วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ


ส่วนที่ 2 วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านคุณภาพการศึกษา

ชื่อผลงาน “ รูปแบบการบริหารแบบ WKS – STT ”

ชื่อเจ้าของผลงาน โรงเรียนวัดควนเกย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ความสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก็คือผู้บริหารสถานศึกษา เพราะต้องเป็นผู้นำและผู้ประสานความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่มีความสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเรียนการสอน และการเรียนรู้ รวมทั้งประสานสัมพันธ์ ระดมและจัดสรรทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงเปรียบได้ว่าเป็นจอมทัพสำคัญที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวไปในกระแสแห่งการปฏิรูปได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีผู้บริหารสถานศึกษาในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงทางบริบท หลากหลายส่วนนั้นจึงจะเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบันที่จะทำหน้าที่สำคัญให้ไปสู่เป้าหมายที่พึงประสงค์โดยการกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสู่การปฏิบัติที่แสดงให้เห็นศักยภาพคุณภาพ เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารจัดการศึกษาภายในสถานศึกษา จากการวิเคราะห์องค์กรของโรงเรียนวัดควนเกย โดยศึกษาจากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและศึกษาเอกสารต่างๆของโรงเรียน ซึ่งพบว่ามีปัญหาที่สำคัญด้านคุณภาพการศึกษา เช่น ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเต็มที่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายคะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับชาติอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจนักเรียนไม่ได้รับการส่งเสริมตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ เป็นต้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษารับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาและบริหารครูให้ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน สถานศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อม ปัจจัยและวัฒนธรรมแตกต่างกัน การบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่ง ผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ อย่างหลากหลาย เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในการจัดการศึกษาที่ผ่านมาใช้รูปแบบการบริหารแบบ WKS – STT ทำให้ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างดียิ่ง

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน NT , O-NET สูงขึ้น ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 2

2.นักเรียนได้รับรางวัลการแข่งขันทักษะทางวิชาการ ไม่น้อยกว่าระดับเหรียญทองแดงในระดับชาติ

ขั้นตอนการดำเนินงาน ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษารับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาและบริหารครูให้ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน สถานศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อม ปัจจัยและวัฒนธรรมแตกต่างกัน การบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่ง ผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ อย่างหลากหลาย เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการพัฒนาสาระ และกระบวนการเรียนรู้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในการดำเนินงาน รูปแบบการบริหารแบบ WKS – STT อาศัยแนวคิด 3 ประการ คือ 1. หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 2. หลักการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 3. หลักการประกันคุณภาพการศึกษา การบริหารจัดการสถานศึกษาของโรงเรียนวัดควนเกย ตามรูปแบบการบริหารแบบ WKS–STT คือ

WKS Watkuankaey School S System Management T Team Work T Total Quality Management : TQM 14 ซึ่งนำเสนอในรูปแผนภูมิได้ดังนี้ แผนภูมิที่ 2 แนวคิดและหลักการบริหาร ประกอบด้วยหลักการบริหาร ดังนี้ 1.การบริหารอย่างเป็นระบบ(System Management)เน้นการทำงานอย่างเป็นระบบคือ แนวคิดทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ( Efficiency & Effectiveness School ) ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กำหนด โดยมีการกระจายอำนาจการตัดสินใจที่จะพัฒนานโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษาและร่วมมือดำเนินการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไปโดยบุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเท่าเทียมกัน โดยมุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ( School Besc Management)ซึ่งมี กลยุทธ์ ดังนี้ 15 การสร้างความตระหนัก / ความรู้ความเข้าใจใน SBM การพัฒนาวิชาชีพผู้บริหาร การพัฒนาวิชาชีพครู การมีวิสัยทัศน์ การบริหารจัดการที่เป็นระบบ พัฒนาการมีส่วนร่วมในเรื่องการบริหารหลักสูตร การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การมีวิธีคิดและวิธีปฏิบัติงานที่เป็นระบบ การให้รางวัล 2. การทำงานเป็นทีม( Team Work) ได้แก่ ผู้บริหาร ครู บุคลากรทุกฝ่าย ต้องมีการประสานงาน มีบรรยากาศที่ดีของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน มีการสื่อสาร 2 ทาง ยอมรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน ทำงานเป็นทีมและมีความจริงใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ของสถานศึกษาเป็นหลัก ซึ่งกลยุทธ์ในการทำงานเป็นทีมคือ ร่วมใจ (Heart) หมายถึงความรู้สึกของสมาชิกที่รักและศรัทธาในหัวหน้าทีม งานที่ทำ และเพื่อน ๆร่วมทีมว่าเป็นพวกเดียวกัน หรือที่เรียกว่า Feel like a team มีความเอื้อเฟื้อห่วงใยซึ่งกันและกัน มีความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกันและเกิดความไว้วางใจต่อกัน ร่วมคิด (Head) หมายถึงการใช้ความคิด เหตุผลให้เพื่อนร่วมงานเชื่อมั่นว่า ทำแล้วดี มีประโยชน์ต่อตัวเขาเองต่อองค์กร โดยช่วยกันระดมสมอง กำหนดเป้าหมาย วางแผน แบ่งงาน แบ่งหน้าที่หรือที่เรียกว่า Think like a team การทำงานจะราบรื่นถ้าสมาชิกในทีมมีความรู้สึกที่ดีต่อกัน ร่วมทำ (Hand) หมายถึงการร่วมมือ ลงมือทำงานซึ่งได้มีการวางแผนไว้ หน้าที่ใครก็รับไปทำ หรือที่เรียกว่า Work like a team ซึ่งทุกคนมีพันธะสัญญาที่จะต้องทำแผนทุกคนเนื่องจากได้มีส่วนร่วมในการคิดร่วมกัน 3.การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร การบริหารการศึกษาโดยระบบการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (Total Quality Management : TQM ) คือ ระบบการบริหารจัดการองค์กรที่เน้นคุณภาพในทุก ๆ กิจกรรมขององค์การ โดยบุคลากรทุกคนในองค์การต้องให้ความร่วมมือและร่วมกันรับผิดชอบ และให้ความสำคัญการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ในการนำระบบ TQM ไปใช้ในการศึกษาให้ประสบความสำเร็จต้องยึดองค์ประกอบหลัก 7 ประการ คือ 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร (leadership) 2. การได้รับการศึกษาและการอบรมของบุคลากร (education and training) 3. การจัดโครงสร้างที่ เกื้อหนุน (supportive structure) 4. การมีช่องการติดต่อสื่อสาร (communication) ที่มีประสิทธิภาพ 5. การพิจารณารางวัลและความชอบ (reward and recognition) 6. การใช้กระบวนการทางสถิติ (statistical process control) หรือการวัดผลการ ปฏิบัติงาน(measurement) 7. การทำงานเป็นทีม (teamwork) 16 การดำเนินกิจกรรมด้วยระบบ TQM มีหลักการพื้นฐานที่ สำคัญของ 3 ประการ คือ 1. การมุ่งความสำคัญของลูกค้า (Customer Focus) โดยผู้ปฏิบัติงานจะต้องระบุให้ชัดเจนว่างานแต่ละเรื่อง ใครเป็นลูกค้าหรือเป็นผู้ที่จะต้องนำผลที่ได้จากการทำงานของเราไปใช้ และมุ่งทำให้บุคคลเหล่านั้นมีความพึงพอใจในผลงานที่ได้รับ ในด้านการศึกษาลูกค้า คือ ผู้ปกครองนักเรียน และนักเรียน 2. การปรับปรุงกระบวนการทำงาน (Process Improvement) เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นจะต้องมีการปรับปรุงกระบวนการทำงานอยู่เสมอ มีวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดจากการปฏิบัติงานโดยมีการวางแผนดำเนินการแก้ปัญหา ตรวจสอบผลการแก้ปัญหาและนำวิธีการแก้ปัญหาที่ ได้ผลไปกำหนดเป็นแนวปฏิบัติ 3. การให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม (Total Involvement) ในงานที่ เป็นภาระหน้าที่ของหน่วยงานทุกคนต้องรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย และรับผิดชอบในผลการปฏิบัติงานโดยรวมของทั้งหน่วยงานและขององค์การร่วมกัน ประโยชน์ของ TQM เพื่อให้ผู้บริหารและองค์กรสามารถรู้สภาพปัญหา และแก้ไขปัญหาได้ตรงตามความต้องการ และการนำ TQM มาประยุกต์ใช้เกี่ยวกับการศึกษา ถ้าจะให้ประสบความสำเร็จต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง องค์กรต้องสร้างความเข้าใจเพื่อให้บุคลากรเกิดความตระหนักในเรื่องของคุณภาพ ให้กับบุคลากรทุกคนทุกระดับ องค์กรมีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติให้ชัดเจน มีนโยบายที่ เน้นเรื่องคุณภาพ เปลี่ยนแนวความคิดเก่า ๆ ของบุคลากรทุกคนเกี่ยวกับการบริหารคุณภาพ องค์กรต้องมีปรัชญาเรื่องของคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่ มีค่าในหน่วยงานผู้บริหารระดับสูงขององค์กรต้องให้การสนับสนุนและแสดงออกอย่างเป็นรูปธรรม ควรเน้นเรื่องการฝึกอบรม และเน้นการทำงานเป็นทีม
ในการนำหลักการบริหารดังกล่าวมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษาเพื่อให้เกิดคุณภาพการศึกษาเพราะ คุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินงาน ดังนั้นในการสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับโรงเรียนวัดควนเกยซึ่งได้นำวงจร PDCA ของ Deming (Plan, Do, Check, Act) มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นหลักในการเริ่มต้นการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่องส่วนประกอบทั้ง 4 ด้าน ดังนี้ 1. การวางแผน (Plan) ขั้นตอนการวางแผนถือเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด โดยจุดเริ่มต้นจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพองค์กร ปัญหาและกำหนดปัญหาที่จะแก้ไข เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ไม่เป็นไปตามเป้าหมายคะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับชาติอยู่ในระดับที่ไม่น่าพึงพอใจนักเรียนไม่ได้รับการส่งเสริมตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ เป็นต้น มีการเก็บรวบรวมข้อมูล เลือกทางเลือก และวิเคราะห์ทางเลือกเพื่อเลือกวิธีที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นเป้าหมายสูงสุด บุคลากรจะร่วมกันกำหนดโครงการเพื่อการพัฒนาคุณภาพ เช่น โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา โครงการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และโครงการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตรโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เป็นต้น 2. การปฏิบัติ (Do) นำทางเลือกที่ตัดสินใจไปสู่การปฏิบัติโดยมั่นใจว่าผู้รับผิดชอบได้ตระหนักถึงวัตถุประสงค์ และความจำเป็นอย่างถ่องแท้แล้ว และให้ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานตามแผน รู้ถึงรายละเอียดและขั้นตอนต่าง ๆ มีการจัดอบรมเพื่อดำเนินงานตามแผน และมีการจัดทรัพยากรที่จำเป็นเน้นการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการเป็นหัวหน้าทีมและทุกคนเป็นลูกทีม 17 3. การตรวจสอบ (Check) มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงาน การประเมินแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ก่อนดำเนินโครงการเป็นการตรวจสอบองค์ประกอบของแผนงานโครงการ ความพร้อมด้านต่างๆ ระหว่างดำเนินโครงการติดตามดูโรงการได้ดำเนินการตามที่กำหนดไว้หรือไม่ มีปัญหาอะไรหรือไม่ หลังเสร็จสิ้นโครงการจะประเมินผลผลิตโครงการว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายหรือไม่ รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องด้วย อย่างไรก็ตามในการติดตาม ตรวจสอบการปฏิบัติงานของโรงเรียนวัดควนเกย ซึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็กมีบุคลากรน้อย การติดตามตรวจสอบอย่างไม่เป็นทางการ โดยผ่านวิธีการทักทาย สอบถาม บอกต่อ อย่างเป็นกันเอง จะได้รับความนิยมสูงสุด 4. การปรับปรุงแก้ไข (Act) ในการปฏิบัติงานมีการกำหนดมาตรฐานจากผลการดำเนินงานเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในอนาคต และทำการแก้ไขในส่วนที่ทำให้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เมื่อผลลัพธ์ที่ได้ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่ายแล้วจัดทำเป็นรายงานเพื่อให้ผู้บริหารและหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์การทราบ สิ่งที่สำคัญถ้าหากพบว่าผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเกิดจากการวางแผนที่ไม่ดีตั้งแต่ต้น องค์การจะต้องหาสาเหตุของการวางแผนที่ไม่ดีก่อน แล้วจึงทำการปรับปรุงคุณภาพการวางแผน และปรับปรุงเนื้อหาของแผนด้วย

ผลสำเร็จ

๑. มีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(NT) ปีการศึกษา๒๕๕๖ เปรียบเทียบกับปีการศึกษา๒๕๕๕ สูงขึ้น วิชา ปีการศึกษา 2555 ปีการศึกษา 2556 หมายเหตุ ภาษาไทย -ภาษา 36.35 49.33 คณิตศาสตร์ - คำนวณ 29.05 34.67 วิทย์ - เหตุผล 35.87 54.00 รวม 33.76 46.00 + 12.24 18 2.มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ(O-NET) ปีการศึกษา๒๕๕๖ เปรียบเทียบกับปีการศึกษา๒๕๕๕ สูงขึ้น กลุ่มสาระ ปี 2555 ปี 2556 สังกัด ประเทศ ภาษาไทย 47.88 48.77 43.62 45.02 สังคมศึกษา 44.14 43.08 37.14 38.31 ภาษาอังกฤษ 33.09 32.12 31.42 33.82 คณิตศาสตร์ 42.65 58.85 39.87 41.95 วิทยาศาสตร์ 36.56 36.69 36.30 37.40 สุขศึกษา 59.53 72.31 59.71 61.69 ศิลปะ 55.88 54.23 45.78 47.14 การงานอาชีพฯ 63.29 57.85 51.59 53.16 เฉลี่ย 383.02 403.90 345.43 358.49 47.88 50.49 43.18 44.81 ผลต่าง 2.61 3.นักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญเงินการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6ระดับชาติ เมื่อ 18-20 กุมภาพันธ์ 2557 4. เด็กชายสุทธิพงศ์ หนูนารถ มีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิชาคณิตศาสตร์ เต็ม 100 คะแนน

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ

1. บุคลากรมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการปฏิบัติงานสูง มีความเสียสละ อุทิศตนแก่ทางราชการ อย่างสม่ำเสมอ

2.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษาร่วมคิด ร่วมทำและร่วมชื่นชม 3. เครือข่ายสถานศึกษา ที่ 25 สนับสนุนบุคลากรที่มีความสามารถในการจัดการเรียนรู้จัดค่าย ติวเข้มทางวิชาการ 4. ชมรมส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา 5. ศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาสายการศึกษา(ลูกจ้างชั่วคราวโรงเรียนมัธยมอนุเคราะห์เวลาวันละ 1 ชั่วโมง) มาคอยแนะนำ ชี้แนะแนวทางแก่น้องๆ เป็นเวลา 2 เดือน

บทเรียนที่ได้รับ

1. การบริหารอย่างเป็นระบบ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์สภาพองค์กร หาทางเลือกในการพัฒนา จัดการเพื่อให้เกิดคุณภาพ ร่วมกันเป็นทีมพัฒนาตามกรอบที่กำหนด โดยมุ่งผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ย่อมส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาที่สูงขึ้น 2. การเป็นผู้ให้และความเสียสละ การทุ่มเทแรงกาย แรงใจ การเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือเด็กและการ ร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชนอย่างสม่ำเสมอของผู้บริหาร ครู และบุคลากร ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือด้วยดี ในรูป การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เยี่ยมเยียนตามโอกาส รวมทั้งบริจาคทรัพย์สินเพื่อการศึกษา 3. ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาจะต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทนสูงและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมจึงจะได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องด้วยดี

การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ

ในรอบปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดควนเกยได้รับการประกาศเกียรติคุณดังนี้ นักเรียน ที่ ชื่อ - สกุล เกียรติบัตร หน่วยงาน 1 ด.ช.สุทธิพงศ์ หนูนารถ ด.ช.ธนกร ศรีพรหม รางวัลระดับเหรียญเงินการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6 สพฐ 18-20 กุมภาพันธ์ 2557 2 ด.ช.สุทธิพงศ์ หนูนารถ ด.ช.ธนกร ศรีพรหม รางวัลระดับเหรียญทองชนะเลิศ การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6 สพฐ จังหวัดพัทลุง 20-22 พฤศจิกายน 2556 3 ด.ช.สุทธิพงศ์ หนูนารถ ด.ช.ธนกร ศรีพรหม รางวัลระดับเหรียญทองการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 4 ด.ช.วงศ์ณฤทธิ์ โมกขจันทร์ ด.ญ.มลธิชา โกศัยสุข รางวัลระดับเหรียญเงิน การแข่งขันคำคม ระดับชั้น ป.1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 5 ด.ช.วทัญญู หนูทอง ด.ช.สุทธิพงศ์ หนูนารถ รางวัลระดับเหรียญทองแดง การแข่งขัน A Math ระดับชั้น ป.1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 6 ด.ญ.ทิพากร สังขาล รางวัลระดับเหรียญทองแดง การแข่งขัน ซูโดกุ ระดับชั้น ป.1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 7 ด.ช.สุทธิพงค์ หนูนารถ สอบวิชาคณิตศาสตร์ได้ลำดับที่ 1 เด็กเก่ง อ.ร่อนพิบูลย์ รร.ร่อนพิบูลย์ เกียรติวสุนธราภิวัฒก์ 7 กุมภาพันธ์ 2557 20 สถานศึกษา ที่ เกียรติบัตร หน่วยงานที่มอบ 1 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาภาษาไทย สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 2 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาคณิตศาสตร์ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 3 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 4 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาศิลปะ สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 5 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 6 เกียรติบัตรมีผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ปีการศึกษา 2556 วิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติ 29 พฤษภาคม 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 7 เกียรติบัตรมีผลการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน(NT) ปีการศึกษา 2556 ด้านเหตุผล สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับประเทศ 28 มิถุนายน 2557 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 21 ครู ประเภท ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่มอบรางวัล ครู น.ส.สลินกาญจน์ สามพิมพ์ รางวัลระดับเหรียญเงินการแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6 สพฐ 18-20 กุมภาพันธ์ 2557 ครูสอนดี พุทธศักราช 2556 จังหวัดนครศรีธรรมราช อบจ.นครศรีธรรมราช รางวัลระดับเหรียญทองชนะเลิศ การแข่งขันสร้างสรรค์ผลงานคณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม GSP ระดับชั้น ป.4-6 สพฐ จังหวัดพัทลุง 20-22 พฤศจิกายน 2556 ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดงกิจกรรม การแข่งขัน A Math ระดับชั้น ป1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดงกิจกรรม การแข่งขัน ซูโดกุ ระดับชั้น ป1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 ครูและบุคลากรดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2556 ชมรมฯ ชสร.สพป.นศ.3
18 มีนาคม 2557 นางปาจรีย์ สุทธิประจักษ์ เครื่องหมายเชิดชูเกียรติ”หนึ่งแสนครูดี” ประจำปี 2556 ในฐานะผู้ปฏิบัติตนตามมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพทางการศึกษา คุรุสภา 25 ตุลาคม 2556 22 ครู(ต่อ) ประเภท ระดับรางวัล/ชื่อรางวัลที่ได้รับ หน่วยงานที่มอบรางวัล นางอุทุมพร สุขคง ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดงกิจกรรม การแข่งขัน A Math ระดับชั้น ป1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 ครูผู้สอนนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันตอบคำถามในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ ครั้งที่ 19 ประจำปี 2556 ระดับภาคใต้ สโมสรไลออนส์สากล ภาครวม 310
ประเทศไทย น.ส.อุบลรัตน์ หาญลำยอง ครูผู้สอนนักเรียนได้รับรางวัลระดับเหรียญทองแดงกิจกรรม การแข่งขัน A Math ระดับชั้น ป1-6 สพป.นศ.3 3-6 กันยายน 2556 นางสุมล เกตุแก้ว ครูและบุคลากรดีเด่น ประจำปีการศึกษา 2556 ชมรมฯ ชสร.สพป.นศ.3
18 มีนาคม 2557

หมายเลขบันทึก: 610842เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 12:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 12:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท