การเรียนแบบร่วมมือ...ร่วมใจ


ครูผู้สอนพยายามจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนหลายรูปแบบ ปรับไปตามความพร้อม ศักยภาพและความต้องการของนักเรียน
 

จากสัปดาห์แรกที่เปิดภาคเรียนมานั้น การเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้เปลี่ยนไปจากภาคเรียนที่แล้ว  หมายถึง  การจัดการเรียนรู้ได้เปลี่ยนไป  จากการเน้นการฟัง  การพูด การอ่าน  และการเขียน  จากหนังสือ อุปกรณ์ สื่อที่มีอยู่ แต่ในคราวนี้  ได้ปรับเปลี่ยนเป็นการเรียนรู้และมีผลงานตามสภาพจริง

สังเกตนักเรียนมาหลายรุ่นแล้วไม่ชอบและเบื่อหน่ายการเรียนที่เรียนจากหนังสือ ฟังเทป  ฝึกปฏิบัติ และทำแบบฝึกหัด

ดังนั้น...ครูผู้สอนจึงปรับและเปลี่ยน  ได้รับการตอบสนองอย่างดีเยี่ยม  นักเรียนเริ่มรู้จักการจับกลุ่ม  อันเนื่องมาจากการจับกลุ่มที่นักเรียนสอบปลายภาคเรียนที่1  และพบว่า  นักเรียนชายมีการพัฒนาผลการเรียนได้อย่างชัดเจน มีจำนวนนักเรียนชายที่ได้เกรด A  มากเท่าๆกับนักเรียนหญิง 

ในภาพ...นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ครูประจำชั้นชื่อ ครูอมร  อภัยรัตน์  ได้นำเสนอผลงานที่ได้จับกลุ่มที่เรียกว่า...การเรียนแบบร่วมมือ...ร่วมใจ  นอกจากนักเรียนจะได้รับความรู้ในหน่วยนั้นๆแล้ว  นักเรียนมีความสามารถในการจัดการเพื่อที่จะได้ผลงานมานำเสนอ  นอกจากนั้นนักเรียนยังมีคุณสมบัติที่พึงประสงค์  หมายถึง  นักเรียนมีนิสัยดี 

นิสัยดี  ดีอย่างไร  ในคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)  ได้กำหนด ไว้ 4 อย่างคือ  มีความรับผิดชอบ  มีวินัย   มีความตั้งใจเรียน  รักและศรัทธาครูและโรงเรียน

หากนักเรียนท่องให้ขึ้นใจ  และปฏิบัติให้คล่องตัวแล้ว  ...วาดหวังได้เลยว่า...นักเรียนที่จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า  ..จะมีคุณสมบัติที่วาดหวังไว้อย่างครบถ้วน

หมายเลขบันทึก: 60486เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2006 06:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ชอบการเรียนแบบ co-operative learning
  • แต่ต้องมี criteria ที่ดีครับ
  • ขอบคุณมากครับผม

ขอบคุณค่ะคุณแอ๊ด

  • ครูอ้อยคิดว่าจะนำแนวการดำเนินการ  ระหว่างการดำเนินการ  ผลการดำเนินการ  ขั้นตอนต่างๆ  รวมทังรูปภาพมาลง  รอสักนิดนึงนะคะ

ขอบคุณค่ะที่สนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท