คิดมาก จิตกลัว ใจเศร้า เรียนช้า


ขอบพระคุณกรณีศึกษาที่จะเป็นประโยชน์ในการใช้เวลาโค้ชให้คำปรึกษาแบบฝึกจิตใต้สำนึกถึง 60 นาที ขอบพระคุณอ.มัณฑนา อ.วรรณเพ็ญ อ.อัมพร และอ.สุพรรษา ด้วยการให้โอกาสเรียนรู้สู่การพัฒนาระบบอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย Positive Communication Workshop: Power of Persons, Present, & Peace แก่นศ.กายภาพบำบัดกับกิจกรรมบำบัดในเร็ววัน

เครื่องมือที่ใช้: NLP - SCORE Model, Rapport, Reimprinting, Chunk Size, Meta Program, & Logical Levels of Change, Anchoring, & State Management บูรณาการการประเมินทางกิจกรรมบำบัดด้านทักษะการรู้คิดผ่่านศักยภาพการเรียนรู้จากผลลัพธ์ของการฟัง การคิด การถาม และการเขียน

ฐานเตรียมพร้อม: ปัญหาเรื่องเรียน จะแก้ปัญหาอะไร เพราะอะไร และอย่างไร เมื่ออ่านหนังสือ ท่องจำ และทบทวน รับรู้สึกความรู้ความเข้าใจได้เพียง 60% อีก 40% รู้สึกสับสน ไม่เข้าใจภาษาวิชาการที่สื่อสารทั้งไทย-อังกฤษ

ฐานกระจ่างปัญหา: เห็นภาพกำลังเรียนวิชา กภกภ 102 ตอนเช้า สีหน้าสดใส ตั้งใจเรียนขณะอาจารย์สอน แต่มีน้องข้างๆ ถาม ทำให้เรียนรู้ขาดตอน ช่วงพักเบรด พยายามเข้าใจด้วยการถามน้องที่รู้ก็เข้าใจ 70% อีก 30% ยังคงไม่มั่นใจในคำตอบ ปัญหาจริงๆ คือ เรียนรู้ไม่เหมือนคนอื่น ต้องอ่านออกเสียงและจดไปด้วยซ้ำๆ ถึง 5 รอบ ก็เข้าใจบทเรียนได้ 60% เมื่อถามเพื่อนที่เข้าใจจนชัดเจนในคำตอบก็ได้อีก 40%

ฐานกระจ่างเหตุ: รู้สึกตึงบริเวณหน้าอก 8/10 [สังเกตหายใจแผ่วดูอึดอัด [บ่งชี้กำลังเศร้า] เล่าว่า "เพราะบุคคลรอบข้าง เพื่อน อาจารย์ ครอบครัว ทนรู้สึกผิดปี 2 เทอม 1 เจอปัญหาวัยรุ่นต้องมีแฟน อ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง เลิกกับแฟน ลงเรียนใหม่ ตั้งใจเรียน ชีวิตดีขึ้น กังวลที่บ้าน [เริ่มร้องไห้] ทำไมถึงเป็นแบบนี้ ทำไมไปรักแฟน ทำให้อนาคตแย่ สงสารแม่และพี่ ดูหนูร่าเริง แต่ข้างในเครียด แต่ไม่อยากให้เครียดไปถึงแม่และพี่ ให้เค้าสบายใจ" จากนั้นให้ก้าวถอยหลังไปอดีต [ร้องไห้มากขึ้น แต่ตั้งสติควบคุมได้]

ย้ายร่างเป็นแม่ ได้บทเรียนว่า "แม่ว่าลูกทำได้ ให้สู้ ลูกแม่ต้องแข็งแรง มีความอดทน ลูกแม่เข้มแข็ง ไม่มีอะไรที่ลูกแม่ทำไม่ได้ แม่เชื่อใจลูกนะ ให้ดูดีๆ เรื่องแฟน ตอนนี้มุ่งเรียนให้มากที่สุด ไม่มีใครรักเราจริงเท่ากับคนในครอบครัว"

จากนั้นย้ายร่างไปเป็นพี่สาว ได้บทเรียนว่า "ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือเยอะ เวลาท้อเครียด ให้นึกถึงแม่และพี่ แม่กับพี่คอยให้กำลังใจข้างๆ ส่งกำลังใจให้น้องทำหน้าที่เรียนให้จบ ทุกคนภูมิใจ แม่และพี่หายเหนื่อย"

เมื่อกรณีศึกษาใช้เวลาทบทวนบทเรียนแล้วอยู่กับตนเอง [เริ่มสังเกตเห็นตามองทแยงไปด้านมือข้างไม่ถนัด บ่งชี้ถึง Auditory Digital มีการฟังเสียงในหัวของตนเองให้คิดอยู่ตลอดเวลา จะตอบคำถามไม่ได้ทันทีหรือเคลื่อนไหวออกจากอดีตของตนเองได้อย่างช้า นิ่งนาน 10-20 วินาที ต้องกระตุ้นให้ออกจากอดีตและเน้นเป้าหมายให้เป็นปัจจุบันขณะจำนวน 2-3 ครั้ง] พบเหตุความขัดแย้งในใจเศร้า คือ ม.6 พี่สาวบังคับให้เลือกสอบเข้ากายภาพบำบัด ทั้งๆที่อยากเรียนพยาบาล รู้สึกอึดอัดใจ แต่ก็ทำใจที่พี่เป็นหัวหน้าครอบครัว-คอยวางแผนชีวิตให้ทุกอย่าง เพราะคุณพ่อไม่อยู่แล้ว พอสอบติด หนูก็ไม่รู้ว่า มันจะยากแค่ไหน ใจคิดว่า ทำไม่ได้แน่ๆ จริงๆ หนูชอบแต่งตัว ชอบทำอาหาร ตอนนี้รู้คำตอบแล้ว ว่า ไม่ได้ชอบพยาบาลจริงๆ ชอบกายภาพบำบัด เพราะได้รักษาคน ภูมิใจที่คนไข้หายดี อยากทำกายภาพบำบัดและไปเรียนทำขนมตามที่ชอบ ขณะเรียนกายภาพบำบัด ไม่มีใครเป็นต้นแบบในใจ เศร้าเพราะกลัวออกเกรดคะแนนไม่ดี เลยใช้ชีวิตคนเดียว ไม่พึ่งพาใคร ไม่มีใครนอกจากกำลังใจจากคุณแม่และพี่สาว อดทนสูง ตั้งใจให้มากขึ้น เข้มแข็งขึ้น [บ่งชี้ถึงความคิดที่แตกต่างจากคนอื่น เป็นตัวของตนเองสูง มีภาวะเครียดกับความคาดหวังสูง]

ฐานเข้าใจผลลัพธ์: กระตุ้นให้มองอาจารย์ที่คอยให้คำปรึกษา แล้วลองให้สวมร่างอาจารย์ท่านนั้น ก็ได้บทเรียนว่า "พยายามตั้งใจอ่านหนังสือ ไม่เข้าใจไม่สบายใจก็ถามอาจารย์ อาจารย์ทุกคนหวังดี พร้อมให้คำปรึกษา ไม่ต้องกลัว" จากนั้นกรณีศึกษาถึงเข้าใจ ตั้งใจ และใส่ใจกับผลลัพธ์ในนาทีต่อไปคือ "กล้าถามอาจารย์ ค้นหาข้อมูลอินเตอร์เน็ต ใช้การเรียนรู้โหลดแอพพิเคชั่น ทำความเข้าใจบทเรียนเป็นภาพ"

ฐานเข้าใจผลกระทบ: ตอนนี้คิดว่ากล้าที่จะถามอาจารย์อย่างมั่นใจ 9.5/10 แต่ยังคงรู้สึกกลัวกังวลนิดๆ 1/10 ถ้าอาจารย์ไม่เข้ามาหา กรณีศึกษาก็จะยังไม่กล้าถามอาจารย์ จะลองดู ด้วยความฝันคือ อยากทำงานที่คลินิกของคณะ จะได้เรียนรู้และกล้าถามอาจารย์และรุ่นพี่ด้วยความรู้สึกครอบครัวอบอุ่น

ฐานทรัพยากรปัญญา: กล้าถามในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนนอกชั้นเรียน พร้อมซักถามอาจารย์อย่างมั่นใจจนได้คำตอบที่กระจ่าง อย่าเก็บนำความรู้สึกลบไปคิด ต้องไม่คิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้

การประเมินกิจกรรมบำบัดด้านทักษะการรู้คิด โดยให้ทบทวนซ้ำแล้วบันทึกตอบโจทย์ว่า จะแก้ไขปัญหาทางการเรียนอย่างไร พร้อมๆกับให้อาจารย์ผู้สังเกตการณ์ทั้งสองท่านสะท้อนความคิดเห็นให้คำปรึกษาตามความรู้สึกจริงใจ ก็พบว่า ขณะนี้กรณีศึกษาได้รับการฝึกจิตใต้สำนึกจัดการอารมณ์ปมขัดแย้งในใจไประดับหนึ่ง แต่วิธีการเรียนหนังสือควรฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยภาพ ไม่ควรอ่านหนังสือออกเสียงพร้อมจดไปด้วยแบบเดิม เพราะจะเพิ่มความกดดันขัดแย้งกับความถนัดในการรับรู้สึกด้วยภาพจะชัดเจนกว่า สังเกตได้จากคำพูดและการเขียนพรรณนาความคิดในใจแบบ "มโนจริต - เขียนตัวเล็กชิดติดกันยาว เว้นวรรคประเด็นน้อยมาก เขียนคิดอย่างพรั่งพรู" เมื่อกระตุ้นให้เขียนจากความรู้สึกที่สั่นกระชับให้คนอื่นเข้าใจ ก็ยังต้องปรับทัศนคติที่กดดันตัวเองหรือความเครียดเชิงลบโดยธรรมชาติของความคิดในหัวด้วยเสียงตนเอง ได้แก่

  • อย่าเก็บนำความรู้สึกลบไปคิด ปรับเป็นความเครียดเชิงบวก คือ ปล่อยวางความคิดลบลงบ้าง
  • ต้องไม่คิดว่าไม่มีอะไรที่ทำไม่ได้ ปรับเป็นความเครียดเชิงบวก คือ ยังมีอะไรที่ทำไม่ได้ ก็เป็นเรื่องธรรมดา
หมายเลขบันทึก: 608174เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2016 09:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2016 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

การอ่าน การเรียน จะเข้าใจ ต้องมีสมาธิ

ทำยังไงก็ได้ ให้เด็กมีสมาธิก่อนไหมคะ

ถูกต้องแล้วครับ การเตรียมให้เด็กมีสมาธิผ่านการฝึกเจริญสติแล้วค่อยๆตั้งคำถามเสริมจะกระตุ้นปัญญาด้วยจิตที่ปราณีตขึ้นตามลำดับครับ ขอบพระคุณมากครับคุณแก้ว

น่าสนใจมากค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท