ด้วยเหตุที่ใช้ธนาคารความดี....แทนธนาคารขยะ


ธรรมชาติความเป็นจริงของมนุษย์ทุกคน ทุกครั้งที่กล่าวคำว่า “ขยะ” ทุกคนต่างก็พากันรังเกียจ เพราะเป็นสิ่งเหลือทิ้งที่ทุกคนไม่ต้องการจินตนาการไปถึงความสกปรก กลิ่นเน่าเหม็น ซากเน่าเปื่อย นั่นคือสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังกันมาเป็นเวลายาวนานของสังคมไทย ฉันจึงเลี่ยงที่จะใช้คำว่า ธนาคารขยะ มาใช้คำว่า ธนาคารความดี ด้วยหลักคิดของกิจกรรมภาระงานที่ทำ การมุ่งหวังส่งเสริมให้เยาวชน ผู้คน ได้มุ่งมั่นที่จะทำความดี ด้วยเหตุผลที่ว่า ความดีสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เพราะคิดดี จึงทำดี เป็นความคิดที่ผ่านการกลั่นกรองที่ซับซ้อนนำไปสู่การปฏิบัติ อาจไม่ใช่แค่เพียงเก็บขยะส่งขายเพียงเพื่อให้ได้เงินอย่างเดียวแต่การทิ้งขยะให้ถูกที่ นั่นคือความดีพื้นฐาน และถ้ารู้จักแยก เก็บสะสม รวบรวมส่ง ถือว่าดีที่สุด ถ้ามากกว่านั้นคือการตัดสินใจเลือกบริโภคอาหารในชีวิตประจำวันที่เลี่ยงการเกิดขยะนั่นก็ถือว่าอัจฉริยภาพของความคิด มีทักษะชีวิตในการดำรงตน มีผลดีต่อตนเอง ดีต่อครอบครัว ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อทุกคนตั้งใจจะทำความดี ครูจึงจึงคิดว่าน่าจะได้รับสิ่งดี ๆ ตอบแทนบ้างเพื่อเป็นกำลังใจ ผลักดันให้กระทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนกลายเป็นนิสัย ก่อให้เกิดพฤติกรรมอย่างยั่งยืน การมีระเบียบวินัยค่อย ๆ ก่อเกิด นำไปสูสุขภาวะจิต และกายดี ถ้าเกิดขึ้นกับทุกพื้นที่ทุกผู้คน นั่นหมายถึง ความงดงามของสังคม บ้านเมืองเราจะได้ผลลัพธ์อย่างไรไตร่ตรองดู ความดีที่ถูกบ่มเพาะด้วยการเติมพลัง ที่เกิดขึ้นเรื่อย ๆ จะก่อเกิดเป็นพลังใจให้มุ่งมั่น เพิ่มความกล้า ท้าทายความสำเร็จ ยิ่งได้รับการบ่มเพาะเป็นนานวันจะกลายเป็นต้นกล้าแห่งความคิดดี ส่งผลให้ความดีถูกสั่งสมดุจร่างทรงที่มีพลังแห่งความดีถ้าเราสามารถสร้างคนให้เป็นคนดีมากขึ้นทุกทีชีวิต และสังคมจะไม่จ่อมจม เหมือนทุกวันนี้ ที่ไร้ทางออก หาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินยากมากขึ้นทุกที ด้วยเหตุนี้จึงกำเนิดเป็น ธนาคารความดีกู้วิกฤตชีวิตโลก

</span>


การลดปัญหาขยะนั้นก็เป็นความดีอีกวิธีการหนึ่งช่วยที่รักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทางพระพุทธศาสนาเองก็ได้มีคำสอนไว้ในหลักธรรมที่เรียกว่า หลักปธาน 4 ( ความเพียร) ซึ่งสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาข้อนี้มาประยุกต์ใช้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมไว้ 4 ประการ กล่าวคือ ประการที่หนึ่ง สังวรปธาน คือ ระวังป้องกันมิให้มลภาวะและความเสื่อมโทรมเกิดขึ้น ประการที่สอง ปหานปธานคือ ทำลายมลพิษและกำจัดความเสื่อมโทรมที่มีอยู่แล้วให้หมดไปประการที่สาม ภาวนาปธาน คือ สร้างและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดีให้เกิดขึ้น และประการที่สี่ อนุรักขนาปธาน คือ บำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีอยู่แล้วไม่ให้เสื่อมลง และประกอบกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงดำรัสขึ้นเนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาณศาลาดุสิตดาลัยสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ในวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคมพ.ศ. 2543 ในเรื่องการทำความดีว่า “ การกระทำที่ดีดีแปลว่ามีประสิทธิผลดีแปลว่ามีประโยชน์ดีแปลว่ามีความสุข ” ซึ่งถ้าหากมนุษย์ทุกคนที่อาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันในการรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งแน่นอนว่าปัญหาขยะในสังคมโลกจะต้องลดลงได้


</span>

หมายเลขบันทึก: 606228เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2016 09:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 พฤษภาคม 2016 09:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท