การเลือกใช้งานเครื่องเอกซเรย์


CR DR

เครื่องเอกซเรย์ที่ใช้งานกันเดิมเป็นเครื่องที่ใช้งานร่วมกับเครื่องล้างฟิล์มซึงนักรังสีต้องทำQCเครื่องล้างฟิล์กันหัวหมุนเพื่อให้ได้ภาพที่เพียงพอกับการวินิฉัยโรคของแพทย์

ต่อมามีระบบดิจิทัลเอามาในรพ โดยใช้เครื่องเอกซเรย์เดิมแต่เปลี่ยนเครื่องล้างฟิล์เป็นเครื่องแปลงสัญญาณภาพจากอนาล็กเป็นดิจิทัลด้วยเครื่องCR ในความเป็นนักรังสี CR ไม่ใช่เครื่องที่มาแทนเครื่องล้างฟิล์มแต่มันกายเป็นเครื่องมือที่เราต้องให้ความสำคัญมากกว่าเครื่องล้างฟิล์ม และCR ใช้ตัวรับสัญาณภาพด้วย image plate ซึ่งมีความสำคัญกับการสร้างภาพมาก ระบบงานเราก็เปลี่ยน. การทำQC ก็ยังต้องทำเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนวิธี แต่ที่สำคัญภาพรังสีมีคุณภาพมากขึ้น และให้ โดส ตำ่ากว่าการใช้ฟิล์ม ผู้ป่วยปลอดภัยมากขึ้น แต่ถ้า ผู้ปฏิบัติงานไม่ใส่ใจ หรือเลือกเครื่องไม่ดีอาจจะทำให้ผู้ป่วยได้รับโดส สูงกว่า ฟิล์มได้ เพราะหลัการของCR ยิ่งให้ปริมาณรังสีสูงเท่าไร ภาพรังสีจะออกมาสวยงาม คมชัดมาก คนทำงานย่อมพอใจมาก แต่ผลคือผู้ป่วยได้โดสเกินความจำเป็นอาจส่งผลอันตรายได้ รังสีสะสมระยะยาว ก็ต้องให้ความระวังกันให้มานะคะ แถมยังต้องQC image plate เพื่อให้รับสัญาณภาพที่คงที่ ไม่มีสิ่งแปลผปลอม และต้องQC เครื่องแปลงสัญาณCR ดูความสามารถของการลบภาพในimage plate เพื่อไม่ให้มีภาพซ้อนเมื่อเอาไปถ่ายภาพคนใหม่ เพราะ CR ที่ดีต้องล้างภาพเก่าหมดจะได้ไม่มีสัญาณรบกวนต่อภาพที่จะถ่ายใหม่

การทำงานเครื่องเอกซ้รย์ร่วมกับCR นักรังสีต้องมีความละเอียดรอบครอบ ก่อนทำงานต่องทำการล้างแผ่น image plate ก่อนทุกครั้ง ในตอนเช้า เพราะ image plate มันรับสัญาณจากแสงไฟเร็วมากถ้าเราไม่ใช้แผ่นนานกว่า6ชม มันวางตั้งไว้ที่ ที่มีแสงสว่าง มันก็จะรับสัญาณทำให้เกิดภาพขอวัตถุที่อยู่ใกล้แผ่นเสมอ จึงต้องทำการล้างทุกเช้าก่อนใช้งานหรือล้างทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้นาน พอจะใช้ต้องล้างก่อน

การใช้แผ่น image plate ในงาน เอกซเรย์เคลื่อนที่ไปตามตึกต่างๆ ถ้าใช้เวลานานหลังจากเอกซเรย์แล้วแต่ไม่ได้กลับมา แสดนภาพทันที่ ก็จะมาปัญหาของการเปลี่ยาแปลงของภาพทางที่ดีต้องกลับมาแสกนทันที่

การเลือกใช้เราต้องทรายค่า exposure idex EI เพื่อจะได้กำหนดปริมาณรังสีได้ถูกต้องแม่ยำ เหมาะสมกับการวินิจฉัยโรค

สิ่งที่สำคัญของภาะดิจิตทัล นักรังสีต้องทำ image processing ก่อนส่งภาะเข้าระบบ จะนำเสนอต่อไป

การใช้งานในระบบดิจิทัลของภาพเอกซเรย์มีส่วนที่เกี่ยวของหลายอย่างเช่น การจัดเก็บภาพและการสื่อสารภาพทางการแพทย์ (PACS)ก็มีความสำคัญ จะนำเสนอในการต่อไป

ส่วนการสื่อสารภาพทางการแพทย์ ที่รังสีแพทย์ แพทย์ ที่รับผลงานต่อจากนักรังสี ก็มีหลัการที่สำคัญหลายอย่าง รวมถึงจอภาพ ที่ใช้ ก็จะนำเสนอต่อไป

และในปัจจุบันนี้ มีเครื่องเอกซเรย์รุ่นใหม่ออกมาขายในท้องตลาด ที่เป็นภาะดิจิตทัล มีสองรูปแบบจะเสนอที่ละรูปแบบ

1 ใช้เครื่องเอกซเรย์เดิมที่เรามีอยู่ แล้วซื้อเครื่องแปลสัญาณภาพรังสีดิจิทัลมาใช้ เรียกเครื่องแปลงสัญาณภาพว่า DR หลักการทำงานแตกต่างจาก CRพอสมควร เพราะเราใช้decter เป็นตัวรับสัญาณภาะ และภาพจะปรากฏทันที่ที่จอรัลภาพ จะไม่ต้องมาแสกน เหมือนCRซึ่งสกวก สบายมากว่า แต่ที่หนักสุดของการทำงานในระบบดิจิทัล คือทุกอย่างต้องถูกต้องเสมอ ถ้ามีผิดพลาด การแก้ไขทักจะมีปัญหาเสมอ จะเสนอต่อไป

การใช้DR แบบนี้เรียกว่าชุด retrofit ก็เป็นที่นิยมพอสมควร และมีส่วนประกอบเป็น soft ware ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ที่มารับสัญาณภาพที่ปรากฏทันที่ในท้องตลาดมีมากการเลือกใช้ต้องดูให้ดีค่ะ 1DQE มากน้อย 2picel value 3 Histogram 4 ค่าEI. 5ค่า Dap ค่าโดส ที่แสดง

ระบบที่ใช้งานในฟังชั่นต่างๆ เช่นการลด nois ลบgrid line เป็นที่น่าสงสัย ลบโน้นนี่นั้นไป ของฟังชั่นต่างๆนี้มันได้ลบ รอยโรคเล็กๆไปด้วยไหม น่าคิดนะ

การใช้งานต้องมีระบบการดูแลที่ชัดเจน ปิดเครื่องเอกซเรย์ต้องปิดสัญาณรับภาพที่detectorด้วย. ต้องมีการcalibation detcetor ทุก 4เดือน จะนำเสนอต่อไป

2 ใช้เครื่องเอกซเรย์แบบ fully digital นั้นมาแล้ว เครื่องเอกซเรย์บวกคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อโยงกันทุกมิติ ข้อดีข้อเสียมีพอสมควร แต่สิ่งที่ทำให้สนใจคือระบบ auto มาเพียบเลย สนใจขนาดหนัก<img src="https://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/001/176/314/large_image.jpeg" "="">

เดียวมาเล่าต่อ

คำสำคัญ (Tags): #digital
หมายเลขบันทึก: 612991เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2016 13:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2016 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท