ร่วมงานสัมมนาวิชาการเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสถาบันอุดมศึกษา"


ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) โดยคณาจารย์ของสถาบันได้ร่วมกันทำการศึกษาวิจัยพัฒนาองค์ความรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาโดยต่อเนื่อง ที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในส่วนที่เป็นสามห่วง คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว การสร้างองค์ความรู้ในลักษณะของแนวทางการประยุกต์ในด้านต่างๆ เพื่อให้มีตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น และเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ เพื่อความสมดุลและยั่งยืน เนื่องจากนโยบายสาธารณะมีความสำคัญ ที่จะทำให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นไปตามเป้าหมายของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในประเด็นของการใช้ความรู้และคุณธรรม เพื่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง สำหรับในส่วนของการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารและจัดการในองค์การภาครัฐและเอกชน ยังมีการศึกษาและวิจัยค่อนข้างน้อย จึงได้ทำการศึกษาวิจัยการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นเฉพาะสถาบันอุดมศึกษาในประเด็นเกี่ยวกับการเงินและงบประมาณของสถาบันอุดมศึกษา การสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงินของบุคลากรทางการศึกษา ความพอเพียงของอุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศ บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และแนวทางการสื่อสารรณรงค์ เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันอุดมศึกษา และได้จัดสัมมนาทางวิชาการเรื่องนี้ เมื่อวันพุธที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๕๙ ที่ห้องประชุมจีระ บุญมาก ชั้น ๓ อาคารสยามบรมราชกุมารี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

รศ.ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา นายกสภาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ได้กล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการนี้ว่า โดยที่แผนการศึกษาแห่งชาติฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๕๙) ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยึดทางสายกลางบนพื้นฐานของความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เพื่อมุ่งให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดี มีสุขของคนไทย โดยยึด "คน" เป็นศูนย์กลางการพัฒนา ที่ผ่านมา การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับอุดมศึกษามีทำอยู่บ้างในหลากหลายรูปแบบ แต่อาจจะยังไม่เห็นผลเด่นชัด เมื่อเทียบกับการขับเคลื่อนในระดับโรงเรียน จึงเป็นความพยายามหนึ่งของสถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ในการผลักดันให้เกิดการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับอุดมศึกษาให้เกิดความก้าวหน้ายิ่งขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง

ในปัจจุบัน วิวัฒนาการความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ได้มีการนำเสนอ Sufficiency model สำหรับใช้ในการสร้างความเข้าใจในเวทีนานาชาติ และสอนในระดับอุดมศึกษา ซึ่งสรุปโดยย่อ ดังนี้


คณาจารย์ที่นำเสนองานวิจัย ๖ ชิ้นงานในการสัมมนาครั้งนี้ ประกอบด้วย

1.ผศ.ดร.ณดา จันทร์สม "..บทบาทของสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างภูมิคุ้มกันต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางการเงินของบุคลากรทางการศึกษา"

2.รศ.ดร.วิชิต หล่อจีระชุณหกุล และ รศ.ดร.จีราวัลย์ จิตรถเวช.. "โครงการศึกษาและแนวทางแก้ไขความเหลื่อมล้ำของกองทุนสนับสนุนการศึกษา".

3.ผศ.ดร.อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล ..."ความพอเพียงของงบประมาณรายจ่ายเพื่ออุดมศึกษา"

4.ผศ.ดร.ประสบโชค มั่งสวัสดิ์ และดร.นิรมล อริยอาภากมล.."ความพอเพียงของอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาประเทศ"

5.ผศ.ดร.อาแว มะแส..."บทบาทของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน"

6.รศ.ดร.จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต.."การสื่อสารรณรงค์เพื่อการพัฒนาและการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในบริบทอุดมศึกษาไทย"

สำหรับรายละเอียดของงานวิจัยทั้ง ๖ ชิ้น ติดตามได้ที่ http://cse.nida.ac.th


.......................................................................................................................................................





ความเห็น (3)

น่าฟังมากๆ นะคะ .... ขอบคุณพี่ใหญ่ ค่ะ

เป็นงานวิจัยของเศรษฐกิจพอพียงของระดับอุดมศึกษาในหลายบริบทมาก

ขอบพระคุณมากเลยครับที่พาไปเลี้ยงข้าวและสนับสนุนจิตอาสา

แถมสมุดบันทึกสมเด็จพระเทพฯด้วย สีสวยมาก

ขอบพระคุณมากๆครับ

  • โอ๋-อโณ
  • ขจิต ฝอยทอง
  • คนใต้โดยภรรยา
  • Dr. Ple
  • วินัย เจริญเฉลิมศักดิ์ (น.ม.)
  • สวัสดีค่ะ ขอบคุณมากสำหรับกำลังใจมอบแก่บันทึกนี้ค่ะ
  • น้อง Dr.Ple...นับเป็นอีกวาระหนึ่งในการนำเสนอบทวิจัยเพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการปฏิบัติใช้อย่างยั่งยืนค่ะ
  • น้องดร.ขจิต..ยินดี มากค่ะที่ให้ความสนใจ...ขอบคุณมากนะคะที่พาน้องกล้วยไข่มาร่วมสังสันต์กับ พี่ใหญ่อย่างมีความสุข พร้อมของกินของใช้ที่ถูกใจมากๆค่ะ.. .
  • ..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/605385
    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท