ภาวะการขาด หรือการได้รับธาตุไนโตรเจน (N) ......มากเกินไป


าเหตุของการเหลือธาตุไนโตรเจน จนปรากฏคราบของตะไคร่น้ำ และเชื้อรา บริเวณผิวเปลือกของต้นลำไยข

เกร็ดความรู้เล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการทำลำไย

จากนู๋ยุ้ย แก้มตุ่ย (สาวน้อยใจดี เกษตรรำไพฯ)

.

ภาวะการขาด หรือการได้รับธาตุไนโตรเจน (N) ......มากเกินไป :

.

.

เกษตรกรเคยสังเกตุสิ่งที่เกิดขึ้นกับลำไยแต่ละต้น ภายในสวนของท่าน...บ้างหรือไม

.

-เปลืองของลำต้น และกิ่ง....มีตะไคร่น้ำ...สีเขียว สีเหลือง สีน้ำตาล เกาะอยู่เป็นจำนวนมาก

-ตามเปลือกของกิ่งแก่ จะมีวงสีขาวๆ เป็นจุดๆ หรือเป็นแผ่นวงกลมสีขาว

.

ลักษณะเหล่านี้ เกิดอะไรขึ้น ภายในสวนลำไยของเกษตรกร...?

คำตอบ : ต้นลำไยต้นนั้น มีความผิดปกติ อันเนื่องมาจากมีธาตุไนโตรเจนมากเกินไป

.

.

โดยธรรมชาติ :

ตระไคร่น้ำ เจริญเติบโตได้ดี เมื่อมีธาตุไนโตรเจน และมีความชื้นที่เหมาะสม

เชื้อรา สังเคราะห์อาหารเองไม่ได้ ราจึงสร้างโปรตีนจากสารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ของไนโตรเจน

.

1. มีธาตุไนโตรเจนมาก ลำไยได้รับไนโตรเจนอย่าเพียงพอ และยังมีเหลือ

2. มีธาตุไนโตรเจนมาก ลำไยได้รับไนโตรเจนได้มากเกิน และยังเหลืออีกมาก

3. มีธาตุไนโตรเจนมาก แต่ลำไยไม่สามารถใช้ไนโตรเจนได้ จึงเหลืออีกมาก

.

.

วิเคราะห์อาการที่เกิดกับลำไย :

ลักษณะของลำไยที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ :

-ลำต้นแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว

-แตกใบมาก สมบูรณ์ มีสีเขียวสด

-ออกดอก และให้ผลที่สมบูรณ์

.

ลักษณะของลำไยที่ได้รับไนโตรเจนมากเกินไป :

-ลำต้นอวบน้ำมาก มีความชื้นมากบริเวณเปลือก

-ลำต้นอ่อน ล้มง่าย

-โรค และแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย

-คุณภาพผลิตผลผลิตเสียหาย : ลูกเล็ก เปลือกหนา เม็ดใหญ่ เนื้อบาง จืด น้ำมาก ผลแตก

.

ลักษณะของลำไยที่ขาดไนโตรเจน :

-ราก และลำต้นของพืช จะแคระแกร็น

-ใบเหลืองซีด เล็กเรียวยาว หลุดร่วงง่าย

-แตกกิ่งน้อย

-ถ้าขาดมาก จะเหลืองซีดทั้งต้น และถึงตายได้

.

ไนโตรเจนมากมายเหล่านี้มาจากไหน...?

-มาจากปุ๋ยเคมีของเกษตรกร

-จุลินทรีย์ในธรรมชาติปลดปล่อยธาตุไนโตรเจน

-น้ำฝนจากธรรมชาติ 

-สวนทึบ แสงแดดส่องได้น้อย ทำการระบายน้ำภายในสวนทำได้ยาก

.

.

หากลำไยได้รับ...ธาตุฟอสฟอรัส(P) .....มากเกินไป

ธาตุนี้...จะขัดขวางไม่ให้ลำไยใช้ไนโตรเจนได้.....

ลำไยจึงแสดงอาการ....ขาดธาตุไนโตรเจน

.

แต่ถ้าพืชได้รับธาต...โพแทสเซียม(K)...มากเกินไป

จะส่งเสริมให้พืชใช้ไนโตรเจนได้มากขึ้น.....

ลำไยจึงแสดงอาการ....ได้รับธาตุไนโตรเจน...มากเกินไป

.

.

ดังนั้น.....เกษตรกร ต้องพิจารณาหาสาเหตุ.....

จากบริบทภายในสวนของท่าน...ด้วยตัวท่านเอง

เพื่อวิเคราะห์สาเหตุที่ไนโตรเจน....มีเหลือมาก...

ว่าเกิดจากอะไร...?

.

เมื่อวิเคราะห์พบสาเหต....แล้ว

.

จึงค่อยทำการเพิ่ม...หรือลด...ปริมาณธาตุอาหาร....

ที่เป็นสาเหตุของการเหลือธาตุไนโตรเจน

จนปรากฏคราบของตะไคร่น้ำ และเชื้อรา

บริเวณผิวเปลือกของต้นลำไยของท่าน...ค่ะ

.

.

หมายเหตุ :

-อาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับลำไย....เฉพาะต้น....จึงไม่ใช่....โรคระบาด

-หากเป็นหลายต้น แสดงว่าเกิดจากสภาวะความชื้นสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน

.

-อาการดังกล่าวจะปรากฏชัดเจน ....ในช่วงฤดูฝน เนื่องจาก....มีความชื้นสูง

-อาการที่เกิดอาจเกิดทั้งสวน หากภายในสวนมีความชื้นสูง ระบายความชื้นได้น้อย เนื่องจากน้ำท่วมขัง หรือแสงแดดส่องถึงได้น้อย

.

-การใช้ยากำจัดเชื้อรา สามารถจัดการกับตระไคร่น้ำ และเชื้อราได้..ก็จริง

แต่...วิธีการดังกล่าว....ไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหาการขาด หรือการได้รับธาตุ...ไนโตรเจนมากเกินไป...นะคะ

-การระบายน้ำภายในสวนออก การแต่งกิ่งใบทำสวนให้โปร่ง การเก็บกวาดเศษใบไม้บริเวณใต้ทรงพุ่ม 

ให้แสงแดดส่องถึงพื้นดินใต้ทรงพุ่ม จะสามารถช่วยบรรเทาอาการได้

.

การนำตัวอย่างดิน ในสวนลำไยไปตรวจวิเคราะห์.....

จะช่วยให้เกษตรวินิจฉัยได้ใกล้เคียง...มากที่สุด

.

และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการบำรุงสภาพดิน เพื่อให้การใส่ปุ๋ยเฉพาะส่วนที่ขาด หรืองดเว้นใส่ปุ๋ยส่วนที่เกินให้กับต้นลำใย

ภายในสวนลำไยของเกษตรกร...ด้วย...ค่ะ

หมายเลขบันทึก: 610793เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2016 09:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2017 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น้องหายไปนานมาก

เอาภาพลำไยที่ไร่มาดูบ้างนะครับ

สบายดีไหมเนี่ย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท