สิทธิในการทำรัฐประหาร


เว็บไซต์ของ ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย (Thai World Center) มีบทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากมาย

สิทธิในการทำรัฐประหาร

       ผมพบ ศ. ดร. เขียน ธีระวิทย์ เมธีวิจัยอาวุโส สกว. รุ่นแรก ที่สนามบิน    ถามท่านว่า จะหาบทความเรื่อง สิทธิในการทำรัฐประหาร ของท่านได้ที่ไหน    ท่านบอกให้ไปดูที่ www.thaiworld.org   

ผมเข้าไปดูแล้ว  เป็นเว็บไซต์ของ ศูนย์โลกสัมพันธ์ไทย (Thai World Center) มีบทความเกี่ยวกับการเมือง การปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากมาย     จึงนำมาบอกต่อ

วิจารณ์ พานิช

๒๑ พย. ๔๙ 

หมายเลขบันทึก: 61625เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 13:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน อาจารย์วิจารย์ พานิช

      ผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในวงการการเมืองของประเทศไทย เป็นคนหนึ่งที่จบจากสถาบันที่ถือได้ว่ามีเสรีภาพทุกตารางนิ้ว เป็นคนหนึ่งที่เคยปฏิญาณกับตัวเองว่า "เราเรียนด้วยภาษีประชาชน เราเป็นหนี้ประชาชน เราจะทำงานรับใช้ประชาชน"

       ผมต้องขออภัยหากแนวความคิดผมไม่ตรงกับแนวความคิดของคนอีกหลายต่อหลายคน เพียงแต่ผมแค่สงสัยและอยากแสดงความเห็นจากสมองเล็กๆซึ่งอาจจะด้อยสติปัญญาของผม

       ผมใคร่เป็นห่วงกับแนวความคิดเรื่อง "สิทธิในการทำรัฐประหาร" จริงๆแล้วผมออกจะเห็นด้วยกับส่วนแรก ที่ว่าหากมีกรณีเกิดทรราชขึ้น ราฎรก็ควรที่จะขับไล่ทรราชนั้นไป และเห็นด้วยอย่างยิ่งว่า ทหารควรเป็นกลางเพราะว่า เมื่อปืนเลือกอยู่ข้างใดข้างหนึ่งแล้ว ความสมดุลก็จะหมดไป หากทว่าผมไม่เห็นด้วยเลยกับการทำรัฐประหารครั้งนี้ เพราะผมเชื่อว่าปัญหาเกิดจากที่ใดที่นั้นต้องเป็นคนแก้ เช่นเดียวกับที่ปัญหาเกิดจากการเมืองการแก้ไขปัญหาก็ต้องมาจากการเมือง

        แต่ผมมีปัญหาบางประการในเรื่องดังกล่าว คือหากคนบางกลุ่มไม่พอใจในการบริหารของรัฐบาล แล้วก็อ้างสิทธิในการทำรัฐประหาร เช่นที่ในบทความกล่าวอ้าง เช่นนี้แล้วระบบประชาธิปไตยอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนอยู่ตรงไหน แม้จะจำกัดระยะเวลาการอยู่ของรัฐบาลผู้ดำเนินการปฏืวัติไว้ประมาณ 1 ปี ตามบทความ อะไรจะเป็นเครื่องรับประกันว่าหลังจากนั้นผู้ที่ทำการปฏิวัติหรือสถาบันที่อยู่เบื้องหลังการปฏิวัติจะไม่แทรกแซงอำนาจที่มาจากประชาชน ระบอบประชาธิประไตยนั้นผมเชื่อว่าไม่สามารถทำให้ทุกคนพอใจได้ แต่ความสำคัญของระบบคือให้ส่วนมากพอใจ ทั้งนี้ต้องไม่หลงลืมส่วนน้อยด้วย

        ส่วนที่ผมไม่เห็นด้วยอย่างมากในบทความ นั่นคือในส่วนของ "รัฐประหารกับรัฐธรรมนูญ"

        ผมไม่เห็นด้วยกับข้อ 1 ที่ว่าไม่ควรบัญญัติ  เพราะถึงบัญญัติก็ไม่ก็ให้เกิดผล ผมไม่เห็นด้วยเลยเพราะเช่นนั้นแล้วเท่ากับให้สิทธิในการทำรัฐประหารแบบไร้เหตุผล ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยกับการทำรัฐประหาร แต่ผมว่าการที่จะทำรัฐประหารนั้นจะต้องมาจากฉันทามติของราษฎร ประชาชนต้องเป็นผู้ทำการรัฐประหารมิใช่กลุ่มบุคคลที่ถือปืนมาจี้หรือปล้นไป หากกรณีที่เกิดจากเหตุหลังนี้ กลุ่มหรือคณะบุคคลดังกล่าวสมควรถูกลงโทษสูงสุด

       ส่วนในข้อ 2 นั้น ผมว่าในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 นันได้บัญญัติเรื่องดังกล่าวไว้แล้วนั่นคือ ผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภา เพียงแต่ว่าอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินนั้นไม่มีเลย ซึ่งผมเห็นด้วยหากจะมีข้อเสนอในเรื่องอำนาจดังกล่าวให้กับผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาต่อไป

        อย่างไรเสีย บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว ซึ่งผมตั้งใจเป็นข้อเสนอและหากผิดถูกอย่างไรผมเปิดใจที่จะรับฟังความเห็นทุกฝ่าย เพื่อสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในประเทศต่อไป

        ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท