อรกิตติ์
นางสาว อรกิตติ์ พานิชยานุสนธิ์

เนื้อหา ในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทย กับ Australia (ต่อ)


อย่างที่ทราบกันว่าประเทศไทยค่อนข้างมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ หรือคือปัญหาการให้เงินใต้โต๊ะแก่ข้าราชการ เพื่อให้ได้งานของรัฐ

                -         Investment (ข้อ 901-919)หัวข้อที่ 9 เป็นเรื่องของการลงทุน ขอบเขตวัตถุประสงค์ การบังคับใช้ การเปิดเสรีการลงทุน การใช้national treatmentก่อนและหลังจัดตั้ง การปฏิเสธผลประโยชน์ การส่งเสริมและการคุ้มครองการลงทุน MFN (Most Favored Nation Treatment) การเวนคืน ค่าทดแทนการสูญเสีย การชำระและโอนเงิน การรับช่วงสิทธิ การเข้าสู่กลไกการระงับข้อพิพาท การระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศภาคีกับผู้ลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง การแก้ไขทบทวนข้อผูกพัน 

                 -         Movement of Natural of Persons (ข้อ 1001-1008)ในหัวข้อที่ 10 เป็นเรื่องของ การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา การเข้าเมืองชั่วคราวทั้งระยะสั้นและระยะยาว การให้ข้อมูล การตรวจคนเข้าเมือง พิธีการคำร้องขอที่รวดเร็ว  

                    -         Electronic Commerce (ข้อ 1101-1109)หัวข้อที่ 11 เป็นหัวข้อของพาณิชย์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ขอบเขตวัตถุประสงค์ อากรศุลกากร กรอบของกฎหมายในประเทศ การยืนยันตัวบุคคลและใบรับรองดิจิตอล การคุ้มครองผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ต การคุ้มครองข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การค้าไร้กระดาษ ความร่วมมือ การไม่ใช้ข้อบทเรื่องการระงับข้อพิพาท 

                    -         Competition Policy (ข้อ 1201-1208)ในหัวข้อที่ 8 เป็นเรื่องนโยบายการแข่งขัน การส่งเสริมการแข่งขัน การประยุกต์ใช้กฎหมายการแข่งขัน ข้อยกเว้น ความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูล การปรึกษาหารือและทบทวน ความโปร่งใส เรื่องทั่วไป  

                    - Intellectual Property (ข้อ 1301-1305)หัวข้อที่ 13 เป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา วัตถุประสงค์ การเคารพข้อผูกพันสากล มาตรการป้องกันการส่งออกสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือเครื่องหมายการค้า ความร่วมมืออื่นๆและในการบังคับใช้ 

                                        -         Transparent Administration of Laws and Regulations (ข้อ 1401-1405)หัวข้อที่ 14 เป็นเรื่องความโปร่งใสของการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบ การตีพิมพ์เผยแพร่ หน่วยงานประสานงาน กระบวนการทางกฎหมาย การทบทวนการอุทธรณ์ เนื่องจากกฎหมายและระเบียบต่างๆของรัฐนั้นมีมากและแตกต่างกัน ทำให้กลายเป็นอุปสรรคทางการค้า ดังนั้นที่มีการกำหนดไว้ในข้อ 1402 ให้ภาคีแต่ละฝ่าย ตีพิมพ์ เผยแพร่ และจัดทำข้อมูลกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ให้คู่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบ และสามารถทำความคุ้นเคย แต่สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยควรระวังคือ ในข้อนี้ยังได้กำหนดให้ประเทศภาคีสามารถเผยแพร่ข้อมูลกฎหมาย ระเบียบได้ทาง internet ซึ่งจะทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถอ้างได้ว่าไม่ทราบกฎหมายนั้นๆ   

                 -         Government Procurement (ข้อ 1501-1505)หัวข้อที่ 15 เป็นเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ การจัดตั้งคณะทำงาน หลักการในเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การระงับข้อพิพาท           หัวข้อนี้เป็นอีกหัวข้อสำคัญที่จะมีผลกระทบต่อประเทศไทย อย่างที่ทราบกันว่าประเทศไทยค่อนข้างมีปัญหาเรื่องความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ หรือคือปัญหาการให้เงินใต้โต๊ะแก่ข้าราชการ เพื่อให้ได้งานของรัฐ การมีข้อกำหนดในเรื่องนี้ในข้อตกลงก็คือ ทำให้มีการจัดการระบบการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐใหม่ โดยในข้อ 1503 ได้ระบุว่า จะส่งเสริมให้เกิดความโปร่งใส ให้มีการแข่งขันอย่างเปิดกว้างและมีประสิทธิภาพ ให้มีการปฎิบัติอย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ในข้อ 1502 ได้มีการตกลงว่าให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยจะมีการกำหนดให้งานของรัฐนั้นมีการประมูลราคาอย่างเป็นธรรมและสมเหตุสมผล                นอกจากนี้ในข้อ 1504 ยังได้กำหนดให้ประเทศคู่ความตกลงมีการแลกเปลี่ยนกฎหมาย ระเบียบและนโยบายของแต่ละฝ่ายด้วย ซึ่งจะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างของรัฐมีความโปร่งใสมากขึ้น                 แต่ผลเสียของข้อตกลงในเรื่องนี้ก็คือ ความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย เพราะเมื่อมีการเปิดเสรีการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ เท่ากับประเทศุ่สัญญา หรือคือผู้ประกอบการของประเทศอสเตรเลียสามารถเข้ามาประมูลงานของรัฐได้เท่ากับผู้ประกอบการไทย เมื่อเทียบกันแล้วผู้ประกอบการไทยอาจจะเสียเปรียบในแง่ของเงินทุน เครื่องมืออุปกรณ์ ซึ่งผู้ประกอบการออสเตรเลียอาจจะมีเครื่องมือที่ดีและทันสมัยกว่า ทำให้ต้นทุนการผลิต น้อยกว่า โอกาสที่จะได้งานไปก็ย่อมมีมากกว่า จากสถานการณ์นี้อาจจะทำให้ผู้ประกอบการไทยประสบปัญหาได้ ดังนั้นประเด็นในเรื่องจัดซื้อจัดจ้างของรัฐนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย การแก้ปัญหาทางหนึ่งที่ทำได้คือ การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการไทย และมีมาตรการส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจของไทย เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยสามารถมีความพร้อมในการแข่งขันได้  

                   -         General Exceptions (ข้อ 1601-1607)ในหัวข้อที่ 16 เป็นเรื่องข้อยกเว้นทั่วไป ข้อยกเว้นด้านความมั่นคง การเปิดเยข้อมูล ดุลการชำระเงิน ข้อจำกัดเพื่อรักษาดุลการชำระเงิน มาตรการด้านการกำกับควบคุมเพื่อความมั่นคง มาตรการทางภาษี  

                  -         Institutional Provisions (ข้อ 1701-1704)หัวข้อที่ 17 เป็นเรื่องข้อบทสถาบัน การจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมความตกลงการค้าเสรี อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมาธิการ การประชุมคณะกรรมาธิการร่วม การทบทวนทั่วไป 

                   -         Consultations and Dispute Settlement (ข้อ 1801-1812)ในหัวข้อที่ 18 เป็นเรื่องการปรึกษาหารือ และการระงับข้อพิพาท การเป็นสื่อกลาง การประนีประนอม การไกล่เกลี่ย คำร้องขอจัดตั้งและการจัดตั้ง หน้าที่ วิธีพิจารณาของศาลอนุญาโตตุลาการ การระงับหรือการยุติการพิจารณา คำพิพากษาของศาลอนุญาโตตุลาการ การปฏิบัติตาม การชดเชยและการระงับสิทธิประโยชน์ชั่วคราว ค่าใช้จ่าย  

                    -         Final Provisions (ข้อ 1901-1910)ในหัวข้อสุดท้าย เป็นเรื่องข้อบทสุดท้าย หัวเรื่อง ภาคผนวกเชิงอรรถ การแก้ไข การนำมาใช้ การเข้าเป็นภาคีสมาชิกความตกลง การหารือเกี่ยวกับความไม่สอดคล้องกับความตกลงอื่น สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงอื่น การเลิกใช้ความตกลง 1979 ข้อบททางการเงิน การมีผลบังคับใช้ ระยะเวลา การเลิกใช้           จะเห็นได้ว่าเนื้อหาของข้อตกลงการค้าเสรีไทยกับออสเตรเลียนี้ ส่วนมากก็เป็นการยกหลักเกณฑ์ของ GATT มาบัญญัติไว้

หมายเลขบันทึก: 61425เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2006 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มีนาคม 2012 16:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท