ความหมายที่แตกต่างของโรงเรียนดี


บาปบริสุทธิ์ เรื่อง ความหมายที่แต่ต่างของโรงเรียนดี (พิเศษ 3)

.........ช่วงนี้ ผมเห็นภรรยาผม มองหาโรงเรียนดีๆ ให้ลูก ซึ่งปัจจุบันนี้ ลูกผมก็ถือได้ว่าได้เรียนโรงเรียนที่ดี แต่ความหมายของคำว่า โรงเรียนดี ในความหมายของภรรยา กับ ผมกับแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเลย ? ภรรยาผมหาโรงเรียนดีๆ ให้ลูกเรียน โรงเรียนที่เรียน มีความเข้มทางวิชาการ การสอนที่เข้มงวด ปรากฏว่า ผมเห็นภรรยาผม กำลังหาที่เรียนพิเศษให้ลูกเรียน กล่าวคือคะแนนตกลูกผมเรียนตามเพื่อนไม่ทัน (ผมเข้าใจอย่างนั้น)

..........การตามเพื่อนไม่ทันนั้นเป็นเรื่องธรรมดาที่ลูกเราอาจมีปัญญา หรือความเก่งที่น้อยกว่า เพื่อนร่วมชั้น ผมเห็นควรที่ต้องเรียนพิเศษ เพื่อให้ตามเพื่อนๆ ทัน แต่พอผมเข้าไปในรายละเอียดก็พบว่า นักเรียนกว่า ร้อยล่ะ 80 ในชั้นเรียน ผู้ปกครองหาที่เรียนพิเศษ เพื่อให้สามารถทำคะแนนสอบ และผ่านการสอบ ทำให้ผมต้องมาคิดใหม่ว่า เพราะลูกของผมไม่ได้ตามเพื่อนไม่ทันอย่างที่ผมคิด แต่เป็นว่า ลูกผม และเพื่อนร่วมชั้นเรียนนั้น เรียนตามครูไม่ทันต่างหาก

..........แบบนี้แล้วถือว่าโรงเรียนนี้ดีจริงหรือ เป็นความหมายที่ผมเข้าใจตรงกันหรือเปล่า ? แต่ทว่า โรงเรียนที่ดีในความหมายของผมไม่ได้เป็นอย่างข้างต้นเลย โรงเรียนที่ดีของผม ไม่จำเป็นต้องดัง แต่ให้เน้นการสอนที่ให้ นักเรียนส่วนใหญ่ เรียนเข้าใจ กล่าวคือ นักเรียนร้อยล่ะ 80 เรียนรู้เรื่อง เรียนตามหลักสูตรเข้าใจตามวัยวุฒิ และวุฒิภาวะของนักเรียน ไม่จำเป็นต้องหาที่เรียนพิเศษ ส่วนต้องมีนักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อนร้อยล่ะ 20 นั้น ต้องหาที่เรียนพิเศษ ผมเห็นว่าสมเหตุสมผล

........จะมีประโยชน์อะไร ที่ความหมายของโรงเรียนที่ดี นักเรียนส่วนใหญ่ที่เรียน เรียนในห้องเรียนไม่รู้เรื่อง แล้วต้องหาที่เรียนพิเศษ เพื่อให้สามารถสอบได้คะแนนสูงๆ เช่นนั้นแล้ว ความหมายว่า ครูสอนไม่รู้เรื่อง ไม่อาใจใส่นักเรียนอย่างแท้จริง หรือเปล่า จึงไม่สนใจจะเตรียมสอน จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ และเข้าใจได้ในเวลาจำกัด ในเวลาเรียนในห้องเรียน ครูไม่สนใจจะประเมินตัวครูเอง แล้วมาปรับแก้การสอนของตัวเอง เมื่อพบว่านักเรียนส่วนใหญ่เรียนไม่รู้เรื่อง ต้องจัดเตรียมการสอน หรือผลิตสื่อที่เหมาะสมกับนักเรียนในบริบทนั้นๆ เพื่อ สัมฤทธิ์ที่สูง กลับกลายเป็นว่า นักเรียน เรียนไม่รู้เรื่องก็ไปหาเรียนพิเศษเอา ที่ผมเรียกว่า เรียนตามอาจารย์ไม่ทัน ไม่ใช้เรียนตามเพื่อนร่วมชั้นไม่ทัน .......สำหรับผมแล้วโรงเรียนที่ดี ต้องมีครูที่เอาใจใส่การสอน เพื่อให้นักเรียนส่วนใหญ่เรียนรู้เรื่องเข้าใจในห้องเรียนให้มากที่สุดที่จะทำได้ โดยนักเรียนส่วนใหญ่ไม่ต้องไปหาเรียนพิเศษที่อื่น และนักเรียนเองก็จะได้มีเวลาเป็นของตัวเอง เวลาในวัยเด็ก เวลาในวัยนักเรียน ได้เรียนฝึกฝีมือ ดนตรี กีฬา หรือทำกิจกรรม งานอดิเรกที่ตนชอบ แทนที่จะเอาเวลาไม่เรียนซ้ำในสิ่งที่ไปเสียเวลาเรียนในห้องเรียนแล้ว ยังต้องมาเสียเวลาสองต่อเพื่อมาเรียนพิเศษอีก โรงเรียนจะเด่น จะดัง แค่ไหน ถ้านักเรียนที่ประสพความสำเร็จ สอบเข้ามหาวิทยาลัยของรัฐได้เยาะ ได้คะแนนมากๆ ได้ที่เรียนดีๆ จำนวนมาก แต่นักเรียนเหล่านั้นกลับไม่ได้ความรู้ ความเข้าใจจริงๆ จากโรงเรียน ในชั้นเรียนอย่างที่ควรจะเป็น แต่ไปได้จากการไปเรียนพิเศษ

........ผมได้มีโอกาสไปที่เรียนพิเศษหลายแห่งครับ พบว่า โรงเรียนพิเศษเหล่านั้น ได้นำรายชื่อ พร้อมภาพ ของนักเรียนที่สอบได้ที่ดีๆ สอบได้เป็นจำนวนมากมาประกาศว่า นักเรียนเหล่านั้นสอบได้ เนื่องจากมาเรียนที่นี้ ส่วนโรงเรียนของนักเรียนเองก็เช่นกัน นำรายชื่อมาประกาศหน้าโรงเรียนตน ว่าโรงเรียนสอนดี ทำให้มีนักเรียนสอบได้มากมาย ตกลงแล้ว เป็นการเรียนจากที่เรียนในห้อง หรือที่เรียนพิเศษ กันแน่นๆๆๆๆๆๆ ครับ .........ผมว่างั้นนั่นครับ

.......ยังมีอีกอย่างขอเสริมสักหน่อยครับ........เกี่ยวกับ สอบวัดความรู้...xNet ต่างๆ ครับ ผมคิดว่า

........การสอบวัดความรู้ นักเรียนที่เรียนระดับ ม.5 ก็หน้าจะใช้เนื้อหาที่เรียนใน ม.4 ไม่ใช้ใช้เนื้อหาใน ม.5 เพราะนักเรียนที่เรียนอยู่ ม.5 แม้จะเรียนอยู่ แต่นักเรียนก็ยังไม่จบ ม.5

.........การสอบวัดความรู้ นักเรียนที่เรียนระดับ ม.6 ก็หน้าจะใช้เนื้อหาที่เรียนใน ม.5 ไม่ใช้ใช้เนื้อหาใน ม.6 หรือ ม.4 เพราะนักเรียนที่เรียนอยู่ ม.6 แม้จะเรียนอยู่ แต่นักเรียนก็ยังไม่จบ ม.6

........ เช่นกัน ตัวอย่างลูกของผม เรียน ป.3 ได้มีโอกาสเป็นตัวแทนเข้าสอบชิงทุน ช่วงเวลานั้น เรียนอยู่ ป.3 เทอม 2 ต้นเทอม พอไปสอบปรากฏว่าไม่ได้ แต่ตัวแทนในห้องเดียวกันได้ ก็ไม่ว่าอะไรหรอกครับ พอเข้าไปในรายละเอียดก็พบว่า คนที่สอบได้นั้น ไปเรียนพิเศษ เพื่อสอบชิงทุน ก็ยังไม่ว่าอะไร แต่พอได้ถามลูกว่าทำไมไม่ได้ ก็ได้คำตอบที่ว่าทำข้อสอบบางข้อไม่ได้ เช่น ข้อสอบคูณ ยังไม่ได้เรียน (ต้องเรียนในป.3 เทอมปลาย) อ้าวแล้วทำไมเพื่อนร่วมห้องที่ไปด้วยกันทำไมทำได้ล่ะ ก็ได้คำตอบว่า เขาไปเรียนพิเศษ ครูสอนล่วงหน้าไปถึงปลายเทอม เลยทำข้อสอบนั้นได้ ซึ่งเป็นส่วนใหญ่ เป็นข้อสอบของ ป.3 ปลายเทอมสองทั้งนั้น ลูกของผมไม่ได้เรียนพิเศษ ก็ไม่สามารถทำได้ อย่างนี้แล้ว ข้อสอบจะถือว่ามีความยุติธรรม และมีอำนาจจำแนกได้หรือครับ

.........จึงกล่าวได้ว่าการออกข้อสอบควรคำนึงถึงบริบทของเวลา และระดับที่ความจะวัด ไม่ใช้สอบวัดผลระดับ ม.6 แต่เอาเนื้อหา ป.4 มาถาม อย่างเกมส์ ถ้าคุณแน่นอย่าแพ้ ป4. อย่างไงอย่างนั้นครับ ใครล่ะจะอ่านอะไรมากมาย จนรู้ไปหมดทั้งชั้น ม.4 ถึง ม.6 ถ้าจะออกก็ต้องมีระบุให้แน่นชัดว่า ร้อยล่ะของจำนวนของข้อสอบ ในระดับชั้น นั้นๆ มีเท่าไร ออกแบบไหนอย่างไร จริงไม๋ครับ...................ผมก็ว่างั้นน่ะ

หมายเลขบันทึก: 613164เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2016 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2016 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จริงด้วยครับ สำหรับคำถามที่ว่า "โรงเรียนดี คืออะไร"
ปัจจุบัน เรานิยามกันตามกระแสสังคม หรือ ความรู้ของเด็ก ;)...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท