กรวดน้ำ


กรวดน้ำ

นายอานนท์ ภาคมาลี(คนหาปลา ข้าราชการบำนาญ)

กรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว พร้อมทั้งรินน้ำให้ไหลลงไปที่พื้นดินหรือที่รองรับแล้วเอาไปเทที่พื้นดินอีกต่อหนึ่ง หรือรดที่โคนต้นไม้ก็ได้

เพื่อให้จำง่ายไม่สับสน จึงขอแยกออกเป็นข้อๆดังนี้

  • การกรวดน้ำ มี ๒ วิธี คือ
  • การอุทิศผลบุญ มี ๒ วิธี คือ
  • น้ำที่กรวด ควรเป็นน้ำสะอาด ไม่มีสีและกลิ่น เมื่อกรวดเสร็จแล้ว ควรรินในที่สะอาดหรือนำไปเทในที่สะอาด อย่ารินลงกระโถนหรือที่สกปรก
  • น้ำเป็นสื่อ – ดินเป็นพยาน การกรวดน้ำ มิใช่จะอุทิศไปให้ผู้ตายกินน้ำ แต่ใช้น้ำเป็นสื่อและใช้แผ่นดินเป็นพยานให้รับรู้ในการอุทิศส่วนบุญ
  • ควรกรวดน้ำตอนไหน ควรกรวดน้ำทันที่ในขณะที่พระสวดอนุโมทนา แต่ถ้าไม่สะดวกจะทำตอนหลังก็ได้ แต่ทำในขณะนั้นดีกว่า ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
  • ควรรินน้ำตอนไหน ควรเริ่มรินน้ำพร้อมตั้งใจอุทิศในขณะผู้นำเริ่มสวดว่า “ ยะถา วาริวะหาปูรา…” และรินน้ำให้หมดในเมื่อพระว่ามาถึง “… มะณิโชติระโส ยะถา…” พอพระทั้งหมดรับพร้อมกันว่า “สัพพี ติโย วิวัชชันตุ…” เราก็พนมมือรับพรท่านไปจนจบ จึงจะถือว่าถูกต้อง
  • ถ้ายังว่าบทกรวดน้ำไม่เสร็จ จะทำอย่างไร ก็ควรใช้บทกรวดน้ำสั้นๆ หรือใช้บทกรวดน้ำย่อก็ได้ เช่น “อิทิง โน ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย ขออุทิศส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่…(ออกชื่อผู้ล่วงลับ)…และญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุขเถิด”
  • อย่าทำน้ำสกปรก ด้วยการเอานิ้วไปรอไว้ ควรรินให้ไหลเป็นสาย ไม่ขาดระยะ และไม่ควรใช้วิธีเกาะตัวกันเป็นกลุ่ม หรือเป็นทาง เหมือนเล่นงูกินหาง ถ้าเป็นงานในพิธีต่างๆ ให้เจ้าภาพหรือประธาน รินน้ำเพียงคนเดียว หรือคู่เดียวก็พอ คนอื่นๆก็พนมมือไหว้ตั้งใจอุทิศไปให้
  • ควรสำรวมจิตใจขณะการทำบุญและอุทิศส่วนบุญ อย่าให้จิตฟุ้งซ่าน ปลูกศรัทธา ความเชื่อ และทำจิตใจให้เลื่อมใสมั่นคง ผลของบุญและการอุทิศส่วนบุญ ย่อมมีอานิสงส์มาก
  • บุญเป็นของกายสิทธ์ คือ มีฤทธิ์เดชอยู่ในตัว ยิ่งให้ ยิ่งมาก ยิ่งตระหนี่ยิ่งน้อย ยิ่งอุทิศให้คนอื่นหมดเลย เราจะยิ่งได้บุญหมดเลย
  • กรวดน้ำเปียก คือใช้น้ำเป็นสื่อ รินน้ำลงไปพร้อมกับอุทิศผลบุญกุศลด้วย
  • กรวดน้ำแห้ง คือไม่ใช้น้ำ ใช้แต่สิบนิ้วพนม อธิษฐาน แล้วอุทิศผลบุญกุศลไป
  • อุทิศเจาะจง ได้แก่ การออกชื่อผู้ที่เราจะให้ท่านรับ เช่น พ่อ…แม่…ลูก…หรือใครก็ได้
  • อุทิศไม่เจาะจง ได้แก่ การกล่าวรวมๆกันไป เช่นญาติทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรและสรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นต้น

ทางที่ถูก ควรทำทั้งสองวิธี คือผู้ที่มีคุณหรือมีเวรต่อกันมาก เราควรอุทิศเจาะจง ส่วนที่เหลืออุทิศรวมๆ

  • ถ้ามีเปรตญาติมารอรับส่วนบุญ ท่านก็ย่อมได้รับในทันที่
  • การรอไปกรวดน้ำที่บ้านหรือกรวดภายหลัง บางครั้งอาจลืมไป ผู้ที่เขาตั้งใจรับส่วนบุญก็จะไม่ได้รับ ผู้ที่เราตั้งใจจะให้ส่วนบุญก็พลอยไม่ได้รับไปด้วย

หรือจะใช้แต่ภาษาไทยอย่างเดียวก็ได้ว่า

“ขออุทิศส่วนบุญกุศลที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้วนี้จงสำเร็จแก่พ่อแม่ ญาติ ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ เจ้ากรรมนายเวร และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอจงได้รับส่วนบุญกุศลครั้งนี้โดยเร็วพลัน และโดยทั่วถึงกันเทอญ”

ส่วนบทยาวๆ เราควรเอาไว้กรวดน้ำส่วนตัว หรือกรวดน้ำในขณะทำวัตรสวดมนต์รวมกันก็ได้

ข้อสำคัญ ถ้าเป็นภาษาพระควรจะรู้คำแปล หรือความหมายด้วย ถ้าไม่รู้ความหมายก็ควรใช้คำไทยอย่างเดียวดีกว่า เพื่อป้องกันหลงงมงาย

ผลบุญที่เราอุทิศไปให้ ถ้าไม่มีใครมารับก็ยังเป็นของเราอยู่ครบถ้วน ไม่มีผู้ใดมาโกงหรือแย่งชิงเอาไปได้เลย

คำสำคัญ (Tags): #บุญกุศล#กรวดน้ำ
หมายเลขบันทึก: 616646เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 17:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 ตุลาคม 2016 17:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท