เวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรม ใน จ.มหาสารคาม (ครั้งที่ ๑)


กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรม ใน จ.มหาสารคาม (ครั้งที่ ๑) ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นิสิตผู้ช่วยอาจารย์เเละถอดบทเรียน ของ สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม(มมส) จัดขึ้น เมื่อวันที่ ๒๗-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ ณ วัดชัยประสิทธิ์ ต.แพง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม ซึ่งมีจุดประสงค์ คือ

  • เพื่อถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานของนิสิต LA
  • เพื่อถอดบทเรียนจากประสบการณ์การขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียน และการพัฒนาเยาวชนในพื้นที่จังหวัดมหาสารคามของผู้นำสภาเด็กและเยาวชน
  • เพื่อจัดทำแผนโครงการและกิจกรรมการขับเคลื่อนคุณลักษณะนิสิตที่พึงประสงค์ของหมวดวิชาศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัย และแผนพัฒนาเยาวชนอย่างบูรณาการในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม

โดยกิจกรรมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมได้ นิสิตในโครงการเด็กดีมีที่เรียน นิสิต LA เเละ สภาเด็กเเละเยาวชนจังหวัดมหาสารคาม โดยทีมกระบวนกร ได้แก่ พี่จุ้ย พี่สงัด เเละพี่มหานิคม ซึ่งสิ่งที่ผมหวังในค่ายนี้จากใจ คือ การสร้างพื้นที่ให้นักกิจกรรมมาคุยกัน อย่างเปิดใจ อย่างเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำกิจกรรม มีกิจกรรมหลักๆซึ่งขอถอดบทเรียนทีละกิจกรรมของผมในกิจกรรมนี้ มีดังนี้
๑) กิจกรรมสันทนาการ การละลายพฤติกรรม ข้อคิดเเละบทเรียนที่ได้รับ มีดังนี้

  • เกมต่างๆเเละกิจกรรมต่างๆ หากจะไม่ให้ซ้ำต้องมีการเปลี่ยนวิธีการเล่น หรือพลิกแพลงวิธีการใหม่ๆ หรือประยุกต์เกมใหม่ๆขึ้นใช้เอง ของตัวเอง เเละเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆจะสนุกมากๆ
  • กิจกรรมไม่จำเป็นต้องยาก เเต่ใช้กิจกรรมง่ายๆเเต่ทุกคนได้มีส่วนร่วมเเละสนุกไปพร้อมกันได้ (ยุทธศาสตร์เกม)
  • กิจกรรมสันทนาการใช้เพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่กิจกรรมหลัก ให้เกิดบรรยากาศน่าทำกิจกรรม น่าเรียนรู้

๒) กิจกรรมกราฟความสุข-ความทุกข์ ข้อคิดเเละบทเรียนที่ได้รับ มีดังนี้

  • การได้ทบทวนระดับความสุขเเละความทุกข์ในรอบ ๕ ปี ทำให้เรามองเห็นช่วงระยะสุขเเละทุกข์ของเราชัดเจนมากยิ่งขึ้น จากการสังเกตในวง พบว่าระดับความสุขของทุกๆคนมีเเนวโน้มลดลงเมื่อเข้ามาวิทยาลัย เพราะมีเรื่องราวต่างๆเข้ามาให้เกิดความทุกข์มากมาย ความสุขจึงหายลงไปเรื่อยๆ
  • น้องดรีม เล่าว่า วิธีทำให้สุขมากขึ้นเเละทุกข์น้อยลง คือ "ก็ไม่ต้องคิดมากสิ คิดเเล้วจะสุขได้อย่างไร" เป็นประโยคที่ผมประทับใจมาก เเละบางครั้งเราลืมไปเลยว่า เราเองที่ประมาทในเรา เเม้เราสามารถบอกผู้อื่นได้ เเต่การบอกตนเองนั้นเรากลับหลงลืม เรากลับปล่อยความคิด ปล่อยใจให้ไหวอยู่ตลอดเมื่อมีสิ่งเร้ามากระทบซึ่งเราต้องฝึกใจให้เห็นความเกิดดับนั่นเอง
  • กิจกรรมนี้ทำให้ผมเห็นระดับความทุกข์ของตนเองที่มากขึ้นเเละมากขึ้น เมื่อลองหาสาเหตุมี ๓ เหตุใหญ่ คือ การเรียน การใช้ชีวิต เเละหัวใจ ซึ่งรู้เเล้วว่าผมเองไม่ควรปล่อยละเลยมันให้เกิดทุกขเวทนา เเต่ต้องปรับใจให้เป็นสุข ด้วยการทำกิจเเละทำจิตไปพร้อมกัน

๓) กิจกรรมถอดบทเรียนจากการทำงาน ข้อคิดเเละบทเรียนที่ได้รับ มีดังนี้

  • มิติความรู้ ผมเเละเพื่อนๆได้รับความรู้ในเรื่องราวต่อไปนี้ ได้แก่ หลักการพูด(เดอะเทรนเนอร์) หลักคิดปศพพ. หลักการออกแบบกิจกรรม หลักคิดปราชญ์ชุมชน เป็นต้น
  • มิติจิตใจ สิ่งที่ได้รับได้แก่ มิตรภาพ ความอดทน ความตั้งมั่น-ตั้งใจ ความใส่ใจ การเข้าใจภายในตนเอง ความเข้าใจอารมณ์เเละการจัดการอารมณ์ตนเอง(EI) เป็นต้น
  • มิติทักษะ สิ่งที่ได้รับได้แก่ ทักษะทางการคิด(วิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์) ทักษะการทำงานเเละการแก้ไขปัญหา ทักษะการเรียนรู้ เเละทักษะการสื่อสารในองค์กร
  • มิติจิตวิญญาณ สิ่งที่ได้รับได้แก่ ความไม่ลืมตน ไม่ลืมเพื่อน เเละไม่ลืมงาน ความเข้าใจภายในตนเองเเละผู้อื่นมากขึ้น การมองกิจกรรมด้วยหัวใจมากขึ้น การรับฟังอย่างเข้าใจ(น้อมใจฟัง)เเละเปิดใจพูด

๔) กิจกรรมดนตรีสนทนา(ดนตรี+ปัญญาสนทนา) เน้นคุยทุกเรื่องไม่มีกรอบ เเต่มีขอบ คือ เกี่ยวโยงกับกิจรรมเเละชีวิต ข้อคิดเเละบทเรียนที่ได้รับ มีดังนี้ในบทนี้ผมพยายามตีความข้อคิดจากทุกๆคนมาเป็นภาษาของตัวเอง ฉะนั้นจึงเป็นวลีที่เป็นความเข้าใจของตัวผมเองเเละลองจับประเด็นด้วยหัวใจ

  • ข้อคิดที่ ๑ "ฉันฝันอยากเป็นเด็ก" (ข้อคิดจากน้องดรีม Dek-D 59)
    จะมีใครสักกี่คนเมื่ออยู่ในช่วงวัยหนุ่มสาว จะมีความใผ่ฝันว่าอยากเป็นเด็ก เพราะเมื่อเป็นผู้ใหญ่มันยากลำบากเเละเเสนจะโหดร้าย การกลับมาสู่ความเป็นเด็กจึงเป็นความฝันในอุดมคติ
    เด็กมีความบรุิสุทธิ์ จริงใจ ซื่อสัตย์
    เด็กมีความใฝ่ฝัน ที่ไร้ขอบเขต มีจินตนาการอันสร้างสรรค์
    เด็กสามารถเล่นได้โดยไม่ต้องกังวลเรื่องใดๆ
    เด็กยิ้มง่าย หัวเราะง่าย มีเเววตาอันเป็นประกาย
    เเล้วเพราะอะไร เราต้องฝันไปเป็นผู้ใหญ่อย่างเดียวล่ะ
    การฝันอยากเป็นเด็กเเละการกลับมาสู่ความเป็นเด็ก เป็นอะไรที่ง่ายๆ ที่ทำให้เรารู้สึกมีความสุข จากสิ่งเดิมๆเมือครั้งอดีต
    ในความฝันนี้ ไม่อาจจรรโลงเหตุผลใดๆมาแข็งกร้าวได้เลย
    "เพราะเด็กมีหัวใจแห่งความเป็นเด็ก"
  • ข้อคิดที่ ๒ "คิดน้อยสุขมาก" (ข้อคิดจากน้องดรีม Dek-D 59)
    ท่ามกลางการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีเรื่องราวต่างๆที่คอยพัดพาเราให้เกิดความทุกข์กาย ทุกข์ในอยู่เสมอมา เเต่ทว่าหลักความทุกข์นั้นจะผ่อนคลายลงได้เเละสามารถเพิ่มสุขได้ นั่นคือ คิดให้น้อยลงจะสุขมากขึ้น ไม่ต้องคิดให้มาก ไม่ต้องยึดติดให้มาก สุดท้ายเราเองจะทำให้ตัวเองเป็นทุกข์เสียเอง
  • ข้อคิดที่ ๓ "เอาใจไปมองใจ" (ข้อคิดจากน้องตาล Dek-D 59)
    การมองโลกนั้น เมื่อรามองด้วยสมองกับมองด้วยใจเเตกต่างกันโดยสิ้นเชิง มองด้วยสมองเราจะเห็นเเต่งาน เเต่มองด้วยใจเราจะเห็นคนทำงาน บางครั้งจุดหมายอาจไม่ต้องรีบร้อน เเต่คนทำงานนั้นสำคัญกว่า หมั่นถนอมใจกันเเละกัน ใส่ใจกันเเละกัน เกื้อกูลกันเเละกัน เดี๋ยวเป้าที่เราหวังจะใกล้เข้ามาเอง
  • ข้อคิดที่ ๔ "ฟังเป็นตัวตั้ง" (ข้อคิดจากกุ๊กไก่ Dek-D 58)
    ในการทำงานการถนอมใจกันเเละกันมีความสำคัญอย่างยิ่ง บางครั้งเราอาจต้องถูกบีบความคิดโดยผู้ใหญ่เเละเราต่อต้านในใจ เเต่เราควรที่จะรับฟังพิจารณาอย่างใคร่ครวญ เเละหาความเหมาะสมของงานที่จะออกมาให้ถนอมน้ำใจกันเเละกัน ซึ่งการฟังเป็นส่วนสำคัญที่สุดในการประชุม การทำงาน หรืออื่นๆ
  • ข้อคิดที่ ๕ "เอาจิตดีข่มจิตชั่ว" (ข้อคิดจากพี่เสือ GE)
    ในสายธารแห่งชีวิตเรานั้น เราจำเป็นที่จะต้องเลือกทางเดินของเราเองด้วยตนเอง ภายในใจเรามีทั้งจิตดีเเละจิตชั่ว หลักการเรา คือ จะทำอย่างให้ให้จิตดีมันมากกว่าจิตชั่ว นั่น คือ เราต้องข่มใจของเราเองให้มีพฤติกรรมที่ดี เอาจิตดีที่เราเห็นว่ามันดีเเล้วมายึดมั่นในการทำงาน เเม้มันจะเกิดการกระทบบ้าง เเตต้องเชื่อมั่นในตนเองเท่านั้นจึงจะยืนหยัดอยู่ได้
  • ข้อคิดที่ ๖ "จุดยืน" (ข้อคิดจากพี่เจเจ LA)
    เราเเต่ละคนมีจุดยืนเเตกต่างกันเพราะเราสั่งสมในอดีตมาไม่เหมือนกัน ซึ่งเเต่ละจุดยืนนั้นมีบทบาทเเละหน้าที่ ที่ควรเคารพกันเเละกัน ภายในเรามีจุดยืน ภายนอกเรามีจุดยืน นั่นล่ะ คือ ความมั่นคงในชีวิต
  • ข้อคิดที่ ๗ "เลือกทางเดิน" (ข้อคิดจากแสน Dek-D 58)
    เมื่อเราเดินทางไปถึงจุดๆหนึ่ง มักจะมีเส้นทาง ๒ สายให้เราเลือกเดินเสมอ เเน่นอนว่า ทั้ง ๒ สายนี้อาจไม่บรรจบกัน หรือ มีจุดเชื่อมกันเเละกันอยู่เป็นทางเล็กๆ เเต่ถึงกระนั้นเองในการเดินทางเราต้องเลือกว่า เราจะหยุดอยู่ที่ทางเเยกระหว่างทั้งสองทางหรือเราจะเลือกพุ่งไปที่ทางใดทางหนึ่ง ซึ่งทั้งหลายวิธีดังกล่าวก็ไม่สามารถที่จะชี้ถูกเเละผิดได้เลยเสียทีเดียวเพราะในเเต่ละทางมีเป้าหมายอยู่ด้วยกันทั้งนั้นเเละทุกอย่างเป็นสีเทา ที่แน่ๆ คือ เราต้องเดินด้วยตนเองเท่านั้นเเละอย่างไรชีวิตต้องเดิน
  • ข้อคิดที่ ๘ "ชนเหล่าใดย่อมได้อยู่กับชนเหล่านั้น" (ข้อคิดจากพี่อุ้ม GE)
    กฎของเเรงดึงดูด คือ คนที่มีเเนวคิดแบบเดียวกันจะมาอยู่ด้วยกัน เราทุกคนที่มาอยู่ที่นี่เเสดงว่าเราเป็นชนที่มีเเนวคิดเหมือนกันจึงได้มาอยู่ด้วยกัน
  • ข้อคิดที่ ๙ "ความเติบโตในทฤษฎีไข่ดาว" (ข้อคิดจากพี่จุ้ย กลุ่มโฮม)
    เราพยายามสร้างพื้นที่ปลอดภัยของเราเองเพื่อที่จะอยู่เพียงจุดนั้นในพื้นที่แคบๆ เเต่เมื่อมองอีกมุมนึง เเสดงว่าเรากำลังปกป้องตนเองอยู่ ซึ่งเมื่อเป็นอย่างนี้ต่อไป จะทำให้ไม่โต เพราะเราคิดว่าเราสบายเเต่เเท้จริเเล้วเรากำลังปกป้องตนเองอยู่ ฉะนั้นการเลือกเดินทางออกจากพื้นที่เเคบๆเดิมของตนเองเพื่อไปให้ทะลุจุดที่ท้าทายจะทำให้เราได้เติบโตขึ้นมากยิ่งขึ้น

การจัดการภายใน(ทำจิต) มีความสำคัญในการทำกิจกรรม(ทำกิจ) การที่กิจจะเดินได้ต้องใช้จิต ฉะนั้นการเข้าในภายในจึงเป็นเรื่องสำคัญของนักทำกิจกรรมมากๆ เเละเมื่อเราหัดถอดบทเรียนตนเองเรื่อยๆ เราจะเข้าใจชีวิตมากยิ่งขึ้น เเละมีภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น

๕) กิจกรรมสนทนาประสานักกิจกรรม ข้อคิดเเละบทเรียนที่ได้รับ มีดังนี้

  • การจัดบรรยากาศในกิจกรรมต้องดู ต้องใคร่ครวญในหลายๆส่วนถึงความเหมาะสม เช่น กลุ่มเป้าหมาย ทุน โอกาส ศักยภาพ ระยะเวลา กระบวนการ โดยให้มีทั้งโหมดผ่อนคลายเเละโหมดปกป้อง เอาโหมดผ่อนคลายเป็นตัวตั้ง เเละทั้ง ๒ โหมดมีข้อดีเเละข้อเสียต่างกัน คือ หากเปิดโหมดผ่อนคายมากเกินไปเด็กจะเล่น เเต่หากใช้เเต่โหมดปกป้องเด็กจะไม่รับใดๆทั้งสิ้น
  • "กิจกรรมต้องการเด็กให้โตเป็นผู้ใหญ่เเละต้องสร้างผู้ใหญ่ให้เป็นเด็ก" ซึ่งต้องมีความกล้าทำในสิ่งท้าทาย ไม่ง่ายเกินไป เเละไม่ยากเกินไป จึงจะโตเป็นผู้ใหญ่ได้
  • นักกิจกรรมต้องมีทักษะการเรียนรู้ ซึ่งต้องพยายามหาความรู้ หาทฤษฎี มาประกอบการทำกิจกรรมอยู่เสมอ

๖) กิจกรรมระดมกิจกรรมที่จะทำในอนาคต จากเสนอที่หลายกลุ่มเสนอ สามารถขหมวดได้ ดังนี้

  • กิจกรรมแนวค่ายอาสาพัฒนาโรงเรียนเเละชนบท โดยความต้องการสร้างพื้นที่เพื่อพัฒนาของโครงการโดยตรงเเละพื้นที่เครือข่าย ปศพพ.
  • กิจกรรมเเนวเรียนรู้การจัดกระบวนการโดยตรง ซึ่งไปเรียนรู้การออกแบบ การดำเนินกิจกรรม การถอดทเรียน เเละการจัดการความรู้ในกิจกรรม
  • กิจกรรมแนวสานสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เช่น โครงการเด็กดีต่อโครงารเด็กดี หรือ โครงการเด็กดีเเละองค์กรพัฒนาอิสระ
  • กิจกรรมแนวแนะเเนวน้องๆในโรงเรียนเเละเราไปเเบ่งปันความรู้หรือประสบการณ์ให้น้องๆมัธยม

กิจกรรมนี้ เป็นกิจกรรมที่ผมเริ่มหันเข้ามามองว่า "การจัดกิจกรรมต้องเอาชีวิตเป็นตัวตั้งเเละต้องโน้มเข้าหาชีวิตเป็นสำคัญ"
กิจกรรมนี้ ทำให้ผมเกิดการเปลี่ยนแปลงภายใน คือ "เข้าใจถึงการใช้หัวใจในการจัดกิจกรรมมากขึ้น"
กิจกรรมนี้ ทำให้ผมมีพลังมากขึ้นในการทำกิจร่วมกับเพื่อนๆ
สุดท้ายนี้ ประทับใจทุกๆคนมากๆครับ เเละขอบคุณ พี่จุ้ย พี่สงัด เเละพี่มหานิคม ที่เข้ามาช่วยครับ


หมายเลขบันทึก: 607728เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2016 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2016 23:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท