​โครงการพัฒนาผู้นำนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน 2559)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ

วันนี้เข้าสู่ช่วงที่ 7 ของการเรียนรู้สำหรับห้องเรียนผู้นำของมหาวิทยาลัยทักษิณ ผมขอเรียนว่า "TSU Leader Class" ซึ่งในช่วง 7 วันนี้ เราจะเน้นเรื่องกรณีศึกษา.. ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และ SCG รวมถึงการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเรียนรู้ร่วมกันในช่วงนี้ ลูกศิษย์ของผมจะได้รับมุมมองที่เป็นประโยชน์มาปรับใช้กับการพัฒนาตนเอง องค์กร และสังคมของเรา

ผมขอใช้ Blog นี้ เป็นคลังความรู้สำหรับกิจกรรมในช่วงที่ 7 ของเราครับ

7 เมษายน 2559

ศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

กล่าวต้อนรับ แนะนำสภาพแวดล้อมโดยรวมของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และบรรยายงานด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาองค์กร และเทคโนโลยีในด้านการเรียนการสอนและการบริหารจัดการ

โดย ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ

รศ.ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

พื้นที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิตมีลักษณะยาวเหมือนเส้นก๋วยเตี๋ยว มีที่ดินข้ามทางรถไฟมาแล้วโดยเชื่อมกับถนนสายหลักซึ่งไม่เกินปี 2565 จะกลายเป็นถนน 4 เลนที่จะไปถึงสถานีได้ ในปี 2564 จะมีรถไฟฟ้าสายสีแดงที่ด้านหลังมหาวิทยาลัย

ในคณะจากมหาวิทยาลัยทักษิณที่ได้มาศึกษาดูงานครั้งนี้ ก็ได้รู้จักหลายท่านเพราะเคยได้เรียนร่วมกันมา ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพยินดีเป็นเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งสองมหาวิทยาลัย

วีดิทัศน์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพจุดประกายความสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ มีสิ่งแวดล้อมเตรียมพร้อมพัฒนาความคิด เปิดรับทุกจินตนาการ มีอุปกรณ์การเรียนทันสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิก

หลักสูตรสร้างสรรค์ต่อยอดทุกความคิด พัฒนาทักษะ สร้างความโดดเด่น ความแตกต่างเป็นพื้นฐานก้าวไปสู่ความสำเร็จ เมื่อมีความคิด มหาวิทยาลัยให้โอกาสสร้างสรรค์ ไม่เน้นแค่ในหนังสือ เตรียมพร้อมเป็นมืออาชีพ ค้นพบโลกที่แตกต่าง ความฝันและความสำเร็จกลายเป็นโลกเดียวกัน มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอบคุณทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่กรุณาต้อนรับคณะจากมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยเฉพาะท่านรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพซึ่งเป็นวิศวกรมาดูแลด้านการบริหาร ถือเป็นตัวอย่างของคนที่เรียนมาทางวิทยาศาสตร์แต่มีความเข้าใจด้านการบริหารจัดการ

ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ อยากให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทักษิณแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์รู้จักกับผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือ นายสุรัตน์ โอสถานนุเคราะห์ ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นคนที่มุ่งมั่นมาก มีที่ดินที่หัวหิน ก็ได้นำนักเรียนโรงเรียนเทพศิรินทร์ไปฝึกงานที่นั่น

เมื่อ 30 ปีที่แล้ว ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ได้มาเปิดหลักสูตร MBA ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นครั้งแรก มหาวิทยาลัยเอกชนในปัจจุบันนี้ได้มีบทบาทเทียบเคียงกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของรัฐบาลด้วย อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณได้ไปค้นพบศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เอง และทราบว่า ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ทำงานเรื่องการพัฒนาทุนมนุษย์มาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานและช่วยงานมหาวิทยาลัยกรุงเทพด้วย

หลักสูตรนี้ทำให้ได้สร้างศักยภาพคนเกือบ 40 คน แต่ละคนเป็นคณบดีและอาจารย์รุ่นใหม่ หลักสูตรนี้เน้นภาวะผู้นำแต่ละคน เน้นการแลกเปลี่ยนความรู้ จุดประกาย สร้างเครือข่าย

หลังจากที่ไปทำ CSR ให้ชุมชนที่จังหวัดพัทลุง (Community Base) ครั้งนี้มาดูงานที่กรุงเทพฯ ถือเป็น (Urban Base)

มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความก้าวหน้า ทันสมัย ได้ทราบจากรองอธิการบดีและผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพแล้วว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่ได้งบประมาณแผ่นดิน แต่ก็ต้องอยู่รอด ตอนน้ำท่วม ทางมหาวิทยาลัยก็เสียไปพันกว่าล้านบาท

ก่อนจบหลักสูตร ก็อาจจะผนึกกำลังกันเป็น Flagship ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์มีหน้าที่จุดประกายให้ก้าวไปสู่ที่เป็นไปไม่ได้ให้กลายเป็นจริง บรรยากาศมหาวิทยาลัยกรุงเทพมี green learning environment มีต้นไม้และการออกแบบที่สวยงาม ในอนาคต มหาวิทยาลัยทักษิณควรจัด green learning environment

ขอบคุณรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และผู้บริหารเพชร โอสถานุเคราะห์ซึ่ง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์รู้จักดี ในอนาคตข้างหน้า มหาวิทยาลัยทักษิณและมหาวิทยาลัยกรุงเทพควรมีโครงการร่วมกัน

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณ

โครงการนี้เป็นโครงการแรกของมหาวิทยาลัยทักษิณ ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารหรือโครงการเตรียมความพร้อมผู้นำในอนาคต

เพราะฉะนั้นวัตถุประสงค์หลักในการจัดโครงการคือเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร ผู้บริหารแต่ละท่านก็มีความรู้แล้ว อยากให้แต่ละท่านได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มีประสบการณ์จริง และเตรียม Successor หรือผู้ที่จะมารับตำแหน่งผู้บริหารในอนาคต ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการเตรียมความพร้อมผู้บริหาร บางท่านจึงอาจจะไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไร ท่านผู้บริหารที่ทางมหาวิทยาลัยเตรียมไว้บางท่านอาจะไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่งขึ้นมาก็ได้ เป็นที่ระบบการสรรหา แต่คาดหวังว่า ผู้บริหารในอนาคตที่ได้เตรียมความพร้อมไว้จะได้มีโอกาสมาช่วยมหาวิทยาลัย แม้จะไม่ได้เป็นผู้บริหารอย่างเป็นทางการ แต่อาจจะเป็นแกนนำที่ช่วยกันพัฒนาขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ดึงประชาคมส่วนอื่นมาช่วยพัฒนามหาวิทยาลัย

คณะจากมหาวิทยาลัยทักษิณที่เดินทางมาศึกษาดูงานประกอบด้วย รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ อาจารย์รุ่นใหม่ระดับปริญญาเอก

การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นโอกาสอันดีที่ได้เลือกมาที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเพราะต้องการทราบว่าทำอย่างไรทางมหาวิทยาลัยหาเงินเองแล้วอยู่ได้แบบมีศักยภาพการแข่งขัน เป็นเรื่องน่าสนใจ ประกอบกับครั้งที่ผ่านมา รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพได้ไปแบ่งปันประสบการณ์การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สิ่งที่น่าสนใจคือสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยม แต่พยายามสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ได้น่าสนใจมาก ครั้งนี้จึงได้มีโอกาสมาเยี่ยมชม

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์เคยมาศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพเมื่อปี 2528 ซึ่งทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพสร้างขึ้นเมื่อปี 2527 เห็น สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจุดเด่นคือการใช้ไอทีในการเรียนการสอน

การศึกษาดูงานครั้งนี้เป็นแค่จุดเริ่มต้น ในโอกาสต่อไปคงจะมีความร่วมมือกันต่อไป

ขอขอบคุณศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์และมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ถือเป็นอัตลักษณ์ของนักศึกษาและเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยกรุงเทพทั้งสองวิทยาเขตมีบุคลากรที่เป็นพนักงานประจำและ Outsource รวมเกือบ 2,000 คน

ในการบริหารจัดการ มีการสื่อสารเรื่องนี้ไปยังบุคลากรทุกระดับเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ

ในส่วนมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ ตั้งแต่ปี 2558-2559 คำว่า “มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์” (Creative University) คิดแบบสร้างสรรค์ คิดแบบเจ้าของ (Entrepreneurship) ดังนั้น Concept และTheme ของกลยุทธ์ในแต่ละปีสำคัญมาก

มหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นอันดับที่ 9 ของประเทศด้าน Green University แต่เป็นอันดับที่ 1 Green Private University

มหาวิทยาลัยกรุงเทพสื่อสารกับนักศึกษาด้วยสภาพแวดล้อม สีสัน ความแปลกใหม่ ตัวอย่างเช่น ห้องประชุมที่ใช้อยู่นี้ ข้างล่างเป็นสีเขียว ข้างบนเป็นก้อนเมฆสีขาว แสดงถึงความคิด เป็นห้องที่ใช้สอนวิชา MICE (วิชาการบริหารจัดการห้องประชุม) ดำเนินการแบบบริหารจัดการร่วม นอกจากจะเป็นห้องเรียนแล้ว ก็ยังเป็นห้องประชุมของมหาวิทยาลัย และก็เปิดให้บุคคลภายนอกมาเช่าด้วย ค่าไฟฟ้าประมาณ 30,000 บาทเศษ ทางมหาวิทยาลัยหารายได้จากพื้นที่ทุกตารางนิ้ว

ห้องประชุมที่ใช้นี้วันละ ขายมาเสริมหลักสูตร

ค่านิยม (Core Values) ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพประกอบด้วย

  • Creativity
  • Responsibility
  • Excellence
  • Agility
  • Trust
  • Internationalization
  • Vision
  • Entrepreneurship Spirit

ค่านิยมของมหาวิทยาลัยมีการสื่อสารไปยังบุคลากรทั่วทั้งมหาวิทยาลัยด้วยความเข้มข้นที่แตกต่าง

กันไปในแต่ละระดับ แต่ละปีจะเน้นค่านิยมบางอย่างไม่เหมือนกัน เช่น ในปี 2558-2559 เน้น Creativity+Excellence ทุกคนในมหาวิทยาลัยต้องปรับตัวเพื่อให้อยู่ได้อย่างมีคุณภาพ

ในปี 2559 มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีอายุ 54 ปี อาจารย์สุรัตน์และอาจารย์ปองทิพย์เฝ้ามองทุกวันเพราะอัฐิของทั้งสองท่านเก็บไว้ที่มหาวิทยาลัย

แผนกลยุทธ์ใช้ Alignment ทั้งองค์กร มี 6 ยุทธศาสตร์สำคัญขึ้นอยู่กับบุคลากรว่าอยู่ฝ่ายใดก็รับผิดชอบดูแลในยุทธศาสตร์นั้น

การทำงานของมหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่เป็น silo แต่ทำงานเป็น co-partner กัน ผู้บริหารมาจากหลายคณะ

หัวใจสำคัญคือ อธิการบดีและผู้อำนวยการขับเคลื่อนองค์กร ส่วนรองอธิการบดีทำหน้าที่ผลักดันและสื่อสารระหว่างคณบดีกับผู้อำนวยการ

โครงสร้างองค์กรมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ประกอบด้วย

1.คณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ดูแลบางเรื่องที่สำคัญ เช่น การตลาด สิ่งที่กระทบจากภายนอก

2.คณะกรรมการตรวจสอบแยกอีกชุด

3.คณะกรรมการที่ปรึกษาอธิการบดี ที่ปรึกษาอธิการบดี คนที่สำคัญคือ ศ.ดร.พจน์ สะเพียรชัย

4.สำนักกลยุทธ์ภายใต้อธิการบดี

5.รองอธิการบดีอาวุโส

6.รองอธิการบดี

6.1 รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ ภายใต้มีคณะวิชา มีหน่วยงานสนับสนุนคณะวิชาที่เป็นวิชาการ ดูแลลูกค้า สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า

6.2 รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ดูแลเรื่องสินทรัพย์ (Assets) ต่างๆ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากสินทรัพย์ของมหาวิทยาลัย มี KPIs รายได้แต่ละปี ดูแลเรื่องการเช่า ติดป้ายโฆษณา ธุรกิจ และรายได้

ดูแลเรื่อง Master Plan ของมหาวิทยาลัยนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูงและการใช้พื้นที่ทุกตารางนิ้ว ทำให้ลูกค้าเรียนรู้จากมหาวิทยาลัยด้วยให้ใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยให้ถูกประเภทและคุ้ม ดูแลเรื่องภูมิทัศน์ หอพัก สิ่งที่มหาวิทยาลัยลงทุน เช่น หอพักในเมือง ซึ่งมหาวิทยาลัยซื้อเป็นอพาร์ตเม้นท์ในเมืองใหญ่ หอพักของมหาวิทยาลัยมีประมาณ 100 กว่าห้อง มีห้างสรรพสินค้าด้านหน้ามหาวิทยาลัย (Virgin Village และ Virgin Mall) และฝ่ายบริหารดูแล HR ทั้งระบบด้วยตั้งแต่พนักงาน Outsource พนักงานรักษาความปลอดภัย

6.3 รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ดูแลการเปิดตลาดต่างประเทศ การตลาดมหาวิทยาลัย

6.4 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการภายนอก

6.5 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการพิเศษ

6.6 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

โดยหลักใหญ่ การบริหารจัดการก็เป็นวิชาการและบริหาร

สภาพห้องเรียน ใช้งบลงทุนสูงมาก เพราะไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเพื่อการเรียนการสอน แต่ใช้เพื่อหล่อหลอมความคิดสร้างสรรค์ เวลาที่ไม่ได้ใช้เรียนก็หารายได้ด้วยการให้เช่าในหลายกิจกรรม เช่น ถ่ายโฆษณา จัดประชุม จัดงานแต่งงาน มีฝ่ายขายโดยตรงขึ้นกับรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร แต่จัดระบบไม่ให้กระทบการเรียนการสอน

บางชั้นเรียน เช่น นิเทศศาสตร์เป็นคณะใหญ่และคณะ Film ที่เป็นศิลปะภาพยนตร์ด้วย บางครั้ง มีกองถ่ายมามาก ทางมหาวิทยาลัยก็ต้องดูแลตั้งแต่ทางเข้า การจัดการจราจร ห้องพัก ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าและห้องอื่นๆ คณะ film ก็มีโอกาสได้เรียนรู้จากของจริงด้วย จึงได้ขออนุญาตให้กองถ่ายให้นักศึกษาได้เรียนรู้ด้วย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย และเป็น connection ต่อกัน เป็นส่วนพื้นที่มหาวิทยาลัยที่สร้างขึ้นไม่ใช่ เพื่อ lecture-based อย่างเดียว

คนของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมี Log in ใช้ได้ไม่เกินคนละ 3 เครื่อง

โปรแกรมที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพใช้อยู่มีการบริหารจัดการที่เป็นส่วนกลาง มีส่วนที่เป็นห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็น Software House บางที่โครงการใหญ่มากก็มีการ Outsource โปรแกรม ส่วนโปรแกรมเล็กก็สามารถทำเองได้

1.โปรแกรมคอมพิวเตอร์บริหารจัดการห้องทั้งหมดของมหาวิทยาลัยที่ไม่ใช่ห้องเรียนสี่เหลี่ยม ส่วนห้องแล็บเฉพาะก็ใช้อีกโปรแกรมหนึ่ง ในการใช้ เมื่อนักศึกษาลงทะเบียน ก็จะไปคิดจองห้องล่วงหน้า นี่คือระบบห้องเรียน ส่วนห้องอื่นๆที่มีจำนวนมากมาย ถ้าคณะนำห้องมาแบ่งปันให้ส่วนกลางใช้ Unit Cost ก็จะหายไป จาก 100% ถ้าใช้ 20% ก็จะเหลือ 20% ส่วนอีก 80% ส่วนกลางจะรับผิดชอบในการดูแลซ่อม

ระบบห้องเรียนก็มี Code ในการจอง ทุกคนเข้าไปจองได้ สามารถเลือกอุปกรณ์ประกอบด้วยได้ รวมถึงรูปแบบการจัดห้องแล้ว ระบบส่งตรงไป BG Center เป็นหน่วยรับเรื่อง แล้วใช้โปรแกรมซีด้ากระจายงาน มีพนักงาน 10 คนจัดโต๊ะทั้งมหาวิทยาลัย มีรถมินิบัสขนอุปกรณ์ 2 ตัว แล้วมาจัดตามความต้องการที่ระบุไว้ มีใบเสนอราคามาพร้อม มีแบ่งระดับการบริหารจัดการสำหรับเลือกราคาและรูปแบบ

มีการ Outsource แม่บ้านบางส่วน รปภ.ทั้งระบบ วิศวกร แต่ถ้าเป็นส่วนบริหารจะใช้แม่บ้านเป็นคนของมหาวิทยาลัย แต่มีการบริหารจัดการร่วมกัน

การบริหารจัดการการใช้ห้องผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทำให้ทราบการใช้ห้อง ถ้าขอใช้ห้อง แล้วไม่มีการใช้งานจริง BG Center จะส่งอีเมลถึงผู้ขอใช้ห้องเพื่อสอบถามเกี่ยวกับเหตุผลการไม่ใช้ห้องแล้วสำเนารายงานโดยตรงไปยังผู้บริหารระดับสูงและรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะเน้น Zero loss ไม่ใช่ลด cost

2. Employee Management System (EMS) เป็นระบบพิจารณาโอทีทั้งหมด ระบบจะถูกรายงานผ่านซีด้าอยู่แล้ว ทุกวันที่ 17 ของเดือน ทั้งระบบต้องกรอกข้อมูลและอนุมัติให้เสร็จสิ้น มิฉะนั้นจะไม่มีการจ่ายเงิน ผู้อำนวยการต้องทำงานหนักใช้ในการโปรแกรมนี้ เพราะมีงานทุกอย่างที่ต้องจ่าย ทั้งที่สำรองจ่ายด้วยเงินส่วนตัวก่อนและจ่ายด้วยเงินโครงการ เช่น คณะหนึ่งจัดงาน มีการทำงานล่วงเวลา แต่ต้องไปนำงบมาจากอีกคณะหนึ่ง จะมีแบบฟอร์มให้กรอกในโปรแกรมนี้ ในการกรอกโปรแกรม จะมีการลงเวลาทำงานตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดภารกิจ งานที่ทำ หมายเหตุ มีการตรวจสอบสถานการณ์ทำงานล่วงเวลา มหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่มีสลิปกระดาษมานานแล้ว แต่ติดตามเรื่องการจ่ายเงินได้ ไม่มีปัญหาการจ่ายเงินเดือนไม่ตรงเวลา

3. Management Education Information System (MEIS) เป็นการบริหารจัดการการจัดซื้อ เวลาที่จะขอรับการอนุมัติในการซื้อพัสดุอุปกรณ์ ใช้งบส่วนใดในการซื้อ จะมีใบขอซื้อขึ้นมาตามระดับ (Level) ถ้าเกิน 5 วัน ระบบจะลบใบขอซื้อโดยอัตโนมัติ ต้องเสนอเข้ามาใหม่ ต้องใช้วิธีตั้ง PBN แล้วเข้าระบบของมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นต้องดูทุกวันว่าใครขอซื้ออะไร รองอธิการบดีฝ่ายบริหารจะอนุมัติกรณีมียอด 5 แสนบาทขึ้นไป ผู้ช่วยอธิการบดีจะสามารถอนุมัติยอดได้ 2 แสนบาท ผู้อำนวยการสามารถอนุมัติยอดได้ 1 แสนบาท แล้วจึงดำเนินการจัดซื้อได้ บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัยกรุงเทพจะไม่ถือเงิน คนที่ติดต่อประสานกับกับบริษัทคือการคลังและจัดซื้อเท่านั้น ผู้บริหารต้องตรวจสอบบริษัท รู้ยอดเงินเมื่อซื้อแล้ว

นอกจากนี้ มีการดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกพัสดุ มีการระบุชนิดพัสดุและจำนวน มีการตรวจสอบสถานะว่าใบเบิกอยู่ที่ระดับใด และสุดท้ายคือมีรายงานค่าใช้จ่าย ทำให้ทราบแต่ละฝ่ายใช้เท่าไร มีการแปรงบหรือโอนงบจากที่ใด

4. Human Resource Information System (HRIS) มีข้อมูลบุคลากร ประกอบด้วยตำแหน่ง อายุงาน ประวัติการทำงาน การประเมินผลงาน สวัสดิการ เอกสารสัญญาจ้าง ใบรับรองการทำงาน บุคลากรทุกคนเข้าไปได้

ทุกวันนี้ต้องเซ็นเอกสารในแฟ้มมาก บางเรื่องก็ต้องใช้เอกสารอยู่ เอกสารเข้าที่ฝ่ายบริหารทั้งระบบ

รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ปัจจุบัน ใช้ E-learning มากขึ้น มีการใช้ Open Source และพัฒนาระบบเองเชื่อมกับระบบตัดเกรด ระบบการลงทะเบียน

มหาวิทยาลัยกรุงเทพบริหารงานแบบรวมศูนย์ เช่นคณะวิศวกรรมศาสตร์มีเฉพาะอาจารย์และนักศึกษา ทรัพยากรอยู่ส่วนกลางหมด อาจารย์จะมีชั่วโมงสอน 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ถ้าสอนเกิน ก็จะเป็น Extra bonus จะมีระบบจัดการจำนวนชั่วโมงที่สอนเพิ่ม

ระบบ Learning Management System ประกอบด้วย

1. ODC (Online Digital Content) ระบบนี้ช่วยให้อาจารย์นำ lecture ที่ถ่ายวีดีโอไว้ ให้ไปไว้บนเว็บให้นักศึกษาดาวน์โหลด

2. LMS (Learning Management System) อาจารย์เข้าไปบริหารเนื้อหาการสอน นักศึกษาดาวน์โหลดได้ มี Quiz มีการให้การบ้าน

เนื่องจากข้อจำกัดระบบในอดีต ทำให้ไม่สามารถใช้บนจอโทรศัพท์มือถือได้ ทำให้ต้องพัฒนาระบบ Open Courseware เป็น Learning Management System ที่มีความฉลาดเพิ่มขึ้น มีการวิเคราะห์ผู้เรียน เหมือน Coursera มีการบันทึกการเข้าชมวีดีโอการสอน นักศึกษาสามารถ Log in มาได้ทาง Facebook และ Instagram มีบันทึกเนื้อหาการเรียนแต่ละครั้ง เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมให้นักศึกษาสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ นักศึกษาสามารถเข้าไปดูวิชาที่ลงทะเบียนเรียน มีคำอธิบายรายวิชา Course Outline มีไฟล์วีดิโอ เนื้อหาบรรยาย ในการถ่ายทำวีดิโอการสอนของอาจารย์ ต้องบอกอาจารย์ให้แบ่งเนื้อหาเป็นช่วงสั้นๆเพราะนักศึกษา focus ได้ช่วงสั้นๆ มีการบันทึกความก้าวหน้าการเรียนของนักศึกษา ว่า ได้ทำการบ้านหรือแบบฝึกหัดอะไรบ้างเชื่อมโยงกับระบบ Grading Online System อาจารย์ก็จะมาพิจารณาคะแนน

ในส่วนที่เป็นหน้าของอาจารย์ แสดงรายชื่อวิชาที่สอน อาจารย์สามารถเพิ่มข้อมูลและเนื้อหาบรรยายได้ มีสถิติเกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา ทำให้อาจารย์ปรับการสอนได้ วิเคราะห์ผลคะแนนที่นักศึกษาทำได้ เพื่อสามารถเสริมในส่วนที่ขาด อาจารย์พิเศษก็สามารถเข้ามากรอกคะแนนได้

Aculearn มีเครื่องมือใช้บันทึกวีดิโอผู้สอน นักศึกษาอาจเลือกดูสไลด์พร้อมการบรรยายของอาจารย์ได้ มีรายชื่อแสดงว่าอาจารย์ท่านใดบันทึกวีดีโอไว้

URSA เป็นระบบที่อาจารย์ที่ปรึกษาใช้ติดตามดูพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาได้ นักศึกษาสามารถดูการลงทะเบียนรายวิชาได้ด้วย มีการให้นักศึกษามาประเมินการสอนด้วย คณบดีจะทราบผลการประเมิน แต่ผู้สอนไม่ทราบ มีระบบติดตามการทำกิจกรรมของนักศึกษา นักศึกษาต้องทำกิจกรรมให้ครบจึงจะจบ ทางมหาวิทยาลัยสามารถเข้ามาดูความคุ้มค่าของการจัดกิจกรรมจากจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม แล้ววางแผนว่าจะจัดกิจกรรมในปีต่อไปหรือไม่

ช่วงคำถาม

1. ในช่วงการเปลี่ยนแปลงจากระบบเดิมมาเป็นระบบปัจจุบัน อาจจะมีแรงต้านจากอาจารย์และผู้บริหาร มีวิธีสื่อสารอย่างไรไม่ให้เกิดแรงต้าน

คำตอบโดย รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ขอยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงจากระบบ Learning Management System ระบบเก่ามาเป็นระบบปัจจุบัน อาจารย์ต้องนำข้อมูลไปใส่ในระบบใหม่ ทางมหาวิทยาลัยก็จะช่วยเหลือเท่าที่สามารถทำได้ โดยยังไม่ปิดระบบเก่า ต้องชี้ให้เห็นข้อดีในระบบใหม่ เช่น ไม่ต้องทำงานซ้ำซ้อน ทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้น และจะพัฒนาระบบให้ดีขึ้น

2. มีวิธีอย่างไรในการบริหารจัดการคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลง

คำตอบโดย รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ในด้านวิธีการบริหารจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะมี KPIs รายบุคคลที่ถูกมอบหมายให้ตามสายงาน ในขั้นสุดท้าย ถ้าไม่ทำ HR จะดำเนินการต่อ

คำตอบโดย ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ค่อยๆเปลี่ยน แต่ที่ชัดเจนคืออธิการบดี ในรอบ 50 ปีมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจำนวนอธิการบดีไม่มาก ในเรื่องบริหารจัดการ ถือว่ามีความเข้าใจตรงกัน มีการเตรียมผู้สืบทอดตำแหน่งบริหาร (Successor) มีการสื่อสารเรื่อง Change Alignment ตั้งแต่ระดับบน มีฝ่ายสนับสนุนองค์กรที่ทำงานร่วมด้วย สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าอยากให้มหาวิทยาลัยอยู่อย่างยั่งยืน ต้องร่วมมือกัน ทุกวันจันทร์ ผู้บริหารต้องประชุมกันเรื่องกลยุทธ์ เป็นการประชุมลับ มีการบันทึกเป็น KM ในผลการตัดสินใจ ระดับผู้อำนวยการและรองอธิการบดีก็รับเรื่องลงมาถ่ายทอดไปที่คณบดี ต้องมีการติดตามไปดูการดำเนินกิจกรรม แล้วนำมาประชุมเพื่อหารือว่าจะจัดอย่างไรให้ดีขึ้นในปีถัดไป

3.ช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง จำนวนนักศึกษาต่ำลงหรือไม่ และแก้ปัญหาอย่างไร

คำตอบโดย ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง ปี 2540 อธิการบดีประกาศว่า แม้เศรษฐกิจไม่ดี มหาวิทยาลัยลงทุนต่อเนื่อง ไม่มีการไล่คนออก แต่จ่ายค่าตอบแทนตรงเวลา ทุกคนต้องช่วยกัน นำไปสู่การบริหารจัดการ Cost แผนการประหยัด การเพิ่มประสิทธิภาพงาน

มหาวิทยาลัยกรุงเทพไม่ได้ประสบวิกฤติจำนวนนักศึกษาในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้ง แต่เป็นหลังจากช่วงต้มยำกุ้ง มีการแข่งขันสูง

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีหลักสูตรไม่มาก ทำให้ไม่หวือหวาในการตัดสินใจในการลงทุนการศึกษา

มหาวิทยาลัยกรุงเทพเคยมีช่วงที่ยอดนักศึกษาตก จึงต้องแก้ปัญหาทันทีในตอนนั้น ยอดนักศึกษาเป็นเรื่องสำคัญของฝ่ายพัฒนาธุรกิจ แต่ฝ่ายวิชาการเป็นผู้ขายได้ ให้นักศึกษาเรียนรู้จากประสบการณ์จริง ทำให้นักศึกษาสามารถได้งานซึ่งมีเป้าหมาย 100% แต่ตอนนี้ 98% หรือเป็นผู้ประกอบการได้ ตอนนี้คิดเป็น 22%

ต้องทำให้นักศึกษาพึงพอใจ โดยทางมหาวิทยาลัยต้องจัดพื้นที่สร้างสรรค์ และหารายได้เสริมอย่างไรไม่ให้กระทบ

4. สนใจ Assessment Online และ Courseware เวลาที่อาจารย์จะใส่ content จะมีกระบวนการกลั่นกรอง content อย่างไร และเวลามีนักศึกษามาประเมิน บางครั้งเป็นข้อประเมินที่อาจารย์อาจจะไม่ยอมรับ เพราะบางทีใช้ความรู้สึก บางประเด็นไม่เกี่ยวข้องการสอน มีการพิจารณาในการออกแบบอย่างไร

คำตอบโดย รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การประเมินแบ่งเป็นส่วนๆ ส่วนแรกเป็น Facility ห้องเรียน อุปกรณ์ ส่วนที่สองเกี่ยวกับคุณภาพการสอนของอาจารย์ ส่วนที่สามเกี่ยวกับผู้เรียน

ส่วนที่คณะและมหาวิทยาลัยรับผิดชอบคือ Facility

ส่วนที่สอง ทางมหาวิทยาลัยจะมองว่าอาจารย์ผู้สอนเป็นอย่างไร ถ้าได้คะแนนไม่ดี ต้องดูสิ่งที่นักศึกษาแสดงความคิดเห็น คณบดีต้องมีการสืบค้นว่ามีคนคิดอย่างนั้นจำนวนเท่าไร อาจจะต้องมีการไปสอบถามนักศึกษาในชั้น

ในเรื่อง Content แบ่งเป็นหลายระดับ

Content ส่วนที่ให้นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนดูได้ อาจารย์สามารถใส่ได้อย่างอิสระ อีกส่วนหนึ่งคือวิชาที่เรียนร่วมกันในหลายคณะจะมีคณะกรรมการมากลั่นกรองเนื้อหา

5. มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกฎหมาย บทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของฝ่ายกฎหมายของมหาวิทยาลัยกรุงเทพคืออะไร

คำตอบโดย ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มีผู้ช่วยอธิการบดี 2 ท่าน ท่านหนึ่งจบ HR อีกท่าน จบกฎหมาย ผู้ช่วยอธิการบดีท่านที่จบกฎหมาย ทำงานร่วมกับทีมนิติกร 3 คนดูสัญญาทุกประเภทของมหาวิทยาลัย ดูแลผลประโยชน์ทั่วไป ดูแลผลประโยชน์ เป็นผู้แทนไปศาล ดูแล Case นักศึกษา

6.มหาวิทยาลัยกรุงเทพต้องเลี้ยงตัวเอง อยากทราบวิธีหารายได้ จัดสรรรายได้และการควบคุมระหว่างหน่วยงาน

คำตอบโดย ดร.สุนทรี รัตภาสกร รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

รายได้ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพมาจาก

1. Fee เป็นรายได้หลัก ทุกฝ่ายรับผิดชอบร่วมกัน

2. บริการวิชาการ กระจายเป็นส่วนไป

3. วิจัย

4. อื่นๆ Asset ทั้งหมดอยู่ที่ฝ่ายบริหาร

รายได้จากวิจัยและวิชาการ ไม่ใช่รายได้หลัก

หลักการคือต้องคุ้มค่า หอพักจะรับนักศึกษาเข้ามา 1 มิถุนายน 2559 ตอนนี้ ยอดจองเต็มแล้ว หอพักช่วยเรื่องการตลาดได้ เมื่อนักศึกษามาสมัคร มักร้องเรียนว่า ไม่มีหอพัก ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเคยส่งกรรมการไปตรวจดูสภาพหอพักบริเวณใกล้คียงแต่ก็ทำได้ไม่มาก ต้องมีหอพักให้ผู้ปกครองสบายใจ ต้องมีประกันยอด นำไปสู่การสร้างรายได้

ส่วนร้านค้า มีที่ให้เช่า ราคาไม่แพงมาก บริหารจัดการโดยฝ่ายบริหาร

การกระจายงบประมาณ ขึ้นอยู่กับได้เงินเท่าไร มียอดประมาณการณ์ ภายใต้งบแต่ละปี มีสัดส่วนว่าเข้ากองทุนเท่าไร ตึกสร้างด้วยราคาแพง เพราะมีดีไซน์มาก ใช้บริษัทเดียวกันสร้างทั้งหมด จึงสอดคล้องกัน มีกรรมการคุมแบรนด์คืออาจารย์เพชร

เงินมี 2 ส่วนคือ

1. Routine เช่นเงินเดือน

2. กลยุทธ์ ทุกหน่วยต้องเสนอโครงการ ทุกโครงการต้องคุ้มทุน

7. แนวคิดในการบริหารความสมดุลการวิจัยและการสอนของอาจารย์ รวมทั้งความก้าวหน้าทางวิชาการเป็นอย่างไร

คำตอบโดย รศ. ดร.ณัฐภพ นิ่มปิติวัน ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อาจารย์สอนสัปดาห์ละ 12 ชั่วโมง วิจัยสามารถนำมาประเมินผลงานประจำปี สมศ.เคยผลักดันให้ทำวิจัย แต่อาจารย์บางท่านอาจทำงานอื่นได้ดีกว่า ก็อาจจะมอบหมายให้ทำงานอื่น แต่คณบดีต้องบริหารไม่ให้วิจัยตกลง ตำแหน่งวิชาการ นำวิจัยไปใช้ขอตำแหน่งได้

แบ่งการประเมินเป็น งานสอน งานวิจัยและการมีส่วนร่วมในคณะในงานบริการวิชาการ ทุกคนเห็นว่าแบบนี้ยุติธรรม มีการส่งเสริมวิจัยโดยมีรางวัลตอบแทนให้ ลดภาระการสอนลงโดยคณบดีต้องเสนอไปยังรองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เพราะต้องนำเงินไปจ้างอาจารย์สอนให้ balance กับวิจัยได้


การเยี่ยมชมสถานที่และห้องปฏิบัติการของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต

การเยี่ยมชม The Cabin (ห้องปฏิบัติการการบิน)

The Cabin (ห้องปฏิบัติการการบิน) เป็นห้องเรียนออกแบบเป็นเครื่องบินจำลอง 787 สำหรับนักศึกษาเรียน In-flight Service เป็นเรื่องบินที่เบา กว้างและให้ความบันเทิงได้ดี มีสีสันเปลี่ยนได้ตามบรรยากาศ สีส้มทำให้เจริญอาหาร สีฟ้าทำให้รู้สึกผ่อนคลาย ตอนเช้าเป็นสีเขียว เบาะปรับนวดได้

มี Cockpit จำลองทำให้รู้จักที่นั่งของกัปตันและของใช้บริการบนเครื่องบินเป็นของจริง เช่น อุปกรณ์เกี่ยวกับอาหารและอาหารมาจาก Bangkok Airways เพื่อให้นักศึกษามีความคุ้นเคยกับการทำงาน

วิชาที่ใช้ห้องนี้คือ บริการบนเครื่องบิน ใช้เวลาเรียน 14 สัปดาห์ แบ่งเป็นเรียนภาคทฤษฎี 7 สัปดาห์ เรียนภาคปฏิบัติ 7 สัปดาห์

เน้น 2S คือ

1. Safety ความปลอดภัยเป็นหัวใจของพนักงานต้อนรับ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้นักศึกษามีความละเอียดรอบคอบและระมัดระวังมากขึ้น

2. Service การบริการอาหารเครื่องดื่มจริง ทำให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตัวต่อผู้โดยสารแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมอย่างแท้จริง

มีการประเมินผลโดยการสอบปลายภาค มีการสอบภาคปฏิบัติ

อาจารย์จะนำประสบการณ์จริงมาสอนให้นักศึกษาเรียนรู้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

นักศึกษาจะได้สาธิตการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยให้แก่ผู้โดยสาร

ที่ Personal Screen จะเน้นการเรียน 360 องศา ในขณะที่นักศึกษาแสดงเป็นผู้โดยสาร ก็จะได้เห็นเพื่อนนักศึกษาปฏิบัติงานว่ามีข้อผิดพลาดอย่างไร เมื่อมีการหมุนเวียนหน้าที่ในสัปดาห์ต่อไปจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาด

การเยี่ยมชมอาคารกิจกรรม

อาคารกิจกรรมเกิดจากการบูรณะอาคารเก่า มีห้องประชุมสโมสรอยู่ชั้นบน

ในช่วงการเยี่ยมชมอาคารกิจกรรม มีการซ้อมเชียร์ลีดเดอร์ อาจารย์ผู้ฝึกซ้อมทีมเชียร์ลีดเดอร์กล่าวว่า ทีมเชียร์ลีดเดอร์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพเป็นแชมป์ 2 สมัย มีรุ่นพี่ที่เรียนจบไปแล้วและรุ่นพี่ปัจจุบันมาช่วยฝึกซ้อมรุ่นน้อง ในเรื่องการจัดสรรเวลา จะมีจดหมายรับรองจากทางมหาวิทยาลัยให้แก่นักศึกษาที่เป็นเชียร์ลีดเดอร์เพื่อขออนุญาตใช้เวลาฝึกซ้อม ช่วงเปิดภาคเรียน ก็ซ้อมหลังจากเลิกเรียน นอกจากนี้ก็มีไปแสดงตาม Events ต่างๆ ในการคัดเลือกเชียร์ลีดเดอร์ นักศึกษาที่มีทักษะการแสดงหรือเต้นจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ มีการจัดค่ายอบรมสอนการต่อตัว ตีลังกา แล้วสังเกตว่าใครมีแววที่จะพัฒนาต่อได้

สรุปการศึกษาดูงาน ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ โดย คุณเอ

จุดศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยกรุงเทพคือพิพิธภัณฑ์ถ้วยฯ รูปตึกออกแบบเป็นรูปหนังสือ ข้างบนมีเพชร ถือเป็นสัญลักษณ์เก่าของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ตอนหลังมีการปรับเปลี่ยนเหลือแค่เพชร ตรงตึกนั้นเป็นศูนย์หนังสือ เปิดวันจันทร์ถึงเสาร์ ปิดวันอาทิตย์

ต่อมาเป็นตึกเพชรซึ่งนักศึกษาเรียกว่าตึกหมี มีหมี 3 ตัวคือ หมีแพนด้า หมีโคอาล่า และหมีโพล่า ตึกนี้มีไว้สำหรับให้นักศึกษาอ่านหนังสือ และเป็นศูนย์เจรจาธุรกิจของนักศึกษา

มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการสร้างองค์กรแบบเอกชน คือ ทุกคนที่ทำงานมี KPIs มหาวิทยาลัยส่งเสริม Self-learning และ Learning and Growth ทำให้สามารถปรับตัวได้ทุกยุค

มหาวิทยาลัยมี 64 สาขา คณะนิเทศศาสตร์มีนักศึกษาจำนวนมากที่สุดคือ 8,000 คน จากจำนวนนักศึกษาทั้งหมด 30,000 กว่าคน

ทางมหาวิทยาลัยมีการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ให้นักศึกษา ห้องเรียนทุกห้องที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการใช้งานจริง หมุนเวียนกันไป

บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้รับการยอมรับจากบริษัทเอกชนหลายแห่ง

การบรรยายพิเศษเรื่อง มหาวิทยาลัยทักษิณกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

วีดิโอ

คุณดนัยกล่าวว่า คนที่มีความสุขต้องไม่มีปมด้อย

มนุษย์ต้องคิดว่าเป็นประติมากรรมชิ้นเอกของพ่อแม่ตนเอง

คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ปรัชญาของมหาวิทยาลัยทักษิณคือเพื่อรับใช้สังคม โดนใจมาก

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสีเน้นเรื่องนี้มาก

บทความ พ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา โดยอาจารย์วิทยา ถิฐาพันธ์ เป็นบทความออกมาตรงช่วงปฏิรูปการศึกษา ลูกสาวอาจารย์ท่านนี้ตั้งคำถามเรียนทำไม แต่อาจารย์สอนตามตำรา คุณดนัยก็เป็นเหมือนคนนี้ว่าทำไมต้องเรียนวิชานี้ บางครั้งอาจารย์ก็ตอบไม่ได้ ให้คะแนนดีแก่คนจำเก่ง การศึกษาไทยเน้นให้คนรู้จำแต่ไม่รู้จริง อาจารย์คนนี้ส่งลูกไปเรียนที่ญี่ปุ่น ซึ่งฝึกให้เด็กท้าทายความคิด

คุณดนัยไปเรียนอเมริกา 2 เดือนแรกสู้ไม่ได้ เพราะวิธีและกระบวนการการเรียนการสอนต่างกัน ครูไม่ได้ยืนหน้าห้อง ก่อนเข้าเรียน ครูให้งานล่วงหน้าให้ไปอ่านเตรียมมาหารือกันในชั้น ครูเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย ให้เด็กแสดงความคิดเห็นกัน วิธีนี้ทำให้กระตุ้นอยากเรียน

คุณดนัยมีเพื่อนเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยที่บ่นว่า สอนไปแต่เด็กไม่ฟัง

อาจารย์วิทยา ถิฐาพันธ์แต่งกลอนว่า เด็กที่เรียนได้เกรดสี่โดยการเรียนในระบบแบบไทย ก็ต้องเชื่อครูว่านอนสอนง่าย แต่ถ้าจะได้เกรดสี่ที่ญี่ปุ่น ต้องคิดและตั้งคำถาม

50 ปีที่แล้ว ไทยเจริญกว่าเกาหลีใต้ เพราะตอนนั้นเกาหลีใต้เป็นประเทศยากจนอันดับ 6 ของโลก

ปัจจุบัน เกาหลีใต้เจริญกว่าไทย

ทุกคนตอบคำถามที่เป็นเรื่องจริงได้

จุดต่างคือ ทรัพยากรมนุษย์และคุณธรรม จริยธรรม

การยึดครองตอนนี้ทำโดยใช้วัฒนธรรม เกาหลีวัฒนธรรมเข้มแข็ง หนังเกาหลีเสนอวัฒนธรรมหล่อหลอมให้คนนุ่มนวลขึ้น คนไทยไม่ค่อยให้ความสำคัญวัฒนธรรม

50 ปีที่แล้ว สิงคโปร์เป็นเกาะสลัม เมื่อได้เอกราชจากอังกฤษ ก็คิดจะรวมกับมาเลเซีย แต่มาเลเซียไม่ยอมรับเพราะไม่มีทรัพยากร

สิงคโปร์ใช้เวลาแค่ 1 ชั่วอายุคนนำมาพัฒนาประเทศให้เจริญ

ประเทศที่เจริญไม่ใช่ว่าต้องมีปริญญามาก ปริญญาไม่ใช่ปัญญา

บทสัมภาษณ์ลีกวนยู พัฒนาสิงคโปร์ให้เป็นอันดับต้นประเทศ เคยมองไทยเป็นคู่แข่งของสิงคโปร์ เพราะไทยเคยได้เปรียบ เพราะเป็นศูนย์กลางต่างๆ ภัยพิบัติน้อย ทรัพยากรมาก

คุณดนัยเคยที่ปรึกษาการท่องเที่ยวสิงคโปร์ ทำให้รู้สึกว่า สิงคโปร์สร้างทุกสิ่งไม่มีอะไรที่เป็นธรรมชาติ ทำทุกอย่างให้ชนะ

หลังจากนั้น ลีกวนยู ก็ไม่คิดว่าไทยเป็นคู่แข่งต่อไป ไทยไม่มีโอกาสสู้สิงคโปร์ เพราะคนไทยไม่มีการศึกษา

จากการไปประชุมต่างประเทศ ชาวสิงคโปร์มักแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ถามคำถาม แสดงความเป็นชาวสิงคโปร์ แต่คนไทยไปไหนก็เงียบ ไม่มีตัวตน

ปัจจุบัน ไทยต้องลงไปแข่งกับเมียนมา ลาว กัมพูชา เวียดนาม

รองนายกสมคิดบอกว่า อีก 5 ปีเวียดนามแซงไทย

ตอนนี้ไทยเป็น New Normal กลายเป็นอันดับสุดท้ายของอาเซียนในด้านเศรษฐกิจ ปีนี้เศรษฐกิจติดลบด้วย

ปัจจัยที่ทำให้มาถึงจุดนี้คือ การเมือง ศีลธรรม

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ กล่าวว่า ไทยคิดว่า ASEAN คือ ทรัพย์สินทางปัญญาของไทยที่ลงนามโดยดร.ถนัดคอมันตร์ เป็นมรดกทางการทูตของไทย ยังไม่มีการจดลิขสิทธิ์ เป็นการเคลื่อนไหวที่มีพลัง เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ทำ ก็จะแพ้ และจะไม่มีใครอยากจะเป็นมิตรด้วย เรื่องนี้หมายถึงประเทศชาติทั้งหมด ต้องช่วยให้ไทยหลุดจากหลุมดำนี้ให้ได้ ถ้าทำไม่ได้ ลูกหลานออกมา แต่ไม่สามารถหลุดพื้นจากคอรัปชั่นได้ ต้องทำให้หลุดพ้นจากคอรัปชั่น และจะชนะ

ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กล่าวว่า รู้สึกเศร้าที่คนไทยทำอย่างไรจนต้องจารึกไว้หน้ากระดาษว่าคนไทยไม่โกง ความชั่วร้ายครองแผ่นดินหมด มีการทุจริตทุกกลุ่ม ทุกระดับ ดูเหมือนว่าคนไทยเข้าไปอยู่ในกระบวนการนี้หมด ต้องคิดถึงลูกหลาน ต้องส่งโลกนี้สมบูรณ์ให้เป็นสมบัติลูกหลาน และไม่เป็นการเนรคุณแผ่นดิน

คุณดนัยได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการศูนย์คุณธรรม แต่กำลังจะถูกยุบ

คุณธรรมเป็นที่ไม่เข้าใจ คนไปรับเงินมาลงคะแนนให้คนให้เงิน กตัญญูต่อคนให้ แต่ประเทศชาติเสียหาย

คุณธรรมต้องนำประโยชน์ส่วนรวมมาเป็นที่ตั้ง คนไทยขาดการคิดถึงส่วนรวมและมีความคิดชาตินิยมน้อยมาก

ทำไมคนไปเที่ยวนครวัด แล้วประทับใจเพราะคนยังพบว่าคนยังรักษาวัฒนธรรมได้ดี

ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนไป ไทยต้องปรับตัวด้วยหรือไม่

ไทยได้รับประโยชน์จริงจากประชาคมอาเซียนหรือไม่

ต้องเป็น ASEAN+3+6 ตอนนี้จีนกำลังมาแล้ว

ไทยกำลังลดอัตลักษณ์ไทยลง

10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปัญหา ทำให้สูญหายไปจากโลก

แต่ก่อน เวลาไปต่างประเทศ ข้าวหอมมะลิเป็นอันดับ 1 ของโลก ตอนนี้ ตกอันดับ

อาจารย์ต้องสร้างนักเรียนให้มีจิตสำนึก

Innovation Different Enterprise (IDE) ต้องมีในทุกชั้น

ต้องผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำที่

1.มีแรงบันดาลใจเพราะโลกโหยหาผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ เราไม่สามารถบริหารคนได้ แต่สร้างแรงบันดาลใจให้ได้ อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาท

2.มีความกล้าหาญทางจริยธรรมคือยอดแห่งความกล้าหาญ สังคมไทยมีทั้งคนดีและคนเก่ง แต่ขาดคนกล้าชี้ทางออก บอกทางถูก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ กลัวเสียเพื่อนจึงไม่กล้า ถ้าสิ่งใดที่ไม่กล้าบอกให้คนอื่นทำ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี ปัญหาคน ผู้นำทำผิด แต่ไม่มีใครทักท้วง ก็ทำผิดไปตามกัน อาจารย์ต้องปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีจิตสำนึกละอายต่อการทำผิด ปัญหาคือสำรวจคนอายุ 29 ปีลงมา คือยอมรับการทุจริตได้ถ้าตนได้ประโยชน์

ความเป็นครูจะหมายถึงอะไรในอนาคต

ถ้าเป็นครูผู้เรียนรู้ เด็กจะอยากเรียนมาก ครูจะเรียนรู้จากเด็กเมื่อให้เด็กเล่น role play

เด็กเปลี่ยนไป เรียนรู้เร็วมาก ไปไกล

นักเรียนมี 3 โรคที่น่าเป็นห่วง

1.โรคความรักตีบตัน ขาดความรักจากครอบครัว ครอบครัวแตกแยก แล้วมาหาความรักนอกบ้าน เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

2.โรคศักดิ์ศรีบกพร่อง เพราะความรักตีบตัน ความนับถือตนเองน้อย การสอนของโรงเรียนจิตรลดา ทำให้เด็กตอบคำถามยากได้ ครูต้องชมความพยายามไม่ใช่ผลลัพธ์การกระทำ

3.โรคสำลักเสรีภาพ

จะแก้ปัญหาได้โดยครูต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนศรัทธา เป็นการปลูกฝังนิสัย

ครูอาจจะสอนให้สร้างความรู้ด้วยตนเองก็ได้ (Research-based Learning) ปี 2552 คุณดนัยเปิดตัวหนังสือ White Ocean รณรงค์ปราบปรามคอรัปชั่น ปี 2554 เริ่มทำโครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย แต่รุ่นสุดท้ายจะจัดในปีนี้ พบว่า เด็กที่ไม่อยู่ระบบการศึกษา มีความเป็นผู้นำสูง ความคิดริเริ่มดี ปีแรก แก้ปัญหาคอรัปชั่น แก้ปัญหาท้องวัยเรียนและแก้ปัญหายาเสพติด ก็นำเด็กไปเยี่ยมนักโทษ นำเด็กไปเยี่ยมแม่ที่ท้องในวัยเรียน เด็กสะเทือนใจไม่อยากเห็นแม่ร้องไห้ ทำให้เด็กเป็นเจ้าภาพในแก้ปัญหา ก็นำเด็กที่เป็นแฟนกันมาทดลองเลี้ยงเด็ก แล้วก็จะรู้ตัวเองว่าไม่พร้อม เด็กที่ทำโครงการแล้วชนะทำเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นปีแรก โดยเน้นให้เป็นแบบ Imagine Thailand ให้งบประมาณทีมละ 20,000 บาทสำหรับทีมที่ชนะ เด็กภาคใต้บอกว่า ประเทศไทยดีที่สุดในโลก แต่ต้องเปลี่ยนนิสัยคนไทย เด็กอีสานบอกว่า คนดีหายหัว คนชั่วลอยนวล คุณดนัยประทับใจที่สุดคือเด็กตาบอดเรียนการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จบแล้วจะเป็นครู บอกว่า การโกงกินเป็นหายนะของสังคม ผู้ใหญ่สอนอย่าง ทำอีกอย่าง เด็กกลุ่มนี้ชูรูปในหลวง ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับในหลวง และฝันว่าในชาตินี้จะเห็นในหลวง แต่ใช้หัวใจสัมผัสทราบว่าในหลวงเป็นคนดี เขาจะเป็นข้าราชการที่ดี

นี่คือพลังจากแรงบันดาลใจ แล้วคุณดุสิต อดีตประธานหอการค้าตั้งองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น บอกว่า เป็นยุทธศาสตร์พัฒนาฮ่องกงระยะยาว

โครงการปีนี้เน้น Gen A (Active Citizen)

Corporate Social Responsibility

ต้องเริ่มปลูกฝังที่ Individual Responsibility (ISR) ระดับบุคคล

แล้วเน้นที่เด็ก

แล้วทำในระดับองค์กร

ทำไปในระดับชุมชนและแต่ละจังหวัด

ท้ายสุดเป็นหน้าที่คนไทยสร้างไทยให้เป็นต้นแบบ CSR โลก

ไทยมีจิตอาสา มีน้ำใจ แต่มักจะออกมาในช่วงวิกฤติ

คำถาม

1. จากการที่ได้เรียน จะถามแรงบันดาลใจของอาจารย์ว่ามาจากที่ไหน

ตอบ

การเป็นคนสำคัญนั้นดี แต่คนดีสำคัญกว่า และสำคัญที่สุดคือ การไม่เป็นอะไรเลย ปัญหาคือการแบ่งแยก คนดีมักคิดว่าตัวเองดีและคนอื่นที่แตกต่างจึงดูแย่ ต้องเป็นผู้ให้ด้วยหัวใจที่เบิกบาน เราโชคดีที่ได้เกิดเป็นคนไทยในรัชกาลที่ 9 เป็นแรงบันดาลใจจะต้องทำอะไรที่ดี เคยอ่านรับสั่งในหลวงว่า เกิดเป็นพระเจ้าแผ่นดินประเทศไทยไม่มีวันหยุดราชการ

2.มีลูกอายุ 3 ปี ไม่ได้เรียนพิเศษ กลัวลูกจะสอบเข้าที่ไหนไม่ได้ ขอให้ช่วยบอกรัฐบาลว่า ช่วยดูแลเด็กกลุ่มนี้

ตอบ

ประเทศที่เจริญแล้ว เน้นฐานกายคือ รู้จักตัวเอง รักตัวเองและรู้จักคนอื่น พัฒนากายด้วยกิจกรรม แล้วพัฒนาฐานจิต แล้วเสริมฐานความคิด ลูกคุณดนัยทำกิจกรรมอย่างเดียว ก็จะเป็นคนคิดเป็น ปัญหาคือครูยัดเยียดความคิดที่ไม่ตรงบริบทประเทศไทยให้แก่นักเรียน

คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

อย่าให้ประเทศเพื่อนบ้านแซงไทยได้ใน 5-10 ปีข้างหน้า

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรม CSR / การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ประทับใจที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานที่มหาวิทยาลัยฯ

กลุ่ม 1 สำรวจฝาย

โครงการนี้มาจากความคิดในการเลือกทำ CSR ในพื้นที่ตะโหมด ซึ่งมหาวิทยาลัยทักษิณมีวิทยาเขต

พื้นที่นี้มานาน กิจกรรมที่ทำมาหลายปีแล้วคือการทำฝายแต่ชาวบ้านยังไม่ได้มีการทำแผนที่ฝาย

ท่านพระครูกำหนดว่าทำฝายตรงไหน ประกอบกับมหาวิทยาลัยทักษิณมีเครื่องมือ สามารถจะนำ GPS ของสาขาภูมิศาสตร์ หรือแม้แต่ตอนนี้ สามารถจะดาวน์โหลด Application ทำให้ทราบพิกัด ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงกับ Google Earth ทำให้ทราบว่า บนตลอดลุ่มลำน้ำ ชาวตะโหมดได้ทำฝายแล้วกี่แห่ง

ทางกลุ่มมีความคิดว่า ถ้าสามารถเก็บข้อมูลทั้งหมดได้ สามารถทำให้แผนที่กลายเป็นความจริงขึ้นมามีการระบุสภาพฝาย เช่น สีเขียวหมายถึงฝายสภาพดี สีเหลืองหมายถึงฝายที่ต้องซ่อมแซม สีแดงหมายถึงฝายที่ชำรุดแล้วก็น่าจะเป็นประโยชน์ในการให้ทีมงานของชาวตะโหมดได้ซ่อมบำรุงฝายและรองรับหน้าน้ำที่กำลังจะมาและหน้าแล้งในปีหน้าด้วย

ทำให้เกิดทีมนี้ขึ้นมา สมาชิกในทีมมี 10 คน แต่มีฝาย 200 กว่าแห่ง พระครูแนะนำให้ไปที่ห้วยแน 3คน ไปห้วยนา 2 จำนวน 2 คน ไปห้วยนา 2 คน ไปห้วยลำบน 3 คน จึงแบ่งทีมเป็น 2 สาย ทางทีมได้รับข้อมูลว่า ทางเดินลำบาก ควรใส่รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าบู๊ต เพราะต้องลุยน้ำด้วย

ในการสำรวจฝาย ต้องเดินไปตามลำน้ำ บางแห่ง เห็นฝายแต่ลงไปไม่ได้เพราะทางชันมาก ต้องไปเดินอ้อมเพื่อหาทางลาดลงไปที่ฝาย จากนั้น ก็ต้องกลับไปขึ้นไปอีกรองเพื่อไปหาอีกฝาย ทีม 1 เก็บฝายได้ 17 ตัว ทีมที่ 2 เก็บฝายได้ 11 ตัว ทีมที่ 3 เก็บฝายได้ 12 ตัว ทีมที่ 4 เก็บฝายได้ 17 ตัว รวมแล้วได้ประมาณ 60 ฝายซึ่งต่ำกว่าเป้าคือทั้งหมด 200 ฝาย

ผศ. ดร.สุรศักดิ์ คชภักดีเสนอว่าจะรวมพลกันลงไปเก็บฝายอีก 1-2 รอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันที่สุด อยากเห็นผ้าไวนิลที่เป็นแผนที่ Google Earth แสดงตำแหน่งจริงของฝาย ขอบคุณสมาชิกทีมที่ร่วมเป็นผู้ร่วมบุกเบิก ถ้ามีการกำหนดวันสำหรับฝายรอบใหม่ อยากเชิญชวนทุกท่านไปร่วมหาที่ตั้งของฝาย ในช่วงนี้ไม่มียุงและไม่มีทาก ช่วงนี้อาจจะต้องรีบทำ ข้อมูลจะรวบรวมเชื่อมกับโปรแกรมที่มีส่งไปให้สาขาภูมิศาสตร์ลงโปรแกรมที่ Update กว่าให้ ทำให้เห็นชัดเจนขึ้น ควรเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการต่อเพราะเป็นจุดท้าทายอีกจุด ถ้าได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลจุดนี้ ก็จะเกิดเป็นมูลค่าเพิ่มแก่ชุมชน

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

ชอบเทคนิคลีลาในการนำเสนอ ทำให้เห็นภาพ ไม่ธรรมดา ต่อไปกลุ่ม 2 จะมาแบ่งปันเรื่องกิจกรรมมัคคุเทศก์

กลุ่ม 2 มัคคุเทศก์

สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย อาจารย์ธนวิทย์ บุญสิทธิ์ ดร.วิทยา เหมพันธ์ ดร.ศาสดา วิริยานุพงศ์

อาจารย์อาจารี นาโค นักเรียนชั้นป.5 และป.6 จำนวน 11 คน กลุ่มสตรีอายุเกิน 50 ปี จำนวน 8-9 คน เดินทางโดยรถตู้เริ่มที่แนะนำตัวเองก่อน โดยให้พูดทีละคน เป็นการพูดทักทายแบบง่ายๆ เด็กเรียนรู้ภาษาอังกฤษได้เร็ว แต่กลุ่มผู้ใหญ่มีลุง 2 คน มีดร.วรรณมาร่วมด้วย มีผู้สูงอายุคนหนึ่งพูดภาษาอังกฤษสำเนียงท้องถิ่น ผู้ใหญ่นั่งสลับกับเด็ก สลับกันพูดภาษาอังกฤษทีละคน ดร.วิทยา เหมพันธ์ ดร.ศาสดา วิริยานุพงศ์ และอาจารย์อาจารี นาโคก็พูดไปด้วย จากนั้น ทุกคนก็พูด “Let’s go!” ผู้ใหญ่ฟังเพี้ยนเป็น “Set go!” ความหมายก็พอใช้ได้คือ เข้าที่ ระวัง ไป

ต่อมาทุกคนขึ้นรถตู้ เด็ก10 คนและกลุ่มผู้ใหญ่รวมทั้งหมด 20 คนนั่งรถไปคันเดียวกัน ไปที่อุโมงค์เป็นที่ฝังศพชาวพุทธและอิสลามรวมกันที่เดียวของโลกซึ่งน่าสนใจ เป็นวัฒนธรรม 2 ศาสนามีศพ 5,000 ศพไปรวมที่นั่น มีทำพิธี 2 ศาสนา ก็สอนคำศัพท์ ศัพท์ยาก เด็กพอจะพูดได้บ้าง แต่กลุ่มผู้สูงอายุต้องใช้เวลานาน เช่น หลุมศพ (Cemetery) ต้องพูดช้าๆซ้ำๆ

จุดที่สองที่ไปคือบ้านเก่า พบผู้สูงอายุ เมื่อสอบถาม ผู้สูงอายุชอบโครงการนี้ และน่าจะทำต่อไปในอนาคตเพราะเป็นการสานสัมพันธ์เชื่อมกันระหว่างรุ่น

จุดที่สามที่ไปคือ น้ำตก ก็ไปทำกิจกรรม พูดภาษาอังกฤษและก็เต้น ทำท่าทางให้เด็กจำได้ สอนคำว่า น้ำตก (Waterfall)

จุดสุดท้าย มีเด็กในกลุ่มนี้เพียงคนเดียวที่เคยไปเท่านั้นคือ ศูนย์เกษตรเรียนรู้แนววิถีพุทธ เป็นส่วนป่ายางพารามีการวิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆทำวนเกษตร

ทั้งสี่จุดนี้น่าสนใจ ในอนาคต มหาวิทยาลัยทักษิณน่าจะทำ อาจจะสอนภาษาอังกฤษให้เด็กกับผู้ใหญ่เรียนรวมกันซึ่งจะเป็นการสานสัมพันธ์ระหว่างคนสองรุ่นและสร้างสำนึกรักบ้านเกิดให้แก่เด็ก

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

ถ้าสนใจ ขอเชิญลงชื่อไปสุสานวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ไม่ว่านับถือศาสนาใด ผ่านไป 2 กลุ่ม ลีลาไม่ยิ่งหย่อนกันไปกว่ากัน ขอเชิญกลุ่ม 3 นำเสนอการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

กลุ่ม 3 การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม

การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมมองที่ทรัพยากรมนุษย์โดยเริ่มด้วยการร่วมกันวางแผนซึ่งมีระยะเวลาในการวางแผนสั้น

กลุ่ม 3 ทำงานอย่างสนุกสนาน เพราะทำงานกับเด็กอายุ 5-7 ปี ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มก็ต้องลดอายุตัวเองลงทำกิจกรรมโดยเน้นที่เด็ก ปัญหาที่เกิดขึ้นคือคุณธรรม จริยธรรมเริ่มจะถดถอย ต้องปลูกฝังแต่เด็ก โดยทำอย่างสม่ำเสมอ โครงการนี้มีเด็กร่วมโครงการ 40 คน คือ มาจาก 4 โรงเรียน โรงเรียนละ 10 คน อันที่จริงแล้วเจ้าอาวาสประสานโรงเรียนเอง 5 โรงเรียน แต่มาไม่ได้ 1 โรงเรียน

ทีมงานนอกจากจะประกอบด้วยอาจารย์จากทุกคณะแล้ว ทางคณะศึกษาศาสตร์เองมองว่า เป็นโครงการที่มีเด็กชั้นประถมศึกษา จึงให้นิสิตมาร่วมโครงการเพื่อจะได้พบประสบการณ์ตรง ผศ. ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม รองคณบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนานิสิต คณะศึกษาศาสตร์จึงให้นิสิตสาขาปฐมวัยมาวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมฐานให้เด็ก

มีการจัดกิจกรรมเป็น 5 ฐาน คือ ฐานรู้จักคนดี ความดีในชีวิตประจำวัน ภาษาไทยคิดสนุก รักการอ่าน และ อาเซียนบ้านเรา มีการบูรณาการคุณธรรม จริยธรรมเข้าไปในแต่ละฐาน

เริ่มจากการบูรณาการเด็กก่อน โดยเด็กจะถูกกระจายไม่ให้โรงเรียนเดียวกันอยู่ด้วยกัน ต่อมามีการละลายพฤติกรรมให้เด็กกล้าแสดงออกแล้วจึงไปเข้าร่วมกิจกรรมฐานต่างๆ ฐานละ 20 นาทีไม่เน้นทฤษฎีแต่เน้นทำกิจกรรมเช่น

ฐานรู้จักคนดี ก็มีเกมส์ดีดลูกโป่งประคองกันไป สอนเรื่องความรัก ความสามัคคี

ฐานบันไดงู สอนเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในชีวิตประจำวัน ให้เด็กบอกว่าแต่ละรูปเป็นอย่างไร ถ้าเห็นรูปคนข้ามถนน เขาจะทำอย่างไร บางคนก็ตอบว่าจูงข้ามถนน ก็ให้เด็กแต่ละคนตอบได้ไม่เหมือนกัน ไม่จำกัด แล้วก็จะปรบมือให้เป็นการเสริมแรง

ซุ้มเล่านิทาน ก็ให้เด็กใช้หุ่นมือ นิสิตสาขาปฐมวัยเตรียมสื่อการสอนมาค่อนข้างมาก เด็กชอบวาดเขียนและการแสดงละคร

หลังจากครบทุกฐาน เด็กก็ไปรวมกันอีก สะท้อนคิดกัน มีการทบทวนสนุกสนาม ให้เด็กได้แสดงออก หลังจากเสร็จกิจกรรมก็รับประทานอาหารร่วมกัน มีการสะท้อนผล มีการให้ผู้บริหารโรงเรียนมากล่าว ทำให้กลุ่มได้ข้อคิดและเรียนรู้จากสิ่งเหล่านี้ด้วย ท่านผู้บริหารโรงเรียนสะท้อนคิดว่า ถ้ามีเวลาหารือกันมากกว่านี้ บรรยากาศกิจกรรมจะสนุกกว่านี้เพราะทางโรงเรียนเลือกเด็กที่ค่อนข้างเรียบร้อยไม่ค่อยพูด ทำให้ครูต้องลดอายุตัวเองจนทำให้เด็กรู้สึกว่าเป็นเพื่อนและพร้อมที่จะคุยด้วย ถ้ารู้ว่าจะเป็นกิจกรรมแบบนี้ ก็จะคัดเด็กอีกกลุ่มหนึ่งให้กลับไปเป็นผู้นำในโรงเรียน และถ้ารู้รูปแบบกิจกรรม ก็จะได้ให้เด็กแต่งกายถูกกาละเทศ

นี่คือสิ่งที่ได้ผลสะท้อนมาจากชุมชน ทุกคนประทับใจมาก แม้แต่เด็กก็อยากมาอีก สิ่งที่ทำนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเดิมทั้งสิ้นคือ บ.ว.ร. (บ้าน วัด โรงเรียน) มีชุมชนเข้ามา มีวัดเป็นศูนย์กลางและก็มีโรงเรียน ทำอย่างไรจะเชื่อมทุกอย่างให้เป็นหนึ่งเดียวกันและประสาน ทุกกิจกรรมที่ทำ เชื่อมโยงกันหมด

ทำอย่างไรให้กิจกรรม CSR ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน เกิดการบูรณาการจากทุกคณะและทุกภาคส่วนให้เกิดขึ้น โดยเฉพาะถ้าท่านผู้บริหารทั้งหมดของมหาวิทยาลัยลงมาทำด้วยจะยิ่งดีมาก

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

ไปที่กลุ่มสุดท้าย กิจกรรมจัดการธุรกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

กลุ่ม 4 จัดการธุรกิจชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ

ทางกลุ่มได้นั่งรถตู้ไป เมื่อไปถึงพบผู้สูงอายุ สมาชิกของกลุ่มมี 10 กว่าคน พูดภาษาถิ่นเพื่อทะลายกำแพงระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน สร้างความคุ้นเคยก่อน ใช้การเขียน flip chart สร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง นั่งล้อมวงคุยกันไป

แรกสุด มีการแจกโรตีกรอบ แล้วแสดงความคิดเห็น ทีมอาจารย์ที่ไปจะเป็นลูกค้า ให้ข้อเสนอแนะว่า อะไรเป็นจุดเด่น และจุดด้อยของผลิตภัณฑ์ แล้วก็ให้ทีมแม่บ้านวิเคราะห์ผลิตภัณฑ์ของคู่แข่ง คือ โรตีปัตตานี มองช่องทางการจัดจำหน่าย มีการแลกเปลี่ยนความเห็นกันเกี่ยวกับการตลาด ทางทีมอาจารย์ก็ให้ข้อเสนอแนะเรื่องผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging) นอกจากนี้ ทีมอาจารย์จะพยายามหาเครือข่ายให้ ซึ่งปัญหาตอนนี้คือชาวบ้านรอพึ่งพช. แต่ยังดีที่ได้อย.และฮาลาลแล้ว สิ่งหนึ่งคือหน่วยงานที่จะส่งเสริมก็เป็นพัฒนาชุมชนอย่างเดียว จึงได้แนะนำกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและสหกรณ์จังหวัด รวมถึงพาณิชย์จังหวัด แต่ต้องไปขึ้นทะเบียนด้วย ชาวบ้านรู้สึกว่า ผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถจะหาตลาดได้ทั่ว

ตอนเที่ยงก็กินข้าวและคุยกันกับชาวบ้าน แล้วทางทีมอาจารย์ถูกกล่อมให้ซื้อน้ำพริก ชาวบ้านขายน้ำพริกเก่งมาก

ช่วงบ่าย วิเคราะห์ต้นทุนการผลิต ชาวบ้านยังไม่เข้าใจระบบโอท็อปทั่วประเทศ ขายโดยตั้งราคาแบบไม่ทราบต้นทุน ทีมอาจารย์จึงช่วยตรวจทานข้อมูลทั้งหมดโดยซักถาม แล้วจึงหาต้นทุนการผลิตต่อหน่วยออกมา ตั้งราคา พบว่า ราคาเดิมทำให้มีกำไรต่อหน่วยไม่มาก จะต้องปรับปรุง เช่นอาจจะลดปริมาณ ถ้าขึ้นราคาแล้วลูกค้าจะซื้อหรือไม่ ก็เลือกสินค้าที่ขายดีที่สุดมาทำ

วันนั้นถือเป็นต้นแบบ ที่เน้นด้านการตลาด การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยเพื่อตั้งราคา หลังจากนั้น ก็ได้ประสานงานว่าจะลงพื้นที่อีก เพื่อช่วยจัดการในด้านอื่น เช่น ระบบบัญชี และน่าจะมีกลุ่มน้ำพริกอีกเพื่อเข้ามาช่วยทำ ขอบคุณทีมงานที่ช่วยกัน

อาจารย์สุภวัส วรมาลี

ถือเป็นการเริ่มโครงการ แม้จะมีข้อจำกัดก็ตาม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ตั้งแต่ทำกิจกรรม CSR มาหลายแห่ง แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ร่วมโครงการตลอด บรรยากาศดีมาก จะทำรายการทีวีออกให้ด้วย

สิ่งที่มหาวิทยาลัยทักษิณได้ไปช่วยชุมชนมีคุณค่ามาก ควรทำต่อเนื่องและสร้างแบรนด์ให้คนรู้จัก เมื่อเป็นที่รู้จักแล้ว ก็จะถูกกดดันให้ทำให้มีมาตรฐานสูง แต่ความสำเร็จในประเทศไทยไม่ได้เกิดขึ้นทันที

ในอนาคต ถ้ามีกิจกรรมที่จะไปตะโหมด ก็อยากจะไปอีก

ทรัพย์สินที่กำลังจะเกิดขึ้นในประเทศไทยไม่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ๆ แต่จะเกิดจากชุมชนต่างๆ

แต่ที่ชุมชนขาดคือมาตรฐาน มาตรฐานของชุมชนกับมาตรฐานโลกต้องวิ่งไปด้วยกัน ในมหาวิทยาลัย มีการบริหารจัดการสมัยใหม่ มีคนจบการตลาดและการเงินมาก และสามารถช่วยให้มาตรฐานโลกเกิดในชุมชนได้

สิ่งที่ทำนี้มีคุณค่ามาก ขอให้มีโอกาสกลับไปอีกครั้ง

อาจารย์สายพิณ วิไลรัตน์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยทักษิณและศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์จะมาประเมินเมื่อจบไปแล้วอีก 3-4 เดือน อาจจะไปเยี่ยมชุมชนอีกครั้ง อาจทำการวางแผนล่วงหน้าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ชุมชนในด้านต่างๆ อาจนำสื่อที่มีคุณภาพจากกรุงเทพไปดู งานเหล่านี้ก็จะเกิดคุณค่าขึ้นมา

ในเวลาอันสั้นๆ ก็ขอแสดงความยินดีด้วยอีกครั้ง

8 เมษายน 2559

ศึกษาดูงาน ณ SCG

รับฟังการบรรยาย ห้องสัมมนา Hall 3 ชั้น 10 อาคารเอนกประสงค์ เอสซีจี

หัวข้อ กรณีศึกษาการบริหารจัดการองค์กรเเละการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ SCG

โดย คุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์ Head of Executive Briefing Center & External Relations, SCG HR

SCG ก่อตั้งเมื่อปี 2456 ซึ่งเป็นสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่มาจนถึงปัจจุบันประมาณ 100 กว่าปี เป็นบริษัทคนไทยแท้ๆในจำนวนที่น้อยมากที่อยู่ได้อย่างเข้มแข็ง ที่ตั้งบริษัทเดิมเป็นทุ่งนาและไม่มีคนอยู่เลย เมื่อมาตั้งโรงงาน คนย้ายเข้ามา เมื่อมีคนย้ายเข้ามา คนร้องเรียนว่า SCG มีฝุ่น มีควัน ตอนที่คุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์ เข้าทำงานยังมีการผลิตปูนอยู่ฝั่งหนึ่ง อีกฝั่งเป็นโรงงานทำหลังคากระเบื้องและกระดาษ จึงปิดที่นี่แล้วไปเปิดโรงปูนที่ลำปางเป็นแห่งล่าสุดแทน ที่ลำปางใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยที่สุดในโลกคือ Open-Cut Mining ระเบิดภูเขาจากยอดเป็นชั้นๆ ลงมา แต่ละชั้นที่ระเบิดก็จะมีการปลูกต้นไม้ทดแทน และข้างในที่ปลูกจะกลายเป็นแอ่งน้ำธรรมชาติ ทัศนียภาพและต้นไม้ข้างนอกยังอยู่เหมือนเดิม แม้จะลงทุนสูงในการทำ แต่ก็ยังทำ สามารถไปศึกษาดูงานได้

ในสมัยก่อน ขนส่งสินค้าด้วยเรือเอี้ยมจุ๊น มีไซโลปูนอยู่แต่ต่อมาได้ถูกทุบไปแล้ว สมัยก่อน ในการทำงาน ยังไม่มีการดูแลเรื่องความปลอดภัย

ปัจจุบัน ธุรกิจ SCG แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ

  • Chemicals เป็นธุรกิจที่เกิดหลังสุด ทำเม็ดพลาสติก ขายเป็นวัตถุดิบ
  • Packaging เดิมเป็นกระดาษ IDEA
  • CDM เป็นธุรกิจที่รวม 3 ธุรกิจคือ Cement (ปูนตราเสือ กับตราช้าง), Building Material (วัสดุก่อสร้างตั้งแต่พื้นจนถึงหลังคา) และDistribution (จัดจำหน่าย) ในสมัยก่อนนี้ จัดจำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่าย ตอนหลังมาพิจารณาว่าควบคุมเรื่องความปลอดภัยและเรื่องอื่นได้ยาก จึงมาทำเรื่องจัดจำหน่ายเอง เปลี่ยนระบบ เช่น ฝึกอบรมคนขับรถ ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ใช้ดาวเทียมติดตามรถขนส่งสินค้า

นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจ Investment ซึ่งมีต่างชาติมาถือหุ้นร่วมด้วย เช่น สยามไอซินทำชิ้นส่วนยาน

ยนต์ โตโยต้ามอเตอร์

คุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์เคยเสนอให้ SCG สร้างบ้านขายเพราะมีวัสดุครบแล้ว ตอนนี้ก็ทำในอีกตลาดซึ่งเป็นสินค้ายูนีค ใช้เทคโนโลยีจากญี่ปุ่นเป็นหุ่นยนต์ในการผลิต ลักษณะเป็นบ้านปลอดฝุ่นและแมลง รักษาสิ่งแวดล้อมเพราะสามารถใช้พลังความร้อนมาหมุนเวียนในบ้าน

ตอนนี้ SCG มีบริษัทในเครือมากกว่า 200 บริษัท มีผลิตภัณฑ์มากกว่า 64,000 อย่าง มีหุ้นประมาณ1,200 ล้านหุ้น ยอดขายประมาณ 490,000 ล้านบาท

SCG มีกำลังคน 5 หมื่นกว่าคน เป็นระดับพนักงาน 36,000 คน พนักงานในต่างประเทศมีจำนวน 16,000 คน มีพนักงาน Intern staff 315 คน มีพนักงานจบปริญญาเอกที่ทำงานวิจัยนวัตกรรม 100 กว่าคน

ตอนเกิดวิกฤติ มีคำถามว่า SCG จะไปในทิศทางใดในอนาคต จึงได้มีการลงทุนต่างประเทศ และ เน้นนวัตกรรม (High Value Products and Services) แล้วกำหนดเป็นวิสัยทัศน์องค์กรว่า ภายในปี 2558 จะทำ 2 เรื่องนี้ เมื่อถึงปี 2558 ก็ต้องทำ 2 เรื่องนี้ต่อ SCG ได้ไปลงทุนในอาเซียน ประกอบการเน้นนวัตกรรมทำให้ SCG ต้องปรับตัวมาก เพราะตอนนี้ไปแข่งกับตลาดโลก ตลาดเปลี่ยน เพราะคู่แข่งเปลี่ยน คนระดับโลกไปรวมตัวกันในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้ต้องปรับกลยุทธ์ โดยเฉพาะเรื่องของคน เพราะองค์กรจะสำเร็จได้ด้วยเทคโนโลยี แต่คนจะทำให้องค์กรเติบโตได้ Product ต้องเน้นนวัตกรรม จดลิขสิทธิ์ได้ ตอนนี้กระแสสิ่งแวดล้อมมาแรง เป็นปัจจัยดึงดูดลูกค้าและพนักงาน จากการสัมภาษณ์คนเข้าทำงาน ผู้สมัครงานสนใจธุรกิจที่มีจริยธรรม ไม่อยากทำงานที่ทำบาป แบรนด์จะเป็นปัจจัยดึงดูดคนอันดับต้นๆ (Cream) มา ต้องสร้างแบรนด์ให้น่าเชื่อถือ SCG เป็นบริษัทอันดับหนึ่งที่คนอยากมาทำงานด้วย

ปัจจัยที่ทำให้ SCG ยืนยงมาได้มี 3 อย่างคือ

1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance)

คือ รับผิดชอบ โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานของความสมดุลและยั่งยืน (Sustainable Development)

2.จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ SCG ทำเป็นเล่มแจกพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานเพราะต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเข้า ตอนที่คัดคนเข้าทำงานก็ต้องค้นหาคนที่มีจรรยาบรรณแบบนี้เข้ามา

2.1 ปฏิบัติต่อกันภายใต้สิทธิเสรีภาพ คือ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือศาสนาใดก็ถือว่าเท่าเทียม

2.2 ต้องมีการดูแลสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย

2.3 การให้หรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด

2.4 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

2.5 การจัดหา ต้องโปร่งใส มีหน่วยงานจัดหามามีส่วนร่วมในการประกวดราคาทุกครั้ง

2.6 การทำธุรกรรมกับรัฐ ไม่มีเงินใต้โต๊ะ

2.7 การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน

2.8 การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสาร เนื่องจากเป็นข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทจึงไม่ควรนำไปเปิดเผย ถ้ามีการเปิดเผย ก็จะกระทบต่อราคาหุ้น ไม่ควรใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์กับตัวเองหรือครอบครัว

2.9 การทำธุรกรรม ต้องตรงไปตรงมา

2.10 การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ ต้องดูกฎหมายต่างประเทศเพื่อไม่ให้เป็นการเลี่ยงภาษี

2.11 การแข่งขันทางการค้า ควรเป็นการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการลดราคาแข่งกัน

2.12 ป้องกันการฟอกเงิน

SCG มี Whistleblower เป็นเว็บไซต์สำหรับพนักงานแจ้งเบาะแสการกระทำผิดได้ มีการให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาบรรณ SCG เป็นช่องทางที่ได้ผลมาก คนที่แจ้งข้อมูลมาอาจจะแจ้งชื่อหรือไม่ก็ได้ แต่มีหน่วยจากระดับผู้บริหารเข้าไปสอบสวนข้อเท็จจริง มีโครงการพิทักษ์พยาน ไม่เปิดเผยแหล่งที่มาของแหล่งข้อมูลเพื่อปกป้องผู้แจ้งเบาะแส พนักงานส่งข้อมูลมาพร้อมหลักฐาน

มีคณะทำงานเผยแพร่จรรยาบรรณ ต้องมีการตอกย้ำข้อมูลตลอด ผู้ใหญ่ต้องเป็นต้นแบบ

มี IEA Letter ส่งถึงพนักงาน SCG ให้พนักงานทำ Ethics E-test มีการสอบจรรยาบรรณของพนักงานตลอด

รวมถึงพนักงานที่อยู่มานานแล้วก็ต้องสอบเพื่อทบทวนความรู้ แต่ไม่ส่งผลให้ มีระบบตรวจสอบว่าใครยังไม่ทำแล้วระบบจะส่งเตือน นายจะกระทุ้งให้ทำ ทุกคนต้องทำให้ครบ รวมทั้งนาย ถ้าทำข้อไหนผิด ก็เข้าไปดูข้อที่ถูกได้ มีการส่งอีเมลถึงพนักงานตลอดเวลาเกี่ยวกับคำแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับจรรยาบรรณ

เช่น Integrity หมายถึง แม้ไม่มีใครเห็น ก็ไม่ทำผิดจรรยาบรรณ ก็เหมือนคนมีศีล 5

3.อุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ

3.1 ตั้งมั่นในความเป็นธรรม คือ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

3.2 มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ คือ ผลิตสินค้าและบริการที่เป็น Premium

3.3 เชื่อมั่นในคุณค่าของคน ตรงนี้เกี่ยวข้องกับงาน HR องค์กรจะเจริญได้ต้องขึ้นอยู่กับตรงนี้ ข้อนี้ข้อเดียวครอบคลุมทุกข้อ

3.4 ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม ต้องคืนกลับให้สังคมในรูปแบบต่างๆ

ทั้งหมดรวมเป็นคุณภาพและความเป็นธรรม (Quality and Fairness)

ตอนที่ SCG ทำ Innovation เมื่อก่อนมี Inno People (คนที่มีนวัตกรรม) ที่ต้องมีคุณสมบัติคือ Open and Challenge

  • Open ประกอบด้วย
    • เปิดใจ ตั้งใจรับฟังยืดหยุ่น เช่น ลูกน้องเสนอความคิดเห็นอะไร นายต้องเปิดใจรับฟัง มิฉะนั้นลูกน้องจะไม่คิด
    • ใฝ่เรียนรู้ พัฒนาตนเอง สำคัญมากเพราะความรู้ที่เรียนจากมหาวิทยาลัยมีวันล้าสมัย (Obsolete) คนเราไม่ได้ใช้ความรู้ที่เรียนจบมาในการทำงานทุกวันนี้ แต่ใช้ในช่วงแรกๆ แต่ความรู้ในอดีตนั้นทิ้งไม่ได้ อย่าคอยให้ทางบริษัทฝึกอบรมให้ ถ้าคิดแบบนี้องค์กรไม่เจริญ ทางบริษัทต้องการคนใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง ความรู้อยู่รอบตัว (Knowledge is in the air) Google ถือเป็น KM ของโลก ทำให้สามารถหาความรู้ได้สารพัด แต่ถ้าภาษาอังกฤษไม่ดีก็จะลำบาก ตอนนี้ SCG กำลังฝึกภาษาอังกฤษให้พนักงานด้านการออกเสียง (Pronunciation) ให้สามารถสื่อความหมายให้ถูกต้อง

1.3 ร่วมมือสร้างเครือข่ายทั้งภายในและภายนอก ต้องมีเครือข่ายซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก Social Media เข้ามามีบทบาทมาก ชี้ชะตาคนได้

1.4 กล้ายอมรับข้อผิดพลาดของตน คือ ผิดเป็นครู ไม่มีใครทำอะไรแล้วสำเร็จเป็นครั้งแรก เพราะ Innovation เกิดจากการลองผิดลองถูก แต่อย่าผิดซ้ำซาก

2. Challenge ประกอบด้วย

2.1 ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ ทุกวันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก

2.2 กล้าคิดนอกกรอบ ถ้ามีความรู้ แต่ไม่กล้าคิดและกล้าแสดงออก ก็จะไม่เกิด Innovation ต้องกล้าคิดนอกกรอบ แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ถ้าทุกคนมองเหมือนกันหมดจะไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้น เวลาหลายองค์กรรับคนเข้ามา เช่น ฝ่าย HR ก็ไม่ได้รับคนที่เรียนจบรัฐศาสตร์และนิติสาสตร์เข้ามาเท่านั้นเพราะความคิดจะไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น แต่จะมีวิศวกรรมศาสตร์ บัญชีและสาขาอื่นเข้ามาผสมผสาน ทำให้ทำให้ความคิดแตกต่างออกไป ปัญหาคือเป็นการยากสำหรับคนไทยที่จะคิดนอกกรอบเพราะถูกสอนให้ฟังและเชื่อมาตั้งแต่เด็ก แต่เด็กรุ่นใหม่จะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร ถ้าเป็น Hierarchy หรือ Conservative คนคิดนอกกรอบคือแกะขาวไม่ใช่แกะดำ

2.3 กล้าตัดสินใจได้ทันเวลา อย่าใช้เวลานานมากในการคิดเพราะคู่แข่งจะนำไปทำก่อน

4. กล้านำสิ่งที่คิดและเรียนรู้มาลงมือทำอย่างจริงจังเกิดผล

วัฒนธรรมองค์กรต้องส่งเสริมการคิดนอกกรอบ เจ้านายต้องปรับตัวมากที่สุด ถ้าจะเปลี่ยนองค์กรได้ ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โดยเริ่มจากผู้นำ

การคัดเลือกคนที่เหมาะสมเข้าทำงานเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ระบบการคัดเลือก (Selection System) ทุกแห่งในโลกเหมือนกันคือ หา Sourcing มาให้ได้มากที่สุด แล้ว Screen วิธีการ Screen แต่ละแห่ง อาจจะต่างกันไป บางแห่งมีการสอบ มี Assessment Test บางแห่งสัมภาษณ์อย่างเดียว แล้วมีการ Interview นำไปสู่ Job Offer

ตอนหลัง องค์กรหลายแห่งยกเลิก Assessment Test องค์กรเหล่านี้ไม่ดู IQ เพราะ IQ สอนให้คนอยู่ในกรอบ องค์กรสมัยใหม่ต้องการคนคิดนอกกรอบ

ตอนนี้ PricewaterhouseCoopers ก็ไม่ให้ความสำคัญกับผลการเรียนเพื่อพิจารณาคนเข้าทำงาน

หลายองค์กรไม่พิจารณาผลการเรียน เพราะถือว่าคนเรียนเก่ง ไม่ใช่ว่าทำงานเ

แม้ SCG จะมีแบรนด์ที่ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ารอให้คนมาสมัคร ก็อาจจะไม่เหลือมาถึงบริษัท จึงต้องทำงานเชิงรุก เช่น Campus Roadshow ไปทำ Roadshow ตามมหาวิทยาลัย จากการ Roadshow ในประเทศไทยและต่างประเทศทำให้เห็นความแตกต่างมากมาย

Roadshow ในประเทศไทย ต้องมีเกมเล่น แจกของเพื่อดึงดูดเด็กเข้าบู๊ธ

Roadshow ในต่างประเทศ ไม่ต้องใช้กิจกรรมแบบประเทศไทย เช่น ที่เวียดนาม เด็กนั่งกันเต็มจนล้นห้องสัมมนาใหญ่เพื่อฟัง ชาวเวียดนามวิ่งเข้าหาชาวต่างชาติเพราะต้องการฝึกภาษาอังกฤษ แม้ช่วงนั้นเป็นระยะแรกที่ SCG ขยายไปต่างประเทศ ชาวเวียดนามยังไม่รู้จัก SCG แต่มาสมัครกันมาก บางคนกรอกใบสมัครเป็นภาษาเวียดนาม ก็ต้องให้คนเวียดนามมาคัดกรองใบสมัครก่อน

SCG มี Career Day สำหรับคนมีประสบการณ์การทำงานแล้ว

SCG มีโครงการให้ทุนการศึกษา

SCG มีการรับสมัครทางเว็บไซต์

SCG มีการทำ Job Posting ในมหาวิทยาลัยระดับโลก

สรุปแล้วต้องทำทุกรูปแบบเพราะคนในยุคปัจจุบันมีการสื่อสารหลายรูปแบบ แม้กระทั่งใช้การลงโฆษณาสมัครงาน ใช้ Linkedin Recruiter เพราะในนี้จะมีคนมีประสบการณ์และโปรไฟล์ดี ใช้ Facebook

นอกจากนี้ยังมีการเดินทางไปมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เช่น Nanyang University เพื่อไปหาคนจบปริญญาเอกมาทำงาน

เวลาที่คนเข้ามาทำงานแล้วก็มี Referral Program คือ โครงการเพื่อนแนะนำเพื่อน ใช้พนักงานเป็นคนหาคนเข้ามาทำงาน มีเงินให้คนแนะนำเมื่อทางบริษัทได้รับคนที่ถูกแนะนำเข้าทำงานแล้วโดยอัตราแตกต่างไปตามวุฒิการศึกษา

คนที่เข้ามาทำงานแล้ว อาจจะไม่ชอบงาน SCG ก็มี Careerclick ให้พนักงานเดิมคลิกเข้าไปดูเพื่อสมัครตำแหน่งงานที่ว่างนั้น เมื่อสมัครแล้ว ก็จะได้รับการนัดไปคุยกับแห่งใหม่ ถ้าแห่งใหม่ตอบรับ ก็จะได้ย้ายงานภายใน 1 เดือน โดยให้แก่งเดิมหาคนแทน แล้วนายต้องไม่กักตัวลูกน้อง เพราะถ้านายไม่ให้ไป ก็จะเกิดการลาออก

การคัดคนเข้าทำงาน SCG ยังคงพิจารณาจากผลการเรียนอยู่ เช่นระดับปริญญาตรีต้องได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 2.7 ระดับปริญญาโทต้องได้เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.3 อายุต้องไม่เกิน 35 ปี ยกเว้นระดับปริญญาเอก คะแนน TOEIC ต้องไม่ต่ำกว่า 550 คะแนน

SCG ใช้ระบบการสัมภาษณ์คนเข้าทำงานเป็นแบบคณะกรรมการ ประกอบด้วย Director, Manager, HR 1 คน เจ้าของงาน 1 คน และจะรับผู้สมัครคนนั้นได้ ทุกคนต้องเห็นพ้องต้องกัน (Consensus) แต่ก็ยังคัดคนได้ยากอยู่เพราะในปัจจุบันมีโรงเรียนเตรียมความพร้อมการสอบสัมภาษณ์เข้าทำงาน

คุณสมบัติ SCG ที่คาดหวังจากผู้สมัครงานคือบรรษัทภิบาล จรรยาบรรณ อุดมการณ์ Open and Challenge รวมถึงการให้ความสำคัญ ต่อ Sustainable Development คือ เน้นสร้างสมดุลเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม

ปัญหาที่พบคือ ผู้สมัครงานส่งรูปที่ผ่านการแต่งรูปมาสมัครงานโดยที่เป็นรูปที่แตกต่างจากตัวจริงมาก ทำให้พิจารณายาก ทางบริษัทก็ไม่รับคนเข้าทำงานโดยใช้หน้าตาเป็นเกณฑ์หลัก แต่ก็ต้องเป็นคนที่เสริมภาพลักษณ์ให้บริษัทได้ด้วยเหมือนกัน

เวลากรรมการสัมภาษณ์ผู้สมัครเข้าทำงาน ใช้เวลาแค่ 3 นาทีแรกในการคัดคน ทำให้เกิดอคติ ถ้าชอบ ก็จะถามคำถามง่ายเพื่อให้ผู้สมัครคนนั้นสามารถสอบสัมภาษณ์ผ่านได้ ถ้าไม่ชอบ ก็จะถามคำถามยากให้ผู้สมัครคนนั้นตอบไม่ได้

บางกรณีที่สัมภาษณ์เป็นเวลาสั้น แล้วก็จะปฏิเสธผู้สมัครคนนั้น แต่มีกรรมการท่านหนึ่งสนใจค้นหาคุณสมบัติพิเศษที่ซ่อนอยู่ภายในตัวผู้สมัครคนนั้นจึงขอสัมภาษณ์ต่อ ทำให้ทราบถึงคุณสมบัติข้ออื่นที่ดีของผู้สมัครคนนั้น ต้องเข้าใจว่า คนที่นวัตกรรมจะดูแปลก แต่ไม่ใช่คนบ้า

มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดวิจัยพบว่า 70% ของการลาออกมาจากการคัดคนผิด ถ้าคนออกจากองค์กรมากๆ คนที่ผิดคือ Recruiter ที่เลือกมาไม่ดี กรรมการสัมภาษณ์ เจ้านาย แสดงว่ามีโอกาสพลาดทุกขั้นตอน

การตัดสินใจรับคนต้องใช้ข้อเท็จจริงไม่ใช้ความรู้สึกประทับใจบุคลิกภายนอกของผู้สมัครในการคัดคน ต้องดูความสามารถในการทำงานไม่ใช่ความสามารถในการได้งานทำ เวลาตั้งคำถาม กรรมการสัมภาษณ์ต้องเก่งกว่าคนที่สมัคร จะได้ไม่ถูกหลอก ต้องมีการฝึกอบรมกรรมการสัมภาษณ์ ดังนั้นต้องมี Talent มาเป็นกรรมการสัมภาษณ์จึงจะได้คนเก่งมาทำงาน

คนไม่อยากเป็นกรรมการสัมภาษณ์งานเพราะเสียเวลา มีคนมาสมัครมาก เครียดเพราะต้องสัมภาษณ์ทั้งวัน ต้องมีการจดบันทึกขณะสัมภาษณ์ แล้วมาสรุปภายหลัง หลังจากสัมภาษณ์แล้ว ก็จะมีการจัดวันขอบคุณกรรมการสัมภาษณ์ เชิญ CEO มาเป็นผู้ขอบคุณกรรมการสัมภาษณ์ แล้วบอกว่า มีคนที่เป็นผู้สัมภาษณ์ดีจะสามารถหาคนมีคุณภาพเข้ามาทำงานได้ กรรมการสัมภาษณ์ก็จะรู้สึกว่า CEO ในอนาคตอาจจะมาจากฝีมือพวกเขา เพราะฉะนั้นจะคัดคนอย่างสุดฝีมือ เป็นการเปลี่ยนทัศนคติให้คนมาเป็นกรรมการสัมภาษณ์ด้วยความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้รับเชิญเป็นกรรมการสัมภาษณ์งาน ในวันขอบคุณกรรมการสัมภาษณ์ ก็จะมีการถ่ายรูปกรรมการสัมภาษณ์แต่ละท่าน เมื่อ CEO เข้ามาในห้องประชุม ภาพที่ถ่ายก็จะมีการ Screen ลงหมอนทันที เมื่อออกจากห้อง กรรมการสัมภาษณ์แต่ละท่านจะได้รับหมอนที่มีรูปตนเองกลับไปเป็นของที่ระลึก

สิ่งสำคัญคือ ต้องหา ความสามารถ แรงจูงใจและทัศนคติคนที่มาสมัครงาน

ความสามารถบ่งบอกว่า ทำอะไรได้บ้าง

แรงจูงใจบ่งบอกว่า จะทำอะไร

ทัศนคติบ่งบอกว่าจะทำได้ดีมากเท่าไร

เมื่อรับเข้ามาเป็นพนักงานแล้ว จะมีปฐมนิเทศ โดย CEO ใช้เวลาปฐมนิเทศ 1 เดือนโดยจ่ายเงินเดือน เพราะต้องปรับทัศนคติของคนหลากหลายให้เป็นคน SCG และเป็นการสังเกตพฤติกรรม มีระบบพี่เลี้ยง มีการไปเข้าค่ายฝึก teamwork ทำงานเป็นทีม ทำให้ลาออกน้อยลงเนื่องจากติดเพื่อน CEO ก็มามอบเสื้อสามารถ ในการปฐมนิเทศ ก็จะมีการพาพนักงานเหล่านี้ไปดูโรงงานของจริง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมองค์กร และเป็นประโยชน์ใน rotation ทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร

ในการเลือกพี่เลี้ยง อายุงานต้องห่างจากเด็กไม่เกิน 2 ปีเพื่อการสื่อสารที่ง่าย มีทัศนคติดี ไม่ได้เป็นผู้บังคับบัญชาโดยตรงเพราะจะได้กล้าปรึกษา มีความประพฤติดี ประวัติการทำงานดี มีความเป็นผู้นำ มีทักษะในการสื่อสาร มีความพร้อมทั้งเวลา ร่างกายและจิตใจ เพศเดียวกัน

Generation Z ตอนนี้อายุ 10 กว่าปี จะแตกต่างจาก Generation อื่น ลักษณะสำคัญคือ เก่งเทคโนโลยี แชร์ทุกอย่าง ทำหลายอย่างพร้อมกันในเวลาเดียวกัน ไม่ชอบกิจกรรมนอกบ้าน ทุกอย่างต้องเร็ว ไม่อยากเป็นลูกจ้าง สมาธิสั้น ไม่ชอบระเบียบ เวลาสอนต้องใช้การเล่าเรื่อง มีภาพประกอบ อยากไปทำงานต่างประเทศ ต้องการเปลี่ยนแปลงโลก

ในการประเมินผล นายเป็นผู้ประเมิน แล้วส่งให้คณะกรรมการพิจารณา เพื่อความเป็นธรรม ประเมินปีละ 2 ครั้ง ครึ่งปีแรก ประเมินเสร็จก็จะคุยกับพนักงาน แต่ไม่ได้บอกผลการประเมิน ใช้ Forced Rank ผลคือเงินเดือนขึ้นกับโบนัส ทางบริษัทไม่ขึ้นโบนัสให้เท่ากันทุกคนแต่ขึ้นกับผลงานของแต่ละคน

Forced Rank แบ่งการประเมินเป็น Excellent, Very Good, Good และ Need Improvement พนักงานส่วนใหญ่ได้รับผลประเมินแค่ Very Good และ Good สมัยก่อนมีคนได้รับการประเมินในระดับ Excellent น้อยมาก แต่เมื่อมีคนได้รับการประเมินระดับ Excellent ก็ต้องมาพิจารณาว่ามีคนได้รับการประเมินระดับ Need Improvement หรือไม่ บางครั้งนายก็ไม่กล้าประเมิน การกระทำแบบนี้จะกระทบเป็นวงกว้าง คนก็คิดว่าไม่ต้องทำอะไรก็ผ่านการประเมินแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะทำดีไปทำไม นายต้องประเมินลูกน้องครึ่งหนึ่ง แล้วนำเสนอผลต่อที่ประชุมอีกครั้งหนึ่ง สรุปว่า ผลประเมินทั้งครึ่งแรกและครึ่งหลังของทั้งหน่วยงานเป็นอย่างไร

ในการประเมิน จะพิจารณาจาก Performance และ Potential เรื่อง Performance เป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเพราะเห็นถึงชิ้นงานที่ทำสำเร็จ แต่ Potential เป็น Soft Skill ซึ่งจับต้องยาก เช่น จรรยาบรรณและจริยธรรมในการทำงาน ถ้าไม่มี ก็ไม่ต้องประเมินต่อ เพราะจะโตไม่ได้ ถ้ามีจรรยาบรรณและจริยธรรม จึงค่อยพิจารณา Potential ว่า เป็น Manager (ทำงาน Routine) หรือ Leader ที่ต้องมองไปไกลกว่านั้นPerformance+Potential ส่งผล Career Growth ส่วน Competency นำมาใช้พัฒนาแต่ไม่ได้นำมาใช้ประเมินผลงาน แต่ต่อไปก็ต้องนำมาใช้ด้วย

Performance+Potential ส่งผล Career ว่าจะเป็น Fast Track, Normal Track หรือ Slow Track ก็มีทั้งคนชอบและไม่ชอบแบบนี้ จึงมีการปรับอยู่เรื่อยๆ

จาก Performance+Potential

1.พวกที่ 1 Potential และ Performance สูง ก็น่าจะเป็น High Potential

2.พวกที่ 2 คือ Potential สูง แต่ Performance ต่ำ เกิดจาก Misplace หรือนายกดขี่ หรือปัญหาอื่นๆที่ทำให้ Performance ตก ก็ต้องมาดูว่าจะจัดการอย่างไร

3.พวกที่ 3 คือ Performance สูง แต่ Potential ต่ำ คือ คนที่เก่งคิด เก่งพัฒนา ทำงานได้ดีเกินคาด เป็น Workhorse ของหน่วยงานและมีมากที่สุดของหน่วยงาน พวกนี้ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในนั้นให้ฉายแววออกมา

4.พวกที่ 4 คือ Potential และ Performance ต่ำ ถ้าเลี้ยงคนเหล่านี้ไว้ จะกระทบกับคนทำงานว่าคนเหล่านี้ไม่ต้องทำงานก็อยู่ได้ จึงทำงานแค่ครึ่งเดียว

ยุคใหม่ ต้องมีการ Reward มาก SCG ทำโดย

1.พัฒนา

2.ย้ายให้ไปทำงานอื่น

แต่ถ้าทำทุกวิถีทางแล้ว ก็ไม่ดีขึ้น ก็ต้องทำให้หลุดออกไปจากบริษัท เวลารับคนที่มีประสบการณ์การทำงานเข้ามาจากที่อื่น ก็ต้องดูว่าเป็นพวกที่ 4 ที่มี Potential และ Performance ต่ำหรือไม่ แม้จะมาจาก SCG ก็อาจจะไม่ได้เก่งทุกคน คนที่มี Performance ต่ำจะสร้างพวกทำให้คนอื่นไม่อยากทำงาน

ถ้าเป็นคน Potential และ Performance สูง ก็ต้องปล่อยให้ทำงานอิสระ เพราะเป็นคนเก่ง คิดนอกกรอบ ถ้านำอะไรไปครอบ ก็จะอยู่ไม่ได้ ก็จะลาออก หรือไม่ทำงานนั้น

ถ้าเป็นพวกกลางๆ ก็ต้องให้โอกาสฉายแสง ให้ลองทำงานใหม่ๆเพื่อดูศักยภาพ

ถ้าเป็นคนมี Potential และ Performance ต่ำ ก็ต้องส่งให้คู่แข่งไป

SCG มีการโยกย้ายเป็นปกติ เรียกว่า ได้ย้าย เพราะเป็นคนเก่งที่มีคนต้องการให้ไปทำงานด้วย

ในการทำงานอยู่ที่เดิมนานๆ เหมือนน้ำที่นิ่งก็จะเน่า ก็มักจะไม่พัฒนาตนเองเพราะเคยชินกับงานที่ทำ ก็เริ่มใช้เด็กฝึกงานหรือรุ่นน้องทำแทน การ Rotate ทำให้คนเปลี่ยนงาน มีสภาพแวดล้อมใหม่ในการทำงาน ทำให้คน active ขึ้น จะมีการโยกย้ายทุก 3-5 ปี

SCG มีทุนการศึกษาระดับปริญญาโทถึงปริญญาเอกให้พนักงานไปพัฒนาตัวเอง มีการส่งพนักงานไปประจำที่ต่างประเทศหรือดูงานต่างประเทศ หรือไปเข้า Short Course ต่างประเทศช่วงสั้นๆ ประมาณ 3-6 เดือน

Job Rotation ทำให้คนพัฒนา คนที่จะก้าวสู่ตำแหน่งสูงได้ต้องไม่มีความรู้แบบ Silo คือรู้ด้านเดียว ถ้ารู้ด้านเดียว จะถูกลูกน้องหลอก

มีการ Coaching และ Counseling นายโค้ชลูกน้องเป็นการพัฒนา การให้คนเป็นวิทยากรก็เป็นการพัฒนาด้วย SCG มีวิทยากรภายในอีก 400 กว่าคน ทุกคนต้องไปช่วยกันสอนพนักงานรุ่นใหม่ มีหลักสูตรภายในมากมาย การมอบหมายให้คนเป็นวิทยากรทำให้คนเหล่านี้ต้องขวนขวายหาความรู้ให้กับตัวเอง มีการประเมินวิทยากร และมีวันขอบคุณวิทยากร

เรื่องของ Productivity ถือเป็นการพัฒนาองค์กร

Roadmap ในการพัฒนาคนของ SCG

Roadmap นี้ยังใช้จนถึงปัจจุบัน ตอนนี้กำลังปรับ เริ่มจากเข้ามาใหม่ ก็ต้อง Ready together พวกทุนก็ถือเป็นการพัฒนา จรรยาบรรณก็ถือเป็นฐานที่ทุกคนต้องเข้า Functional ก็ถือเป็นฐ

หลักสูตรแบ่งเป็นกลุ่มคือ การพัฒนาด้านธุรกิจ ภาวะผู้นำและทักษะทั่วไป

ในด้านการพัฒนาด้านธุรกิจ มีหลักสูตรแบ่งตามระดับพื้นฐานไปยังระดับสูงดังนี้

1. ABC (Abridged Business Concept) เป็นเนื้อหาธุรกิจพื้นฐานสำหรับพนักงานใหม่ ทำให้เห็นความเชื่อมโยงของธุรกิจ

2. BCD (Business Concept Development) สอนการเป็นเจ้าของธุรกิจ มีการให้ทดลองลงทุน การตัดสินใจลงทุน ตอนนี้มี ABC และ BCD ภาคภาษาอังกฤษ สำหรับชาวต่างชาติ

3. MDP (Management Development Program) เป็นหลักสูตรที่เชิญอาจารย์จากวอร์ตันซึ่งเน้นวิชาการมาสอนทุกเดือน คนที่จะเข้าหลักสูตรนี้ได้ ต้องสอบภาษาอังกฤษผ่านก่อนและต้องเป็นระดับ Senior Manager ขึ้นไป

4. MAP ซึ่งเปิดปีที่แล้วเป็นปีแรก เชิญดุ๊คมาสอน เน้น Soft Skill

5. EDP (Executive Development Program) ไปเข้า IMD หรือที่อื่นก็ได้

6. AMP (Advanced Management Program) แต่ก่อนมีที่ฮาร์วาร์ดที่เดียว ตอนนี้มีของวอร์ตัน

หลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำก็เริ่มจากนำตัวเอง แล้วค่อยนำทีม และนำไปสู่การสร้างผู้นำขึ้นมา ตอนนี้ SCG กำลังปรับหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำเพราะมองว่า ไม่สามารถใช้ One size fits all. ได้ ต้องเป็น Tailor-made ดังนั้นหลักสูตรพัฒนาภาวะผู้นำในอนาคตจะเน้นวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็งของแต่ละบุคคลแล้ว Tailor-made ให้แต่ละคน

การอบรมของ SCG ใช้ระบบลงมือปฏิบัติ เรียนรู้จากประสบการณ์ 70% เรียนรู้จากคนรอบตัวประสบการณ์คนอื่น การค้นหาความรู้ต่างๆ 20% และ 10% จากเป็นการเรียนในห้องเรียน

ในด้านทุนการศึกษา SCG มีทุน MBA ทุนด้าน Technical ทุนปริญญาเอกซึ่งเน้นนาโนไมโคร Material Science และสาขาที่เป็นที่ต้องการของบริษัท มีมหาวิทยาลัยติอันดับหนึ่งในสิบของโลกมาให้ทุนพนักงานศึกษาต่อ ทุนวิศวกรรมก็มีแยกสาขาย่อยอีก ทุนการศึกษามีมากมายมหาศาลไปเรียนในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย สิงคโปร์ มีทุนการศึกษาเฉพาะทาง เช่น HR

นอกจากนี้ SCG ยังมีโครงการเตรียมความพร้อมนักเรียนทุน มีการสอน TOEFL, TOEIC, GMAT, IELTS การเขียน Essay ถ้าอยู่ SCG แล้วไม่สามารถเข้ามหาวิทยาลัยชั้นนำได้ เวลาไปสมัครเองก็จะได้ยาก เพราะผู้บริหารระดับสูงก็ได้เดินทางไปเจรจากับมหาวิทยาลัยระดับโลกต่างๆไว้ให้แล้ว

SCG ใช้ SCG HR Portal เป็น e-HR เป็นระบบคอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลภายใน เก็บเป็นเอกสารอิเลคทรอนิกส์ เวลาที่อบรมภายใน ข้อมูลชื่อหลักสูตรก็จะเข้าระบบทันที ยกเว้นการอบรมภายนอก ก็ต้องใส่ข้อมูลเพิ่มเติมเองแล้วส่งเอกสารรับรองการจบหลักสูตรประกอบ

ในด้านการรักษาคน Dave Ulrich ปรมาจารย์ด้าน HR ของโลกกล่าวว่า We must treat people like human not asset. ต้องปฏิบัติต่อคนเป็นคน ไม่ใช่ทรัพย์สิน

คนอยากทำงานเพราะบริษัท แต่เจ้านายทำให้ลูกน้องลาออก เพราะฉะนั้น ที่ SCG ถ้าพนักงานลาออก เจ้านายจะถูกสอบสวนเกี่ยวกับดูแลพนักงานเป็นอันดับแรก ไม่ใช่มองว่าพนักงานไม่เก่งหรือไม่ดีพอจึงอยู่ไม่ได้

SCG ใช้หลัก Give before demand ให้โดยไม่ต้องร้องขอ หน่วยงานต้องดูแลความเป็นอยู่โดยที่พนักงานไม่ต้องเรียกร้อง

SCG เคยทำวิจัยสาเหตุของการลาออก พบว่า สาเหตุการลาออกที่สำคัญ คือ เนื้องาน ทำธุรกิจส่วนตัว ศึกษาต่อ รายได้ นาย Career

จาก 90% ของพนักงานที่สัมภาษณ์งานเข้ามาบอกว่า จะทำงานอยู่ไม่นานแค่ 3 ปี ไม่กลัวว่าบริษัทไม่รับ แต่ขึ้นอยู่กับว่า เปลี่ยนใจคนเหล่านี้ได้หรือไม่ หลายคนที่เข้ามาทำงานแล้วคิดว่าการทำธุรกิจไม่ง่ายอย่างที่คิด จึงเปลี่ยนใจเป็นลูกจ้างเพราะไม่เสี่ยง

SCG มีการนำเจ้านายไปเข้าหลักสูตรฝึกฟังลูกน้อง เพราะเป็นสาเหตุให้ลูกน้องลาออก ต้องถามแผนชีวิตในอนาคตของลูกน้องว่าอยากจะทำงานอะไรในอนาคต นายต้องส่งเสริมลูกน้อง ลูกน้องบางคนคิดว่าไม่รวยก็ได้แต่อยากมีความสุข ทำให้ไม่ยอมย้ายตำแหน่งแม้จะไม่มีความเจริญก้าวหน้าทางหน้าที่การงานเพิ่มขึ้นก็ตาม

ทุกอย่างเมื่อใช้ไประยะเวลาหนึ่งก็ต้องมีการปรับ เพราะคนเปลี่ยน มีหลักสูตรต่างๆ เช่น

1. Clarify company direction ที่ให้ทราบทิศทางขององค์กร

2. Leadership Roles and Responsibilities ผู้นำจะได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มงวดเกี่ยวกับบทบาทในการรักษาคนไว้

3. Empower พนักงาน ต้องการการตัดสินใจ หรือคุณภาพชีวิตหรือไม่

4. Career Development เป็นเรื่องของความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รวมถึง Reward ได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น

มีสาร SCG Content

มีวันทดสอบสมรรถภาพร่างกาย มีการแข่งกันระหว่างหน่วยงาน มีกิจกรรมแกว่งแขนลดพุงวันละ 2 รอบ มีรอบพิเศษสำหรับกิจกรรมยืด เหยียด มีการประกวด Mr. and Miss Healthy Beauty Contest กิจกรรมก็จะเปลี่ยนไปแต่ละปี

โครงการ Fit for Work, Fit for Life เป็นกิจกรรมที่ทำทุกปี คนที่เข้าร่วมโครงการก็เป็นผู้บริหารระดับ Senior Manager ขึ้นไป มีการตรวจที่คอเพื่อดูการไหลเวียนของเลือดไปเลี้ยงสมองโดยนำโรงพยาบาลต่างๆมาตรวจ มีการวัดความเครียด (Stress Test) มีการฝังเข็มรักษาโรค โดยแพทย์จากญี่ปุ่น มีการแนะนำเมนูสุขภาพให้เหมาะสมกับแต่ละคน มีกิจกรรมจัดบรรยายเรื่องสุขภาพ

SCG ยังมีกิจกรรมตามเทศกาล เช่น พิธีรดน้ำดำหัวเนื่องในโอกาสวันสงกรานต์ แจกลูกโป่งและช็อกโกแลตเนื่องในโอกาสวันวาเลนไทน์

ถ้ามีภาพยนตร์ดีเข้ามา ทางบริษัทก็จะปิดโรงภาพยนตร์ให้พนักงานเข้าไปดูโดยได้ราคาพิเศษ โดยพาครอบครัวไปด้วยได้แต่ครอบครัวเสียราคาแพงกว่า หรือพาเพื่อนไปดูได้แค่ 1 คน ทาง SCG จัดกิจกรรมนี้มาเป็นระยะแล้ว 3 ปี

พนักงาน HR แบ่งเป็นกลุ่มๆ หัวหน้างานก็จะเป็นหัวหน้ากลุ่มแต่ละกลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มไปคิดกิจกรรม SCE เป็นกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์เพื่อสังคม เช่น ไปเล่นดนตรีหาเงินไปซื้อเก้าอี้เข็นคนชรามอบให้บ้านพักคนชรา หัวหน้ากลุ่มต้องกระตุ้นให้ลูกกลุ่มแสดงความคิดเห็นแล้วให้การสนับสนุน

มีโครงการปันโอกาสวาดอนาคต ให้พนักงานเสนอโครงการเพื่อสังคมให้หน่วยงานด้านสื่อสารองค์กรพิจารณา คือ มูลนิธิเอสซีจี ถ้าพิจารณาแล้วผ่าน จะได้เงินไปทำโครงการนั้น

มีสภากิจกรรมพนักงาน มีการแจ้งกิจกรรมไปยังพนักงาน

มีการมอบเหรียญทางคำหนักประมาณ 2 บาท เรียกว่า เหรียญอึด แก่พนักงานที่ทำงานมาครบ 25 ปี

มีชมรมช้างปูนสำหรับพนักงานที่เกษียณแล้ว ปีสุดท้ายของการเกษียณ บริษัทจะพาพนักงานเหล่านี้ไปเที่ยวในประเทศ โดยนำสมาชิกครอบครัวไปด้วยได้ 1 คน

มีเว็บไซต์ www.scghrknowledge.com เผยแพร่ความรู้ด้าน HR มีการจัดกิจกรรมจิบน้ำชาโดยเชิญสมาชิกมาร่วม เชิญ HR Director มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์

Global Trend (เทรนด์เปลี่ยนโลก)

สมัยก่อน ใครที่จะเป็นผู้นำธุรกิจต้องแข่งขันกันที่การมีเงิน วัตถุดิบ สิ่งปลูกสร้างมาก

แต่ถ้าเป็นยุค New Economy จะดูที่สิ่งที่เป็น Intangible คือ

  • แบรนด์ ชื่อเสียงจะเป็นตัวที่นำซึ่งหลายสิ่ง
  • Relationship ปัจจุบันนี้จะอยู่คนเดียวไม่ได้ เกิด AEC, EU ดังนั้นเรื่อง Network สำคัญมาก หลายแห่งก็ใช้จุดแข็งที่อื่นมาเสริมเป็นเครือข่าย
  • ความรู้ตอนนี้ต้องเป็นนวัตกรรมที่สามารถจดทรัพย์สินทางปัญญาได้ และต้องทำให้บริษัทแตกต่างจากที่อื่น
  • Capability องค์กรก็ต้องมีคนเก่ง มีความคิดสร้างสรรค์ แต่ก็จับต้องไม่ได้จนกว่าจะผลิตออกมาแล้ว

ถ้าบริษัทมี 4 อย่างนี้ ก็จะเป็นผู้นำ

ตอนนี้ โลกกลายเป็น Global Village เหมือนประเทศหนึ่ง คนในโลกนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 9 พันล้านคนในปี 2593 จีนจะมีประชากรมากที่สุดในโลก จากการไปจัด Job Fair มีคนจีนมาหางานมาก รุ่นลูกหลานจะมีงานให้ทำหรือไม่ มีทักษะทางภาษาต่างประเทศหรือไม่

เมื่อเปรียบเทียบการใช้ซีเมนต์ จีนใช้ซีเมนต์เพียงแค่ 3 ปีจะเท่ากับสหรัฐอเมริกาใช้ซีเมนต์ 100 ปี มีการเติบโตมากที่สุด

เมื่อเป็น Global Village แล้ว ก็ต้องเป็น Global Citizen เพราะฉะนั้นคนต้องเรียนรู้วัฒนธรรมข้ามชาติ มีความฉลาดทางวัฒนธรรม ต้องรู้เรื่อง Business and Society

Social Media มาแรงมาก

ในอนาคตจะเป็น Mobile Learning ทุกอย่าง Online

มี Virtual Workplace ซึ่งประเทศไทยมีแล้วคือ ทำงานอยู่บ้าน (Work from Home) มี E-lance Economy

มี Smart Technology เช่น เวลาที่ขึ้นรถ รถจะสื่อสารกับทางสำนักงานว่าจะไปถึงสำนักงานภายในระยะเวลาเท่าไร

บางองค์กรใช้ DNA คัดเลือกคนเข้าองค์กร นำ DNA มาเปรียบเทียบว่ามีความคล้ายคลึงกับผู้นำเก่งๆหรือไม่

แม้ว่าการแต่งงาน ก็สามารถวิเคราะห์ DNA แล้วไปค้นหาคนที่มี DNA ที่ทำให้สามารถมีลูกตามคุณสมบัติที่ต้องการได้

ตอนนี้หลายองค์กร ให้ผู้สมัครงานเล่นเกมเพื่อคัดเลือกเข้าทำงาน โดยดูศักยภาพการตัดสินใจ ภาวะผู้นำและคุณสมบัติอื่นๆ

ปัจจุบันนี้ คอนแทคเลนส์สามารถเป็นโทรทัศน์ เป็น LCD ตอนนี้ทำเลนส์ LCD เป็นแบบโค้งใส่ไว้ในตาแล้วจะเชื่อมต่อกับเสื้อและหูฟัง ทำให้ไม่ต้องพกคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์ ถ้าต้องการดูสิ่งใด ก็มองที่คอนแทคเลนส์แล้วจะเห็นภาพขึ้นมา

ในการซื้อเสื้อผ้า ก็ไม่ต้องไปลอง แค่มองกระจกแล้วเลือกแบบ จะไม่มีปัญหากลิ่นตัวคนที่ลองเสื้อก่อนหน้านี้

ในอนาคต จะมีพลังงานจำกัด จะมีการใช้พลังงานแพลงก์ตอนในทะเลที่เรืองแสงจากแมงกะพรุน ทำเป็นถนนเรืองแสง ไม่ต้องใช้ไฟ

จะมี Geo-engineering คือมีการนำนักวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆมาร่วมกันสร้างโลก

การคมนาคมในอนาคต ก็บินได้ ลงน้ำได้ วิ่งบนถนนได้มีแน่นอน

จะมีการเก็บน้ำจากหมอก เนื่องจากน้ำจะขาดแคลนแล้วจะเกิด Water War จึงเก็บน้ำจากอากาศที่มีความชื้น นำความชื้นกลั่นออกมาเป็นน้ำ จากขวด ถ้ามีเครื่องกลั่นเป็นจุก ถ้าถือไปด้วย ก็ไม่ต้องพกน้ำ

มี Vertical Pink Farms ปลูกพืชในโรงเรือน มีการวิจัยว่า จะใช้แสงสีอะไรกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืช พบว่า ใช้แสงสีน้ำเงินกับสีแดงกระตุ้นการเติบโตของพืช ทำให้พืชเติบโตแบบปลอดสารใช้น้ำน้อย ใช้พลังงานไม่มาก และสามารถปลูกในครัวเรือนได้ แสงเหล่านี้ช่วยให้รสชาติของอาหารดีขึ้น

ตอนนี้ ไม่ต้องเลือกสีรถยนต์แล้ว เพราะสีรถเปลี่ยนสีตามอารมณ์ของผู้ขับ

จะมีการฝังชิพในสมองเพื่อควบคุมสิ่งต่างได้

จะมียากินย้อนวัย

สมองจะกลายเป็น Hyper Intelligent Brain ทำให้เก่ง

กล้ามเนื้อสามารถ Upgrade ได้ ชุดที่ใส่สามารถช่วยให้ยกข้าว 4 กระสอบได้

จะมี Creative class เป็นชนชั้นคิดสร้างสรรค์

สหรัฐอเมริกาใช้โดรนขนส่งของ ทำให้ระบบ Logistics เปลี่ยนไป

จะมีการใช้หุ่นยนต์ทำงาน และจะสามารถแสดงอารมณ์ได้เหมือนคน

ต่อไปนี้ จะมีการสร้างตึกในอากาศ สิงคโปร์ทำโมเดลจำลองแล้ว และจะเป็นตึกกินได้ (Eatable Building)

จะเกิดการผสมผสานระหว่างธุรกิจหรือหลายสิ่งที่ข้ามกันไป (co-creation)

Leadership ต้องเปลี่ยนไป ต้องสามารถเชื่อมโยงคน และสร้างแรงบันดาลใจคนได้

เรื่องสุขภาพก็จะเปลี่ยนไป ในอนาคตหลายอาชีพจะหายไป เช่น พยาบาล พนักงานต้อนรับ ทุกอย่างออนไลน์หมด คนจะมีอายุยืนขึ้น แก่ง่ายและไม่ตาย เด็กเกิดน้อยลง จะหาคนทำงานได้ยาก จะมีคนอายุเกิน 100 ปีมากขึ้นเรื่อยๆ เกิดอาชีพใหม่คือ นางแบบอายุ 70 กว่าปี

ได้มีการค้นพบเซลล์ย้อนวัย ที่ออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกาได้มีการทดลองกับหนูอายุ 2 ปี นำเซลล์นี้ไปใส่กลายเป็นหนูอายุ 6 เดือน ถ้าเทียบกับคนอายุ 60 ปีจะเหลือ 20 ปี

คนสนใจเรื่องทางจิตมากขึ้น แม้แต่สวัสดิการจะเปลี่ยนไป คนแต่งงานหรือไม่แต่งงาน แต่อาจจะไม่มีลูก อาจจะมีประกันสัตว์เลี้ยงเพราะเลี้ยงสัตว์เป็นลูก

ไม่มีการจ้างงานชั่วชีวิต เด็กที่เข้าทำงานก็จะดูว่ามีโอกาสในการเรียนรู้มากเท่าใด

ขอฝากคำถามให้คิด 2 ข้อ

  • Over the next ten years, what do you expect to have the biggest impact on your organization?
  • How will you change in the next ten years?

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์ได้เตรียมข้อมูลที่มีคุณค่ามาก ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เป็นแนวร่วมกับคุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์อยู่ ถ้าคุณธัญธร์รัตน์ โพธานันท์เกษียณแล้ว ก็อยากเชิญมาร่วมงานหลัง

จะเห็นได้ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ตรงกับความต้องการของสังคม ไม่ว่าจะมอง HR ในมุมกว้างหรือมุมขององค์กร

ขอขอบคุณในนามทีมงาน

นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของ SCG เป็นบริษัทที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 6 ในวันนี้เป็นภาคเอกชนที่ทำเพื่อส่วนรวมอย่างแท้จริง


โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/570b606c93816302228b468e#.Vwt9i5yLSt8

ที่มา:รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศเมื่อวันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน 2559 ทาง FM 96.5 MHz

http://www.gotoknow.org/posts/605086
ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 18 เมษายน – 2 พฤษภาคม 2559

หมายเลขบันทึก: 604616เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2016 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2016 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

การเข้าร่วมศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้เห็นรูปแบบการดำเนินการขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ และเห็นถึงการมีส่วนร่วมของคนในองค์กรที่มีเป้าหมายเดียวกัน ชื่นชมมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ให้ทุกคนมีส่วนร่วม การประชุมเป็นการสื่อสารที่ดี และการใช้ไอทีเป็นเครื่องมือ ทำให้บริหารจัดการได้โปร่งใสมากขึ้น มหาวิทยาลัยทักษิณน่าจะประยุกต์การนำไอทีมาจัดการกับระบบต่าง ๆ เพื่อให้เป็นการบูรณาการที่แท้จริง การได้รับฟังในส่วนของ SCG ทำให้เรียนรุ้่ว่า ทรัพยากรมนุษย์มีคุณค่าตั้งแต่ครั้งแรกที่เข้ามาร่วมงานกับองค์กร และการร่วมด้วยช่วยกันในการรักษาผู้ทรงคุณค่าขององค์กรไว้ ชื่นชนผู้บรรยายที่นำประสบการณ์ของท่านมาบรรยายให้ได้แนวคิด ทำให้ต้องกลับมาสร้างสื่อต่าง ๆ ในการสื่อสารกับบุคลากรในองค์กรให้มากขึ้น เพื่อให้มีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนองค์กร

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายเรื่อง CSR คือ การทำดีไม่ต้องหวังผล แค่ทำดีให้สุขใจ และเกิดประโยชน์กับเป้าหมายก็พอ ขอบคุณแรงบันดาลใจในการทำความดีและสร้างความดีให้จับต้องเป็นรูปธรรมได้

การศึกษาดูงานที่ BU และ SCG ทำให้เกิดการเรียนรู้ประเด็นสำคัญคือ

1. brand ที่มีความสำคัญต่อองค์กรเป็นอย่างมาก

2. image การพัฒนาองค์กรให้มีภาพลักษณ์ที่ดีย่อมส่งผลต่อการดึงดูดใจของกลุ่มเป้าหมาย

3. professional ความเป็นมืออาชีพขององค์กรย่อมส่งผลต่อความน่าเชื่อถือ

จากการได้ร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่7 - 8 เมษายน 2559) การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีการดำเนินงานที่มีรูปแบบการบริหารงานที่ดีมาก โดยเฉพาะการสื่อสารกันระหว่างทีมบริหารงานที่มีการประชุมเพื่อให้มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน มีการจัดการเรียนการสอน ห้องเรียน ห้องปฎิบัติการต่างๆ ที่เน้นให้นักศึกษา ได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่สามารถคิดสร้างสรรค์งานได้ มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน และการบริหารงานอย่างต่อเนื่อง ประเด็นสำคัญมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีการวางแผนการหารายได้ และการขยายงานสู่กลุ่มลูกค้า ที่เราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ การดูงานที่ SCG ก็ได้ความรู้เรื่องของการให้ความสำคัญกับทรัยกรมนูษย์ที่ เริ่มตั้งแต่การรับบุคคลากรเข้าทำงาน การพัฒนาบุคคลากร การดูแลบุคคลากรให้มีความสุขกับการทำงาน และ SCG ยังให้ความสำคัญกับการดูแลสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นเรื่องที่ทำให้องค์กรเป็นที่ยอมรับทางสังคมอย่างสูง

จิดาภา สุวรรณฤกษ์

การทัศนศึกษาที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ การสอนให้เป็น ผู้ประกอบการ และการมีความคิดสร้างสรรค์ และการใช้ระบบไอที ที่ทันสมัยมาก

SCG เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร การรับสมัคร การทำความเข้าใจในองค์กรที่มีความเข้าใจตรงกัน

สำหรับการร่วมโครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 7 ระหว่างวันที่7 - 8 เมษายน 2559)นั้น ได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ แม้จะเป็นสถาบันการศึกษาเอกชน แต่มีรูปแบบและแนวทางในการบริหารงานที่ดีมาก มีรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ห้องเรียน ห้องปฎิบัติการต่างๆ และสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดกระบวนการกระตุ้นการนอกกรอบการคิดสร้างสรรค์ มีการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอนและการบริหารงานเพื่ออนาคต ในส่วนของ SCG นั้นได้ความรู้การบริหารทรัยกรมนูษย์ที่นำไปสู่การขับเคลื่อนแะพัฒนาองค์กรเพื่อความก้าวหน้าและอนาคตที่ยั่งยืน

สรุปผลการศึกษาดูงาน (7-8 เมษายน 2559)

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

การศึกษาดูงานมหาวิทยาลัยกรุงเทพทำให้ทราบแนวความคิดของมหาวิทยาลัยเอกชน การปรับเปลี่ยนตนเองตลอดเวลาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของตลาด ซึ่งแตกต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐบาลที่อยู่ใน comfort zone มากไป การที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจุดเด่นในเรื่องของการส่งเสริมความคิดสร้างสรรทำให้มีจุดขายที่เด่นชัด บวกกับการใช้เทคโนโลยีและสภาพแวดล้อมช่วยกระตุ่นกระบวนการคิดของนิสิต ช่วยเพิ่มจุดเด่นของมหาวิทยาลัยได้อย่างดี

2. SCG

ประทับใจกระบวนการจัดการด้าน HR ของ SCG และเข้าใจถึงการดำเนินงานในลักษณะของบรรษัทภิบาลมากขึ้น การดูแล การปลูกฝังค่านิยมองค์กรทำให้บุคลากรของ SCG ไม่ได้คำนึงถึงแค่ผลประโยชน์ แต่ยังมีเรื่องของสิ่งแวดล้อม และชุมชนที่ดำเนินการควบคู่ไปด้วย

3. การบรรยายจากคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

ทำให้ได้แนวความคิดว่าการพัฒนามนุษย์นั้นสำคัญ โดยต้องพัฒนาทั้งทางด้านความคิด จิตใจ และตนเอง การจะสอนคนอื่นได้วิธีที่สุดคือการเป็น Raw model ที่ดี

วีณา ลีลาประเสริฐศิลป์

การเรียนรู้ในช่วงการศึกษาดูงาน 7-8 เมษายน สถานที่แรกคือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นที่น่าทึ่งมากที่มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งสามารถเป็นผู้นำทางด้านการบริหารจัดการโดยใช้ IT เกือบทุกอย่าง ตั้งแต่การจัดการเรียนการสอน ระบบการบริหารจัดการภายในทุกเรื่อง การหารายได้จากการมีภูมิทัศน์ที่สวยงามและสถาปัตยกรรมที่แตกต่างจากที่อื่น นั่นหมายความว่าการมีความคิดสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญจะนำไปสู่เรื่องใหม่ๆ นวัตกรรมใหม่ๆ รวมทั้งการเปิดใจกว้างของผู้บริหารหรือการสร้างแรงบันดาลใจให้กับบุคลากรได้พัฒนาไปสู่วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย การสื่อสารในองค์กรเป็นเรื่องสำคัญ บุคลากรและนักศึกษาจะรู้ว่าเมื่อเข้ามาอยุ่ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้เค้าจะเป็นอย่างไรและออกไปดำเนินชีวิตอย่างไร ด้วยจุดเด่นของการมี IT ที่ทันสมัย

การรับฟังการบรรยายของคุณ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย ทำให้มองเห็นว่า การมีธรรมมาภิบาลเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการมีธรรมมาภิบาลนี้ต้องมีการยกระดับจิตใจให้สะอาด มองถึงองค์รวมทั้งระบบ ไม่เห็นแก่ได้เห็นแก่ตัว จะต้องร่วมสร้างปลูกจิตใจให้มีธรรมแก่เยาวชน มีความเมตา กรุณา ซื่อสัตย์ รับผิดชอบ การมีจิตใจดีจะทำให้ประเทศเดินทางไปสู่ความเจริญก้าวหน้า ซึ่งบทบาทของครูการเป็นแม่แบบที่ดีเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในกาารหล่อหลอมเยาวยชนที่ดี และพลเมืองดี นำพาประเทศต่อไปในอนาคต การพัฒนาที่ผ่านมาของประเทศไทยมีแต่เรื่องโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ละเลยการพัฒนาทางด้านจิตใจ จึงทำให้ปัญหาการคอร์รับชั่นเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมากขึ้น พวกเราต้องตระหนักถึงเรื่องเหล่านี้ให้มาก

การดูงานที่ SCG สิ่งที่ประทับใจคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่การคัดสรร การเพิ่มมูลค่าในตัวพนักงานในด้านต่างๆ การรักษาคนให้อยุ่กับองค์กร ซึ่งคนที่สำคัญที่สุดคือผู้บังคับบัญชา ที่จะต้องเข้าใจธรรมชาติของบุคลากรแต่ละคนของตัว มุ่งพัฒนา ส่งเสริมให้เค้าไปสู่จุดหมายภายใต้บริบทของการพัฒนาไปพร้อมๆกับวิสัยทัศน์ของบริษัท องค์กรจะอยู่ไม่ได้ถ้าทรัพยากรบุคคลที่มีอยู่ไม่พัฒนา

ระวีวัฒน์ ไทยเจริญ

ม.กรุงเทพ

มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอน การบริหาร มีการสร้างพื้นที่สิ่งแวดล้อมเพื่อกระตุ้นให้มีความคิดสร้างสรรค์ มีการจำลองสถานการณ์จริงในแต่ละหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษามีประสบการณ์ที่เมื่อจบไปแล้วสามารถใช้ได้จริงในการทำงาน การลงทุนในหลักสูตรที่ต้องใช้การลงทุนสูง แต่ทำอย่างมีประสิทธิภาพโดยมีบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญจริง อย่างเช่น สาขานิเทศศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันเป็นสาขาที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย

SCG

เป็นองค์กรที่มีการพัฒนาเรื่องทรัพยากรบุคคลมาก มีสวัสดิการที่ดี คนในองค์กรมีความรัก ความเข้าใจในการทำงานและเป้าหมายขององค์กร


สำหรับเรื่องพ่อขอโทษที่ปลูกข้าวผิดนา นั้นถือเป็นบทความที่สะท้อนให้เห็นถึงคุรภาพของการศึกษาไทยที่มีความจำเป็นจะต้องปฏิรูปการศึกษาได้แล้ว จากประเด็นลูกสาวอาจารย์ท่านนี้ตั้งคำถามเรียนทำไม แต่อาจารย์สอนตามตำรา และบางครั้งอาจารย์ก็ตอบไม่ได้ อีกทั้งให้คะแนนดีแก่คนจำเก่ง เป็นตัวว่าการศึกษาไทยเน้นให้คนรู้จำแต่ไม่รู้จริง ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ในการบริหารงานและจัดการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาคนของเราให้เก่บนพื้นฐานของความท้ายทายจากความคิดความสามารถและทักษะสากล

ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม

สรุปความรู้ ช่วงที่ 7 ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และ SCG รวมถึงการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญคือการจัดระบบการบริหารจัดการ การสร้าง Mindset ของคนทุกระดับในมหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ค่อยๆเปลี่ยน แต่ที่ชัดเจนคืออธิการบดี ในรอบ 50 ปีมหาวิทยาลัยกรุงเทพมีจำนวนอธิการบดีไม่มาก ในเรื่องบริหารจัดการ ถือว่ามีความเข้าใจตรงกัน มีการเตรียมผู้สืบทอดตำแหน่งบริหาร (Successor) มีการสื่อสารเรื่อง Change Alignment ตั้งแต่ระดับบน มีฝ่ายสนับสนุนองค์กรที่ทำงานร่วมด้วย สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ถ้าอยากให้มหาวิทยาลัยอยู่อย่างยั่งยืน ต้องร่วมมือกัน ทุกวันจันทร์ ผู้บริหารต้องประชุมกันเรื่องกลยุทธ์ เป็นการประชุมลับ มีการบันทึกเป็น KM ในผลการตัดสินใจ ระดับผู้อำนวยการและรองอธิการบดีก็รับเรื่องลงมาถ่ายทอดไปที่คณบดี ต้องมีการติดตามไปดูการดำเนินกิจกรรม แล้วนำมาประชุมเพื่อหารือว่าจะจัดอย่างไรให้ดีขึ้นในปีถัดไป

อีกเรื่อง คือการบริหารงบประมาณ ทุกอย่าง ทุกพื้ที่ในมหาวิทยาลัยต้องมีมูลค่าหมด รายได้จากวิจัยและวิชาการ ไม่ใช่รายได้หลัก หลักการคือต้องคุ้มค่า หอพักจะรับนักศึกษาเข้ามา 1 มิถุนายน 2559 ตอนนี้ ยอดจองเต็มแล้ว หอพักช่วยเรื่องการตลาดได้ เมื่อนักศึกษามาสมัคร มักร้องเรียนว่า ไม่มีหอพัก ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพเคยส่งกรรมการไปตรวจดูสภาพหอพักบริเวณใกล้คียงแต่ก็ทำได้ไม่มาก ต้องมีหอพักให้ผู้ปกครองสบายใจ ต้องมีประกันยอด นำไปสู่การสร้างรายได้ส่วนร้านค้า มีที่ให้เช่า ราคาไม่แพงมาก บริหารจัดการโดยฝ่ายบริหารการกระจายงบประมาณ ขึ้นอยู่กับได้เงินเท่าไร มียอดประมาณการณ์ ภายใต้งบแต่ละปี มีสัดส่วนว่าเข้ากองทุนเท่าไร ตึกสร้างด้วยราคาแพง เพราะมีดีไซน์มาก ใช้บริษัทเดียวกันสร้างทั้งหมด จึงสอดคล้องกัน เงินมี 2 ส่วนคือ

1. Routine เช่นเงินเดือน

2. กลยุทธ์ ทุกหน่วยต้องเสนอโครงการ ทุกโครงการต้องคุ้มทุน

การบรรยายพิเศษเรื่อง มหาวิทยาลัยทักษิณกับการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม

โดย คุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย ประธานที่ปรึกษา บริษัท ดีซี คอนซัลแทนส์ แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด

อยากจะบอกว่ายอดเยี่ยมมาก เราคนไทย และโดยเฉพาะอยู่ในวงการศึกษาต้องตระหนักมากๆ แต่ก้อไม่ควรตระหนก เพราะไทยกำลังลดอัตลักษณ์ไทยลง 10 ปีที่ผ่านมา ไทยมีปัญหา ทำให้สูญหายไปจากโลก แต่ก่อน เวลาไปต่างประเทศ ข้าวหอมมะลิเป็นอันดับ 1 ของโลก ตอนนี้ ตกอันดับ

ในฐานะครูบา อาจารย์ต้องสร้างนักเรียนให้มีจิตสำนึก มีInnovation Different Enterprise (IDE) ต้องมีในทุกชั้น ต้องผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำที่

1.มีแรงบันดาลใจเพราะโลกโหยหาผู้นำสร้างแรงบันดาลใจ เราไม่สามารถบริหารคนได้ แต่สร้างแรงบันดาลใจให้ได้ อาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาท

2.มีความกล้าหาญทางจริยธรรมคือยอดแห่งความกล้าหาญ สังคมไทยมีทั้งคนดีและคนเก่ง แต่ขาดคนกล้าชี้ทางออก บอกทางถูก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ กลัวเสียเพื่อนจึงไม่กล้า ถ้าสิ่งใดที่ไม่กล้าบอกให้คนอื่นทำ ถือว่าเป็นเรื่องไม่ดี ปัญหาคน ผู้นำทำผิด แต่ไม่มีใครทักท้วง ก็ทำผิดไปตามกัน อาจารย์ต้องปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนมีจิตสำนึกละอายต่อการทำผิด ปัญหาคือสำรวจคนอายุ 29 ปีลงมา คือยอมรับการทุจริตได้ถ้าตนได้ประโยชน์

และความเป็นครูจะหมายถึงอะไรในอนาคต ถ้าเป็นครูผู้เรียนรู้ เด็กจะอยากเรียนมาก ครูจะเรียนรู้จากเด็กเมื่อให้เด็กเล่น role play เด็กเปลี่ยนไป เรียนรู้เร็วมาก ไปไกล และนักเรียนมี 3 โรคที่น่าเป็นห่วง

1.โรคความรักตีบตัน ขาดความรักจากครอบครัว ครอบครัวแตกแยก แล้วมาหาความรักนอกบ้าน เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร

2.โรคศักดิ์ศรีบกพร่อง เพราะความรักตีบตัน ความนับถือตนเองน้อย การสอนของโรงเรียนจิตรลดา ทำให้เด็กตอบคำถามยากได้ ครูต้องชมความพยายามไม่ใช่ผลลัพธ์การกระทำ

3.โรคสำลักเสรีภาพ

จะแก้ปัญหาได้โดยครูต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักเรียนศรัทธา เป็นการปลูกฝังนิสัย เป็นแง่คิดที่ดีมาก

ครูอาจจะสอนให้สร้างความรู้ด้วยตนเองก็ได้ (Research-based Learning) ปี 2552 คุณดนัยเปิดตัวหนังสือ White Ocean รณรงค์ปราบปรามคอรัปชั่น ปี 2554 เริ่มทำโครงการทูตความดีแห่งประเทศไทย แต่รุ่นสุดท้ายจะจัดในปีนี้ พบว่า เด็กที่ไม่อยู่ระบบการศึกษา มีความเป็นผู้นำสูง ความคิดริเริ่มดี ปีแรก แก้ปัญหาคอรัปชั่น แก้ปัญหาท้องวัยเรียนและแก้ปัญหายาเสพติด ก็นำเด็กไปเยี่ยมนักโทษ นำเด็กไปเยี่ยมแม่ที่ท้องในวัยเรียน เด็กสะเทือนใจไม่อยากเห็นแม่ร้องไห้ ทำให้เด็กเป็นเจ้าภาพในแก้ปัญหา ก็นำเด็กที่เป็นแฟนกันมาทดลองเลี้ยงเด็ก แล้วก็จะรู้ตัวเองว่าไม่พร้อม เด็กที่ทำโครงการแล้วชนะทำเรื่องการแก้ปัญหาคอรัปชั่นปีแรก โดยเน้นให้เป็นแบบ Imagine Thailand ให้งบประมาณทีมละ 20,000 บาทสำหรับทีมที่ชนะ เด็กภาคใต้บอกว่า ประเทศไทยดีที่สุดในโลก แต่ต้องเปลี่ยนนิสัยคนไทย เด็กอีสานบอกว่า คนดีหายหัว คนชั่วลอยนวล คุณดนัยประทับใจที่สุดคือเด็กตาบอดเรียนการศึกษาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี จบแล้วจะเป็นครู บอกว่า การโกงกินเป็นหายนะของสังคม ผู้ใหญ่สอนอย่าง ทำอีกอย่าง เด็กกลุ่มนี้ชูรูปในหลวง ได้ยินเรื่องเกี่ยวกับในหลวง และฝันว่าในชาตินี้จะเห็นในหลวง แต่ใช้หัวใจสัมผัสทราบว่าในหลวงเป็นคนดี เขาจะเป็นข้าราชการที่ดี

ฟังแล้วซาบซึ้ง และต้องตั้งสติเพื่อช่วยหาทางออกให้กับประเทศ โดยเริ่มจากตัวเรา ครอบครัวเรา งานเรา มหาวิทยาลัยของเรา

และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการจัดกิจกรรม CSR / การแลกเปลี่ยนประสบการณ์สิ่งที่ประทับใจที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานที่มหาวิทยาลัยฯ มีดังนี้

ศึกษาดูงาน ณ SCG หัวข้อ กรณีศึกษาการบริหารจัดการองค์กรเเละการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของ SCG ได้แง่คิดในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่น่าสนใจและดี สามารถนำสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของมหาวิทยาลัยทักษิณด้วย

ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ SCG ยืนยงมาได้มี 3 อย่างคือ

1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) คือ รับผิดชอบ โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง บนพื้นฐานของความสมดุลและยั่งยืน (Sustainable Development)

2.จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ SCG ทำเป็นเล่มแจกพนักงานตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานเพราะต้องปลูกฝังตั้งแต่แรกเข้า ตอนที่คัดคนเข้าทำงานก็ต้องค้นหาคนที่มีจรรยาบรรณแบบนี้เข้ามา

2.1 ปฏิบัติต่อกันภายใต้สิทธิเสรีภาพ คือ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติหรือศาสนาใดก็ถือว่าเท่าเทียม

2.2 ต้องมีการดูแลสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และความปลอดภัย

2.3 การให้หรือรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด

2.4 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์

2.5 การจัดหา ต้องโปร่งใส มีหน่วยงานจัดหามามีส่วนร่วมในการประกวดราคาทุกครั้ง

2.6 การทำธุรกรรมกับรัฐ ไม่มีเงินใต้โต๊ะ

2.7 การปฏิบัติต่อข้อมูลและทรัพย์สิน

2.8 การเปิดเผยข้อมูลและการสื่อสาร เนื่องจากเป็นข้อมูลและทรัพย์สินของบริษัทจึงไม่ควรนำไปเปิดเผย ถ้ามีการเปิดเผย ก็จะกระทบต่อราคาหุ้น ไม่ควรใช้ข้อมูลเพื่อประโยชน์กับตัวเองหรือครอบครัว

2.9 การทำธุรกรรม ต้องตรงไปตรงมา

2.10 การประกอบธุรกิจในต่างประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ ต้องดูกฎหมายต่างประเทศเพื่อไม่ให้เป็นการเลี่ยงภาษี

2.11 การแข่งขันทางการค้า ควรเป็นการค้าที่เป็นธรรม ไม่มีการลดราคาแข่งกัน

2.12 ป้องกันการฟอกเงิน

เป็นแนวคิดที่ดีมาก ระดับชาติก็ควรจะเป็นเช่นนี้

การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้รับแนวความคิดของการบริหารจัดการอย่างคุ้มค่า การใช้ประโยชน์ทรัพยากรทุกอย่าง อย่างเหมาะสมเกิดมูลค่ามากที่สุด การเพิ่มเติมความคิดสร้างสรรค์เข้าไปในงาน ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างออกมามีเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นเฉพาะ มีจุดเน้น จุดขาย โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการทำงาน


การศึกษาดูงานที่ SCG ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บริการจัดการได้ดีเยี่ยม มีกิจกรรมกับชุมชนโดยรอบ โดยไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน การบริหารคนอย่างเป็นเลิศ แนวความคิดด้านการเติบโตของบุคลากร "น้ำนิ่งคือน้ำเน่า น้ำดีคือน้ำที่ไหล" เป็นการพัฒนาคนในทีมอย่างต่อเนื่อง การก้าวไปศึกษางานอื่นๆ ให้ครบถ้วน การที่นายไม่หวงลูกน้องเก่งๆ เป็นหน้าที่หลักของผู้นำที่จะต้องสร้างโอกาส ให้โอกาสและหาโอกาสให้ลูกทีมได้ก้าวหน้าพร้อมทั้งร่วมกันสร้างผลงานที่ดีเพื่อให้องค์กรเข้มแข็ง ยังยืนและก้าวหน้าต่อไป

อ.ดร.ธีรพร ทองขะโชค

การสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้และสิ่งที่จะนำไปปรับใช้กับการทำงานทุกรายวิชาในช่วงที่ 7

1.การศึกษาดูงานที่ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ พบว่า ทุกก้าวย่างของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ครอบคลุมคำว่า CREATIVE ซึ่งแต่ละคำมีความความหมาย ที่สะท้อนจุดแข็งของ ม.กรุงเทพได้เป็นอย่างดี C : Creativity ความคิดสร้างสรรค์ R: Responsibilityความรับผิดชอบ A:Aglility ความว่องไวเพื่อพร้อมในการปรับตัว T:Trust ความเชื่อถือไว้วางใจ I: Internationalization ความเป็นสากล V: Vision วิสัยทัศน์ E: Entrepreneurial Spirit จิตวิญญาณผู้ประกอบการ จึงไม่แปลกใจว่าทำไม ม.กรุงเทพจึงสามารถเป็น ม.เอกชน ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีความก้าวหน้า ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง และยังเติบโตได้อย่างยั่งยืน หลักการจัดการของ ม.กรุงเทพที่ ข้าพเจ้าประทับใจมากที่สุด คือ การบริหารทรัพยากร ประกอบด้วย

ด้านการเงิน รายได้ของ ม.กรุงเทพ มาจากหลายด้าน

  • ค่าหน่วยกิตเป็นรายได้หลัก ดังนั้นการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ของม. กรุงเทพ จึงต้องมีการปรับปรุงอยู่เสมอพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษา และสร้างความพึงพอใจแก่นักศึกษาตลอดจนผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ
  • รายได้จากแหล่งอื่นๆ มาจาก การบริการวิชาการ การวิจัย การให้เช่าสถานที่ในการจัดกิจกรรมแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และในอนาคตจะมีรายได้มากขึ้นจากหอพักที่กำลังจะเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมในด้านการตลาดแก่มหาวิทยาลัยมากขึ้น
  • ซึ่งในหลายๆ กลยุทธ์ ม.ทักษิณ สามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในบริบทของเราได้ โดยพยายามหารายได้เพิ่มขึ้น ทั้งจากรายได้ทางตรงที่มาจากค่าหน่วยกิตและรายได้อื่นๆ

ด้านการใช้สถานที่

  • ม.กรุงเทพ ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อการสอนเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์ให้กับนิสิต
  • สถานที่ของม.กรุงเทพ ยังสามารถผันแปรเป็นการจัดกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ที่ก่อให้เกิดรายได้

ม.ทักษิณ สามารถนำมาปรับใช้ได้ โดยเฉพาะด้านการใช้สถานที่ ซึ่งปัจจุบัน วิทยาเขตสงขลามีการก่อสร้างมากมาย ซึ่งในบางพื้นที่สามารถปรับเปลี่ยนให้มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ให้แก่นิสิตและบุคลากร โดยอาจเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือ ใช้สีที่มีความสดใส ในบางส่วนของอาคาร

ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

ม.กรุงเทพ ใช้ประโยชน์สูงสุดจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการต่างๆ

  • ระบบเทคโนโลยีสำหรับการเรียนการสอน ได้แก่ ODC LMS OCW Aculearn ซึ่ง
  • ระบบการบริหารจัดการห้อง
  • ระบบ MEIS (Management education information system)ของ ม.กรุงเทพ สนับสนุนงานด้านการจัดซื้อ พัสดุ อุปกรณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการเรียนการสอน
  • ระบบ EMS (Employee Management System) สนับสนุนการทำงานของ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรวดเร็ว มีความทันสมัย สามารถรองรับ จัดเก็บข้อมูลบุคลากรได้กว่า 2000 คน
  • ระบบเหล่านี้ถูกออกแบบให้พัฒนาขึ้น เพื่อสนับสนุนการสอนและการดำเนินงานในองค์กร ม.ทักษิณ ควรจะต้องการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีความทันสมัย และตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

2. การศึกษาดูงาน บ.SCG

บ. SCG เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืน และเป็นโมเดลต้นแบบของการบริหารจัดการที่เป็นเลิศและมีสมรรถนะสูงมาอย่างต่อเนื่อง ข้อได้เปรียบสำคัญของ บ.SCG นอกจากจะมีบุคลากรที่มีคุณภาพอยู่อย่างมากมายแล้วนั้น ยังมีความพร้อมทั้งในด้านเงินทุน เทคโนโลยี เครื่องมืออุปกรณ์ เครื่องจักร ตลอดจนระบบการจัดการที่เป็นเลิศ

ในงานด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของ บ.SCG กระบวนการสร้างความเป็นเลิศขององค์กร เริ่มตั้งแต่

การสรรหาบุคลากร (Recruitment) เป็นกระบวนการสรรหาที่เป็นไปในเชิงรุก และมีหลากหลายวิธีการ ผ่านการทำ campus road show การให้ทุนการศึกษา job posting การใช้ระบบ e-recruit (online recruitment) ทำให้สามารถสื่อสารข่าวการสมัครงานได้คลอบคลุมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งในประเด็นนี้ ม.ทักษิณ อาจต้องเพิ่มช่องทางในการสรรหาให้มากขึ้น โดยเฉพา online recruitment

การสัมภาษณ์เพื่อการสมัครงาน เป็นสิ่งที่ บ. SCG ให้ความสำคัญมาก โดยจะมีการจัด interviewer workshop ให้กับผู้ที่ต้องทำหน้าที่สัมภาษณ์ให้สามารถพัฒนาทักษะการสัมภาษณ์และการคัดกรองบุคคลที่เหมาะสมเข้าสู่องค์กร ซึ่งในประเด็นนี้ ม.ทักษิณ ยังต้องเรียนรู้เพิ่มเติมว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ เพราะกระบวนการการสัมภาษณ์เพื่อการสมัครงานบ่อยครั้งมีจำนวนผู้สมัครไม่มาก และความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องการบุคลากร

การพัฒนาบุคลากรใหม่ บ.SCG ดำเนินการผ่านการปฐมนิเทศ เพราะเป็นกระบวนการสำคัญในการหล่อหลอมพฤติกรรมของพนักงานใหม่ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับความต้องการของบริษัท บ.SCG ให้ความสำคัญกับการปฐมนิเทศมาก จะเห็นได้จาก CEO มามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ และยังอนุมัติให้โครงการปฐมนิเทศพนักงานใหม่ จัดได้อย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 เดือน เพื่อให้พนักงานใหม่สามารถปรับทัศนคติและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ในการปฐมนิเทศ ยังผสมผสานการใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) การทำงานเป็นทีม การฝึกปฎิบัติในค่ายทหาร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เกิดความรักผูกพันกันในกลุ่มพนักงานใหม่ และพนักงานที่เป็นพี่เลี้ยงจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เกิดความรักผูกพันในองค์กร

ซึ่งในประเด็นนี้ ม.ทักษิณอาจไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่สามารถต่อยอดในบางประเด็น เช่น พัฒนาและปรับประยุกต์ใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring system) มาช่วยอาจารย์รุ่นใหม่ได้

การบริหารผลการปฏิบัติงาน(Performance management) บ.SCG นำผลที่ได้จากการประเมินผลการปฏิบัติงานทั้งในด้าน performance และ potential ของบุคลากรแต่ละคนมาสู่การพัฒนาการปฏิบัติงาน และเชื่อมโยงไปสู่ระบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ career development talent development rotation system ตลอดจน แนวปฏิบัติต่างๆด้าน HR ซึ่งในประเด็นนี้ ม.ทักษิณได้ริเริ่มการนำระบบการบริหารผลการปฏิบัติงาน(Performance management) มาใช้แล้ว โดยเริ่มจากการทำข้อตกลงก่อนการปฏิบัติงาน กับต้นสังกัด และประเมินผลงานตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ ม.ทักษิณยังคงต้องพัฒนาต่อไปสู่การนำผลที่ได้จากการประเมินไปใช้ประโยชน์และเชื่อมโยงในระบบอื่นๆ

ใช้ระบบ E-HR มาช่วยในงานธุรการและงานเอกสารต่างๆ เพื่อลดเวลา ลดขั้นตอน และลกการใช้กระดาษในการทำงาน และปรับบทบาท HR ไปสู่การทำงานในเชิงกลยุทธ์ และการเป็นคู่คิดทางธุรกิจแก่องค์กรมากขึ้น ซึ่งในประเด็นนี้ยังคงเป็นความท้าทายของ ม.ทักษิณเป็นอย่างมาก

SCG ยังเป็นต้นแบบสำคัญของการนำระบบ SCG engagement model ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง อาทิ health competition ในประเด็นนี้ ม.ทักษิณได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดกิจกรรมกีฬาประจำปี แต่อาจเพิ่มเติมเป็นการจัดกิจกรรมสานความสัมพันธ์ระหว่าง 2 วิทยาเขต ตลอดจนสร้างสิ่งอำนวยสะดวกที่เอื้อต่อการออกกำลังกายให้เพิ่มขึ้น เพราะตอนนี้มีไม่เพียงพอต่อความต้องการของบุคลากรและนิสิต

3. การฟังบรรยายพิเศษ จากคุณดนัย จันทร์เจ้าฉาย

สิ่งที่ประทับใจในการบรรยายของคุณดนัย จันทร์เจ้าฉายทำให้ต้องกลับมาทบทวนการสอนของตัวเองว่าต้องปรับปรุงพัฒนากระบวนการสอนให้นิสิตเกิดการเรียนรู้ สามารถแสวงหาวิธีที่จะได้มาซึ่งความรู้ และสร้งความรู้ได้ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ครูอาจารย์ต้องเป็นต้นแบบที่ดีให้นิสิตเห็นและปฏิบัติตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นต้นแบบของการทำดี เพื่อสร้างให้นิสิตของเราเป็นคนดี คนเก่ง และคนกล้า

ดร. ณับนันท์ ทองมาก

ข้อคิดที่ได้จากการไปดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ (7-8 เมษายน 2559)

  • การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการในทุกระบบไม่ว่าจะเป็นการบริหารงาน ระบบงานบุคคลและระบบการเรียนการสอนรวมทั้งระบบงานอื่นๆในมหาวิทยาลัย ทำให้ลดรายจ่ายของมหาวิทยาลัยได้มากและทำให้ทั้งนักศึกษาและบุคลากรรู้จักเทคโนโลยีอยู่เสมอ
  • การใช้พื้นที่ทุกส่วนได้อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพในการหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย

ข้อคิดที่ได้จากการไปดูงานที่บริษัท SCG (7-8 เมษายน 2559)

  • การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณภาพ การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและตรงกับงานและการบริหารงานตามหลักธรรมภิบาลเป็นปัจจัยสำคัญในการปฏิบัติงานให้สำเร็จ
  • การเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์มีความสำคัญมากต่อองค์กร

การนำสิ่งที่ได้จากการดูงานมาประยุกต์ใช้กับมหาวิทยาลัยทักษิณ

  • มหาวิทยาลัยควรมีมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นโดยการควบคุมการใช้ทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เช่น การนำเอาระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีมาใช้ให้มากขึ้นกว่าเดิมในทุกๆระบบ
  • การใช้พ้นที่ สถานที่ในมหาวิทยาลัยในการหารายได้ควรชัดเจนมากขึ้น เช่น การใช้หอประชุม และห้องประชุมต่างๆ ซึ่งสามารถบริการให้บุคคลภายนอกได้ด้วยเช่นกัน

ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการองค์การสมัยใหม่ ณ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต และ SCG รวมถึงการสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม ประเด็นที่สำคัญและสามารถนำมาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยทักษิณ คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพจะเน้น Zero loss ไม่ใช่ลด cost ในส่วนของ Corporate Social Responsibility (CRS) ต้องเริ่มปลูกฝังที่ Individual Responsibility (ISR) ระดับบุคคล แล้วเน้นที่เด็ก แล้วทำในระดับองค์กร ทำไปในระดับชุมชนและแต่ละจังหวัด ท้ายสุดเป็นหน้าที่คนไทยสร้างไทยให้เป็นต้นแบบ CSR โลก อีกประเด็นที่ สำคัญคือ Challenge ประกอบด้วย 1) ไม่ยึดติดกับความสำเร็จเดิมๆ ทุกวันนี้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก 2) กล้าคิดนอกกรอบ ถ้ามีความรู้ แต่ไม่กล้าคิดและกล้าแสดงออก ก็จะไม่เกิด Innovation ต้องกล้าคิดนอกกรอบ แสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง ถ้าทุกคนมองเหมือนกันหมดจะไม่มีอะไรใหม่เกิดขึ้น เวลาหลายองค์กรรับคนเข้ามา เช่น ฝ่าย HR ก็ไม่ได้รับคนที่เรียนจบรัฐศาสตร์และนิติสาสตร์เข้ามาเท่านั้นเพราะความคิดจะไปในทิศทางเดียวกันเท่านั้น แต่จะมีวิศวกรรมศาสตร์ บัญชีและสาขาอื่นเข้ามาผสมผสาน ทำให้ทำให้ความคิดแตกต่างออกไป ปัญหาคือเป็นการยากสำหรับคนไทยที่จะคิดนอกกรอบเพราะถูกสอนให้ฟังและเชื่อมาตั้งแต่เด็ก แต่เด็กรุ่นใหม่จะเปลี่ยนไป นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร ถ้าเป็น Hierarchy หรือ Conservative คนคิดนอกกรอบคือแกะขาวไม่ใช่แกะดำ 3) กล้าตัดสินใจได้ทันเวลา อย่าใช้เวลานานมากในการคิดเพราะคู่แข่งจะนำไปทำก่อน

ในการศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำให้เรียนรู้การบริหารจัดการโดยใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการบริหารที่สร้างความรวดเร็วและเข้าถึงกลุ่มผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและโดนใจ นอกจากนี้การทำงานดูมีระบบและรูปแบบชัดเจน มีระบบการตรวจสอบที่สร้างความโปร่งใส การออกแบบห้องเรียนน่าสนใจ เพราะสามารถปรับเปลี่ยนได้หลากหลายรูปแบบ การจัดพื้นที่บริการให้กับนิสิตก็เอื้อต่อการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์และใช้พื้นที่ได้คุ้มค่า สมประโยชน์อย่างมาก นอกจากนี้การจัดการต้อนรับเน้นให้ผู้มาเยือนได้รับรู้ถึงแบรนด์ของมหาวิทยาลัยได้อย่างลงตัว

ส่วน SCG ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคล มีการสร้างอัตลักษณ์ของคนในบริษัท ตลอดจนการดูแลเอาใจใส่ เพื่อให้ได้ใจของคนทำงาน มีการทำงานที่เป็นระบบ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมองดูคู่แข่งเพื่อมาปรับพัฒนาองค์กรของตนเอง

การสร้างทุนทางคุณธรรม จริยธรรมในองค์กรและสังคม ควรเน้นที่บัณฑิตที่มหาวิทยาลัยจะผลิตออกสู่สังคมต้องผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้นำที่มีแรงบันดาลใจ เพราะโลกโหยหาผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ ดังนั้นอาจารย์ต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้สอนเป็นผู้สร้างแรงบันดาลใจด้วยเช่นกัน และบัณฑิตต้องมีความกล้าหาญทางจริยธรรม ซึ่งถือว่าเป็นยอดแห่งความกล้าหาญ เพราะในสังคมไทยเรามีทั้งคนดีและคนเก่ง แต่ขาดคนกล้าชี้ทางออก บอกทางถูก เพราะสังคมไทยเป็นสังคมอุปถัมภ์ กลัวเสียเพื่อนจึงไม่กล้า มีปัญหาที่ผู้นำทำผิดแต่ไม่มีใครทักท้วง จึงเกิดการทำผิดมากมายจนกลายเป็นสิ่งที่ยอมรับไปตามกัน ดังนั้นอาจารย์จึงต้องปลูกจิตสำนึกให้นิสิตมีจิตสำนึกละอายต่อการทำผิด

การศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ทำให้ได้เรียนรู้ระบบการบริหารจัดการโดยใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการเรียนการสอนที่ไม่ยึดติดกับรูปแบบและสถานที่ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสสร้างสรรค์นวัตกรรมและคิดนอกกรอบ การจัดสรรพื้นที่ในมหาวิทยาลัยเพื่อกิจกรรมของนักศึกษาอย่างแท้จริง มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ซึ่งมหาวิทยาลัยของรัฐควรจะนำมาเป็นแนวทางในการบริหารจัดการ

ส่วน SCG เป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลเป็นอย่างมาก และโดดเด่นในเรื่องของบริษัทธรรมาภิบาล และวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งปลูกฝังให้กับพนักงานตั้งแต่วันแรกๆของการทำงาน

ได้เรียนรู้การบริหารจัดการทีดีขององค์กร

การได้ออกไปศึกษาดูงานสถาบันการศึกษาอื่นทำให้รู้ได้ว่าที่อื่นเขาทำงานการศึกษาอย่างไร แม้ว่าจะรับรู้มาบ้างและสังคมไทยโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษาต่างให้การยอมรับมหาวิทยาลัยกรุงเทพมาเป็นเวลาพอสมควรแต่ก็ไม่เคยไปเยือนสักที เมื่อได้ฟังและเยี่ยมชมการบริหารการศึกษาทำให้่รู้ว่าการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและผู้เรียนได้ความรู้ที่จะนำไปใช้ในการทำงานเลีัยงชีพในอนาคตมันต้องมีอะไรมากกว่าที่จะมองเฉพาะหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนที่ต้องประสาน 10 ทิศเพื่อให้หลักสูตร วิชาหนึ่ง ๆ สามารถทำจัดการเรียนการสอนได้นั้น การประชุมการเตรียมการและให้ใส่ใจอย่างมากของผู้บริหารและบุคลากรของสถาบันการศึกษามีส่วนอย่างมากต่อความสำเร็จ การเป็นตัวอย่างในการทำงานและการใช้เครื่องมือสารสนเทศที่ในเชิงนวัตกรรมจะช่วยนำมาซึ่งความสำเร็จ ได้ ตัวผู้นำสถานศึกษาและผู้ตามต้องมีการพูดคุยและไว้วางใจ ต้องรู้จักเลือกคนทำงานและให้ทุกคนในการพิสูจน์ฝีมือกาารทำงาน ทุกคนที่เข้าเป็นบุคลากรต้องได้รับโอกาส เยี่ยมจริง ๆ กับผู้นำของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ SCG ที่ีทำงานด้านบริหารงานบุคคลได้เยี่ยมมาก ๆ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจในการนำกลับมาเขียนเป็นหนังสือ ภาวะผู้นำ เพื่อนำไปใช้ให้เป็นตัวอย่างสำหรับนิสิต เป็นแนวทางและเป็นกรณีศึกษาต่อไป

ครั้งที่ 7

สรุปประเด็นโดนใจและการนำไปปรับใช้ในการทำงาน

จากการเข้ารับการอบรม

"โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคตของมหาวิทยาลัยทักษิณ รุ่นที่ 1"

(Tsu Executives and Leader Development Program for The Future)

ช่วงที่ 7

ในการศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์ มีสิ่งแวดล้อมเตรียมพร้อมพัฒนาความคิด เปิดรับทุกจินตนาการ มีอุปกรณ์การเรียนทันสมัยสุดในเอเชียแปซิฟิก ให้ผู้เรียนได้เตรียมพร้อมเป็นมืออาชีพ ค้นพบโลกที่แตกต่าง ความฝันและความสำเร็จกลายเป็นโลกเดียวกัน มหาวิทยาลัยกรุงเทพจึงเป็นมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์

และได้ทราบเคล็บลับประสบการณืจากบริษัท SCG ที่จะทำให้องค์กรสามารถเติบโตได้ยืนยงซึ่งงมีอยู่ 3ปัจจัยสำคัญ 1.บรรษัทภิบาล (Corporate Governance) 2.จรรยาบรรณในการ 3.มีอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ

ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่สำคัญคือการจัดระบบการบริหารจัดการ สิ่งสำคัญคือต้องสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน ไปในทิศทางเดียวกัน อีกเรื่อง คือการบริหารงบประมาณ และการบริการทรัพยากรบุคคล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท