ตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison)


ตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison) เป็นวิธีที่ทันสมัยในการแยกบุคคลที่กระทำละเมิดต่อผู้อื่น คืนความยุติธรรม และ ช่วยป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม ได้จริงหรือ.............

ตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison) ที่กล่าวถึงในบทความนี้ ประกอบด้วย ตรรกะการลงโทษยุคต่างๆ และ ตรรกะการลงโทษตามทฤษฎี/วัตถุประสงค์ในการลงโทษ อาจแบ่งได้เป็นยุคตรรกะการลงโทษต่างๆ ที่สำคัญ คือ ยุคตรรกะการลงโทษสมัยยังไม่มีคุก ในสมัยโบราณ เมื่อประมาณ ๑,๗๕๐ ปี ก่อนคริสตกาล การลงโทษเป็นรูปแบบของการฆ่าล้างแค้น ผู้กระทำผิดกฎหมาย (The Outlaw)โดยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของตัวเอง (กฎหมายฮัมมูราบี) ส่วนในวัฒนธรรมขนาดที่เล็ก ก่อนวัฒนธรรมอารยะ รูปแบบการลงโทษที่รุนแรงที่สุดมักจะเป็นเพียงแค่การเนรเทศ (exile) ยุคตรรกะการลงโทษสมัยมีคุก ในสมัยกรีซ เพลโต ได้เริ่มพัฒนาความคิดของการลงโทษผู้กระทำผิดโดยใช้โทษจำคุกเป็นครั้งแรก สำหรับผู้ที่ไม่สามารถจ่ายค่าปรับ ในคุกกรุงเอเธนส์ (desmoterion) ตรรกะการลงโทษยุคกลาง ศตวรรษที่ ๑๖ และ ๑๗ ในยุโรปคุกไม่ค่อยได้ใช้เพื่อการลงโทษ ส่วนใหญ่ใช้คุมขังเป็นผู้ที่รอการพิจารณาคดี และ นักโทษที่รอการลงโทษ ตรรกะการลงโทษยุคสมัยใหม่ ในช่วงศตวรรษที่ ๑๘ มีการลงโทษด้วยวิธีการทรมาน (Torture) กลายเป็นที่แพร่หลายมากขึ้นทั้งในยุโรป และในสหรัฐอเมริกา โดยในยุโรปมีการลงโทษ โดยวิธีการทรมาน ตามหลัก ตรรกะของการทรมาน (The Logic of Torture) เพื่อประโยชน์ในการป้องปราม เช่น การลงโทษทรมานแบบสยองขวัญของสเปน มีการลงโทษ ประหารชีวิต (Executions) ตามหลักตรรกะของการประหารชีวิต (The Logic of Executions) ที่ใช้สำหรับ บุคคลที่อันตรายที่สุด และ / หรือ กระทำผิดซ้ำ (the most dangerous individuals and repeat offenders) และตรรกะการลงโทษตามทฤษฎี/วัตถุประสงค์ในการลงโทษ ได้แก่ ตรรกะการลงโทษเพื่อแก้แค้น ที่เชื่อว่าเมื่อนักโทษอยู่ในคุกพวกเขาไม่สามารถก่ออาชญากรรม ตรรกะการลงโทษเพื่อยับยั้งป้องปราม ที่เชื่อว่าการจำคุกเป็นระยะเวลานาน และ การทรมาน จะช่วยยับยั้งป้องปรามผู้คนจากก่ออาชญากรรมด้วยความกลัวว่าจะติดคุก ตรรกะการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ที่เน้นใช้โปรแกรมแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation program) เพื่อการคืนคนดีสู่สังคม เช่น มีการสร้างสถานดัดสันดาน (คุก) สำหรับคุมขังผู้กระทำผิดที่ประสงค์จะสำนึกผิด และ ปฏิรูปตัวเอง ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่คุกได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเหมือนคริสตจักรสีขาว เพดานโค้งสูงรูปดวงอาทิตย์ เพื่อให้เกิดแสงของพระเจ้าในหัวใจของอาชญากร ในรัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ๑๙๘๐ เรือนจำเอกชนเริ่มต้นขึ้นภายใต้การผลักดันของประธานาธิบดีเรแกน โดยกว่า ๑๕๐ ปี ที่ผ่านมาวิธีการลดอาชญากรรม คือ การคุมขังอาชญากรไว้ในคุกเพื่อแยกจากประชาชนทั่วไป

ตรรกะแห่งคุก ในความหมาย ที่สำคัญ ๒ ประการ

๑. ตรรกะแห่งคุก หมายถึง ตรรกะที่ขังนักโทษ (คุก) ต้องคู่กับผุ้กระทำผิด และ คุกเป็นวิธีที่ทันสมัยในการแยกบุคคลที่กระทำละเมิดต่อผู้อื่น คืนความยุติธรรม และช่วยป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรม

๒. ตรรกะแห่งคุก หมายถึง ตรรกะในการลงโทษผู้กระทำผิด หรือ ตรรกะที่อยู่เบื้องหลังการส่งตัวอาชญากรไปยังคุก คืออะไร สามารถแบ่งได้ตามทฤษฎี/วัตถุประสงค์ในการลงโทษได้ ประการ

๒.๑ การลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อแก้แค้นทดแทน ตามทฤษฎีแก้แค้นทดแทน (Retributive theory) หรือ เพื่อจำกัด เสรีภาพ เพื่อตัดโอกาสในการกระทำผิด หรือ เพื่อให้ได้คนชั่วร้ายออกจากสังคม ตรรกะ คือ เมื่อนักโทษอยู่ในคุกพวกเขาไม่สามารถก่ออาชญากรรม และ ตรรกะการลงโทษเพื่อคืนความยุติธรรม และ ความปลอดภัย ให้กับสังคม

๒.๒ การลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อป้องปรามยับยั้ง ตามทฤษฎีป้องปรามยับยั้ง (Deterrence theory) เป็นการป้องปรามยับยั้งการกระทำผิดของอาชญากร รูปแบบของการป้องปราม เช่น การทรมาน ตามหลัก ตรรกะของการทรมาน (The Logic of Torture) เพื่อช่วยยับยั้งป้องปรามผู้คนจากก่ออาชญากรรมด้วยความกลัวว่าจะติดคุก

๒.๓ ลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู ตามทฤษฎีลงโทษผู้กระทำผิดเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation theory) เป็นการปฏิบัติต่อนักโทษโดยใช้ความความยืดหยุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี มีประโยชน์ แต่ก็มักจะใช้ทรัพยากรจำนวนมาก เช่น อาจต้อง ใช้เจ้าหน้าที่ถึง ๓ คน ต่อนักโทษ ๑ คน และ โทษที่ยืดหยุ่นไม่ควรใช้กับอาชญากรความผิดที่มีความรุนแรง เช่น การข่มขืน หรือ ฆาตกรรม นอกจากนั้น ความขัดแย้งของตรรกะคุกเอง ที่มีการใช้ผสมผสานระหว่าง ตรรกะการแก้แค้น ตรรกะการยับยั้งป้องปราม และ ตรรกะการแก้ไขฟื้นฟูด้วย ที่ยังมีประเด็นตำถามในเรื่องตรรกะการแก้ไขฟื้นฟูด้วย ว่า จะแก้ไขฟื้นฟูนักโทษอย่างไรในท่ามกลางสภาพแวดล้อมของอาชญากร (Prisoners' rehabilitation to be surrounded by other criminals) เป็นต้น

โดยสรุป

ตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison) ทั้งตรรกะการลงโทษเพื่อแก้แค้น ตรรกะการลงโทษเพื่อการยับยั้งป้องปราม และ ตรรกะการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟูด้วย ที่ในปัจจุบันเรามาใช้แบบตรรกะผสม (แก้แค้น, ป้องปราม และ แก้ไข) ยังมีประเด็นคำถาม ที่เป็นข้อสงสัยในหลายมิติ เช่น มิติบทนิยาม ความหมายของตรรกะต่างๆ ดังกล่าว ที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว ได้แก่

ตรรกะคุกเพื่อแก้แค้น (The Logic of Retributive) หมายถึงการ การลงโทษให้สาสม โดยการขังไว้เป็นเวลานานเพื่อให้หมดศักยภาพทางร่างกาย และ จิตใจ เป็นต้น

ตรรกะคุกเพื่อป้องปราม (The Logic of Deterrence) หมายถึง การข่มขวัญ ข่มขู่ และ การทรมาน (Torture) เพื่อช่วยยับยั้งป้องปรามผู้คนจากก่ออาชญากรรมด้วยความกลัวว่าจะติดคุก เป็นต้น

ตรรกะคุกเพื่อแก้ไข (The Logic of Rehabilitation) หมายถึง การฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่เน้นใช้โปรแกรมแก้ไขฟื้นฟู (Rehabilitation program) เพื่อการคืนคนดีสู่สังคม

โดยที่ผ่านมาหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย รัสเซีย จีน และ ญี่ปุ่น ได้มีความพยายามปรับแนวการปฏิบัติงานคุก หรือ พัฒนาตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison Growth) หรือ พัฒนาทฤษฎีการลงโทษ (Theories of punishment) ให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ การเมือง และ สังคม โดยการนำทฤษฎีการลงโทษเพื่อลดค่าใช้จ่ายคุก ( Reduction in immediate costs Theory) และ ทฤษฎีการลงโทษซ่อมแซมชดใช้หนี้ (Restitution or repayment Theory) มาใช้ในการปฏิบัติงานคุก โดยมีนโยบายเน้นหนักในการให้นักโทษทำงานให้เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจของประเทศ มีการให้นักโทษทำงานหนักในเวลากลางวัน และ พักผ่อนในเวลากลางคืน เพื่อดัดสันดานนักโทษ โดยการใช้แรงงานนักโทษทำงานรับจ้างผลิตสินค้า ผลิตภัณฑ์ และ อื่นๆ หารายได้เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายคุก เพื่อนำรายได้มาจ่ายแก่เจ้าหนี้ หรือ เป็นค่าชดเชยเหยื่อ เป็นการปฏิบัติงานคุกที่ได้มีการพัฒนาจากตรรกะคุกแบบผสม ระหว่าง แก้แค้น, ป้องปราม และ แก้ไข (โหด, เลว และ ดี) ซึ่งยังมีความขัดแย้งกันอยู่ในตัว และ ไม่มีใครให้คำตอบที่ชัดเจนว่าการดำเนินงานคุก ดังกล่าว ผลที่ได้ คือ อะไร สังคมจะได้ความยุติธรรมจริงหรือไม่ เราจะได้คนดีคืนสู่สังคมหรือไม่ ลดกระทำผิดซ้ำได้หรือไม่ ป้องกันสังคมให้ปลอดภัยจากอาชญากรรมได้หรือไม่ รวมตลอดถึงประเด็นปัญหานักโทษล้นคุก ปัญหาขาดแคลนงบประมาณคุก ปัญหาขาดแคลนเจ้าหน้าที่คุก ปัญหานักโทษไม่กลัวคุก ปัญหาการกระทำความผิดซ้ำ ปัญหาประชาชนไม่ยอมรับการทำงานของคุก ฯลฯ ความจริงแล้วประเด็นคำถามเหล่านี้ เชอร์ชิล ได้เคยให้คำตอบแบบฟันธงไว้ว่า คุกเป็นรูปแบบที่เลวร้ายที่สุดของความยุติธรรมทางอาญา (Churchill said prisons are the worst form of criminal justice) นี้ก็เป็นประเด็นคำถาม ที่เรียกว่า ตรรกะแห่งคุก (The Logic of Prison) สมัยใหม่ ที่ยังคงต้องรอคำตอบจากนักอาชญาวิทยา และ ผู้เกี่ยวข้องของประเทศต่างๆ ที่จะต้องให้ความกระจ่างในประเด็นคำถามนี้ ว่าจะพัฒนาระบบตรรกะคุกของประเทศตามแนวทางของสหรัฐอเมริกาอังกฤษ ออสเตรเลียรัสเซีย จีน และ ญี่ปุ่น ที่มี การพัฒนาระบบตรรกะคุกผ่านนโยบายเน้นหนักการให้นักโทษทำงานให้เป็นประโยชน์กับทางเศรษฐกิจของชาติ โดยการให้นักโทษทำงานหนักในเวลากลางวัน และ พักผ่อนในเวลากลางคืน เพื่อดัดสันดานนักโทษ เพื่อหารายได้ช่วยลดค่าใช้จ่ายคุก เพื่อนำรายได้มาจ่ายแก่เจ้าหนี้ หรือ เป็นค่าชดเชยเหยื่อ ฯลฯ มิฉะนั้น เมื่อถึงวันที่ประชาชนไม่ยอมรับระบบคุกแล้ว คุกในหลายประเทศที่ยังไม่ได้มีการพัฒนาตรรกะแห่งคุก คงจะต้องหวนกลับไปใช้รูปแบบ ยุคตรรกะการลงโทษสมัยยังไม่มีคุก หรือ ตามแนวคิดของ เชอร์ชิล ที่เห็นว่า ควรยกเลิกคุกเสีย..............

....................

วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๑ ตุลาคม ๒๕๕๙

อ้างอิง

ข้อมูลจากเว็บไซต์ https://www.quora.com/What-is-the-logic-behind-sending-criminals-to-prison-When-did-the-prison-system-originate-and-has-it-evolved-to-keep-up-with-the-times

เว็บไซต์ http://rooseveltforward.org/dojs-prison-decision-should-make-us-question-logic-privatization/

เว็บไซต์https://en.wikipedia.org/wiki/Yuma_Territorial_Prison

เว็บไซต์http://www.washingtonpost.com/wp-dyn/articles/A6950-2004Jun25.html

เว็บไซต์http://search.mysearch.com/search?&q=+The+Logic+of+Prison&ctype=pictures&tpr=2&ts=1475295915333&imgs=1p&filter=on&imgDetail=true

และเว็บไซต์http://search.mysearch.com/search?&ctype=pictures&page=5&q=+Prison&tpr=10&ots=1475295809350&imgs=1p&filter=on&imgDetail=true


หมายเลขบันทึก: 616354เขียนเมื่อ 1 ตุลาคม 2016 14:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คุก คุก คุก คุก ไม่มีใครอยากติดคุก ไม่อยากถูกขังคุก ..

แต่คนมากมายทำคุก ขังตัวเอง ด้วยข้อหาต่างๆ นานา (ฮา)

ขอบคุณอาจาร์ย ดร.ดารณี ชัยอิทธิพร ที่กรุณาแสดง ความคิดเห็น และ ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei-- ที่ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ มนัสดา ที่ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา ขอบคุณมากน่ะครับอาจารย์

ขอบคุณอาจารย์ Chaiwud Boonwiwattanakarn (คนใต้โดยภรรยา) ที่ให้กำลังใจผม ด้วยดีตลอดมา ขอบคุณ มากน่ะครับอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท