......."การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย"


......."การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย"

แลกเปลี่ยนเรียนรู้......."การประเมินความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย" (ข้อมูล..กรมสุขภาพจิต บริการ1667 )

ถ้าหากพบว่าบุคคลมีแผนการชัดเจนและเคยมีความพยายามลงมือกระทำมาแล้ว การที่เขาจะทำการปลิดชีพในครั้งนี้ก็จะมีโอกาสสูงมาก ผู้ที่ให้ความช่วยเหลือควรต้องเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความคิดความรู้สึกให้มากที่สุดและหาทางดึงเขาออกจากสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เขาลงมือกระทำ   และบางรายอาจจะไม่ได้ส่งสัญญาณให้คนใกล้ชิดสังเกตได้ง่ายนัก  แต่จะมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างที่ต้องใส่ใจสังเกตเอง เช่น การดำเนินชีวิตผิดปกติไปจากเดิม  ไม่กินไม่นอน  ภาวะอารมณ์เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ก่อนหน้านี้เผชิญกับความสูญเสีย  หรือผิดหวังอย่างรุนแรง

**การพูดคุยเพื่อประเมินความคิด ความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย  เป็นสิ่งที่ควรกระทำและถือเป็นการช่วยเหลือที่ดี  หากสนใจฟังวิธีการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม สามารถกดโทรฯหมายเลข 4214 เพื่อรับฟังข้อมูลจากหน่วยงานสุขภาพจิตได้**

 

คำสำคัญ (Tags): #อนามัยโรงเรียน
หมายเลขบันทึก: 60736เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 21:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 22:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ทุกวันนี้คนมีความเครียดกันเยอะมาก เพราะปัญหารอบตัวที่รุมเร้า
  • เคยเห็นผู้คนที่ "แพ้โลก" เดิน-นอน-นั่ง อยู่ข้างถนนมากมาย เวลาที่เรานั่งรถผ่านไปมา เคยนึกสงสารว่าหากมีคนช่วยเหลือพวกเขาก่อนที่เป็นบ้าไปขนาดนี้คงจะดีมาก
  • การพูดระบาย และมีคนรับฟังปัญหาช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ดีมาก ๆ ค่ะ และยิ่งผู้รับฟังมีความรู้ความเข้าใจในการรับฟังเพื่อช่วยเหลือด้วยแล้วนับว่าประเสริฐยิ่ง
  • เห็นทีต้องกดโทรศัพท์ไปฟังข้อมูลบ้างแล้วค่ะ
  • ขอบคุณคุณครูปริศนาที่มาบอกเล่าข้อมูลอันเป็นประโยชน์ยิ่งนี้ค่ะ

มีคนเดียวที่มาจากพยาบาลวิชาชีพมาเป็นครูคุณภาพ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท