ตาบอดสี


การถ่ายทอดลักษณะตาบอดสี

โรคตาบอดสี

โรคตาบอดสีมีอยู่  4 ชนิด

   1. ตาบอดสีอย่างรุนแรงจะมองเห็นสีขาว-สีดำเท่านั้น

  2. ตาบอดสีแบบดาลตันนิสม์(Daltonism) อาจเป็นตาบอดสีแดงหรือตาบอดสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่ง          

   3. ตาบอดแบบไมเนอร์ ดาลตันนิสม์(Minor  Daltonism) ยังสามารถมองเห็นสีเขียว สีแดงบ้างแต่ไม่ชัด

    4. ตาบอดสีอย่างอ่อน เห็นสีบ้างแต่ไม่ชัด  จะต้องใช้เวลาสังเกตนาน หรือเห็นได้เฉพาะสีเดียว ถ้าหากหลายสีจะแยกสีไม่ออก

การบอดสีมีสาเหตุ  2  ประการคือ

1. การบอดสีเนื่องจากความผิดปกติของส่วนหลังนัยน์ตา

2. การบอดสีจากพันธุกรรม

โอกาสในการเกิดโรคตาบอดสี

   ผู้ชาย  มีโอกาสเกิดจาการบอดสีสีจากพันธุกรรม  มากกว่าผู้หญิง เพราะว่าโครโมโซมเพศของหญิงทั้งคู่จะมีรูปร่างลักษณะและขนาดเหมือนกันที่เรียกว่า  XX  ส่วนโครโมโซมเพศชายจะมีลักษณะต่างกันเป็น  XY  ยีนที่ควบคุมการมองเห็นสีจะอยู่บนโครโมโซม  X  ดังนั้นเมื่อเพศชายซึ่งมีโครโมโซม  X  เพียงแท่งเดียวและเมื่อได้รับยีนด้อยหรือตาบอดสี ก็จะแสดงลักษณะตาบอดสี  ส่วนผู้หญิงมีโครโมโซม  X อยู่ 2 แท่ง ถ้ามียีนด้อยอยู่  1  แท่ง  ก็ยังไม่แสดงอาการของตาบอดสีให้ปรากฏทั้งนี้เพราะโครโมโซม  X  อีกแท่งหนึ่งยังเป็นยีนเด่น หรือตาปกติ  จึงข่มการแสดงออกของยีนด้อย  ดังนั้นเพศหญิงจึงไม่มีโอกาสตาบอดสี  แต่จะเป็นพาหะของยีนตาบอดสี

คำสำคัญ (Tags): #ตาบอดสี
หมายเลขบันทึก: 60658เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ยอดเยี่ยมครับผม ขอบคุณครับ

ความรู้เนื้อๆเลย เป็นประโยชน์มาก

โชคดีจังที่เกิดเป็นผู้หญิง  ไม่เกิดตาบอดสี ขอบคุณอ้อยที่ให้ความรู้

ขอบคุณมากสำหรับความรู้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท