ข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕


ข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕ ที่สำคัญ ๓ ประการ คือ ควรมีการวิจัยติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของเรือนจำ................

ข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕ ข้อมูลจากรายงานวิจัย เรื่องแนวโน้มเรือนจำทั่วโลก ๒๐๑๕ (Global Prison Trends 2015) บล็อก แนวโน้มและความท้าทายในการปฏิรูปกฎหมายอาญา (http://www.penalreform. org/blog/) โดย ร็อบ อัลเลน, ลิเลียน ไอส์, เชน ไบรน์ , มอริตซ์ เบิร์ก, จูเลีย เคิสมา, มาเลกา โลเปส ไซ เรอร์, จอห์น พอดมอร์, แมรี่ โรแกน และ บริด สลีฟ โดยจะเป็นการกล่าวถึงข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕ โดยสังเขป ดังนี้



- ทุกประเทศควรตรวจสอบว่าการลงโทษจำคุกมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาอาชญากรรมหรือไม่ และ ประเทศที่มีอัตราการลงโทษจำคุกในอัตราที่สูงมากควรหาวิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วน

- ทุกประเทศควรพิจารณาทบทวนประเด็นการสร้างเรือนจำใหม่ กับ การปฏิรูปกฎหมายอาญาที่อาจส่งผลกระทบถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรเรือนจำ

- ทุกประเทศควรปฏิบัติงานโดยยึดหลักการ และ แนวทางการดำเนินงานของสหประชาชาติ ในการช่วยเหลือทางกฎหมาย และ การเข้าถึงระบบความยุติธรรมทางอาญา

- ทุกประเทศควรปฏิบัติงานโดยยึดหลักการที่สำคัญ คือ การกำหนดโทษระยะยาวควรได้สัดส่วนกับความรุนแรงของอาชญากรรม และ สถานการณ์ของผู้กระทำผิด

- ทุกประเทศควรพิจารณาทบทวนนโยบายด้านยาเสพติด ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับสัดส่วนของผู้ต้องโทษคดียาเสพติด ประสิทธิผลของการลงโทษ การพัฒนาโปรแกรมการป้องกัน และ การรักษาเพื่อสุขภาพของประชาชน มากกว่าปัญหาความยุติธรรมทางอาญา

- ทุกประเทศควรให้ความคุ้มครองผู้กระทำความผิดที่มีอายุไม่เกิน ๒๕ ปี ทั้งในส่วนของระยะเวลาต้องโทษและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด และ ผู้กระทำผิดซึ่งมีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี ที่ไม่ควรกำหนดโทษจำคุก

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงโดยยึดหลักการ และ แนวทางการดำเนินงานของสหประชาชาติ ในเรื่อง มาตรการและการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิงตามข้อกำหนดกรุงเทพฯ

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้กระทำความผิดอาญาที่เป็นเด็กให้สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิของเด็ก

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้ต้องโทษจำคุกที่เป็นเด็กทั้งในด้านการควบคุม ดูแล เป็นรายบุคคล และ จะต้องอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ที่ดีที่สุดของเด็ก

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้ต้องขังกลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย และ ชาวต่างชาติ ทั้งนโยบายการพิจารณาคดี และ มาตรการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ

- ทุกประเทศควรเน้นการดูแลสุขภาพนักโทษ ทั้งมาตรการในการรักษา และ การป้องกัน รวมทั้งผู้ต้องขังป่วยโรคจิต และ การป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคในเรือนจำ

- ทุกประเทศควรมีการพัฒนานโยบายในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังสูงอายุ

- ทุกประเทศควรพิจารณาถ่ายโอนความรับผิดชอบของเรือนจำไปยังกระทรวงยุติธรรม ในด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาความรู้ ทักษะ การตรวจสอบ การดำเนินคดีและ นโยบายทางอาญา เป็นต้น - ทุกประเทศควรให้ทางกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานนับสนุนสนับสนุน ให้บริการ ดูแลสุขภาพผู้ต้องขังตามเงื่อนไขที่ทางเรือนจำกำหนด

- ทุกประเทศควรดูแลสุขภาพผู้ต้องขังให้ถูกต้องตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มาตรฐานของจริยธรรมทางการแพทย์ และ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยใช้โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพ ที่สอดคล้องมาตรฐานกฎขั้นต่ำในการปฏิบัติต่อนักโทษ ข้อ ๖๓ (๓)

- ทุกประเทศควรมีนโยบายในการพัฒนาความร่วมมือด้านการพัฒนาบุคลากร ความร่วมมือทางวิชาการ และ พัฒนานโยบายทางอาญาระหว่างประเทศทั้งในระยะสั้น และ ระยะยาว-ทุกประเทศควรศึกษาแนวทางการดำเนินงานของเรือนจำเอกชนในสหรัฐอเมริกา ที่ได้นำเสนอ เรื่อง ประสิทธิภาพการทำงานของเรือนจำ และ พนักงานเรือนจำเอกชน ความรับผิดชอบที่เหมาะสม การประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต และ ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน

- ทุกประเทศควรจำกัดการใช้งานของการขังเดี่ยว ยกเว้น กรณีที่จำเป็นอย่างยิ่ง และเป็นเป็นระยะเวลาสั้น ๆ และ ควรมีการตรวจสอบเนื้อหาสาระของการขังเดี่ยวที่มีระยะเวลานานและไม่แน่นอน ควรมีการแยกคุมขัง ระหว่างผู้ต้องขังวัยหนุ่ม วัยสาว หญิงตั้งครรภ์ สตรีที่มีทารก การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในคุก และ บุคคลที่มีอาการป่วยทางจิต เป็นต้น

- ทุกประเทศควรปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง โดยคำนึงถึงหลักการ และ แนวทางตามสัตยาบันในพิธีสารอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน (OPCAT)

- ทุกประเทศควรไม่ควรใช้แรงงานผู้ต้องขังราคาถูก มีมาตรการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์ มีการคำนึงถึงความปลอดภัยของแรงงาน และ ควรมุ่งเน้นไปที่ การฝึกอบรมความรู้ ทักษะ เพื่อการคืนสู่สังคม

- ทุกประเทศควรควรมีโปรแกรมการศึกษา และ การฝึกอบรม ที่ได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากกระทรวงศึกษาธิการ และ การศึกษา ดังกล่าว จะต้องสามารถเทียบเท่าในระดับเดียวกันกับระดับการศึกษาภายนอกเรือนจำ

- ทุกประเทศควรควรมีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีใหม่เพื่อช่วยในการทำงานของระบบยุติธรรมทางอาญา การฟื้นฟูสมรรถภาพของนักโทษ ที่ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ ไม่กระทบต่องบประมาณ

- ทุกประเทศควรมีการเสริมสร้างความเข้มแข็ง และ ความพร้อม ในการจำคุกทางเลือกสำหรับผู้กระทำผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามมาตรฐานกฎขั้นต่ำสหประชาชาติ (กฎโตเกียว) และ ควรมีการเพิ่มการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน

- ทุกประเทศควรควรให้ความสนใจ ปัญหาความเชื่อมโยงระหว่างความยากจน กับการจำคุก และ ความเป็นธรรม รวมตลอดถึงสัดส่วนระบบยุติธรรมทางอาญา และ การพัฒนาอย่างยั่งยืน



โดยสรุป

ข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕ จาก บทสรุป และ ข้อเสนอแนะ (Conclusion and recommendations) จากรายงานวิจัย เรื่องแนวโน้มเรือนจำทั่วโลก ๒๐๑๕ พบว่า แนวโน้ม และ ความท้าทายในระบบความยุติธรรมทางอาญาของแต่ละประเทศ มีรูปแบบ การดำเนินงาน ความคุ้มค่า ที่แตกต่างกัน และ พบข้อเสนอแนะสำหรับเรือนจำทุกประเทศ ปี ๒๐๑๕ ที่สำคัญอย่างน้อย ๓ ประการ คือ

- ทุกประเทศควรมีนโยบายทางอาญาในการพิจารณาลงโทษจำคุกให้น้อยที่สุด ควรนำมาตรการการจำคุกทางเลือกมาใช้ในสัดส่วนที่เหมาะสม และ ควรมีนโยบายในการประหยัดงบประมาณเรือนจำ

- ทุกประเทศควรมีการพัฒนาขนาดเรือนจำที่เหมาะสม และ เพียงพอ มีจำนวนเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ตามมาตรฐานสากล และ มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีเรือนจำ

- ทุกประเทศควรมีการดำเนินการวิจัยติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านต่างๆ ของเรือนจำ และ ควรมีการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ระหว่างประเทศ


................


วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์

๒๙ เมษายน ๒๕๕๙


อ้างอิง

รายงานวิจัย เรื่องแนวโน้มเรือนจำทั่วโลก ๒๐๑๕ (Global Prison Trends 2015) บล็อก แนวโน้มและความท้าทายในการปฏิรูปกฎหมายอาญา (http://www.penalreform. org/blog/)

ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ http://www.theguardian.com/social-care-network/201...และ เว็บไซต์ https://www.hrw.org/report/2016/04/05/double-punis...



หมายเลขบันทึก: 605684เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2016 22:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 ตุลาคม 2017 19:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณ อาจารย์ ดร.จันทวรรณ มากน่ะครับ ที่กรุณาติดตาม และ ให้กำลังใจผมด้วยดีตลอดมา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท