wheelchair (bipolar)


จากรายวิชา ptot333 activity of daily livingand rehabilitation วันที่ 8 กันยายน ที่ผ่านมา ดิฉันมีโอกาสได้เรียนรู้เรื่องการใช้ wheelchair เพื่อการทำกิจกรรมของผู้ป่วยที่เป็นโรคต่างๆ คู่ของดิฉันได้เลือกทำโรคไบโพล่าระยะ mania อาจารย์ให้เราทั้งสองคนไปที่คณะวิศวกรรมศาสตร์เพื่อจุดประสงค์การนำรถเข็นไปซ่อม การที่เราเลือกไปซ่อมที่คณะวิศวกรรมศาสตร์เพราะมีเพื่อนอยู่คณะนี้คิดว่าเขาสามารถช่วยซ่อมรถเข็นได้ ความรู้สึกแรกที่ได้เข็นรถเข็นรู้สึกค่อนข้างลำบาก บังคับทิศทางยาก ทางเข้าออกประตูต่างๆก็แตกต่างกันต้องเข็นเข้าออกอยู่หลายครั้งกว่าจะสำเร็จจะทำให้รู้สึกหงุดหงิดบ้าง เพือนอีกคนรับบทบาทเป็น ot ที่จะคอยประเมินและดูแลความปลอดภัยของผู้ที่รับบทบาทเป็นผู้ป่วย เมื่อเข็นไปสักพักรู้สึกเมื่อยแขน เพราะทางที่จะไปค่อนข้างไกล และ มีอากาศร้อน นอกจากนี้ระหว่างทางจะมีทางบางช่วงที่พื้นผิวขรุขระ และเป็นร่องระบายน้ำซึ่งหากผู้เข็นรถเข็นไม่ชำนาญพออาจจะทำให้ล้อรถลงไปติดได้ ทำให้เสียเวลาและพลังงานเมื่อไปถึงบังเอิญเจอกลุ่มนักศึกษาคณะวิศวกรรมชั้นปีที่ 3 ที่เคยเห็นหน้ากันบ้างเลยหยุดพูดคุยกับเพื่อนเรื่องรถเข็น และมีหนึ่งคนในกลุ่มที่บอกว่าคุณยายของเขาก็ใช้รถเข็นรุ่นนี้เหมือนกัน หากจะใช้ค่อนข้างลำบากเพราะคุณยายมีอายุมากต้องมีคนคอยเข็นให้ตลอดและเมื่อมีโอกาสออกไปข้างนอกบ้านก็มีอุปสรรคในสถานที่ ที่ไม่เอื้อต่อคนที่ใช้รถเข็นเลย ต้องคอยระวัง บริเวณตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์มีทางลาดเพื่อขึ้นตึกที่เหมาะสมสำหรับรถเข็นแค่ทางเดียวเท่านั้น ทางลาดที่เหลือไม่เหมาะสมหากผู้ที่ใช้รถเข็นจะเข้าไปในตึกเพราะมีความชันมาก ทางขึ้น-ลงทางลาดมีรถจักรยานและรถยนต์จอดขวางทาง เมื่อถึงเวลากลับคณะกายภาพบำบัดได้เปลี่ยนบทบาทกับเพื่อน คือ ดิฉันเป็น ot สิ่งที่คิดว่า ot ควรที่จะต้องใช้คือ ดูความปลอดภัยตลอดทาง เพราะสิ่งกีดขวางและอุปสรรคมีมากและหากจะแนะนำผู้รับบริการได้เราควรจะเริ่มมีปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ดีก่อน นอกจากนี้ยังควรตรวจประเมินการรู้คิดและรับรู้ของผู้รับบริการด้วย ว่ารู้หรือไม่ว่าจะไปที่ไหน เพื่ออะไร ควรจะไปทางไหนที่เร็ว ปลอดภัย และประหยัดพลังงาน ot ควรเห็นใจผู้รับบริการหากเขาเหนื่อย เมื่อยอยากพักแต่มีเวลาจำกัดหรืออากาศร้อนควรช่วยผู้รับบริการเข็นเมื่อเห็นว่าผู้รับบริการหายเหนื่อยหรือพร้อมที่จะเข็นเอง ก็ให้ผู้รับบริการทำเอง สิ่งที่ประทับใจในการรับบทบาทสมมติครั้งนี้คือ ทางลาดที่ค่อนข้างชันและดิฉันไม่สามารถเข็นด้วยตัวเองได้ มีพนักงานรักษาความปลอดภัยได้เข้ามาช่วยดูรถที่ขวางทางขึ้นและช่วยเข็นรถเข็นขึ้นไปซึ่งไม่ต้องขอความช่วยเหลือเขาก็ยินดีช่วย หากมีผู้ที่ใช้รถเข็นเข้ามารับบริการที่ตึกนี้ก็จะได้รับความช่วยเหลือ แต่ดิฉันคิดว่าหากสามารถเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เป็นกายภาพต่างๆเอื้อต่อผู้พิการทุกคน และเขาสามารถเข้ามาใช้บริการที่ตึกคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้ด้วยตัวเองจะดีที่สุด

คำสำคัญ (Tags): #wheelchair#บทบาทสมมติ
หมายเลขบันทึก: 613717เขียนเมื่อ 11 กันยายน 2016 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กันยายน 2016 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท