ป่า=อ่างเก็บไอน้ำ


ป่า=อ่างเก็บไอน้ำ
แนวต้นไม้ = ลำธารไอน้ำ

น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ไอน้ำไหลไปได้ทุกทิศทาง ทั้งสูง กลาง ต่ำ และ สิบเอ็ด อ่างเก็บไอน้ำจึงอยู่บนเขาก็ได้ ไอน้ำไหลขึ้นไปได้

ผลจากการได้ไปปลูกป่า ทำให้คิดได้ว่า ป่านั้นเป็นอ่างเก็บไอน้ำ ด้วยอีกอย่างหนึ่ง
เมื่อปลูกป่าเราก็จะได้อ่างเก็บไอน้ำขนาดเล็ก จากนั้นก็เป็นอ่างเก็บไอน้ำขนาดกลาง และเป็นอ่างเก็บไอน้ำขนาดใหญ่ในที่สุด
จะมีน้ำใต้ดินในบริเวณนั้นในอนาคต

การปลูกป่าก็คงต้อง สร้างอ่างเก็บไอน้ำแบบพวง คือมีการเชื่อมโยงอ่างเก็บไอน้ำระหว่างกัน ด้วยลำธารไอน้ำ ซึ่งก็คือแนวต้นไม้นั่นเอง
ทีนี้พอเครือข่ายอ่างเก็บไอน้ำขยายตัวขึ้น ป่าก็จะขึ้นเต็มพื่้นที่ เป็นต้นไม้ 7 ระดับ

ต้นไม้ 7 ระดับ ประกอบด้วย
ระดับที่ 1 ไม้ชั้นบน หรือไม้ยืนต้น อายุ 10 ปีขึ้นไปจึงจะใช้ประโยชน์ได้ เช่น ประดู่ ยางนา สัก มะค่า ถือเป็นไม้ที่สร้างบำเหน็จ บำนาญ และมรดก
ระดับที่ 2 คือไม้ชั้นกลาง อายุ 3 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นไม้ผล รวมถึงพืชพลังงาน อาทิ มะม่วง ลำไย กระท้อน ขนุน
ระดับที่ 3 ไม้ทรงพุ่ม อายุ 1 ปีขึ้นไป เช่น มะนาว มะละกอ มะเขือพวง กล้วย
ระดับที่ 4 พืชหน้าดิน ได้แก่ พืชผักสวนครัว
ระดับที่ 5 พืชหัว คือพวกที่อยู่ใต้ดิน ประเภทขิง ข่า กระชาย เผือก มัน
ระดับที่ 6 พืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง ผักกะเฉด บัว
ระดับที่ 7 พืชเกาะเกี่ยว จำพวกตำลึง มะระ ถั่วฝักยาว บวบ

ที่มาต้นไม้ 7 ระดับ :http://safetybio.agri.kps.ku.ac.th/index.php?optio...

ปลูกป่าแบบปล่อย ก็คงต้องให้มีต้นไทร ต้นโพธิ์ ไว้ให้นกมาเกาะแล้วแล้วมาช่วยปลูกต้นไม้แทนคน จากมูลนก
และน่าจะปลูกกล้วยเพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำและเป็นร่มเงาให้ต้นกล้าไม้ และมีต้นไผ่ไว้ให้ช้างกินในอนาคต
ในระยะแรกเพื่อให้มีต้นไม้หลากหลายให้ต้นไม้พึ่งพากัน

อ่างเก็บน้ำปกติก็จะมีน้ำนำมาใช้ได้ง่าย แต่พื้นที่ผิวของอ่างมีมากน้ำก็ระเหยมาก
อ่างเก็บไอน้ำก็จะลดปัญหาเรื่องน้ำระเหยได้ แต่ในระยะเริ่มต้นก็เก็บไอน้ำได้น้อย

การจะทำอ่างเก็บไอน้ำเพียงอย่างเดียว หรือทำอ่างเก็บน้ำเพียงอย่างเดียว คงไม่ดีที่สุด
ที่ดีที่สุดน่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างอ่างเก็บไอน้ำ กับอ่างเก็บน้ำ โดยหาสัดส่วนที่เหมาะสม
ก็จะได้น้ำและความชื้น จากอ่างเก็บไอน้ำ และน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ ตามประสงค์

คิดได้จากการได้รับความกระทบกระเทือนจากการไปปลูกป่า
กับโครงการ เตรียมอุดม 41 ปลูกป่า แล้วพาเที่ยวเมืองเพชร

ในวันนั้นผู้เขียนต้องการจะถ่ายรูปให้เท่ห์ จึงใส่เสื้อสูท เตรียมอุดม 41 ไปด้วย
แต่เมื่อปลูกป่าไปได้สัก 3 ต้น เสื้อจะหนักมากเพราะเหงื่อออกอย่างแรง
เสื้อหนืดและหนักจากเหงื่อ

จะถอดเสื้อคลุมก็กระไรอยู่ กลัวจะถ่ายรูปแล้วไมเท่ห์ พอปลูกไปได้สักต้นที่ 14 ,15
เหมือนเสียงในใจร้องมาว่า ใจจะขาดแล้วเอ๊ย...... เพราะเสื้อหนักมาก เหงื่อหยดติ๋ง ๆ รดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ

ก็เลยจำไว้เป็นบทเรียน ไปปลูกป่าจะใส่เสื้อแขนสั้นไป ไม่คิดจะเท่ห์
หากกลัวแขนดำก็ใส่ปลอกแขนแบบที่ใช้ตอนขี่จักรยาน

พีระพงศ์ วาระเสน
7 กันยายน 2559

คำสำคัญ (Tags): #ป่า
หมายเลขบันทึก: 613513เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2016 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 กันยายน 2016 05:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีครับ

-ที่บ้านไร่ของผมปลูกป่า 5 ระดับครับ

-แต่พออ่านดูตามทฤษฎีการปลูกป่า 7 ระดับ ก็เข้าทีดีนะครับ

-ดูๆ แล้วน่าสนใจมาก ๆครับ

-ทำมา 2 ปี เริ่มเห็นผลการเปลี่ยนแปลงครับ

-ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท