จุดเทียนเติมใจ จุดไฟเติมฝัน


กิจกรรมพิธีเทียน เป็นอีกกิจกรรมเสริม "พลังใจ" ที่เราใช้กันในค่ายกิจกรรม โดยวิธีการอาจมีส่วนคล้ายหรือต่างกันออกไปตามจุดประสงค์ของเเต่ละพื้นที่ ซึ่งในที่นี้ขอเล่าให้มิติมุมมอง พิธีเทียนที่เสริมใจเเละใจ ให้กันเเละกัน

ราตรีกาล ผันผ่าน ไปบรรจบ
ถึงได้พบ แสงแห่งไฟ ในวิถี
เทียนเล่มน้อย กับลมคล้อย ที่พอดี
วินาที แสงแห่งใจ ในความงาม

พิธีเทียนในค่าย เราเน้นสร้าง พลังทางใจให้เกิดขึ้น กับสมาชิกในค่าย
จุดประสงค์ ที่สร้างพิธีเทียนนี้ขึ้น ได้แก่
๑.เสริมพลังทางใจให้ผู้เข้าค่ายมีความรัก ความเมตตา ต่อกันและกัน หรือ ต่อตนเองและผู้อื่น
๒.เพื่อปลุกความคิดและจิตสำนึกรักษ์และความหวงแหนให้ออกมาจากตัวของผู้เข้าค่ายมากยิ่งขึ้น
๓.เพื่อเชื่อมโยงอารมณ์ประทับใจสู่กระบวนการเรียนรู้อื่นๆ
สิ่งที่พิธีเทียนเน้น คือ กระบวนการทางใจ เป็นการหลอมรวมใจทุกคนเข้าด้วยกัน ด้วยจุดปนะสงค์อย่างเดียวกัน โดยกระบวนการทางใจต้องเป็นไปในด้านบวก เพื่อเป็นแรงเสริมที่สร้างคุณค่าต่อใจของผู้เข้าร่วมให้เป็นไปตามหลักจริยธรรมอันดีงาม

กิจกรรมพิธีเทียนในลักษณะเสริมใจ มีกระบวนการสำคัญ ได้แก่
๑.การสร้างบรรยากาศความรู้สึกดีๆระหว่าง เพื่อนกับเพื่อน พี่กับน้อง ศิษย์กับครู โดยเน้นพลังบวก
๒.การสร้างบรรยากาศ ความกล้า ความเชื่อ ความซื่อสัตย์ เเละความปลอดภัย ในระหว่างการเดินทาง
๓.การสร้างบรรยากาศความรู้สึกยินดีเเละพลังบวกระหว่างกันเเละกัน เช่น การร้องเพลง การอ่านบทกวี หรือ อื่นๆ
๔.การจบด้วยความปีติ โดยมิใช่การร้องไห้อย่างเดียว เเต่เป็นความจริงใจ จากใจสู่ใจแบบไม่ให้จม
๕.ใช้กระบวนการฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening)

ข้อควรระวัง ในการสร้างพิธีเทียน
๑.การสร้างบรรยากาศเป็นลบ การกดดัน การว๊าก หรือ การทำให้กลัว เป็นบรรยากาศที่ไม่เอื้อต่อการเรียนรู้ เพราะเด็กรับสภาวะอารมณ์ไม่ทัน ปรับใจไม่ทัน ทำให้ขาดความชัดเจนในตัวกรับวนการกับจุดประสงค์ที่ไม่สอดรับกันเเละกัน
๒.ระบบพลังบวกเกินไป เด็กจะไม่มีความเชื่อ ความกล้า เเละความซื่อสัตย์ ต้องเสริมพลังลบเข้าไปด้วยกัน "ลบพอกระตุ้น เน้นบวกเสริมใจ"
๓.ระยะเวลาเเละระยะทาง เป็นตัวกำหนดใจ ต้องไม่มากเกินไป เพราะอารมณ์เด็กจะออกจากกระบวนการ เเละไม่ยาวเกินไป เพราะเด็กจะลำบาก อ่อนล้า เเต่ทั้งระยะเวลาเเละทางเดินต้องพอดีกัน
๔.การจมเเบบร้องไห้ เเบบจมกับอารมรณ์ไม่ใช่คำตอบ เเต่คำตอบของกิจกรรมนี้ คือ ทุกคนรู้สึกปีติยินดี มีพลังใจก้าวเดินต่อไป
๕.ระบบความเชื่อ ความคิด ของพี่กับน้องอาจต่างกัน ซึ่งควรเน้นที่พลังบวกเป็นสำคัญ เพราะพลังลบเป็นลักษณะของปัจเจกบุคคลของตัวพี่เอง

ผลลัพธ์ที่ต้องการ จากพิธีเทียน
๑.พลังทางใจของน้องๆที่พร้อมเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนงานในระดับของพี่ๆ
๒.ความสัมพันธ์อันดีระหว่างพี่กับน้อง หรือเพื่อนกับเพื่อน ในการทำงาน
๓.การปลูกฝังให้เกิดความรู้ รัก สามัคคี ในหมู่คณะต่อสถาบันที่ตนดำรงอยู่ เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 604705เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2016 22:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2016 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังค่ะ เสริมพลังบวก

มาเยี่ยม กิจกรรม ที่ดีดี มีประโยชน์ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท