พื้นที่ความสุข ณ สมุย


การเติมเต็มความสุขให้กับตนเอง การแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่น เป็นการสร้างพื้นที่ความสุขภายใน ให้กระจายออกไปภายนอก เพื่อเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจในการทำงานเป็นทีม และการทำงานที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน

กิจกรรมรู้ตัวเพื่อการพัฒนาจิตจัดขึ้นที่สมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้กับท่านอาจารย์และเจ้าหน้าที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีท่านอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลลา ตันตโยทัย เป็นเจ้าของโครงการและมีท่านอาจารย์ ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์ เป็นสื่อกลางสะพานบุญให้เราได้ร่วมเดินทางไกลไปเป็นวิทยากรร่วมกันอีกครั้ง


การจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เหมือนการจัดอบรมทั่วไปตรงที่วิทยากรไม่ใช่ผู้สอนที่ยืนอยู่หน้าห้องอย่างเดียว แต่เป็นกระบวนกรที่เอื้ออำนวยและสร้างบรรยากาศให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (ลปรร.) ได้แสดงตัวตน ความรู้สึกนึกคิดโดยอิสระ บนพื้นที่ความปลอดภัย การจัดการอบรมในลักษณะนี้แม้เป็นช่วงสั้น ๆ แต่สร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน นายกับลูกน้อง รุ่นพี่กับรุ่นน้อง บนพื้นที่การยอมรับและเคารพความแตกต่าง ณ พื้นที่ปลอดภัยแห่งนี้ได้สร้างความสุขระยะสั้นมาแล้วมากมาย จนอาจารย์วัลลาต้องขอกอดน้องที่ทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกันด้วยความเข้าใจในตัวตนของน้องคนนั้นมากยิ่งขึ้น


ภาพนี้คือภาพประทับใจที่เป็นบทสรุปของการจัดกระบวนการลปรรในครั้งนี้ นำขึ้นมาก่อนเพื่อให้เห็นความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งคือความสำเร็จของทีมงานที่ทำให้คนทำงานร่วมกันมายาวนานเพิ่งรู้จักกันจริง ๆ ก็วันนี้ จากบทสรุปขอกล่าวย้อนไปยังจุดเริ่มต้นค่ะ

๑. กิจกรรมพื้นที่ความสุข โดย ดร. ยุวนุช ทินนะลักษณ์

ช่วงแรก อธิบายเครื่องมือพัฒนาจิตวิญญาณ (Spiritual Development) ที่มีชื่อว่า Self Mandala ของ Virginia Satir เพื่อการบริหาร พัฒนาตนเอง (Self Management) เพื่อให้ผู้เข้าร่วมลปรร. เข้าใจมิติความสุขต่าง ๆ และทบทวนตัวเองว่ามีหรือไม่มีมิติความสุขด้านใดเพื่อเติมเต็ม

ช่วงสอง Human KM – Total KM การเชื่อมการพัฒนาธรรมชาติภายในของตนเอง จากการรู้ตัว รู้จักตนเอง รู้จักผู้อื่นโดยการพัฒนาจิตวิญญาณเป็นความสุขที่เกิดจากปัญญา (Wisdom) เข้ากับการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อร่วมสร้าง องค์กรสุขภาวะ (Happy Workplace – Happy 8) ตามแนวทางการส่งเสริมของ สำนักงานสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการใช้ การจัดการความรู้ - Knowledge Management ในแนวทางที่ศาสตราจารย์ Ikujiro Nonaka ใช้คำว่า Practical Wisdom – ปัญญาปฏิบัติ

ช่วงสาม เป็นการ workshop มีการอ่านข้อความสั้น ๆ และเลือกลักษณ์


เมื่อเลือกลักษณ์ได้ ก็นั่งตามกลุ่ม แล้วทำกิจกรรมทบทวนมิติความสุขของตนเองในมุมต่าง ๆ ว่าเราขาดพร่องต้องเติม พอดี หรือมีมากไปตรงไหนบ้าง เพื่อสร้างความสมดุลย์ให้กับมิติความสุขด้านต่าง ๆ

การเติมเต็มความสุขให้กับตนเอง การแบ่งปันความสุขให้กับผู้อื่น เป็นการสร้างพื้นที่ความสุขใน กระจายออกไปภายนอก เพื่อเสริมสร้างความเข้าอกเข้าใจในการทำงานเป็นทีม และการทำงานที่ต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ...... มาถึงจุดนี้ หลายคนเริ่มจะเข้าใจว่าการสร้างพื้นที่ความสุขทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่เริ่มจากการเข้าใจในสิ่งที่เราเป็น มองเห็นในสิ่งที่เขาต่างออกไป ด้วยการยอมรับและวางใจอย่างเป็นกลาง

หมายเลขบันทึก: 611179เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2016 14:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2016 21:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ว้าว ๆ คิดถึง อ.ทั้งสองนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท