พลิกใจให้ตื่นรู้ (โครงการส่งเสริมคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป 2559)


โครงการส่งเสริมคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป “เวทีปฐมนิเทศนิสิตแกนนำฯ” ประจำปีงบประมาณ 2559 จัดขึ้นเมื่อวันที่ ๒๘-๒๙ กรกฎาคม ๒๕๕๙ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
๑) เพื่อปฐมนิเทศนิสิตให้มีความรู้ความเข้าใจในคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปและทราบบทบาทหน้าที่และความสำคัญของนิสิตแกนนำขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
๒) เพื่อเสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อรายวิชาศึกษาทั่วไปและส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนนิสิตแกนนำขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
๓) เพื่อกำหนดแนวทางและปฏิทินการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไป ประจำปี ๒๕๕๙

โดยกิจกรรมทั้งหมดนี้ มีกระบวนกร คือ อาจารย์ธวัช ชินราศรี เเละดร. สุรเชต น้อยฤทธิ์ ซึ่งเป็นกระบวนการจิตตปัญญา ที่เน้นในเรื่อง นิวโรไซส์ สมองสามชั้น ปัญญาสามฐาน จิตทยาตัวตน สัตว์ ๖ ทิศ สุนทรียสนทนากับเสียงภายใน การดูตัวตนเเละคุยกับตนเอง ซึ่งเป็นเเนวทางการศึกษาเเนวจิตวิวัฒน์กระบวนทัศน์ใหม่ที่เราพึงปรารถนา เมื่อศึกษาภายนอกเเล้วไม่มีทางออกทางคติธรรมเพราะติดวัตถุธรรม เราจึงหันมาศึกษาภายในเพื่อเเสวงหาการเข้าใจตนเองเเละโลกนี้ผ่านการยกระดับทางจิตวิญญาณ

เวทีนี้เป็นเป็นเวที ที่เรามาเรียนรู้ร่วมกัน "คุยกันเรื่องภายใน" เเละความคาดหวังอีกประการ คือ การสร้างเสริมศักยภาพของแกนนำที่จะทำงานร่วมกันในอนาคตที่ใช้ชื่อว่า "เครือข่ายนิสิตจิตอาสา" มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


"ระฆังกังวาล"
อาจารย์กระบวนกร พาเช็คอินด้วยเสียงระฆัง ให้ทุกๆคนสบนิ่งอยู่กับตนเองเเละบอกความปรารถนาของเเต่ละคนในกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นเบื้องหน้า เเล้วเริ่มเเนะนำตัวทีละคน ส่วนนึงมาจากโครงการเด็กดีมีที่เรียน ส่วนนึงเป็นนิสิตช่วยงาน เเละส่วนนึงเป็นโครงการเด็กดีมีที่เรียน จากที่ได้ฟังความคาดหวังของเพื่อนๆ ขมวดเเล้วได้ความว่า ๑) อยากเรียนรู้เเละพัฒนาศักยภาพของตนเอง ๒) อยากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆเเละรู้จักเพื่อนๆ ๓) อยากมาเรียนรู้กิจกรรมที่ตนไม่เคยเข้ามาก่อน จากนั้นอาจารย์เริ่มกิจกรรมต่อไป

"นิวโรซายส์"
อาจารย์เล่าให้เราเป็นผู้ฟังด้วยการเอาใจไปใคร่ครวญ เรื่องนิวโรซายส์ เป็นศาสตร์ทางด้านการเข้าใจเเละจัดการสมองของเรา โดยการฝึกไปเรื่อยๆซ้ำๆ ปัจจุบันเรามีการนำศาสตร์นี้ไปฝึกความเป็นผู้นำมากขึ้น ในสมองมีเซลล์ประสาทหนึ่ง ที่เรียกว่า "นิวรอน" เซลล์ประสาทส่วนนี้จะส่งผลไปยังพฤติกรรมของเราทั้งดีเเละไม่ดี ฉะนั้นเมื่อเราฝึกให้เราคิดบวก หรือ ศรัทธามากๆ ย่อมส่งผลให้เกิดพฤติกรรมในด้านดี นอกจากนี้ สมองส่วนหน้าที่มีขนาด 1 US dollar คือ ตัวสติ หรือตัวยั้งคิดนี้ เป็นความลับของสมองที่การศึกษาไทยในปัจจุบันมองข้าม หากเราสามารถฝึกฝนเเละใช้งานมันเป็นประจำนั่น คือ การยกระดับทางจิตใจของผู้เรียนเเละพัฒนาสมองไปพร้อมกัน

จากการฟังในครั้งนี้ รับรู้ได้ว่า ให้เรารู้ทันสมอง เเละฝึกสมองด้วยตัวสติของเราเอง เมื่อมันไม่เคยฝึกยั้งคิดเลย ก็ให้พยายามฝึกยั้งคิด เมื่อมันไม่เคยฝืนเลยเพราะชอบสบาย ก็พยายามฝึกฝืน เพราะการเข้าใจโลกเเละชีวิต คือ การฝึกว่ายทวนกระเเสน้ำเพราะเราเป็นปลาที่มีชีวิต

"สมองสามชั้น ปัญญาสามฐาน"

  • สมองเรามี ๓ ส่วนด้วยกัน ได้แก่
  • สมองชั้นต้น(สมองตะกวด) โหมดปกติ คือ ความกล้า โหมดปกป้อง คือ ความกลัว
  • สมองชั้นกลาง(สมองสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเก่า) โหมดปกติ คือ พอใจ ดีใจ ชอบใจ โหมดปกป้อง คือ ไม่พอใจ ไม่สบายใจ เศร้าใจ
  • สมองชั้นนอก(สมองสัตว์เลี้ยงลูกดวยนมใหม่) โหมดปกติ คือ คิดบวก คิดสร้างสรรค์ โหมดปกป้อง คือ คิดลบ ติดกรอบ

ความปกติตามยถากรรม คือ ความเคยชินในนิสัยเดิมๆ พฤติกรรมเดิมๆ สิ่งเดิมๆ หลักคิดวิธีคิดเดิมๆ ทำให้เราไม่รู้ตัว อาจคิดว่าเราสุข เเต่ทว่ามันกลายเป็นการสนองโลภ โกรธ หลง ของตนเองไปด้วยความเเคยชิน ซึ่งความปกติเบบนี้ไม่ใช่หนทางที่เราจะเดินไป

ความปกติตามจิตวิวัฒน์ คือ การฝึกฝืนความเคยชินของตนเอง พยายามแหกกรอบเดิมๆของตนเองออกมา ให้เราเห็นความจริงของโลกเเละชีวิตเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องตามใจตนเองมากนัก นี่เป็นหนทางที่เราจะเดินไป

กิจกรรมนี้ ทำให้เห็นใหม่ว่า บางครั้งเเม้เรารู้หลักโหมดสมอง เเต่ทว่าเราไม่ได้ศึกษาเรื่องความปกติเเต่อย่างใด เราจึงดำเนินชีวิตไปด้วยความเคยชิน อะไรสบายๆเราจะชอบทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น เเต่ทีนี้มาคิดใหม่ว่า เราควรฝึกฝืนเพื่อเข้าใจโลกเเละชีวิตมากขึ้น เพราะความปกติก็เป็นดาบ ๒ คม เช่นเดียวกัน


"สัตว์ ๖ ทิศ"
กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่พูดถึงเรื่องตัวเรื่องตน ของเราทุกๆคน ที่เปรียบนิสัยของเราเหมือนสัตว์ทั้ง ๔ ชนิดอยู่คนละทิศ โดยมีรายละเอียดดังนี้

  • ทิศเหนือ (กระทิง) จุดเด่น ทำอะไรทำจริง จุดด้อย มองข้ามรายละเอียดเล็กๆ
  • ทิศใต้ (หนู) จุดเด่น ใส่ใจความรู้สึก จุดด้อย ตัดสินใจอะไรไม่ได้
  • ทิศตะวันออก (อินทรี) จุดเด่น คิดสร้างสรรค์ จุดด้อย พูดเเต่ไม่ค่อยลงมือทำ
  • ทิศตะวันตก (หมี) จุดเด่น ละเอียด รอบคอบ จุดด้อย ติดกรอบ

ส่วนอีก ๒ ทิศที่เหลือ พูดเรื่องปัจเจกของเเต่ละตัว ได้แก่ ทิศเบื้องหน้า คือ ข้อดีทำให้เกิดสุข ส่วนทิศเบื้องหลัง คือ ข้อเสียทำให้เกิดทุกข์ หากเราเอาเหตุผลเป็นตัวตั้งเราเเต่ละปัจเจกบุคคลย่อมมีทั้งข้อมีเเละข้อเสีย เเต่หากเราเอาหัวใจเป็นตัวตั้งเราทุกๆคนจะมีเเต่ข้อดีไม่มีข้อเสีย เเละเมื่อเราเอาเหตุผลเเละหัวใจมารวมกันเราจะมองบวกเเต่ก็ยังสติให้ถึงพร้อมว่ามนุษย์ทุกคนเเตกต่างกันมีจุดเด่นเเละด้อยด้วยกันทั้งสิ้น

กระบวนการเป็นการใช้สุนทรียสนทนา เมื่อเดินหาตนเองอ่านอย่างใคร่ครวญเเล้ว ก็มานั่งจับกลุ่มกันฟังกันเเละกัน ด้วยการวางหินไว้ตรงกลาง เมื่อใครจะพูดให้หยิบก้อนหินขึ้นมา เเล้วคนอื่นๆก็นั่งฟัง "ฝึกการฟัง" จากกิจกรรมนี้ เห็นน้องๆสะท้อนความเป็นตนเอง เชื่อว่าน้องๆหลายๆคนมีความเข้าใจภายใน เข้าใจนิสัย ข้อดี ข้อเสียของตนเองเพิ่มมากขึ้น

"ผ่อนพักตระหนักรู้"
จากรับประทานอาหารเสร็จเรามาผ่อนพักตระหนักรู้ด้วยบทภาวนาที่อาจารย์อ่าน ของเเม่ส้ม สมพร บรรยากาศเย็นๆ นอนไปฟังไป รับรู้ความรู้สึกทางกาย เเละใจ ให้โฟลว์(Flow) อยู่ในความสงบ ให้สมองค่อยๆปรับคลื่นจาก เบต้า ไป เเอลฟา ค่อยๆไป เทต้า หรือเดลต้า "บางคนหลับเลยก็มี" หลายคนชอบกิจกรรมนี้เพราะนอนฟังเสียงผ่อนคลายเเล้วจะรู้สึกว่า ได้พักผ่อนกายเเละใจไปพร้อมกัน

"ลิสต์ตัวตน"
กิจกรรมนี้ พูดถึงเรื่องข้อดีเเละข้อเสียของเรา โดยให้เขียนลิสต์ ๓ ระดับความรุนเเรง ในโจทย์ "ให้นึกถึงคนใกล้ชิดตนเอง นึกถึงเหตุการณ์เเล้วให้เขียนเหตุการณ์นั้นทั้งชอบเเละไม่ชอบ

  • อะไรที่เราไม่ชอบ หรือ ไม่ต้องการ(ตัวตนกูปฏิเสธ) เช่นช่องที่ ๑) บ่น ช่องที่ ๒) คนผักเน่า เเละช่องที่ ๓) คนพาล
  • อะไรที่เราชอบ หรือ ต้องการ (ตัวตนกูยอมรับ) เช่น ช่องที่ ๑) พูดน้อย ขรึม ช่องที่ ๒) ตรงเวลา เเละช่องที่ ๓) คนดี
  • จากนั้นเขียนต่อไปว่า เเต่ละช่องนั้น เมื่อดีสุดๆเป็นอย่างไร(สำหรับเเถวที่๑)เเละหตุผลอื่นๆเป็นอย่างไร(สำหรับเเถวที่ ๒)
  • สิ่งที่เราไม่ชอบเเต่ละข้อนั้น เลวที่สุดมันเป็นอย่างไร เช่น ช่องที่ ๑) เก็บกด ช่องที่ ๒) อำมหิต เเละช่องที่ ๓) สร้างภาพ
  • สิ่งที่เราไม่ชอบเเต่ละข้อนั้น เเง่ดีอาจเป็นอย่างไร เช่น ช่องที่ ๑) เพราะความห่วงใย ช่องที่ ๒) มีภาระมาก เเละช่องที่ ๓) เกิดในสิ่งเเวดล้อมที่ไม่ดี

จากกิจกรรมนี้ทำให้เข้าใจ เหตุปัจจัยของความทุกข์เเละความสุขมากขึ้น สิ่งที่เราเขียนนั้นล้วนเป็นตัวตนของเราทั้งสิ้น เราอาจมีเป็นพัน เป็นหมื่นตัวตน หรืออาจมากกว่านั้น เเต่ไม่ให้เราไปยึดกับมันมากนัก เพราะตัวตน(อัตตา)นั้นเป็นตัวอุปาทานเพียงทั้งสิ้น ในฐานะความเป็นมนุษย์ ให้เราเก็บตัวตนที่ดีงาม ไว้ให้ตนเองได้ใช้ ได้ทำ ส่วนตัวอื่นๆก็เพียงทิ้งมันให้หมดไป เเค่นั้นเอง เเละนอกจากนี้ กิจกรรมนี้ ทำให้เราได้หาในสิ่งที่เราไม่เเคยหา นั่น คืสาเหตุปัจจัยในความเป็นตัวตนของเราว่า "เพราะอะไร" ดีที่สุดเป็นอย่างไร เเละเลวที่สุดเป็นอย่างไร "อทัปปัจยตา"


"สุนทรียสนทนากับเสียงภายใน" (Voice dialogue)
ขึ้นชื่อว่าตัว ว่าตน เรามีตัวตนอยู่ ๒ หมวดใหญ่ๆ คือ ตัวตนแรกที่คอยเเสดงออกหน้าเวที(Primary self) เเละตัวตนที่สองที่มักถูกหลงลืมอยู่เสมอ(Secondary self) อุปมา เหมือน นักเเสดงละครเวทีที่อยู่หน้าเวทีที่มีเเสงสว่างเเละเงาที่ติดตามตัวเขาอยู่เสมอๆตรงฉากหลัง หลายครั้งเราเลือกที่จะทอดทิ้งตัวตนในเงาให้เป็นเพียงเงาเพราะเราไม่ชอบไม่มันเเสดงออกมาในสายตาของผู้ชม เราเลือกที่จะเเสดงเพียงด้านสว่างของเราออกมา จากวาทะดังกล่าว สะท้อนว่า เราควรเข้าใจทั้งตัวตนที่อยู่หน้าเวทีเเละหลังเวทีของเรา เเล้วหยิบเลือกตัวตนที่ดี ขึ้นมายึดเป็นตัวเรา เพื่อดำเนินชีวิตในสังคมแบบกระสวน

ไม่นานนัก อาจารย์ให้เขียนจดหมายถามตัวตนของตนเอง ให้เลือกถามตัวใดตัวหนึ่ง ให้เอามือขวาเขียนคำถาม(สมองซีกซ้าย) เเละให้เอามือซ้ายเขียนคำตอบ(สมองซีกขวา) หลายคนก็ถามในตัวตนที่ไม่เหมือนกัน ผมเลือกถามตัวเหตุผล ถามไปถามมาเริ่มเข้าใจ ว่าตัวเหตุผลนี้สมองซีกซ้ายมันคิดขึ้นมาเองซึ่งไม่ต้องยึดมากก็ได้ "หงอคงสิ่งที่ตาเจ้าเห็นอาจเป็นความจริงที่คนอื่นมองไม่เห็น เเต่สิ่งที่อาจารย์เจ้าเห็น คือ จิตใจ" (คำกล่าวของเจ้าเเม่กวนอิมสอนหงอคง) เราพยายามหาคำตอบเเต่เรื่องของคนอื่น เเต่เรากลับเพิกเฉยต่อการตั้งคำถามเเละหาคำตอบต่อตัวเราเองเลย

ธรรมที่เรารู้ทั้งมวลเป็นเพียงธรรมธาตุที่ปรุงเเต่งขึ้นเเละเป็นของเทียม เพราะเราศึกษาโดยสมอง ซึ่งเราไม่เคยศึกษามันด้วยจิตไปรับรู้สภาวะเลย กิจกรรมนี้ยังสะท้อนอีกว่า เราไม่ต้องไปเคร่งในหลักคิด หรือ หลักการ อะไรให้มากนัก เพราะมันเป็นตัวเป็นตนของเรา ที่บางครั้งเราเองก็ไม่อาจยอมรับมันได้เสียเลย

"ปิดท้ายด้วยเสียงระฆังในใจ" (คำถามใหม่ที่ได้รับจากค่ายนี้)

  • ความปกติของเราเป็นความปกติตามยถากรรมหรือความปกติตามจิตวิวัฒน์
  • จริตของเรากัการใช้ชีวิตประจำวันของเรา เรากำลังเดินไปสู่ทิศเบื้องหน้า หรือทิศเบื้องหลัง
  • เราทุกคนมีตัวตนที่เรายอมรับเเละปฏิเสธ สิ่งเหล่านั้นเป็นอย่างไร
  • เราเคยเข้าไปคุยกับตัวตนที่อยู่ภายในของเรามากน้อยเพียงใด

กิจกรรมนี้จะจัดขึ้นไม่ได้เลยหากขาด อ.ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม (อ.ต๋อย) ขอขอบคุณอ. ธวัช ชินรศรี อ.ดร. สุรเชต น้อยฤทธิ์ เเละคณะอาจารย์ท่านอื่นๆที่ถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ ให้ลูกศิษย์ จากนี้เชื่อว่าหลายๆคน จะนำหลักคิดเเละกิจกรรมเหล่านี้ไปวิวัฒน์ต่อ "ขอขอบพระคุณครับ"

หมายเลขบันทึก: 611641เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2016 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท