ข้อเท็จจริงของคนพิการที่พบในปี 2548


สิทธิของ “คนพิการ” โดยอาศัยความมาตรา 15 พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 และกฎ ระเบียบที่ออกตามมาภายหลัง

     สืบเนื่องจากได้อ่านบันทึกเรื่อง ".โต๊ะนอนเรียน " โอกาสแห่งความเสมอภาคของคนพิการ บ้านตากแดด ที่เล่าเรื่องโดย อ.จิรา  อำพันกาญจน์ ครูศูนย์การเรียนชุมชน ที่จว.ชุมพร ซึ่งผมอ่านไปด้วย ซาบซึ้งใจไปด้วยครับ เป็นสิ่งที่งดงามมากครับสำหรับสังคมในปัจจุบันนี้ เพราะกายอุปกรณ์เหล่านี้คนพิการมีสิทธิอยู่อย่างเต็มเปี่ยมครับ ที่รัฐจะต้องจัดหาให้ ตามสิทธิที่เขามี ดังข้อมูลที่ผมสรุปไว้ และใช้เดินสายเป็นวิทยากร "เอื้ออาทรคนพิการเข้าถึงสิทธิฯ" เกือบจะครบทั้งจังหวัดแล้ว ขาดอยู่เพียง 2 อำเภอ ก็ได้นัดหมายวันกันไว้แล้วครับ

     สิทธิของ “คนพิการ” โดยอาศัยความมาตรา 15  พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 และกฎ ระเบียบที่ออกตามมาภายหลัง คือ
          ได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีทางการแพทย์
          ได้รับการศึกษาตามที่กฎหมายกำหนด
          ได้รับคำแนะนำชี้แจงและปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพ
          ได้รับการยอมรับและมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
          ได้รับบริการจากรัฐในกรณีเป็นคดีความ และในการติดต่อราชการ โดยสะดวก

     สิทธิของ “คนพิการ” เฉพาะในการได้รับบริการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีทางการแพทย์ ตามความในกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในมาตรา 15 (1) และมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 คือ
          ไม่ต้องจ่ายค่าบริการทางการแพทย์
          ค่าห้องและค่าอาหารไม่เกินอัตราที่กรทรวงสาธารณสุขกำหนด
          ได้รับอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการ ตามความจำเป็น
          ได้รับการซ่อมแซม เปลี่ยนแปลงอุปกรณ์เทียม อุปกรณ์เสริม หรือเครื่องช่วยคนพิการ

     แล้วข้อเท็จจริงคืออะไรบ้าง ที่ผมรวบรวมได้จากการลงพื้นที่ภายในจังหวัดพัทลุง ในครึ่งปีหลังของปี 2548 ลองมาดูกันนะครับ
          ยังขึ้นทะเบียนไม่ถูกต้องตามสิทธิ หรือไม่ได้ขึ้นทะเบียน ก็เท่ากับไม่ได้อยู่ในสารบบของการมีสิทธิ
          ไม่มีเลข 13 หลัก คล้าย ๆ กับยังไม่ได้พิสูจน์ว่าเป็นคนไทยหรือไม่ จึงไม่มีสิทธิ
          ไม่ทราบสิทธิฯ ของตัวเอง
          ยังไม่ได้รับการฟื้นฟูฯ ตามที่ควรจะเป็น
          ผู้ให้บริการยังไม่ทราบว่ามีกองทุนฟื้นฟูฯ ในระดับจังหวัด
          ผู้ให้บริการไม่ทราบว่าสามารถเบิกค่าใช้จ่ายรายการที่ให้บริการคนพิการไปได้คืนทั้งหมด จากหน่วยงานที่ดูแลเรื่อสิทธิ
          ระเบียบของ รพ.ในการจัดหาอุปกรณ์เพื่อคนพิการยังติดขัด เพราะเป็นครุภัณฑ์ที่ไม่สามารถจัดหาให้ได้เพราะไม่อยู่ในแผนฯ การจัดหาทั้ง ๆ ที่เพียงเป็นการทดรองจ่าย
          คนพิการยังมีส่วนร่วมในสังคมน้อยมาก เพราะสังคมอ้างว่าเป็นภาระ
          การช่วยเหลือกันและกันของคนพิการในลักษณะเครือข่ายทำได้ยาก/มีอุปสรรค
          คนพิการมีความยากลำบากในการมาขอรับบริการ หรือเข้าถึงบริการได้ยาก

หมายเลขบันทึก: 6109เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2005 23:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท