​บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา High Alert Drug หน่วยงานอุบัติเหตุ - ฉุกเฉิน


บทบาทของพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยา High Alert Drug หน่วยงานอุบัติเหตุ -ฉุกเฉิน

1. Morphrine Hydrochlorine injection

2.Pethidine Hydrochlorine

3. Digoxin

4. Adrenaline (Epinephrine injection)

5. Nifedipine 20 SR

6. Chloramphenical injection

7. Insulin

8. Gentamicin Sulffate injection

9. Magnesium Sulfate injection

10. Dopamine injection

11. Calcium gluconate

12. Potassium Chlorine injection

13. Ketamine Hydrochlorine injection


1. Morphrine Hydrochlorine injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Morphrine Hydrochlorine injection

  1. Check V/S ทุก 15 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง then ทุก 1 ชั่วโมง จน Stable ถ้า RR น้อยกว่า 10 ครั้ง/ นาทีให้รายงานแพทย์
  2. สังเกตอาการคลื่นไส้อาเจียน วิงเวียนศรีษะ หายใจไม่สะดวก
  3. ป้องกันอุบัติเหตุขณะลุกเดิน
  4. Observe Urine Out put หลังให้ยา 8 ชั่วโมง ให้ไม่น้อยกว่า 30 ml./hr
  5. Observe Bladder full ผื่นขึ้นที่ผิวหนัง
  6. ไม่ให้ยาในหญิงตั้งครรภ์

2. Pethidine Hydrochlorine

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Pethidine Hydrochlorine

  1. ให้ผู้ป่วยนอนราบหากมีอาการหน้ามืด เป็นลม
  2. ถ้าได้รับยาเกินขนาดที่ไม่มากนัก จะมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น low temp กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  3. Check V/S ทุก 15 นาทีจนถึง 1 ชั่วโมง then ทุก 1 ชั่วโมง จน Stable ถ้าหัวใจเต้นช้า 50 ครั้ง/นาที ความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 mmHg. ให้รายงานแพทย์
  4. ถ้าได้รับยาเกินขนาดมาก รูม่านตาขยาย ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ช๊อค ชัก สั่นกระตุก เพ้อ คลั่ง ประสาทหลอน ภาวะการหายใจ หนาว ตัวเย็น

3. Digoxin

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Digoxin

  1. Check PR ถ้าน้อยกว่า 60 ครั้ง /นาที หรือ Irregular รายงานแพทย์
  2. แนะนำผู้ป่วยให้รับประทาน พร้อมและหลังอาหารทันที
  3. หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังและกล้ามเนื้อ ถ้าจำเป็นต้องฉีดให้ฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อลึกๆ
  4. แนะนำผู้ป่วยให้รับประทานอาหารที่มี K. มาก เช่น กล้วยหอม ส้ม องุ่น
  5. BW. OD.
  6. สังเกตอาการเบื่ออาหาร อุจจาระร่วง คลื่นไส้อาเจียน ปวดศรีษะ มองเห็นผิดปกติ ใจสั่นให้รายงานแพทย์
  7. งดอาหารเค็ม
  8. ติดตามค่า BUN / Cr ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตบกพร่อง

4. Adrenaline (Epinephrine injection)

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Adrenaline (Epinephrine injection)

  1. Check v/s ทุก 3 - 5 นาที
  2. นวดผิวหนังบริเวณที่แทงเข็มเบา ๆ หลังฉีดและไม่ควรฉีดซ้ำที่เดิม
  3. ตรวจดู IV site เพราะอาจเกิด Tissu necrosis
  4. สังเกตอาการ Hyperglecemia ในผู้ป่วยเบาหวาน

ถ้า HR หรือ PR มากกว่า 120 ครั้ง/นาที อาการใจสั่นให้รายงานแพทย์

5. Nifedipine 20 SR

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Nifedipine 20 SR

  1. ให้ผู้ป่วยนอนราบอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หลังให้ยา
  2. Record BP. หลังให้ยา 10-20 นาที
  3. I/O ทุก 8 ชั่วโมง หรือตามแผนการรักษา
  4. สังเกตอาการเจ็บหน้าอกและ BP drop เมื่อให้ยาร่วมกับ propanolol
  5. สังเกตอาการและอาการแสดงของ CHF , Peripheral edema

6. Chloramphenical injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Chloramphenical injection

  1. สังเกตอาการแพ้ เช่น ผื่นขึ้นมีเลือดออกตามผิวหนัง ในปาก เยื่อบุลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ
  2. ในเด็กแรกเกิดให้สังเกตอาการ gray syndrome อาเจียน ท้องอืด อ่อนแรงตัวเขียวหรือซีดเป็นสีเทาตัวเย็น ความดันโลหิตต่ำ หมดสติ
  3. แนะนำผู้ป่วยให้สังเกตอาการตนเอง หากมีความผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์
  4. สังเกต CBC ก่อนการรักษาและระหว่างการรักษาทุก 2 วัน
  5. เจือจางยาอย่างน้อย 10 cc. ในการฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำและห้ามใช้ยาพร้อมกับ Polymyxin B , Vit Bco ,Tetracycline ,Hydrocortisone

7. Insulin

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Insulin / NPH Insulin ( 70/30 )

  1. สังเกตและแนะนำผู้ป่วยให้สังเกตภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น กระวนกระวาย หน้าซีด ตัวสั่น เหงื่อออก ให้ดื่มน้ำหวานหรือลูกอม พร้อมทั้งรายงานแพทย์
  2. Check V/S ถ้ามีอาการ Tachycadia ให้รายงานแพทย์

8. Gentamycin Sulffate injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Gentamicin Sulffate injection

  1. Observe อัตราการหายใจ ทุก 4 ชั่วโมง
  2. สังเกตจำนวนปัสสาวะถ้าน้อยกว่า 240 ml. / 8 hrให้รายงานแพทย์
  3. ควรมีการ ติดตามผล UA ,BUN,Cr. ในระหว่างการรักษาด้วย ยา Gentamycin
  4. เจือจางยาก่อนฉีดและ drip ภายใน 1 ชั่วโมง
  5. สังเกตทั้งก่อน ระหว่างและหลังการให้ยา รวมทั้งแนะนำให้ผู้ป่วยสังเกตอาการข้างเคียง
    ของการใช้ยาคือ วิงเวียน หูอื้อ เสียการทรงตัว เดินเซ ให้รายงานแพทย์
  6. เฝ้าระวังผลข้างเคียงเมื่อใช้ร่วมกับ Furosemide , Ciftriaxone เช่น วิงเวียน หูอื้อ
  7. ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไตพร่อง

9. Magnesium Sulfate injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Magnesium Sulfate injection

  1. Observe Knee jerk ทุก 1 ชั่วโมง ถ้าไม่มี deep tendon Reflexให้รายงาน
  2. Check v/s ถ้า RR น้อยกว่า 14 ครั้ง/นาที ให้รายงาน
  3. Observe Urine Out Put น้อยกว่า 30 ml/hr. ให้รายงาน
  4. ต้องมี Calcium Gluconate น้อยกว่า 1 gm. พร้อมไว้เสมอเป็น Antidote.
  5. Observe อาการ วิงเวียน อ่อนแรง เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย arrythmia
  6. ตรวจบริเวณที่ให้น้ำเกลือเพราะอาจเกิด tissue necrosis ได้หากมีอาการรั่วซึม
  7. ควรวัดระดับยา (Serum Magnesium) หลังสิ้นสุดการให้ยา 12-24 ชั่วโมง
  8. ควรปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีไตบกพร่อง 50 %
  9. ไม่ควรผสมกับสารละลายที่เป็นด่างเช่น Sodiumbicarb

10. Dopamine injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Dopamine injection

  1. Check v/s ทุก 1 ชั่วโมง หรือภายใต้การพิจารณาของแพทย์ ถ้า Bp มากกว่า 180/110 mmHg และ HR มากกว่า 120 ครั้ง/นาที ให้รายงานแพทย์ทันที
  2. Observe Urine Out Put ทุก 1 ชั่วโมง if น้อยกว่า 30 ml/ชม. ให้รายงานแพทย์
  3. สังเกตผิวหนังบริเวณปลายมือปลายเท้า ถ้ามีอาการ ซีด เย็น ให้รายงานแพทย์ ถ้า ซีด หรือ เย็นแสดงว่าได้รับยาเกินขนาดเนื่องจากทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัว
  4. ดูแลบริเวณที่ให้ยา ทุก 30 -60 นาที เพื่อป้องกันเนื้อเยื่อตายจากการรั่วของยา
  5. ให้ยาทางเส้นเลือดใหญ่ เช่น Central Vein
  6. ใช้ Infusion pump ในการให้ยาทุกครั้งและตรวจสอบ rate .ในการให้ยาอย่างน้อยเวรละครั้ง
  7. เปลี่ยน Dopamine Solution ที่มีสีของสารละลายเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนเป็นสีเข้มขึ้น
  8. ลดอัตรการ Drip ตามแผนการรักษา
  9. ห้ามหยุดยาทันที
  10. สังเกตุอาการที่แสดงว่ามีระดับยาสูงเช่น อัตราการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ปวดแน่นหน้าอก คลื่นไส้อาเจียน
  11. เปลี่ยนยาเมื่อมีการ dilute แล้วจะมีความคงตัวอย่างน้อย 24 ชั่วโมง

11. Calcium gluconate

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Calcium gluconate

  1. สังเกตอาการเมื่อผู้ป่วยมี Hypocalcemia จะมีอาการชักกระตุก ปากเบี้ยว มือชา กล้ามเนื้อเป็นตะคริว เลือดออกง่าย
  2. สังเกตอาการเมื่อผู้ป่วยมีภาวะ Hypercalcemia จะมีกล้ามเนื้อเปลี้ย ปวดบริเวณกระดูก คลื่นไส้ อาเจียน, ปวดท้องรุนแรง, หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  3. Check v/s , HR.ทุก 15 นาที x 4 ครั้ง
  4. Record I/O
  5. ห้ามผสม ยาใน NSS. เพราะ Na จะทำใน Calcium ขับออกเร็วขึ้น ให้ผสมใน 5%D/W.
  6. ห้ามให้ V Push.
  7. ตรวจสอบ rate การหยดยาเข้าเส้น/ ตรวจสอบบริเวณที่แทงน้ำเกลืออย่างน้อยเวรละครั้ง

12. Potassium Chlorine injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Potassium Chlorine injection

  1. Check v/s ทุก 4 ชั่วโมง
  2. สังเกตภาวะแทรกซ้อน เมื่อ K. สูง (hyperkalemia)จะมีอาการ คลื่นไส้อาเจียน ชาตามปลายมือปลายเท้า ใจสั่น ,ปัสสาวะบ่อย , อุจจาระร่วง , อ่อนแรง
  3. Record I/O ถ้า Urine น้อยกว่า 240 ml/ 8 hr. ให้รายงานแพทย์
  4. สังเกตอาการ K. ต่ำ (hypokalemia) เมื่อใช้ร่วมกับ Sodium , Calcium gluconate , Insulin glucose
  5. เจือจางยาในถุงน้ำเกลือให้พลิกกลับไปกลับมาให้ตัวกระจายก่อนให้ยาผู้ป่วย
  6. ห้ามให้ KCL inj V Push เพราะจะทำให้หัวใจหยุดเต้นได้
  7. ห้ามผสมร่วมกับยา amikacin , amoxycillin
  8. ห้ามฉีดเข้า Three - way ร่วมกับ Diazepam
  9. ควรตรวจสอบอัตราการหยดยาเข้าเส้นและตรวจสอบบริเวรที่แทงน้ำเกลืออย่างน้อยเวรละครั้ง
  10. ควรติตามค่า BUN , Cr , pH ของเลือด

13. Ketamine Hydrochlorine injection

บทบาทพยาบาลเมื่อผู้ป่วยใช้ Ketamine Hydrochlorine injection

  1. ขณะที่ผู้ป่วยยังไม่รู้สึกตัวให้นอนราบไม่หนุนหมอน
  2. หลีกเลี่ยงกระตุ้นเช่น เสียงดัง แสงสว่าง การกระเทือน ระวังตกเตียง
  3. Check V/S ทุก 15 นาที
  4. เรียกผู้ป่วยเบาๆ เมื่อผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว
  5. อธิบายให้ญาติช่วยป้องกันอุบัติเหตุในขณะที่ผู้ป่วยเริ่มรู้สึกตัว
<code>    อธิบายให้ญาติช่วยป้องกันอุบัติเหตุในขณะที่ผู้ป่วย
</code>
คำสำคัญ (Tags): #ยา
หมายเลขบันทึก: 609405เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 20:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 กรกฎาคม 2016 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท