ขันธ์ ๕


http://www.trisikkhameditationcenter.org/#!about1/c20vw

ขอแนะนำหลักการปฎิบัติธรรม..
คุยกันเรื่อง "ขันธ์ 5"...

ขันธ์ห้าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฎิบัติธรรมเป็นเครื่องมือที่พวกเราทุกคนจำเป็นต้องรู้ เพราะว่ามันคือเราคือของที่เรายึดมันถือมั่น เป็นของที่เรามีอยู่ทุกเวลาทุกนาที. แต่พวกเราไม่เคยสนใจเข้ามามองภายใน แต่มัวแต่มองออกไปภายนอกทางอายตนะ และหลงเพลิดเพลินอยู่กับวัตถุกามเหล่านั้นจนลืมกายและใจตนเอง

มาวันนี้เราจะมาศึกษาเรียนรู้และเข้าใจลักษณะของ
ขันธ์ 5 เพื่อความง่ายดายลัดสั้นต่อการปฏิบัติครับ

ขันธ์ ห้า ประกอบไปด้วย
1 รูป
ซึ่งประกอบไปด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ้ารู้สึกถึงปรมัตถ์อารมณ์คือธาตุดิน น้ำ ลม และไฟ
2 เวทนา คือความรู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยเฉย
รู้เวทนาทางกายเช่นความปวดเมื่อยต่างๆ และมีเวทนาทั้งใจด้วย
3 สัญญา คือการจำได้และหมายรู้ ส่วนมากจะประกอบไปทางอดีต
4 สังขาร คือการปรุงแต่งกลุ่มไปทางกุศลและอกุศล
พวกกิเลสทั้งหลายหรือพวกที่ทำความดีทั้งหลายก็ปรุงแต่งมาจากสังขาร และสังขารส่วนมาก
ก็จะปรุงไปทางอนาคต
5 วิญญาณ คือธาตุรู้ หน้าที่ของวิญญาณคือรับรู้อารมณ์ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นวิญญาณก็รับรู้เพราะคือหน้าที่ของมัน วิญญาณจะวนเกิด ตลอดทุกขณะในสี่ขันธ์ด้านบน วิญญาณจะเกิดทีละหนึ่งขณะแต่สามารถมีเจตสิกเกิดร่วมด้วยหลายอันก็ได้ แต่จิตรู้ จะรู้เด่นขึ้นมาให้รู้สึกที่ละขณะเท่านั้น

ขันธ์ห้าตกอยู่ภายใต้ ระบบของการเวียนว่ายตายเกิด ระบบของการใช้กรรม ขันธ์ห้า ตกอยู่ใต้กฎของไตรลักษณ์ หากเรายังยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้งห้านี้ ชีวิตของเราก็จะตกอยู่ภายใต้ระบบนี้ พระพุทธเจ้าทรงเห็นแล้วทรงจมกับมัน และติดอยู่กับมันหลายภพหลายชาติจนท่านเกิดปัญญาตรัสรู้อริยสัจสี่. จนเห็นได้ว่าสิ่งที่ทำให้เกิดขันธ์ห้าตัวทุกข์นี้ คือสมุทัย หรือตัณหา. เมื่อมีความอยากเกิดขึ้นจิตก็ไม่มีอิสระ ต้องดิ้นรนขวนขวายทำตามอิทธิพลของความอยาก ไร้ซึ่งอิสรภาพ เลยเป็นเหตุให้สร้างกรรมใหม่ให้เกิดทุกข์ใหม่เกิดขันธ์ห้าใหม่ แล้ว วนเกิด วนตาย ในภพภูมิหลงอยู่ในวัฏฎะ
แต่พระองค์ทรงมีปัญญาล้ำเหลือ หาวิธีที่จะหลุดออกจากกองทุกข์นี้ได้ นั่นแหละคือการมีศีล สมาธิและปัญญา นั่นก็คือมรรควิธี นี้เอง
ท่านสั่งสอน บอกกิจและหน้าที่ที่ต้องทำต่อทุกข์หรือ ขันธ์ห้า คือต้องรู้มัน แค่รู้ไม่ต้องทำอะไรเพราะว่าทุกข์ มันเกิดขึ้นแล้ว มันเป็นผลแล้ว แก้ไขไม่ได้หน้าที่ของเราคือต้องรู้ แล้วย้อนกลับมาดูปฏิกิริยาของจิตที่มีต่อความรู้สึกนั้นหรือทุกข์นั้น แล้ว ละตัวตัณหาหรือสมุทัย

ลองสังเกตุดูนะครับทุกครั้งที่รู้สึกอะไรขันธ์ห้าเกิดขึ้นแล้ว เราเห็นกายเคลื่อนไหว รู้สึกจิตที่เป็นนึกคิด เห็นกิเลสที่เกิดขึ้นในใจ. รู้สึกถึงการปรุงแต่งไปทางกุศลและกุศล รู้สึกสุขทุกข์หรือเฉยเฉยแม้กระทั่งรู้สึกนิ่งนิ่งว่างว่าง หรือเพ่ง ขณะที่วิญญาณไปรับรู้หรือเรารู้สึกอะไรนั่นคือขันธ์เกิดขึ้นแล้ว หากเราไม่รู้ทันจิตก็จะจมไปกับอารมณ์และยึดมั่นถือมั่นอารมณ์นั้นหลงตามมันไป แต่หากเรามีสติมีสมาธิตั้งมั่น มีปัญญาตามรู้ตามดูตามความเป็นจริง แล้วเราจะหลุดออกจากมัน มองเห็นมันเป็นอย่างที่มันเป็นโดยไม่จมไปกับมัน ทำเช่นนี้บ่อยบ่อยภพชาติก็จะหลุดไปเองค่อยค่อยขาดจากเราไปเอง การสร้างกรรมใหม่ก็น้อยลง ชีวิตก็จะมีความสุขมากขึ้น สุขที่เห็นขันธ์ทำหน้าที่ของขันธ์อยู่แต่จิตที่ฉลาดจะไม่จมไปในขันธ์ที่รู้สึก/เห็นอยู่น่ะ

เพราะฉะนั้นที่สำคัญที่สุดในขณะที่เราปฏิบัติหรือใช้ชีวิตประจำวันขอให้เราเข้าใจไว้ว่าขันธ์ห้าแต่ละตัวเค้าต้องทำหน้าที่ของเขา อย่าไปบังคับเขาอย่าไปกดเขา เพื่อไม่ให้เค้าทำ. เพื่อให้ดี เพราะจะเป็นการบังคับกายและใจ แต่เราภาวนาเพื่อต้องการเห็นความจริงของเค้าว่า เค้าเป็นไตรลักษณ์ เป็นเช่นนี้นี่เอง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ที่ขันธ์ห้าทำงานขึ้นมา เรามีหน้าที่แค่รู้
อย่างเช่น นั่งแล้วไม่สงบเลยฟุ้งตลอด ถ้าจิตเป็นผู้ดูผู้รู้ ขณะที่ฟุ้งหรือไม่สงบนั้นขันธ์ห้าเกิดขึ้นแล้ว สังขารขันธ์ทำหน้าที่เป็นอกุศล เค้าทำหน้าที่ของเขา. หน้าที่ของเราอย่าไปแก้ไขแค่รู้ว่าฟุ้ง แล้วให้จิตกลับมารู้ที่วิหารธรรมสบายสบาย หรือนั่งแล้วมีความสุขความสบายขณะที่จิตรับรู้เอา..ขันธ์ห้าเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ของเราคือรู้ทัน ตรงที่รู้นี่แหละหนึ่งขณะจิตจิตหลุดล่ะ มันหลุดจากขันธ์แล้ว
จิตพรากมาเป็นผู้ดูผู้รู้...(ทำอย่างนี้บ่อยๆ มากๆ สะสมสมาธิจิตตั้งมั่นเป็นคนดูล่ะ)
ขณะที่รู้สึก/เห็นสภาวะของขันธ์ทำงานนี่ มันแยกธาตุแยกขันธ์ออกมาให้ดูอยู่นะ มีตัวหนึ่งดู มีอีกตัวแสดงให้ดูอยู่ เพราะฉะนั้น หากเราเข้าใจขันธ์ ขณะที่เราปฏิบัติอยู่หรือใช้ชีวิตจำวันอยู่เราจะเห็นว่าขันธ์มันทำหน้าที่ของมันเอง เดี๋ยวก็มีอดีตเกิดขึ้นเดี๋ยวก็มีอนาคตเกิดขึ้นเดี๋ยวก็มีสุขมีทุกข์เดี๋ยวก็รู้สึกตัว รู้สึกกายขยับเขยื่อน เดี๋ยวใจก็มีกุศล มีอกุศลเดี๋ยวก็มีกิเลสเดี๋ยวก็เบื่อเดี๋ยวก็ดีใจ ฯลฯ นั่นคือขันธ์ทำหน้าที่ของมัน เค้าเป็นเช่นนี้นี่เอง. หน้าที่ของเราคือแค่ รู้ ตรงที่รู้นี้จิตดวงนี้มันละสมุทัยแล้ว มันกำลังเจริญมรรคอยู่ และกำลังปฏิบัติเข้าถึงนิโรธ(นิโรธมีหลายระดับ)ไปทีละขณะๆ
และเราต้องทำบ่อยบ่อยหมั่นรู้มันดูไปบ่อยๆ จิตจะแยกเองจากขันธ์ หากเราภาวนามากขึ้นเข้าใจกันมากขึ้นเมื่อไหร่ที่เราปฏิบัติ จิตใจดี หรือฟุ้ง หรือมีกิเลสนิวรณ์เกิดขึ้น หรือมีความไม่ได้ดั่งใจ ความทุกข์มีไตรลักษณ์เป็นอาการของมันเอง นั่นคืออาการของขันธ์ห้าทั้งนั้นเลยและลักษณะของขันธ์ห้าด้วย

โปรดอย่าลืมถ้าเราอยากจะพ้นทุกข์ เราต้องหมั่นมีสติเนืองๆ และรู้ทันอารมณ์หรือขันธ์ที่เกิดขึ้น ทำบ่อยบ่อยบ่อยบ่อย หากเราเข้าใจธรรมชาติของขันธ์ห้าแล้ว การภาวนาของเรา และการใช้ชีวิตของเรามันจะต้องมีขันธ์ห้าเสมอ เราจะภาวนาง่ายขึ้นมีชีวิตที่เป็นอยู่ง่ายขึ้นเพราะเราเข้าใจเขาเป็นเช่นนี้นี่เอง แล้วเราจะวางเค้าได้ด้วยจิตที่สงบ และมีสันติ

หากเราวางขันธ์ห้า วางหมายถึงแค่รู้สึก ไม่เข้าไปจมในอารมณ์ได้นะ การปรุงแต่งก็ไม่มีการสร้างพบสร้างชาติ มันก็ไม่มีภพชาติใหม่ที่จะไปเกิดในขณะจิตต่อมา พรหมจรรย์ก็สิ้น ชาติก่อก็สิ้น นิพพานก็จะอยู่ต่อหน้าของพวกเรา

เพราะฉะนั้น วันนี้พวกเรามาทำความเข้าใจและรู้จักขันธ์ห้า. ซึ่งเป็นอุปกรณ์และเครื่องมือ ใช้ในการภาวนาหรือปฎิบัติธรรม ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราต้องรู้จักเขาเข้าใจเขา และรู้จักหน้าที่ ที่ต้องทำต่อเขา เมื่อเราเข้าใจแล้วการภาวนาก็จะง่ายขึ้น เพราะเราเข้าใจว่าขันธ์แต่ละขันธ์ทำหน้าที่ของตัวเอง(..อ่านต่อด้านขวามือ)

อนุโมทนาสาธุกับทุกทุกท่านครับ

อ."วิลลี่"

หมายเลขบันทึก: 616652เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 19:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 19:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท