เด็กไทยทำได้


"เด็กไทยทำได้" เป็นประโยคที่ผู้ใหญ่หลายคนคาดหวังกับเด็ก มีอะไรมากมายที่ผู้ใหญ่อยากให้เด็กทำได้

"เด็กไทยทำได้" เป็นประโยคที่ผู้ใหญ่หลายคนคาดหวังกับเด็ก มีอะไรมากมายที่ผู้ใหญ่อยากให้เด็กทำได้  หากแต่คงยากที่เด็กๆจะทำได้เองโดยไม่มีคนชี้แนะ และสอน ในโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพของกรมอนามัยมีเกณฑ์ต่างๆมากมายที่ผู้ใหญ่อยากให้เด็กทำได้ อยากให้เด็กเป็น  พยายามคิด เสนอแนะจนแม้กระทั่งพยายามสั่งการให้ครูทำ บังคับเชิงนโยบายให้ครูต้องทำให้ได้ตามเกณฑ์ ทำมานาน เราเจอว่า คุณครูก็สามารถทำให้ผ่านเกณฑ์ได้แต่ไม่เกิดความยั่งยืน ปีที่ผ่านมา กรมอนามัยได้เลือกประเด็นที่มีปัญหาของโรงเรียนเพื่อเป็นการกระตุ้นให้โรงเรียนทำให้เกิดการดูแลเรื่อง อาหารปลอดภัย สุขาน่าช้ และเด็กไทยฟันดี โครงการนี้ใช้ชื่อว่า เด็กไทยทำได้ เพราะคาดหวังให้เด็กเป็นผู้ลงมือทำเอง  อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องให้เด็กทำเองไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการสนับสนุนจากครู  ซึ่งการพัฒนาให้ครูสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมในโรงเรียนเป็นเบื้องแรกเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ  การพัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษาด้วยกระบวนการ EAP ซึ่งกองทันตสาธารณสุขได้จัดขึ้นเมื่อ ปี 48 โดยเน้นให้ครูปรับเปลี่ยนบทบาทจากครูผู้ให้ มาเป็นคุณครูผู้อำนวยการเรียนรู้ ของเด็ก เราได้ประสบการณ์บอกเล้าดีๆจากโรงเรียน

โรงเรียนบ้านท่าโก อ.หล่มสัก เพชรบูรณ์ "โรงเรียนเราได้เป็นโรงเรียนดีเด่นด้านทันตสุขภาพใน พ.ศ. 2548 ได้รับเงินรางวัล และทำให้เราต้องทำโครงการ เด็กไทยทำได้ต่อเนื่อง พออบรมจากทางกรมอนามัยไปแล้ว เราให้เด็กวาดภาพห้องน้ำในความคิดว่าอยากได้ห้องน้ำแบบใด  โรงเรียนเรามีปัญหาเรื่องห้องน้ำทางเดินเป็นดิน เลอะเทอะ เราจึงเอาเงินรางวัลที่ได้ไปซื้อกระเบื้องมาปู แบ่งหน้าที่ให้เด็กทำเพื่อให้เด็กได้ห้องน้ำแบบที่ตัวเองวาดฝันไว้  นอกจากนี้เรายังประชุมกับ อบต. ได้รับสนับสนุนงบประมาณในการปรับปรุงห้องน้ำเพิ่มเติมด้วย ทีนี้เรื่องสบู่ล้างมือจะทำอย่างไรให้ต่อเนื่อง เราบอกให้เด็กๆเก็บสบู่ก้อนเล็กๆมาจากบ้าน แล้วเอามาขยำรวมกัน เราทำบล็อกเขียนว่า ท่าโก แล้วปั๊มสบู่ออกม่เป็นก้อนสี่เหลี่ยมเป็นสบู่ยี่ห้อ "ท่าตะโก" ส่วนที่เป็นน้ำเราก็เอามากรอกใส่ขวดเป็นสบู่เหลว ตอนนี้โรงเรียนมีสบู่ใช้ไม่ขาด"

ผอ. โรงเรียนบอกว่า "การทำงานโครงกการเหล่านี้ไม่ใช่เป็นเรื่องการเพิ่มภาระ เพราะนอกจากเด็กนักเรียนจะมีสุขภาพดีขึ้นแล้ว จากที่โรงเรียนประเมินเกณฑ์ สมศ. เรื่องการคิดวิเคราะห์ของเด็ก และมาตรฐานเรื่องการดูแลสุขภาพเด็ไม่ผ่าน พอเราทำกิจกรรมนี้ เราก็ประเมินผ่านเกณฑ์ ได้ การคิดวิเคราะห์เราเสนอผลงานที่เด็กวาดภาพเรื่องห้องน้ำ การดูแลห้องน้ำที่เป็นระบบแบบนี้ การจัดการเรื่องอาหารของเด็กทำให้เราสามารถประเมินผ่านเกณฑ์ สมศ ได้"

 งานนี้เด็กได้ โรงเรียนได้ และนำสู่กระบวนการเรียนรู้ของเด็กด้วย

หมายเลขบันทึก: 60501เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 09:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
รับประกันคุณภาพค่ะ ... กิจการของคุณหมอปิยะดางวดนี้ มีอีกหลายๆ เรื่อง ที่น่านำมาเล่าสู่กันฟังล่ะ ... โปรดติดตามตอนต่อไป
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท