​ชื่นใจ...ได้เรียนรู้” (ภาคครูเพลิน) ครั้งที่ ๙ : ผู้ทรงคุณวุฒิร่วมสะท้อนการถอดบทเรียน



คุณรวิช ตาแก้ว ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือและสมัชชาทางการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

ตัวผมเองต้องใช้ความพยายามมากในการกระโดดจากศิลปะ ไปเป็นตัวอักษรอยากรู้ว่าครูใหม่ทำได้อย่างไร


คุณครูใหม่ คงเป็นเพราะเริ่มจากฐานทางภาษาและวรรณคดีก่อน แล้วค่อยไปต่อยอดทางศิลปะ ทำให้มีการอ่านเขียนเป็นหลักอยู่ก่อน แล้วต่อมาก็มีโอกาสได้ฝึกฝนคู่กันไปทั้งสองเรื่อง และคิดว่าตัวเองเป็นคนที่มีความสมดุลของสมองทั้งซ้ายและขวา เวลาทำงานก็จะใช้สมองทั้งสองด้าน แล้วก็มักจะคิดงานโดยใช้ทั้งส่วนของจิตสำนึกและจิตใต้สำนึก เวลาคิดอะไรจึงไม่ต้องรีบร้อนให้คิดให้ออกเดี๋ยวนั้น ถ้าคิดไม่ออกก็จะเก็บข้อมูลและตั้งโจทย์ให้ตัวเองเอาไว้ก่อน พอร่างกายได้พักผ่อนนอนหลับเต็มที่แล้วความคิดดีๆ จะเกิดขึ้นมาเอง ส่วนใหญ่มักจะคิดสร้างสรรค์แผนการสอนดีๆ ได้ตอนประมาณตีสาม

ส่วนการเปลี่ยนจากศิลปะเป็นภาษาก็จะเกิดขึ้นเองอย่างเป็นอัตโนมัติ เช่น พอเห็นภาพวาดจิตรกรรมฝาผนัง หรือเห็นอาคารสถาปัตยกรรมไทยที่สวยๆ ก็จะได้ยินเสียงบทกวีนิพนธ์ดังแว่วขึ้นมาในหัวเอง และเวลาเขียนตัวหนังสือก็จะมองเห็นเส้นไทยมีอยู่ในตัวอักษร ก.ไก่ ถึง ฮ.นกฮูก ที่เชื่อมโยงกลับไปที่ตัวสถาปัตยกรรม หรือจิตรกรรมฝาผนัง ด้วยเหตุนี้ก็เลยจะรู้สึกปิติยินดีทุกครั้งที่เห็นเด็กๆ เขียนลายไทย หรือเรียนโขน และมีความสุขที่ได้เห็นการสืบสานความเป็นไทยที่มีชีวิต เป็นการเห็นเส้นจิตรกรรมไทยแบบสามมิติเคลื่อนไหวอยู่ต่อหน้าต่อตา



ดร.สิริกร มณีรินทร์ ที่ปรึกษาคณะทำงานด้านกฎหมายของคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา

รู้สึกประทับใจ และเป็นความอบอุ่น มีกำลังใจ ประทับใจ คำว่า “ทำงานเพื่อชีวิตอนาคตที่ดีของคนไทย” วันนี้พี่เจอฟินแลนด์ในประเทศไทย

ที่ฟินแลนด์ มีการประกาศว่าทำการปฎิรูปหลักสูตร ถ้าอ่านดูจะพบข้อความหลายอย่าง ในสไลด์ บอกถึงสาระสำคัญของหลักสูตรฟินแลนด์ว่าคืออะไร ซึ่งเขาจะเริ่มใช้กันในเดือนกันยายนที่จะถึงนี้ เขาระบุว่าเอาไว้ในการทำหลักสูตรเราควรใช้คำว่า ระบบหลักสูตรและการเรียนการสอน และครูจะต้องเตรียมว่าจะทำให้เด็กรัก สนใจในสิ่งที่เรียน ซึ่งมีบอกเอาไว้ว่าควีทำอย่างไรบ้าง ในสไลด์เน้นจุดสำคัญของการปฏิรูปหลักสูตรจะหมุนอยู่รอบๆ ตัวเด็ก เขาจะไม่พูดถึงเด็กเก่งเลย แต่จะคิดว่าจะช่วยเด็กอ่อนอย่างไร จุดเด่นคือจะไม่สอนเป็นวิชา แต่จะสอนเป็นหัวเรื่อง ครูจะต้องไม่ถูกมัดตรึงอยู่กับคำว่า content กับ subject ที่ฟินแลนด์เรียกว่าเป็น phenomenal ปรากฏการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อผู้บริหาร ครู สร้งความเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ขึ้นมา และเขาหลอมรวมหลายๆ หัวเรื่องเข้ามาหากันได้โดยใช้ศิลปะเป็นแกนเหมือนกับที่โรงเรียนเพลินพัฒนากำลังทำอยู่นี้



ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

  • จากผลเจตคติ เกิดคำถามว่าอะไรเป็นปัจจัยเอื้อที่ทำให้ผลดี กับอะไรเป็นปัจจัยฉุด ก็มาได้พบคำตอบในช่วงที่มีการถอดบทเรียนครูใหม่ พบว่าการทำการโค้ช ที่ทำใช้ระบบคนใน การเป็นพี่เลี้ยงกับเป็นนิเทศ เป็นการทำให้คนวงใน เป็นตัวอย่างที่ดี เป็นtreatment สำคัญ แต่เรื่องปัจจัยฉุดยังไม่ทราบ
  • ในกระบวนการถอดบทเรียนช่วงแรก มี intro เยอะ ทำให้คำถามไม่มีพลัง
  • ประเด็นที่จะเป็นประโยชน์ คือ การสะท้อนว่าคนที่เป็นโค้ชหรือเป็นพี่เลี้ยง จะต้องเป็นคนที่ครูไว้วางใจได้ ให้ความเชื่อถือ และมีประสบการณ์
  • ในการสอนแบบไม่สอนเกิดขึ้นได้ เพราะครูใหม่มีศักยภาพของการทำงานแบบปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ไม่ได้วางตัวเหนือกว่า เป็นเพื่อนร่วมคิด มิตรร่วมทาง มีการใช้หลักสุนทรียสนทนา ทำให้เกิดความสุขในการทำงานมากขึ้น ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งแบบตั้งใจและไม่ต้องใจ
  • ได้เห็นพลังของการดูดซับของตัวตนกับครูใหม่ เป็นวิธีการเป็นโค้ชที่ดี ทั้งการยกตัวอย่าง และการเล่าย้อนกลับไปเพื่ออธิบายที่มาที่ไปของเรื่อง
  • ถ้าเป็นการพัฒนาครูแบบมีคนมาเล่าให้ฟังแล้วให้ครูไปลองทำดู ครูจะไม่เกิดแรงบันดาลใจและไม่เกิดการถ่ายทอดคุณค่าเชิงลึกในลักษณะที่เห็นนี้
  • ถ้าจะปฏิรูปการเรียนรู้จริงๆ ต้องแก้ที่ครู และต้องใช้กระบวนการที่โรงเรียนเพลินพัฒนาทำอยู่ สิ่งที่เพลินทำได้คือการสร้างองค์ความรู้ที่ตำราวิชาครูทำไม่ได้
  • วันนี้ถอดรหัสแล้วอย่าให้จบ พี่อยากเชียร์ให้พิมพ์เป็นเล่มออกมา ถ้าใครต้องการต้องควักกระเป๋ามาซื้อ เพราะของฟรีไม่มีค่า ประสบการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการพัฒนาครูในยุคปฏิรูปที่เป็นรูปธรรมและเป็นประโยชน์มาก
  • ประสบการณ์นี้แสดงให้เห็นว่าครูใหม่นอกจากจะมีคุณลักษณะคือมีมิติทางปัญญาแล้ว ยังเป็นตัวอย่างของผู้ที่เรียนรู้ด้วยตนเอง และประยุกต์ใช้ในศาสตร์กับศิลป์ลงไปในเรื่องที่ตัวเองทำได้เป็นอย่างดี อยากให้ครูไทยเป็นแบบนี้ ข้อมูลที่น่าตกใจ ADB แสดงให้เห็นว่าครูไทยน่าสงสาร เพราะครูไทยเข้าไม่ถึงองค์ความรู้ เรียนรู้ด้วยตนเองยากมาก
  • ทักษะในการทำงานให้สำเร็จที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ อย่าไปสัญญาในสิ่งที่ตนเองทำไมได้ สิ่งที่สำคัญมากคือจะโค้ชครูอย่างไร
  • สุดท้ายอยากแนะนำว่าในช่วงการนำเสนอผลเจตคติควรเพิ่มเรื่องของปัจจัยเอื้อ และปัจจัยฉุดด้วย
หมายเลขบันทึก: 605264เขียนเมื่อ 22 เมษายน 2016 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2016 16:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท