การศีกษาผลการใช้รูปแบบการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บด้วยเจลเย็น หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี


การพยาบาล

การศีกษาผลการใช้รูปแบบการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บด้วยเจลเย็น หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี

ทีม วิจัย นางสาวธิดารัตน์ มุกดารัตน์ , นางสาวธนาภรณ์ อ่อนศรีทอง , นางสาวนุสราเจะเลาะ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ

บทนำและวัตถุประสงค์ :ปัญหาการปวดแผลฝีเย็บ (Episiotomy) เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่งในมารดาหลังคลอด ปัญหาดังกล่าวส่งผลต่อความไม่สุขสบายของมารดาหลังคลอดและบางรายยังพบว่ามีการปวดแผลฝีเย็บตั้งแต่หลังเย็บแผลเสร็จ และมีแผลฝีเย็บบวมแดงใน 1-2 วันแรกหลังคลอด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างยิ่งในการปฏิบัติภารกิจของมารดาหลังคลอดตลอดจนการเคลื่อนไหวร่างกายทั้งการนั่ง การเดิน การนอน การขับถ่าย หากมีการปวดมากอาจมีผลกระทบต่อความพร้อมในการเลี้ยงดูทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่รวมทั้งการสร้างสายใยรักสายสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก จึงจำเป็นต้องหาวิธีการให้การพยาบาลเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดและเพื่อความสุขสบายมากขึ้นของมารดาหลังคลอด

วิธีการศึกษา:การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยปฏิบัติการ (Action research) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บด้วยเจลเย็น และความพึงพอใจต่อรูปแบบการลดการเจ็บปวดของแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดที่มีแผลฝีเย็บ ในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นมารดาหลังคลอดปกติที่มีแผลฝีเย็บรับการดูแลในหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิก จังหวัดปัตตานี ระยะเวลา เดือนกรกฎาคม ถึงกันยายน พ.ศ. 2558 ทุกรายโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของมารดาหลังคลอด , แบบประเมินความเจ็บปวด (Numeric rating scale)และแบบสอบถามความพึงพอใจ,เจลเย็น

ผลการศึกษา : จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า

1.พบว่าเป็นมารดาครรภ์ที่ 1 จำนวน 15 รายคิดเป็นร้อยละ 50 มารดาครรภ์ที่ 2 จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 และมารดาครรภ์ที่ 3 จำนวน 5 รายคิดเป็นร้อยละ 16.67 มีอายุอยู่ในระหว่าง 17-25 ปี จำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ 53.33 อายุ 26-35 ปี จำนวน 8 รายคิดเป็นร้อยละ 26.67ระดับการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 12 รายคิดเป็นร้อยละ 40 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 11 รายคิดเป็นร้อยละ36.67 และอาชีพส่วนใหญ่แม่บ้านจำนวน 16 รายคิดเป็นร้อยละ 53.33 และรับจ้าง10ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33

2.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจต่อระดับการปวดแผลฝีเย็บลดน้อยลง ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.67 และพึงพอใจในระดับมาก จำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.67

3.มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจต่อความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆได้มากขึ้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก จำนวน 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 56.67 และพึงพอใจในระดับปานกลาง จำนวน 9 ราย คิดเป็นร้อยละ 30

4.พบว่า มารดาหลังคลอดมีความพึงพอใจต่อประโยชน์ที่ได้รับในกิจกรรมครั้งนี้ ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก จำนวน 18 ราย คิดเป็นร้อยละ 60 และพึงพอใจในระดับปานกลางจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 26.67

5.ความคิดเห็นของมารดาหลังคลอดการใช้เจลเย็นในมารดาหลังคลอดใช้ได้ผลแต่ควรมีการประคบอย่างต่อเนื่องในขณะที่อยู่โรงพยาบาลเจลเย็นที่ใช้ประคบ ควรมีความอ่อนนุ่มไม่ควรแข็งมากเกินไปและเจลเย็นไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิให้คงที่ได้

สรุปและข้อเสนอแนะ ; ผลการศึกษาพบว่าระดับคะแนนความเจ็บปวดของมารดาหลังคลอดที่มีแผลฝีเย็บหลังได้รับการประคบด้วยเจลเย็น มีระดับความเจ็บปวดลดลงปานกลางและมารดาหลังคลอดเกิดความพึงพอใจต่อการใช้เจลเย็น ซึ่งสนับสนุนต่อสมมติฐานที่ตั้งไว้ ดังนั้น หอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิกสามารถนำผลการศึกษาที่ประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไปและควรมีการควบคุมอุณหภูมิความเย็นของเจลประคบเย็นให้มีความคงที่อยู่เสมอ ควรลดความแข็งของเจลประคบเย็นให้มีความอ่อนนุ่มขึ้นและการจัดปริมาณเจลเย็นให้เพียงพอต่อไป

โอกาสในการพัฒนา ศึกษาการใช้เจลเย็นเพื่อลดปริมาณการใช้ยาบรรเทาปวดแผลฝีเย็บแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอดที่มีแผลฝีเย็บหอผู้ป่วยสูติกรรม โรงพยาบาลหนองจิก (R to R ต่อยอด ระยะ ๒ )

คำสำคัญ (Tags): #การพยาบาล
หมายเลขบันทึก: 609398เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 19:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มิถุนายน 2016 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท