แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน


แกะรอยข้าวใต้ ใครทำใครกิน โดย นายก อบต.ควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา นาย ถัล จุลนวน ข้าว ตำบลควนรู มีสายพันธุ์ที่สำคัญ คือ ข้าวเล็บนก ข้าวสังข์หยด ข้าวหอมใบเตย ข้าวเที่ยง ข้าวช่อละไม ข้าวหัวนา เป็นต้น เป้าหมายเพื่อมุ่งเน้นให้คนในชุมชนปลูกข้าวกินเอง มีอาชีพมีรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถช่วยเหลือตนเองและคนในชุมชนได้ โดยในชุมชนมีการจัดการข้าวแบบครบวงจร ตั้งแต่ การคัดเมล็ดพันธุ์จนถึงการแปรรูป จำหน่าย ซึ่งจัดทำโดยคนในชุมชน โดยมีหน่วยงานของรัฐ และสถาบันการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือสนับสนุนให้ความรู้ทางด้านวิชาการและงานวิจัย ภายในชุมชนมีการรวมกลุ่มเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งสนับสนุนโดยกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวปัตตานี รวมทั้งมีการจัดตั้งธนาคารข้าวชุมชน โดยเกษตรกรเป็นสมาชิกและคณะทำงาน เน้นการปลูกข้าว ปลอดสารเคมี การรณรงค์ให้ความรู้ลดละเลิกการใช้สารเคมี ในชุมชน ข้าวที่ผลิตได้ส่วนหนึ่งนำไปบริโภค ในโรงเรียน โรงเรียนศูนย์เด็กเล็ก ขณะเดียวกัน ในโรงเรียนไทรใหญ่ ก็มีแปลงนาสาธิต เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การทำนาและนำผลผลิตมาบริโภคเอง ส่วนมหาวิทยาลัยและองค์กรของรัฐ ก็ได้เข้ามาสนับสนุน ให้ความรู้ ทางด้านวิชาการ งานวิจัย ทางคุณสมบัติ ทางสารอาหาร และยา ชุมชนเอง ร่วมกัน ผลักดันแผน พัฒนาตำบล การทำนาไม่ใช่ ได้ข้าวเพียงอย่างเดียว แต่การทำนาจะเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตประเพณี วัฒนธรรม สร้างความสามัคคี มีกิจกรรมให้มาพบปะกัน ซึ่งทางชุมชนเองได้จัดกิจกรรม "ออกปากดำนา" เพื่อ ฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรม ที่สำคัญให้เข้มแข็งขึ้นด้วย ...บทสัมภาษณ์นายบุญชอบ ทองดี คณะกรรมการศูนย์ข้าวชุมชนระดับประเทศ (กรมการข้าว) และเกษตรกรชาวควนรู ซึ่งเป็นคณะทำงานกรรมการทำนาแปลงใหญ่ โดยใช้พันธุ์ข้าวพื้นเมืองที่ปลูกปัจุบันสามสายพันธุ์ ได้แก่ ข้าวเล็บนกปัตตานี ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวเที่ยงพัทลุง โดยการแบ่งการทำงานเป็นกลุ่ม ซึ่งมีขั้นตอนตั้งแต่ กลุ่มเลือกเมล็ดพันธุ์ กลุ่มแปรรูปกลุ่มปุ๋ยอินทรีย์ กลุ่มกำจัดศัตรูพืช กลุ่มใช้เครื่องจักร กลุ่ม แปรรูปการตลาด และกลุ่มบริหาร มีโรงสีข้าวชุมชน มีเครื่องจักร ซึ่งได้รับการสนับสนุน จากผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ในพื้นที่ ยังช่วยกันรณรงค์ ให้เกษตรกร หันมา ปลูกข้าว ให้มากขึ้น เพราะกังวลว่า ถ้าราคาปาล์มน้ำมันราคาดี เกษตรกร จะกลับไปปลูกปาล์มกัน ทำให้ การปลูกข้าวลดน้อยลง ในพื้นที่ตำบลควนรูมีการปลูกข้าว ประมาณ 80% สำหรับไว้บริโภคเองและนำไปจำหน่าย ที่โรงพยาบาลโรงเรียนกลุ่มงานโอทอป สิ่งที่ต้องช่วยกันในระดับภูมิภาค คือคณะกรรมการศูนย์พันธุ์ข้าวของทุกจังหวัดต้องช่วยกันรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาปลูกข้าวให้มากขึ้นเพื่อความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพ ส่วนภายในจังหวัดควรมีนโยบายลดละเลิกการใช้สารเคมี เพื่อให้คนบริโภคข้าว ที่มีคุณค่าทางอาหารและยา ดังคำโบราณที่กล่าวไว้ กินอาหารให้เป็นยา ไม่ใช่กินยาเป็นอาหารซึ่งเห็นได้ชัดว่าการปนเปื้อนของสารพิษในอาหารทำให้คน เจ็บป่วย และต้อง กินยาพร้อมอาหารเกือบทุกมื้อ ก็ว่าได้...

หมายเลขบันทึก: 613190เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2016 23:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กันยายน 2016 16:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

-สวัสดีีครับ

-ตามมาชื่นชมกิจกรรมดี ๆ ครับ

-ผมเห็นด้วยกับสิ่งนี้่ครับ "การทำนาไม่ได้ข้าวเพียงอย่างเดียว แต่ได้วัฒนธรรมดี ๆ ด้วย"นะครับ

-ขอบคุณครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท