมเป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเพื่อให้เป็นวันหยุดยาวต่อเนื่องในช่วงวันพืชมงคล (ศุกร์ที่ 13) เสาร์ที่ 14 และอาทิตย์ที่ 15 และวันวิสาขบูชา (อังคารที่ 17) เพื่อสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวเชิงครอบครัว[64] จากปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ในประเทศไทย พ.ศ. 2554 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2554 กําหนดให้วันอังคารที่ 3 มกราคม 2555 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อสนับสนุนให้มีการท่องเที่ยวและให้ประชาชนมีเวลาซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ปี 2555 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันจันทร์ที่ 9 เมษายน 2555 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เนื่องในงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี[65] ปี 2556 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกําหนดให้วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม 2556 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเป็นกรณีพิเศษ เพื่อให้มีวันหยุดต่อเนื่องจากวันเสาร์อาทิตย์ที่ 28 และ 29 ธันวาคมไปจนถึงวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ในวันอังคารที่ 31 ธันวาคม 2556 และวันพุธ 1 มกราคม 2557 เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และสนับสนุนให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในช่วงเทศกาลปีใหม่[66] นอกจากนี้ยังมีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ให้มีวันหยุดเพิ่มอย่างเป็นทางการได้แก่ วันที่ 11 สิงหาคมอีก 1 วัน ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษาฯ วันแม่แห่งชาติ เพื่อให้มีวันหยุดยาว 4 วัน จากวันที่ 9-12 สิงหาม 2557 เพื่อให้ประชาชนได้มีวันหยุดกับครอบครัวในช่วงเทศกาลวันแม่และเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศจากการจับจ่ายใช้สอยและการท่องเที่ยว[67] ปี 2558 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกําหนดให้วันศุกร์ที่ 2 มกราคม 2558 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว และให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมต่างๆในช่วงเทศกาลปีใหม่[68] และมีมติกําหนดให้วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2558 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมในช่วงวันฉัตรมงคล[69] ปี 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติกําหนดให้วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม 2559 และวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2559 เป็นวันหยุดราชการเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกิจกรรมในช่วงวันหยุดฉัตรมงคลและวันหยุดอาสาฬหบูชา - เข้าพรรษา รวมถึงเพื่อเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศอันจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม[70] และล่าสุดในปี 2559 หลังจากที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้วันที่ 14 ตุลาคม 2559 เป็นวันหยุดราชการ เพื่อให้ประชาชนร่วมถวายอาลัย ส่งดวงพระวิญญาณพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร[71]

นอกจากนี้ยังพบว่ามีการประกาศให้มีวันหยุดราชการในวันสำคัญบางวันเฉพาะบางท้องที่ เช่น ในปี 2555 คณรัฐมนตรีมีมติ ณ วันที่ 10 มกราคม กำหนดให้วันตรุษจีน ซึ่งเป็นวันสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นวันหยุดราชการประจำปีเพิ่มอีก 1 วัน ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสและสตูล[72] และต่อมาคณะรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2556 กําหนดให้วันตรุษอีดิ้ลฟิตรี (วันรายอปอซอ) วันตรุษอีดิ้ลอัฎฮา (วันรายอฮัจยี) และวันตรุษจีน เป็นวันหยุดราชการประจําปีเพิ่มเติมในพื้นที่จังหวัดสงขลา เพิ่มเติมจากจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล[73]

ตลอดเวลาที่ผ่านมามีผู้เสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวันหยุดหลายครั้ง โดยครั้งหนึ่งเมื่อปี 2528 นายนิยม วรปัญญาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นได้เสนอให้เปลี่ยนวันหยุดราชการในวันเสาร์และอาทิตย์มาเป็นหยุดในวันโกนวันพระและวันสำคัญอื่นๆทางพุทธศาสนาแทน โดยให้เหตุผลว่า วันหยุดเสาร์อาทิตย์นั้นไม่ตรงกับวันที่ประชาชนจำเป็นต้องปฏิบัติทางศาสนกิจ เหมือนวันพระวันโกน จึงทำให้ข้าราชการหรือนักเรียนไม่มีโอกาสได้เข้าวัดเพื่อฟังพระธรรมคำสอนต่างๆทางพุทธศาสนา ข้าราชการจึงใช้วันเสาร์และวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดไปหาความสำราญและการละเล่นต่างๆ จึงทำให้ประชาชนมีความเชื่อถือในหลักพระธรรมคำสั่งสอนต่างๆของพุทธศาสนาน้อยลงมาก การหยุดในวันพระวันโกนเพื่อให้ข้าราชการได้มีโอกาสเข้าวัดเพื่อทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรมและใกล้ชิดกับศาสนามากขึ้น อย่างไรก็ตามรัฐาบาลในขณะนั้นเห็นว่าระยะที่ผ่านมานั้นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์นั้นสอดคล้องกับระบบของนานาประเทศซึ่งที่ถือเวลาการปฏิบัติงานตามสุริยคติซึ่งทำให้เกิดความสะดวกและคล่องตัวในการปฏิบัติงาน หากเปลี่ยนไปใช้วันหยุดทางจันทรคติ จะทำให้เกิดความไม่สะดวกในการปฏิบัติราชการเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยต้องติดต่อกับต่างประเทศซึ่งใช้ระบบทางสุริยคติเกือบทั้งสิ้น ดังนั้นจึงไม่ได้เปลี่ยนวันหยุดประจำสัปดาห์มาเป็นหยุดในวันโกนวันพระตามที่นายนิยม วรปัญญาได้เสนอ[74] นอกจากนี้ในปี 2531 นายนิยม วรปัญญายังเคยเสนอให้เปลี่ยนวันหยุดวันหยุดประจำสัปดาห์ของทางราชการและโรงเรียนมาเป็นหยุดในวันโกนวันพระอีกครั้ง[75] โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นเอกลักษณ์ชาติไทย อย่างไรก็ตามทางรัฐบาลยังคงยืนยันไม่เปลี่ยนแปลงวันหยุดประจำสัปดาห์ตามที่นายนิยม วรปัญญาเสนอด้วยเหตุผลเดิมและเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงวันหยุดที่ผูกพันกับศาสนาพุทธ จะก่อให้เกิดปัญหากับคนไทยที่นับถือศาสนาอื่นได้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแตกแยกต่อไปในอนาคตได้และอาจเป็นเหตุให้ประชาชนที่นับถือศาสนาอื่นในบางท้องที่เรียกร้องให้มีการหยุดราชการในวันประกอบศาสนกิจประจำสัปดาห์ของตนเองบ้าง ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาประการอื่นตามมาด้วย[76] นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้กำหนดให้วันพระเป็นวันหยุดทำงานประจำเดือนอีกครั้งหนึ่ง โดยนายเปรมศักดิ์ เพียยุระโดยให้เหตุผลว่าประชากรในประเทศไทยมากกว่าร้อยละ 90 นับถือศาสนาพุทธอีกทั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติไว้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ จึงกล่าวได้ว่าศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของชาติจึงควรส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนคนไทยได้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนที่ดีด้วยการเข้าวัดฟังธรรมในวันธรรมะสวณะโดยการให้เปลี่ยนวันหยุดเสารอาทิตย์มาเป็นวันธรรมะสวณะแทน แต่รัฐบาลในสมัยนั้นก็ยังคงยืนยันให้วันหยุดเป็นวันเสารอาทิตย์เช่นเดิมเพื่อให้สดคล้องกับนานาอารยะประเทศ[77] นายเปรมศักดิ์ เพียยุระยังได้เสนอให้วันสตรีสากล ซึ่งตรงกับวันที่ 8 มีนาคมของทุกปีเป็นวันหยุดราชการโดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการให้ความสำคัญแก่สตรีเช่นเดียวกับทั่วโลก ทั้งนี้ที่ผ่านมารัฐบาลไทยให้ความสำคัญกับการจัดงานเพื่อสดุดีและยกย่องระลึกถึงคุณงามความดีของสตรีไทยน้อยมาก หากรัฐบาลประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมเป็นวันหยุดราชการจะสามารถจัดงานสตรีสากลได้อย่างกว้างขวาง จะทำให้หน่วยงานราชการและองค์กรต่างๆ ให้การสนับสนุนร่วมกันจัดงานมากขึ้นและเพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย[78] อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่ได้ประกาศให้วันสตรีสากลเป็นวันหยุดโดยให้เหตุผลว่าที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายสนับสนุบให้จัดงานวันสตรีสากลทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคประจำทุกปี และการกำหนดวันหยุดราชการประจำปีนั้น ทางราชการจะพิจารณากำหนดจากวันที่เป็นสำคัญเกี่ยวกับชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์หรือวันที่เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่สืบต่อกันมา และหากมีวันหยุดราชการเพิ่มอีกอาจทำให้ประชาชนเข้าใจว่ารัฐบาลสนับสนุนให้ข้าราชการทำงานน้อยลง ไม่สอดคล้องกับสภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ จึงไม่สมควรที่จะมีวันหยุดราชการเพิ่มในขณะนั้น นอกจากนี้นายเปรมศักดิ์ เพียยุระยังเคยเสนอให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น “วันประชาธิปไตย” และให้เป็ยวันหยุดราชการ แต่รัฐบาลเห็นว่าวันที่ 10 ธันวาคมซึ่งเป็นวันที่มีรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ซึ่งถูกประกาศให้เป็นวันรํฐธรรมนูญและเป็นวันหยุดราชการทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งวันที่ 10 ธันวาคมมีความสำคัญมากกว่าวันที่ 24 มิถุนายนซึ่งมีความหมายเป็นเพียงวันเปลี่ยนแปลงการปกครองเท่านั้น[79]

จะเห็นได้ว่าวันหยุดราชการของประเทศไทยนั้นมีประวัติตวามเป็นมาอย่างยาวนาน และการกำหนดวันหยุดยังมีความสอดคล้องกับวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ รวมถึงวัฒนธรรมประเพณี สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมืองและพื้นที่อีกด้วย ดังนั้นวันหยุดจึงไม่ได้มีสถานะที่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบริบททางสังคม


รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 8

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

รัชกาลที่ 9

พหลพลพยุหเสนา

พิบูลสงคราม

พิบูลสงคราม

พิบูลสงคราม

ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมท

ปรีดี พนมยงค์

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

จอมพล ป. พิบูลสงคราม

พจน์ สารสิน

จอมพล ส. ธนรัตน์

จอมพล ส. ธนรัตน์

จอมพล ส. ธนรัตน์

พลเอกชาติชาย ชุณหวัณ

พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 56 วันที่ 10 มกราคม 2480

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 56 วันที่ 4 มีนาคม 2482

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 57 วันที่ 14 กันยายน 2483

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 57 วันที่ 11 พฤศจิกายน 2484

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 62 วันที่ 25 ธันวาคม 2488

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 63 วันที่ 20 สิงหาคม 2489

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 65 วันที่ 10 สิงหาคม 2491

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 67 วันที่ 12 ธันวาคม 2493

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 68 วันที่ 10 กรกฎาคม 2494 และราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 68 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2494

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 69 วันที่ 9 กันยายน 2495

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 71 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2497 และราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 71 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2497

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 73 ลงวันที่ 24 เมษายน 2499

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2500

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 77 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2503

2505

ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 79 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2505

2532

2540

-

-

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน

-

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 1 มกราคม) รวม 2 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 1 มกราคม) รวม 2 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคม – 2 มกราคม) รวม 3 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) 1 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) 1 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) 1 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคมและ 1 มกราคม) 2 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคมและ 1 มกราคม) 2 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคมและ 1 มกราคม) 2 วัน

วันขึ้นปีใหม่ (31 ธันวาคมและ 1 มกราคม) 2 วัน

-

-

-

วันลงนามในสัญญาพักรบระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินโดจีนฝรั่งเศส (27 มกราคม) รวม 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วันตรุษสงกรานต์ (31 มีนาคม – 2 เมษายน) รวม 3 วัน

วันตรุษสงกรานต์และขึ้นปีใหม่ (31 มีนาคม – 1 เมษายน) รวม 2 วัน

-

-

-

-

วันสงกรานต์ (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13, 14 และ 15 เมษายน) รวม 3 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน) รวม 1 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน) รวม 1 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน) รวม 1 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13 เมษายน) รวม 1 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 12-14 เมษายน) รวม 3 วัน

วันสงกรานต์ (วันที่ 13-15 เมษายน) รวม 3 วัน

วันแม่ (15 เมษายน) 1 วัน

-

-

-

-

-

-

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

-

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันจักรี (6 เมษายน) รวม 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันพืชมงคล (สำนักพระราชวังจะได้กำหนดเป็นปีๆไป) 1 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

-

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันวิสาขะบูชา รวม 1 วัน

วันขอพระราชทานรัฐธรรมนูญ (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน

วันชาติ (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน

วันชาติ (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน

-

วันชาติ (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน

วันชาติ (23 – 25 มิถุนายน) รวม 3 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) รวม 1 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) 1 วัน

วันชาติ (24 มิถุนายน) 1 วัน

ยกเลิกวันชาติ

-

-

-

-

วันรัฐธรรมนูญชั่วคราว (27 มิถุนายน) รวม 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วันอาสาฬหบูชา 1 วัน

วันอาสาฬหบูชา 1 วัน

วันอาสาฬหบูชา 1 วัน

วันเข้าพรรษา (วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน

-

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 15 และแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 2 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน

วันเข้าพรรษา (ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำและแรม 1 ค่ำ เดือน 8) รวม 3 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเข้าพรรษา 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระบรมราชินี (12 สิงหาคม) 1 วัน

วันเด็ก (วันจันทร์สัปดาห์แรกของเดือนตุลาคม) 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วันประกาศสันติภาพ (16 สิงหาคม) รวม 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันปิยมหาราช (23 ตุลาคม) รวม 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน

วันสหประชาชาติ (24 ตุลาคม) รวม 1 วัน

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

-

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) รวม 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) รวม 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) รวม 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันฉัตรมงคล (5 พฤษภาคม) 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (20 กันยายน) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน

-

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (20 – 21 กันยายน) รวม 2 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 - 6 ธันวาคม) รวม 2 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (4 - 6 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 - 7 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 - 7 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 - 7 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันเฉลิมพระชนม์พรรษา (5 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

-

วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 – 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (9 - 11 ธันวาคม) รวม 3 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันรัฐธรรมนูญ (10 ธันวาคม) รวม 1 วัน

วันมาฆะบูชา (วันเพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

วันมาฆะบูชา (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

วันมาฆะบูชา (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

-

วันมาฆะบูชา (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

วันมาฆะบูชา (เพ็ญเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 1 วัน

วันมาฆะบูชา (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันมาฆะบูชา (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันมาฆะบูชา (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันมาฆะบูชา (วันเพ็ญและวันแรมเดือน 3 หรือเดือน 4 แล้วแต่กรณี) รวม 2 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

วันมาฆะบูชา (Makha Buja) 1 วัน

15 วัน

16 วัน

17 วัน

เพิ่มเติม

17 วัน

18วัน

20 วัน

23 วัน

27 วัน

28 วัน

12 วัน

เพิ่มเติม

13 วัน

12 วัน

13 วัน

14 วัน

16 วัน

16 วัน





[1] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 30 วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2456 หน้า 533-535

[2] เรื่องเดียวกัน หน้า 534

[3] เรื่องเดียวกัน หน้า 534

[4] เรื่องเดียวกัน หน้า 535

[5] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 31 วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2457 หน้า 57-58

[6] ในประกาศราชกิจจานุเบกษาเขียนทั้งตะรุสะสงกรานต์และตะรุษะสงกรานต์

[7] ในประกาศราชกิจจานุเบกษาเขียนทั้งวิสาขะบูชา และวิศาขะบูชา

[8] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2478 หน้า 2586

[9] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2480 หน้า 2338-2339

[10] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2480 หน้า 2550 ได้มีประกาศบอกแก้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดวันหยุดราชการให้ติมคำว่า “หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี” ลงในข้อ 3 ให้อ่านได้ความว่า “3. วันวิสาขะบูชา (Visakha Buja) (วันขึ้น 15 ค่ำและวันแรม 1 ค่ำ เดือน 6 หรือเดือน 7 แล้วแต่กรณี) 2 วัน

[11] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 54 วันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2480 หน้า 2338-2339

[12] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 55 วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2481 หน้า 2594-2595

[13] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2482 หน้า 230

[14] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 55 วันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 หน้า 2757

[15] https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล_พระอัฐมรามาธิบดินทร (เข้าถึงเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2559)

*ในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ระบุว่าวันทำงานคือวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ผู้เขียนอนุมานเอาว่าวันทำงานของราชการที่ทำเต็มวันคือที่ระบุ 9.00 น. ถึง 16.00 น. นั้นหมายถึงวันจันทร์ถึงวันศุกร์เท่านั้น

[16] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 56 วันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2482 หน้า 3552

[17] เรื่องเดียวกัน หน้า 3553-3553

[18] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 58 วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 หน้า 31-33

[19] ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 57 วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2483 หน้า 1754-1756

[20] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 57 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2484 หน้า 3957

[21] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 62 ลงวันที่ 25 ธันวาคม 2488 หน้า 1955-1956

[22] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 63 ลงวันที่ 20 สิงหาคม 2489 หน้า 1130-1132

[23] ภูริ ฟูวงศ์เจริญ. ปกิณกะ: แนะนำวันสันติภาพไทย.

[24] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 65 ลงวันที่ 4 พฤษภาคม 2491 หน้า 1618-1619

[25] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 65 ลงวันที่ 10 สิงหาคม 2491 หน้า 2312-2314

[26] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 67 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2493 หน้า 6374-6377

[27] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 68 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2494 หน้า 2811-2814

[28] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 68 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2494 หน้า 5491

[29] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 69 ลงวันที่ 9 กันยายน 2495 หน้า 2919-2922

[30] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 71 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2497 หน้า 1260-1262

[31] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 71 ลงวันที่ 3 สิงหาคม 2497 หน้า 1684-1685

[32] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 73 ลงวันที่ 24 เมษายน 2499 หน้า 1300

[33] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 72 ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2498 หน้า 2529-2534

[34] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2500 หน้า 2466-2467

[35] https://th.wikipedia.org/wiki/วันแม่แห่งชาติ เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2559

[36] http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?... เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2559

[37] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 73 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2499 หน้า 2980-2981

[38] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2500 ฉบับพิเศษ หน้า 1

[39] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2500 หน้า 2466-2467

[40] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 73 ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2499 หน้า 2269

[41] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2500 หน้า 525

[42] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 74 ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2500 หน้า 1387-1390

[43] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 75 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2501 หน้า 691-724

[44] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 76 ลงวันที่ 27 มกราคม 2502 ฉบับพิเศษหน้า 4-5

[45] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 76 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2502 ฉบับพิเศษหน้า 1-2

[46] http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?... เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2559

[47] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 77 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2503 ฉบับพิเศษหน้า 1

[48] http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?... เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2559

[49] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 81 ลงวันที่ 7 เมษายน 2507 ฉบับพิเศษหน้า 214-232

[50] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 79 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2505 ฉบับพิเศษหน้า 1375-1376

[51] http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program1-4-2.jsp?... เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2559

[52] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 99 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2525

[53] เรื่องของวันหยุด ที่มากกว่า...วันหยุด (ตอน ๑) http://www.oknation.net/blog/tumkrubb/2012/12/31/e...

[54] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 114 ลงวันที่ 1 เมษายน 2540 หน้า 53

[55] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2535 หน้า 6

[56] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 119 ลงวันที่ 2 ธันวาคม 2545

[57] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 122 ลงวันที่ 30 ธันวาคม 2548

[58] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 123 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2549

[59] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 123 ลงวันที่ 20 กันยายน 2549

[60] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 125 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2551

[61] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 126 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2552

[62] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 127 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553

[63] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 127 ลงวันที่ 16 กันยายน 2553

[64] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 128 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2554

[65] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 129 ลงวันที่ 12 มีนาคม 2555

[66] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 130 ลงวันที่ 18 พฤศจิกายน 2556

[67] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 131 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557

[68] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 131 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2557

[69] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 132 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2558

[70] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 132 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2558

[71] ประกาศมติ ครม.ให้วันที่ 14 ต.ค.59 เป็นวันหยุดราชการ งดจัดงานรื่นเริง 1 เดือน http://www.manager.co.th/OnlineSection/ViewNews.as... เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2559

[72] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 129 ลงวันที่ 26 มกราคม 2555 หน้า 4

[73] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 130 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2556

[74] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 102 ลงวันที่ 23 สิงหาคม 2528 ฉบับพิเศษ หน้า 55-60

[75] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 105 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ฉบับพิเศษ หน้า 8-9

[76] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 105 ลงวันที่ 31 ธันวาคม 2531 ฉบับพิเศษ หน้า 10-13

[77] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 120 ลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2546 หน้า 39-40

[78] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 118 ลงวันที่ 20 มิถุนายน 2544 หน้า 37-38

[79] ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 118 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2544 หน้า 36-38

คำสำคัญ (Tags): #วันหยุด#holiday
หมายเลขบันทึก: 617180เขียนเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 ตุลาคม 2016 13:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท