วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ


ส่วนที่ 1 วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านโอกาสทางการศึกษา

1 ชื่อผลงาน บันได 3 ขั้น สู่การสร้างโอกาสทางการศึกษา

2.ชื่อเจ้าของผลงาน โรงเรียนวัดควนเกย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

ความสำคัญ โรงเรียนวัดควนเกย ตั้งอยู่เลขที่ 32 หมู่ที่ ๑ ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๓ เขตพื้นที่บริการ หมู่ที่ ๑ ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราชจัดการเรียนการสอน ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ รวม ๘ ห้องเรียน
ภายใต้รูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในยุคของการบริหารจัดการศึกษาไทยในปัจจุบัน ท่ามกลาง กระแส แห่งความเป็นโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนไขการปรับเปลี่ยนการแข่งขันเพื่อสร้างข้อได้เปรียบ และความมุ่งมั่นของสังคม ที่ดำเนินไป อย่างรวดเร็ว รุนแรงและมีความ หลากหลายนั้น ต่างก็ส่งผลกระทบต่อวงวิชาชีพ โดยเฉพาะด้านการศึกษาซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากการ ปรับเปลี่ยนบริบท และ โครงสร้างการบริหารของการบริหารจัดการศึกษาภายใต้สาระแห่งบทบัญญัติของกฎหมายการศึกษา ที่เรียกว่า “พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542” เป็นการจัด โครงสร้าง การบริหารการศึกษาโดยยึดหลักของการ มีเอกภาพเชิงนโยบาย หลากหลาย ในการปฏิบัติโดยเน้นระบบการกระจายอำนาจ และการยึดหลักการ มีส่วนร่วม ของท้องถิ่นเป็นสำคัญสาระสำคัญของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2)พ.ศ. 2545 นั้นได้เสนอแนวคิดและวิธีการจัดการศึกษาที่ท้าทายหลายด้าน จึงเป็นเสมือนกฎหมายปฏิรูปการศึกษาดังจะเห็นได้ว่าในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาตินี้ให้ความสำคัญกับการปฎิรูปในด้านต่างๆ คือปฏิรูประบบการศึกษา ให้สอดรับซึ่งกันและกันทั้งระบบปฏิรูปแนวการจัดการศึกษาโดยให้ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ปฏิรูปหลักสูตรและเนื้อหาสาระวิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ปฏิรูประบบการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองท้องถิ่น และเอกชนโดยเน้นเรื่องการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วม ปฏิรูประบบครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามุ่งเน้นให้มีการยกระดับสถานภาพของวิชาชีพครู การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพครูปฏิรูประบบทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา เพื่อระดมทรัพยากรมาให้เพื่อการศึกษาปฏิรูประบบประกัน คุณภาพการศึกษาเน้นเรื่องของการประกันคุณภาพภายในและให้มีการรับรองและประเมินผลมาตรฐานจากองค์กรภายนอกและปฏิรูปสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามุ่งให้มีการผลิตใช้สื่อและเทคโนโลยีในรูปแบบที่หลากหลายที่มีคุณภาพ จากการวิเคราะห์องค์กรของโรงเรียนวัดควนเกย โดยศึกษาจากการสังเกต สัมภาษณ์ สอบถามและศึกษาเอกสารต่างๆของโรงเรียน ซึ่งพบว่ามีปัญหาที่สำคัญด้านโอกาสทางการศึกษา เช่น ขาดการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการของบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง โรงเรียนไม่สามารถดำเนินการตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายที่วางไว้อย่างเต็มที่ นักเรียนไม่ได้รับการส่งเสริมตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพเนื่องจากขาดบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถนักเรียนขาดวินัยในการปฏิบัติตนบุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการ 3 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบุคลากรขาดความรู้ ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีและสร้างนวัตกรรมที่ทันสมัย ทำให้นักเรียนขาดโอกาสในการเรียนรู้ประชาชนในชุมชนส่วนหนึ่ง เล่นการพนันส่งผลให้นักเรียนได้รับแบบอย่างที่ไม่ดีสถาบันครอบครัวอ่อนแอ ครอบครัวส่วนใหญ่มีเฉพาะเด็กและคนชราผู้ปกครอง ชุมชนมีรายได้น้อย ฐานะยากจน มีปัญหาทางด้านเศรษฐกิจส่งผลให้การจัดการศึกษา ไม่คล่องตัวเป็นต้น ข้าพเจ้าในฐานะผู้บริหารสถานศึกษารับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาและบริหารครูให้ทำหน้าที่หลักด้านการเรียนการสอน และส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน สถานศึกษาแต่ละแห่งมีสภาพแวดล้อม ปัจจัยและวัฒนธรรมแตกต่างกัน การบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่ง ผู้บริหารจำเป็นต้องศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีต่างๆ อย่างหลากหลาย เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา ให้การจัดการศึกษาเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา จึงได้นำ หลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ คือ เข้าใจ เข้าถึงพัฒนา เป็นบันได ๓ ขั้นสู่ความสำเร็จ • การเข้าใจคือการสร้างให้เกิดความเข้าใจในข้อมูลพื้นฐาน ด้วยการศึกษาข้อมูลทุกมิติของชุมชนค้นหารากของปัญหา และรวบรวมองค์ความรู้ของโครงการพระราชดำริทั่วประเทศ • การเข้าถึงเป็นเรื่องการสื่อสารและสร้างการมีส่วนร่วมโดยมุ่งสื่อสารสร้างความเข้าใจและความมั่นใจกับชุมชน ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของชุมชน และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวน การพัฒนามากที่สุด • การพัฒนาเป็นเรื่องของการเรียนรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน สร้างทีมพี่เลี้ยงการออกแบบหลักสูตรและเมนูการพัฒนา การศึกษาดูงาน แลกเปลี่ยนเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของชุมชน รวมทั้งการให้ทีมพี่เลี้ยงให้คำแนะนำในชุมชนและติดตามสนับสนุนประเมินผล มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษาซึ่งถือว่าเป็นทฤษฎีการพัฒนาสู่ความยั่งยืนที่มีคุณค่ายิ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริการจัดการศึกษาในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติคือครูเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนให้สมบูรณ์ ส่งเสริมนักเรียนตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ สร้างความพึงพอใจของผู้รับบริการ อันจะส่งผลให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งชุมชนให้การยอมรับศรัทธา โรงเรียนวัดควนเกยจึงใช้รูปแบบ บันได 3 ขั้นสู่การสร้างโอกาสทางการศึกษา

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย วัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3. เพื่อส่งเสริมนักเรียนตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ 4 เป้าหมาย 1. นักเรียนในเขตบริการเข้าเรียนครบทุกคน 2. นักเรียน เรียนจบการศึกษาตามหลักสูตรในเวลา 6 ปี ทุกคน 3. นักเรียนผู้พิการและด้อยโอกาส ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านต่างๆ ทุกคน 4. ส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนทุกคนมีโอกาสร่วมกิจกรรมทางวิชาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล

ขั้นตอนการดำเนินงาน จากแนวพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชในการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ สามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับการบริหารการศึกษาได้ดังนี้ โอกาสทางการศึกษา เข้าใจ พัฒนา เข้าถึง แผนภูมิที่ 1 บันได 3 ขั้น สู่โอกาสทางการศึกษา 5 ขั้นตอนที่ 1 การเข้าใจ ความเข้าใจแจ่มชัดในประเด็น จุดมุ่งหมาย ทิศทางของงานที่ทำว่า บริบทของสถานศึกษา หรือหน่วยงานเป็นเช่นไร โดยมองอย่างเป็นกลางและปราศจากอคติ และบนพื้นฐานของข้อมูลที่แท้จริง เข้าใจว่าสภาพแวดล้อมชุมชน ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง ครอบครัวของนักเรียนเป็นเช่นไร หากเป็นไปได้ควรเก็บข้อมูลของนักเรียนที่อยู่ในความดูแลอย่างละเอียดโดยการเยี่ยมบ้านนักเรียนและ การพูดคุยอย่างเป็นกันเองกับผู้ปกครอง ตรงส่วนนี้เองก็อาจเป็นไปได้ว่านี่คือการ เข้าถึง ประการหนึ่งเหมือนกัน การเข้าชุมชนตรงนี้ถ้าไม่อาจจะเข้าไปเองได้ก็ควรมีทีมงานหรือประสานผู้นำชุมชนหรือคณะกรรมการสถานศึกษาก็ได้ เมื่อได้ข้อมูลก็นำมาวิเคราะห์ จำแนกประเภท และที่สำคัญที่สุดก็คือทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะนี่คือสภาพความเป็นจริง เนื่องคนแต่ละคน เด็กแต่ละคนต่างก็เกิดมาและได้รับ การเลี้ยงดูที่แตกต่างกัน เมื่อทำความเข้าใจและมีข้อมูลตรงนี้เราก็จะสามารถนำข้อมูลที่มีอยู่ไปแก้ไขปัญหา และพัฒนาต่อยอดได้ ประการที่สองที่จะต้องทำความเข้าใจก็คือตัวบุคลากรของหน่วยงานหรือสถานศึกษานั้น เพราะเนื่องจากบุคลากรเป็นตัวขับเคลื่อนที่มีความสำคัญต่อความก้าวหน้า ความมั่นคง และประสิทธิภาพขององค์กร หากเปรียบผู้บริหารหรือผู้นำเป็นสมองและหัวใจแล้วบุคลากรก็เปรียบเสมือนอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา ที่เราจะขาดไปเสียไม่ได้ ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นผู้บริหารจะต้องมีความเข้าใจว่า คนแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน ทั้งทัศนคติ ค่านิยม วิถีชีวิต วัฒนธรรม และที่สำคัญที่สุดตามตำราที่ได้เล่าเรียนมาและจากประสบการณ์พบว่า คนต่างก็มีอุดมการณ์ กิเลสหรือความต้องการที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องของผลประโยชน์หรือความก้าวหน้าในวิชาชีพ ผู้บริหารหรือผู้นำจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลที่เป็นจริงทั้งข้อมูลที่เป็นปัจจุบันและอดีตของบุคลากรแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร มีทัศนคติ มีความสามารถ มีผลงาน มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานมากหรือน้อยเพียงใด และที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือมีกิเลสหรือความต้องเป็นอย่างไร เพื่อการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทำความเข้าใจ และเมื่อเข้าใจแล้วเราก็จะรู้ว่าบุคลากรแต่ละคนเป็นเช่นไร จากนั้นถึงค่อยใช้ยุทธวิธีในการเข้าถึงโดยเข้าไปนั่งในหัวใจของบุคลากรหรือผู้ใต้บังคับบัญชาของเราให้ได้ จะด้วยวิธีไหนก็ตาม เช่นการจูงใจ การสนองตอบต่อความต้องการ แต่ทั้งหมดจะต้องทำไปด้วยความจริงใจมิใช่เสแสร้ง เมื่อเราเข้าถึงและได้ใจและมีข้อมูลของแต่ละบุคคล เราจะสามารถพัฒนาตัวบุคลากรให้ มีความสามารถ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน และที่สำคัญก็คือการสร้างทีมงานเพราะคนคนเดียวไม่สามารถที่จะทำการใหญ่ให้สำเร็จได้ จะต้องพึ่งพาอาศัยความสามารถที่มีหลากหลายใน ตัวบุคลากรแต่ละคน การนั้นถึงจะสำเร็จได้ หากมีทีมงานบุคลากรที่ดีและมีความเข้มแข็งแล้วเชื่อว่างานจะยาก ง่าย หรือมีปัญหาอุปสรรคมากมายเพียงใดก็จะสามารถสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และส่งผลให้องค์กรมีทิศทางในการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ และที่สำคัญจะส่งผลโดยตรงกับตัวผู้เรียนอย่างแน่นอน เพราะเชื่อว่าหาก ผู้นำดี ผู้ตามดี จะต้องเกิดสิ่งดีอย่างแน่นอน โรงเรียนวัดควนเกย ดำเนินการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สอดคล้องกับกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 โดยใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยยึด ปรัชญา : ความรู้ คู่คุณธรรม คำขวัญ : ความรู้นำ คุณธรรมพร้อม สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนมีส่วนร่วม และในปีการศึกษา 2556- 2558 โรงเรียนได้กำหนดทิศทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไว้ ดังนี้ 6 วิสัยทัศน์ ภายในปีการศึกษา 2558 โรงเรียนวัดควนเกย มุ่งพัฒนาผู้เรียนอย่างทั่วถึงให้มีโอกาสทางการศึกษามีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีคุณธรรม จริยธรรม รู้รักษ์สิ่งแวดล้อม พร้อมมารยาทงาม มีความรู้ทักษะได้คุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและพอเพียง พันธกิจ ๑. สร้างโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง 2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนรอบด้าน ทั้งร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม 3 ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 4. ส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพและได้คุณภาพตามมาตรฐาน 5. นำเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นเศรษฐกิจพอเพียง 6. ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้น่าอยู่มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย 7. ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีมารยาทการไหว้แบบไทย และปฏิบัติตนตามวัฒนธรรมไทย 8. พัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น เป้าประสงค์ 1. นักเรียนทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง 2. ผู้เรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3. ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 4. ผู้เรียนมีสุขภาพ จิตดี มีความสามารถทางดนตรี-กีฬา ศิลปะ 5. ครูจัดกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนำเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนโดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ 6. โรงเรียนมีแหล่งเรียนรู้ที่เหมาะสมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 7. ผู้เรียนมีมารยาทการไหว้แบบไทยอย่างถูกต้องตามเอกลักษณ์ของชาติ 8. พัฒนาและส่งเสริมสถานศึกษาให้ยกระดับคุณภาพสูงขึ้น กลยุทธ์ 1. พัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2. พัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา 3. เสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ 4. ส่งเสริมอัตลักษณ์ของสถานศึกษาให้โดดเด่น 5. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 7

ขั้นตอนที่ 2 เข้าถึง หมายถึง การเข้าถึงปัจจัย เช่นองค์ความรู้ หลักคิดทฤษฎี แนวทางทรัพยากรการบริหารต่าง ๆ ของงานที่กำลังทำ โรงเรียนวัดควนเกย จัดกิจกรรมเยี่ยมบ้านนักเรียนทุกคน เพื่อให้คุณครูได้รับทราบข้อมูลจากนักเรียนและผู้ปกครอง ทั้งจากการสังเกตสภาพจริง เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการพิจารณาให้ความดูแลช่วยเหลือในด้านต่างๆ กิจกรรมทัศนศึกษา เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน กิจกรรมเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้มีโอกาสเรียนรู้จากสภาพจริง กิจกรรมร่วมงานในชุมชน ทุกครั้งที่มีงานในชุมชน เช่น งานประเพณี งานแต่งงาน งานบวช งานศพ คณะครูจะเข้าร่วมกิจกรรมตามโอกาสและความเหมาะสม รวมถึงการประสานขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงาน องค์กรต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ขั้นตอนที่ 3 พัฒนา หมายถึง การลงมือกระทำ และหาทางต่อยอดองค์ความรู้เดิมให้ดีขึ้น สิ่งที่ต่อยอดนี้เป็นองค์ความรู้ใหม่ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) เกิดวิธีคิดใหม่ (Paradigm) ที่เป็นของตน ส่วนนี้ถือว่าเป็นองค์ความรู้ที่จะเปิดทางให้ผู้อื่นได้เรียนรู้และต่อยอด สำหรับการสร้างโอกาสทางการศึกษาเพื่อมุ่งให้เกิดผลข้างต้นโรงเรียนวัดควนเกยได้ดำเนินการ ตามกรอบดังนี้

1.การสร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.1. ตรวจสอบการบริการให้ครอบคลุมพื้นที่เขตบริการของโรงเรียน คือ หมู่ที่ 1 ตำบลควนเกย อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยดำเนินการมอบหมายให้บุคลากรสำรวจข้อมูลเด็กที่เกิด ใน ปีต่างๆ ตาม ทร 14 ที่สำนักงานทะเบียนราษฏร์ท้องถิ่น ว่ามีจำนวนเท่าใดและตรวจสอบว่าเข้าเรียนทุกคนหรือไม่

1.2. จัดการศึกษาสำหรับผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสต้นปีการศึกษาได้มอบหมายให้บุคลากร สำรวจคัดกรองนักเรียนเบื้องต้น สำหรับนักเรียนพิการและด้อยโอกาส เพื่อส่งต่อโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์และโรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช รับรองการบกพร่องต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่างๆ เช่น การจัดการเรียนรู้ การประเมินผล และการช่วยเหลือด้านปัจจัยอื่นๆ

1.3. ให้ทุนการศึกษาและความต้องการจำเป็นอื่นโรงเรียนพยายามประสานความร่วมมือในการระดมทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะทุนการศึกษา ได้รับความอนุเคราะห์จากหลายฝ่าย เช่น 1) ทุนคุณแม่บึ้ง นรามาศ (โดยคุณทัศนีย์ เย้าดุสิต และคณะ) 2) ทุนจากมูลนิธิทิปโก้ 3) ทุนช่วยเหลือนักเรียนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสำนักงานพัฒนาสังคมและความ มั่นคงของมนุษย์ จำนวน 16 ทุนๆละ 2,000 บาทเป็นเงิน 32,000 บาท

2.ส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนของสังคม มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

2.1.สนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายในด้านวิชาการ
2.2.ประสานความร่วมมือทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

3. ส่งเสริมสนับสนุนผู้เรียนทุกคนมีโอกาสร่วมกิจกรรมทางวิชาการตามศักยภาพของแต่ละบุคคล 8 ผลสำเร็จ มีผลสำเร็จเชิงประจักษ์ในเรื่องโอกาสทางการศึกษาที่ชัดเจนดังนี้

1. การสร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1.1 นักเรียนในเขตบริการเข้าเรียนครบร้อยละ ๑๐๐ (หมายถึงนักเรียนในเขตบริการของโรงเรียนนั้นๆเข้าเรียนครบทุกคนในโรงเรียนใดก็ได้) ปีการศึกษา 2556 มีนักเรียนตาม ทร 14 จำนวน 11 คน เข้าเรียนที่โรงเรียนวัดควนเกย จำนวน 2 คน โรงเรียนเอกชน จำนวน 4 คน โรงเรียนของรัฐ จำนวน 5 คน 1.2.การจบการศึกษาของนักเรียนในโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ย้อนหลัง ๕ ปี จบร้อยละ 100 ปีการศึกษา จำนวนทั้งหมด จำนวนที่จบ ร้อยละ 2552 21 21 100.00 2553 14 14 100.00 2554 24 24 100.00 2555 19 19 100.00 2556 14 14 100.00 รวม 5 ปี 92 92 100.00 1.3.การดูแลช่วยเหลือนักเรียนบกพร่องทางการเรียนรู้ / สติปัญญา จำนวน 3 ราย รับการรับรองจากแพทย์ โรงเรียนให้การดูแลช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น เงินสนับสนุนการจัดการศึกษาที่ สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดสรร งบประมาณเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษา ทุนการศึกษาต่างๆ 2. ผลการส่งเสริม สนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสร้างโอกาสแก่ นักเรียน ในการเรียนรู้ที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น เช่น 2.1. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ช่วยเหลือนักเรียนเดือดร้อน รายละ 2,000 บาท จำนวน 16 ราย เป็นเงิน 32,000 บาท 2.2. เทศบาลตำบลเขาชุมทอง สนับสนุนค่าใช้จ่ายการแข่งขันกีฬา 10,000 บาท 2.3. คุณทัศนีย์ เย้าดุสิต มอบทุนการศึกษาและของขวัญ เป็นเงิน 10,000 บาท 9 2.4. คุณสุชาติ ไพบูลย์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเขาชุมทอง มอบชุดนักเรียน เป็นเงิน 30,000 บาท 2.5. คุณครูอุทุมพร สุขคง สนับสนุนการจัดการศึกษา 20,000 บาท 2.6. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)สนับสนุนโครงการอาหารปลอดภัย 60,000 บาท 2.7. ได้รับการสนับสนุนวิทยากรชาวต่างชาติ จากไร่แม่พลอย อำเภอร่อนพิบูลย์ จัดกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 2.8. ได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมเครือข่ายเด็กไทยฟันดี ซึ่งโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์จะดูแลรักษาฟันให้นักเรียนฟรีและติดตามอย่างสม่ำเสมอ 2.9.โรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนมัธยม ให้ความอนุเคราะห์นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นสม่ำเสมอรวมทั้งสนับสนุนวิทยากรให้ความรู้แก่นักเรียน 2.10. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควนเกย อนุเคราะห์จัดกิจกรรมด้านสุขเสริมสุขภาพและดูแลนักเรียนโดยทั่วถึง 2.11. สถานีตำรวจจุฬาภรณ์ ส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาให้ความรู้เพื่อป้องกันปัญหายาเสพย์ติด สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง 2.12. ผู้ปกครองและชุมชน นำอาหาร/เครื่องดื่ม เลี้ยงนักเรียน บริจาคของขวัญ รางวัลในการจัดกิจกรรมต่างๆ ตามโอกาสมากมาย 2.13. อื่นๆ 3.เพื่อส่งเสริมนักเรียนตามความถนัดและเต็มตามศักยภาพ นักเรียนมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆตามความถนัดและสนใจ 3.1.การแข่งขันทักษะทางวิชาการระดับต่างๆ 3.2. การแข่งขันกีฬา-กรีฑา 3.3. การแข่งขันตอบปัญหาสารานุกรม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ 1. บุคลากรมีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการปฏิบัติงานสูง มีความเสียสละ อุทิศตนแก่ทางราชการ อย่างสม่ำเสมอ 2.คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและชุมชน ตระหนักและเห็นความสำคัญของการศึกษาร่วมคิด ร่วมทำและร่วมชื่นชม 3. องค์กร หน่วยงานต่างๆ สนับสนุนงบประมาณเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา 4. ชมรมส่งเสริมประสิทธิภาพโรงเรียนขนาดเล็กเครือข่ายอำเภอร่อนพิบูลย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการศึกษา 10 5. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 สนับสนุนให้คำแนะนำดูแลช่วยเหลือในการสร้างโอกาสทางการศึกษา 6. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสนับสนุนงบประมาณเพื่อการดูแลช่วยเหลือนักเรียนพิการ ด้อยโอกาส สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษา บทเรียนที่ได้รับ 1. การนำแนวพระราชดำริมาปรับใช้ในการจัดการศึกษา โดยมุ่งผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็น สำคัญภายใต้การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง ย่อมส่งผลต่อการสร้างโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น“เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” คือลักษณะของ สามห่วงคล้องกัน ถ้าห่วงหนึ่งห่วงใดขาดออกไป การแก้ปัญหาให้เป็นไปตาม พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ไม่สามารถที่จะ มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการได้ 2. การเป็นผู้ให้และความเสียสละ การทุ่มเทแรงกาย แรงใจ การเอาใจใส่ดูแลช่วยเหลือเด็กและการ ร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชนอย่างสม่ำเสมอของผู้บริหาร ครู และบุคลากร ส่งผลให้ได้รับความร่วมมือด้วยดี ในรูป การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เยี่ยมเยียนตามโอกาส รวมทั้งบริจาคทรัพย์สินเพื่อการศึกษา 3. ผู้บริหารซึ่งเป็นผู้ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาจะต้องมีภาวะผู้นำทางวิชาการ มีความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ อดทนสูงและประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคมจึงจะได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องด้วยดี การเผยแพร่ / การได้รับการยอมรับ / รางวัลที่ได้รับ 1.เป็นโรงเรียนที่ให้การส่งเสริมสนับสนุน พัฒนาและสร้างสรรค์ผลงานด้านการแข่งขันทักษะทางวิชาการประสบความสำเร็จในงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 63 ประจำปีการศึกษา 2556 2.โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรได้ดำเนินงานโครงการส่งมอบ 28 ซี่ฟันดีสู่ 3 ปีมัธยม จนประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช 3.โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรเป็นโรงเรียนที่ใช้บริการทีมงานพระวิทยากรของศูนย์อบรมศีลธรรมอำเภอชะอวดในการอบรมศีลธรรมทางพระพุทธศาสนาแก่นักเรียน

หมายเลขบันทึก: 610840เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กรกฎาคม 2016 12:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท