สมุนไพรไทย "กระทือ"


กระทือ ชื่ออื่น ทือ หัวทือ กระทือป่า กระแวน กะแอน แฮวดำ เฮียงแดง (ภาคเหนือ-แม่ฮ่องสอน) ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น เป็นพืชล้มลุก จำพวกเดียวกับไพล หรือ ขิง ลำต้นเป็นหัวอยู่ใต้ดินมีสีขาวอมเหลืองอ่อนมีกลิ่นฉุน ลำต้นสูงประมาณ 2 เมตร ใบ ใบจะออกซ้อนกันเป็นแผง ใบเรียวยาวสีเขียวแก่ ดอก ดอกออกเป็นช่อ โผล่พ้นขึ้นจากหัวใต้ดินช่อก้านดอกยาวจะเป็นปุ่ม ส่วนปลายมีกลีบเลี้ยงสีเขียวปนแดง ซ้อนกันอยู่แน่น กลีบดอกมีสีขาวนวลแทรกอยู่ตามเกล็ด การขยายพันธุ์ แยกหน่อ ฤดูกาลเก็ลส่วนขยายพันธุ์ - สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ขึ้นตามป่าดิบชื้นทั่วไป หรือในดินที่ร่วนซุย การใช้ประโยชน์ ทางอาหาร หน่ออ่อน เนื้ออ่อนในลำต้น และช่อดอกอ่อน นำมาแกงเผ็ด แกงไตปลา ต้มจิ้มน้ำพริก ผัด ยำ หัวกระทือมีกลิ่นฉุนใส่แกงปลาเพื่อดับกลิ่นคาว ทางยา เหง้า บำรุงน้ำนม แก้ปวดมวนในท้อง แก้แน่นหน้าอก ราก แก้ไข้ ใบ ขับเลือดร้ายในเรือนไฟ ดอก แก้ไข้เรื้อรัง แก้ผอมเหลือง แก้ลมบำรุงธาตุ ฤดูกาลใช้ประโยชน์ ฤดูฝน
คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 61613เขียนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2006 13:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
กระทือ ขุดมาทั้งต้น ลอกกาบออกบ้าง ลวกจิ้มนำพริก แกงเลียง แกงเผ็ดอร่อยมาก(ห้ามอ่านตอนดึก)

ขอบคุณนะคะ ที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติม หากมีโอกาสและเจอเจ้ากระทือ จะหักมาลวกกินซะให้เข็ด 555

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท