เข้าใจผู้ป่วยMULTIPLE SCLEROSIS ในการใช้วีลแชร์


เข้าใจผู้ป่วยMULTIPLE SCLEROSIS ในการใช้วีลแชร์


วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้รถเข็นวีลแชร์ในผู้ป่วยMultiple Sclerosis โดยก่อนอื่นเราต้องมาทราบพยาธิสภาพต่างๆของโรค Multiple Sclerosisกันก่อน

โรคMultiple Sclerosisหรือเรียกอีกอย่างว่า โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งเป็นโรคที่ทำให้เกิดปัญหาที่สมองและไขสันหลังจึงส่งผลทำให้ส่วนของกล้ามเนื้อที่ระบบประสาทเหล่านั้นควบคุมอยู่มีปัญหา จนส่งผลการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย อาการที่มักเกิดขึ้น คือมีปัญหาเกี่ยวกับการมองเห็น การทรงตัวจึงทำให้การเดินมีปัญหา ขาส่วนล่างมักมีปัญหาทำให้เดินไม่ได้ มักเหนื่อยง่าย มีอาการสั่น พูดลำบาก อาจสูญเสียความทรงจำ มีปัญหาด้านความคิดการวางแผนแก้ปัญหา จนส่งผลกระทบต่ออารมณ์ ทำให้มีปัญหาในงานและการประกอบอาชีพ

จากการเรียนการใช้วีลแชร์ในวันนี้ทำให้รู้ได้ถึงทักษะการใช้วีลแชร์ และลองนำมาประยุกต์ใช้กับโรค โดยในห้องเรียนได้มีกิจกรรมให้นักศึกษาจับคู่กันเป็นระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการในโรคต่างๆที่ต้องใช้วีลแชร์ โดย ณ ที่นี่ กลุ่มของข้าพเจ้าได้รับมอบหมายให้เป็นโรคMultiple Sclerosis และมีเป้าหมายให้ไปที่ โรงพยาบาลสัตว์ ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยตั้งเป้าประสงค์ที่จะไปที่เนื่องจากมีสุนัขของตนเองที่ป่วยรักษาอยู่ที่นี่

การได้ลองใช้วีลแชร์ในครั้งนี้ทำให้พบได้ว่า ผู้ที่ใช้จะต้องใช้แรงแขนในการเข็นและทักษะการใช้รถวีลแชร์อย่างคล่องแคล่ว ยิ่งไปกว่านั้นทำให้เข้าใจถึงความรู้สึกคนที่ใช้รถเข็นวีลแชร์

โดยตั้งแต่เริ่มแรกให้ผู้รับบริการลองที่จะข้ามถนนด้วยตนเอง ทำให้รู้สึกว่าข้าพเจ้ารู้สึกกลัวและกังวลใจที่จะข้ามถนนเป็นอย่างมากเนื่องจากไม่มีสัญลักษณ์ให้ข้ามอย่างชัดเจนและรถขับบนถนนเร็วมากและยังใช้รถเข็นไม่คล่อง จึงอยากให้มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจนหรืออาจมีคนคอยดูแลให้ข้ามเพื่อความสะดวกและลดความกังวลใจของผู้รับบริการ


ถัดมาเห็นได้ชัดว่าถนนในบางที่ระหว่างทางมีทางขรุขระหรือหลุมที่เสี่ยงต่อที่ล้ออาจจะติดแล้วไปต่อไม่ได้ และตอนที่ลองเข็นผ่านหลุมระหว่างทางเกิดการสะดุดเกือบล้มไปข้างหน้า แต่เนื่องจากเป็นคนปกติจึงยังสามารถมีReflexยับยั้งไม่ให้ล้มได้ ถ้าลองคิดดูดีๆหากเป็นผู้รับบริการที่เป็นMultiple Sclerosis อาจหกล้มได้รับบาดเจ็บได้ จึงควรติดต่อประสานงานกับฝ่ายสถานที่เพื่อซ่อมแซมพื้นที่ขรุขระเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

ก่อนที่จะข้ามถนนมีทางกั้นจักรยานซึ่งเป็นอุปสรรคในการข้าม เพราะว่าทางนั้นแคบเกินไปหากมีรถเข็นขนาดที่กว้างกว่านี้อาจจะไม่สามารถผ่านเข้ามาได้จึงควรปรับระยะห่างให้มีขนาดเหมาะสม โดยระยะห่างควรมากกว่า0.9เมตร เพื่อที่จะสามารถออกไปได้

ในขณะเดียวกันมีทางที่ช่วยในการข้ามโดยเหมาะกับการใช้รถเข็นวีลแชร์


ก่อนที่จะถึงโรงพยาบาลสัตว์มีทางชันเอียงข้างและเป็นทางเลี้ยวลงข้ามถนน โดยรถอาจจะเอียงข้างล้มได้ในผู้ป่วยที่มีbalanceไม่ดี และไม่มีทางที่อำนวยความสะดวกการข้ามถนนสำหรับคนใช้รถเข็นวีลแชร์จะต้องคอยมองดูรถให้ดีเนื่องจากต้องเข็นรถบนถนนและเสี่ยงต่อรถที่อาจจะขับชนผู้ป่วยได้ เป็นสิ่งที่ทำให้ไม่มั่นใจสำหรับผู้ป่วย จึงควรประสานงานปรับทางให้ราบเสมอและมีสัญลักษณ์ข้ามถนนหรือทางชัดเจนเพื่อขึ้นไปยังบริเวณที่ปลอดภัยแก่รถเข็น


ทางขึ้นหน้าโรงพยาบาลไม่มีทางลาดที่รถเข็นจะสามารถขึ้นไปได้ และทางต่างระดับสูงมาก ผู้ป่วยไม่สามารถขึ้นได้ด้วยตนเอง จะต้องใช้ผู้อื่นช่วยในการยกรถขึ้นและช่วยsupport และทางต่างกันเกินไปมาก จึงควรปรับให้มีทางลาดเพื่อให้สามารถเข็นรถเข็นขึ้นได้ด้วยตนเองเพื่อที่จะไม่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าเป็นภาระของผู้อื่นมากไป

^^ทางเข้าหน้าโรงพยาบาลมีทางลาดเอื้อต่อการเข้าไปภายใน และยังมีคนมีน้ำใจอยากช่วยที่จะเข็นเข้าไปภายในด้วย ต้องขอขอบคุณมากจริงๆ

มาถึงเป้าหมายได้สำเร็จแล้ว เย่! โดยมีนักกิจกรรมบำบัดจำลองดูแลเป็นอย่างดี รู้สึกมีกำลังใจในการใช้ชีวิตเพิ่มขึ้นเยอะเลย


นายภัทรนันท์ รังสิมันตุชาติ 5723013

หมายเลขบันทึก: 613953เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2016 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2016 00:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท