วัยทำงานก็อยากฟันดีนะ


ได้รับการชักชวนให้เริ่มงานกลุ่มเป้าหมายใหม่ กลุ่มวัยทำงานนอกสถานประกอบการ นอกองค์กรหรือหน่วยงาน .... ส่วนใหญ่บ้านเราก็ภาคเกษตรกรรม

อ่ะ .... ก็เข้าทางนะ เพราะเป็นกลุ่มที่ได้เริ่มทำงานด้วยแล้วบ้าง เช่น อสม. (อาสาสมัครสาธารณสุข) กลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ผู้ปกครองเด็ก แม่บ้าน คุณครู ผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง แกนนำชุมชน เป็นต้น

แต่ยังไม่ได้วิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพช่องปาก อธิบายได้เป็นเรื่องราวชัดเจน

ที่คิดอยากทำกลุ่มนี้ด้วย เพราะต้องการเตรียมเป็นผู้สูงอายุที่คุณภาพชีวิตดียืนยาวในวันหน้า .... เคี้ยวอะไร กินอะไรก็อร่อย

ชราอย่างมีความสุข ชราอย่างมีคุณภาพ (สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ใกล้ ๆ นี้)

แม้รู้มีชื่อระดับพี่มาลี ลำลูกกา ในทีม project manager .... เกาะติดไม่ปล่อยแน่นอน ๕ ๕ ๕ ๕

^_,^

(อาหารว่างไม่เกิน ๒๐๐ kcal.)

ผู้ติดต่อน้องนุ้ก พูดถึงแนวทางที่จะใช้ในการทำงาน Primary care, DHS (District Health System) หรือระบบสุขภาพอำเภอ ยิ่งน่าสนใจ

กำลังอยู่ในกระแสของชาวกระทรวงสาธารณสุข

ตารางประชุม มีชื่อพี่จิ๋ม แพร่ คุณหมอกล้วย แม่จัน เชียงราย อ่ะ .... มีสายพัฒนาปัญญาด้านใน มิติ spiritual มาด้วย … น่าติดตาม

เห็นชื่อ พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร อ่านเรื่องราวบริการสุขภาพปฐมภูมิมานาน .... ใจอยากเข้าร่วมทันที

ทำได้มากน้อยแค่ไหน .... อีกเรื่อง อิ อิ

^_,^

(พี่ปิ ปิยะดา ประเสริฐสม มากสุดและน้องอ้อม โพนทอง ร้อยเอ็ด น้อยสุด ... อายุค่ะอายุ หาใช่ความสูง)

(น้องอ้อม แป้ง สายฟ้า None โซ่ Nook เหน่ง จากน้อยไปหามาก)

(์Nook เหน่ง กิ่ง โอ๋ บุษ ฝน โอ กล้วย)

(โอ กล้วย อู่ ตี ....ใครหาย.... จิ๋ม)

(จิ๋ม พี่อ้อย พี่ต่วง พี่มาลี พี่จิ๋ม พี่ปิ)

คุณหมอโซ่ สำนักทันตสาธารณสุข โทรศัพท์มาบอก นั่งพื้นนะครับ เตรียมกางเกงสะดวกกว่า .... นี่ก็ชอบอีก

ห้องประชุมวันแรก ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๙ นั่งเบาะบนผ้าขาว มีผ้าแพรให้ห่มตัวได้หากเย็น

โชคดีมาเร็ว นั่งพิงฝาได้ทั้งวัน สันหลังยาวไปนิด อิ อิ

น้องนุ้ก (จตุรพักตร์พิมาน ร้อยเอ็ด) น้องฝน (นาบอน พัทลุง) เริ่มกระบวนการให้พวกเราทำความรู้จักกันเพิ่ม

เพื่อนใหม่เอี่ยมราวครึ่งหนึ่ง ค่อย ๆ รู้จักกันไป .... ยังไม่รักกันมาก ๕ ๕ ๕ ๕

แต่พี่ ๆ เก๋ากึ๊กทีมแกนกลาง ความสัมพันธ์แน่นแฟ้นหลายชั้น ตั้งแต่เรียนและทำงานร่วมกันถูกจริตมาเรื่อย ๆ

พี่จิ๋มจัดการให้น้องเล็ก ๆ ไปอยู่กลางวงอย่างอบอุ่น ค่อย ๆ ขดเป็นวงออกมาเหมือนก้นหอย ตามอายุตัวที่เพิ่มขึ้น

คาดว่าจะโอบอุ้มเกาะเกี่ยวไปด้วยกันได้จนครบ ๓ ปี ... หอยใหญ่พอควร

^_,^


พี่ปิ เจ้าแม่เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เล่าการเขียนขอทุนครั้งนี้ได้ แต่เวลาไม่พอจัดการ จึงต้องมีทีมมาบริหารจัดการทำต่อ

พี่จิ๋ม สสจ.แพร่ เล่าต่อถึงที่มาของประชุม คล้าย ๆ ย่อหน้าบนสุดที่เกริ่นนั่นแหละค่ะ และให้พวกเราช่วยกันร่าง Proposal เพิ่มเติมวันนี้

เพราะจะใช้แนวคิดสำคัญหนึ่งในการทำงานต่อไป คือ การมีส่วนร่วม ดังนั้น พวกเราก็ต้องมีส่วนร่วมคิดด้วยตั้งแต่บัดนี้

มีวัตถุประสงค์ ๓ ข้อ เพื่อให้ได้

  • ข้อเสนอเชิงนโยบายการดูแลสุขภาพช่องปากวัยทำงาน (กลุ่มนอกสถานประกอบการ ไม่ได้สังกัดองค์กรหรือหน่วยงาน)
  • พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพช่องปากวัยทำงาน
  • เพิ่มการเข้าถึงบริการสุขภาพช่องปากวัยทำงาน

ฟังแนวคิดและหลักการบางอย่าง กิจกรรมในโครงการ ๓ ปี มาพอควร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ

  • ได้รูปแบบการดูแลสุขภาพประชาชนวัยทำงานที่ชุมชนมีส่วนร่วมออกแบบ โดยเน้นเรื่องการดูแลตนเอง
  • ทันตบุคลากรปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานจาก disease oriented เป็น health oriented

จาก doctor centered >>> institutional centered >>> patient centered >>> Human centered

  • ทันตบุคลากรมีความสุขจากการทำงาน

และแน่นอนสมาชิกทีม คนที่ทำงานด้วยกัน ภาคี เครือข่าย ก็จะมีความสุขไปด้วยกัน

^_,^

(พี่สุน ห้วยพลู นครปฐม)

(น้องแอน ตาพระยา จะย้ายมาอุดรแล้ว)

บ่ายทำความรู้จักตัวตนกันต่อ เล่าว่าทำอะไรกันมาบ้าง จะได้หายสงสัย .... ทำไมถูกชวนมาทำงานนี้

อยากฟังใครต่อ โยนไมค์ต่อกันไป

โห .... มี Lion girl รับรางวัลไลอ้อนกันมาแล้ว ๔ คน พี่จิ๋ม พี่สุน น้องบุษ น้องแอน

หลายคนบอกไม่รู้จะเล่าอะไร แต่พอฟังแล้ว .... ทึ่งได้ทุกคน

ถ้ามีมรรคผลอันใดจาก ๓ ปี นี้ พี่ปิสรุปคุณสมบัติของคนทำงานในห้องนี้ คือ พวกกัดไม่ปล่อย

โดยหมอกล้วยช่วยจับประเด็นที่น่าสนใจ ใส่หลักการเข้าไปจากสิ่งที่ทำ และเชื่อมต่อระหว่างคนเล่า

^_,^

ได้หลักการจากช่วงพี่จิ๋ม ได้เห็น “คน” พวกเรากันเอง จากช่วงหมอกล้วย

บ่ายสามกว่า คุณหมอช้าง พญ.สุพัตรา ศรีวณิชชากร ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค มาช่วยตั้งคำถาม พวกเราสงสัยใคร่รู้อะไร

เติมหลักการและทิศทางการพัฒนาบริการสาธารณสุข ระบบบริการปฐมภูมิ DHS

อาจารย์บรรยายกันเองมาก อนุญาตให้ยกมือถามได้เป็นระยะ ๆ

สุขภาพในมุมมองแต่ละคนต่างกัน

องค์ประกอบสุขภาพ ด้านกาย ใจ ภาระกิจดำรงชีพ

กาย ใจ จิต สังคม spiritual รวมแล้วใกล้เคียงกับ .... ความสุข

เป็นการจัดการเรื่องราวนั้น ๆ ให้อยู่ในภาวะสมดุล

ภาระ ... กิจดำรงชีพ ทำให้มีความสุข สุขภาพ

ส่วน DHS คงไม่แค่หมายว่ามีนายอำเภอมานั่งหัวโต๊ะแล้วจะใช่ ต้องเข้าใจเรื่องราวความคิดเชิงระบบ (system thinking)

อาจารย์ค่อย ๆ ฉายอีกหลายภาพให้เห็นความเกี่ยวข้องเบื้องต้น เพื่อทำความเข้าใจระบบสุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุขลดทอนเอา DHS มาใช้ อย่างน้อย U - C - A - R - E คงรู้จักกันมาบ้างแล้ว

(holistic framework)

^_,^

สุขภาพฟัน แล้วแต่จะวิเคราะห์ เอาขนาดไหน

ความหมายจะมีผลต่อความลึกและความหลากหลายของการจัดการสุขภาพ

พึ่งตนเองได้ทางสุขภาพช่องปาก จะจัดการโดยใคร

ระหว่างทาง มีกระบวนการทำงานจากรากฐานของชุมชน

ชุมชนเองมีวิธีจัดการอย่างไร จึงจะเกิดผลกระทบที่ดี

บางครั้งผลลัพธ์ไม่ถึง ไม่ดี แต่อาจได้คุณค่าอื่นเป็นผลเพิ่มเติม

^_,^

เอาละโดยส่วนตัว ถึงตอนลงมือทำนั่นแหละ "พึ่งตนเอง" หรือ self care ที่อาจารย์บอกว่า วางพอดี ๆ ที่ชาวบ้านจะเข้าใจ ... จะออกมาหน้าตาอย่างไร

เช่นกัน .... ทำแค่ไหนจึงจะพอบอกได้ว่า นี่ละใช้แนวคิดระบบสุขภาพอำเภอมาออกแบบงานสร้างเสริมสุขภาพช่องปากวัยทำงาน ร่วมกันกับชาวบ้านแล้ว

บันทึกนี้แค่ออเดิร์ฟเรียกน้ำย่อย

พรุ่งนี้เช้าทำสวนแล้วจะมาเล่าต่อนะคะ

ราตรีสวัสดิ์ค่ะ

^_,^

(ขออภัยทีมที่จะส่งรายงานผู้ให้ทุน วิชาการมีน้อย เพราะหากอาจารย์เล่าเข้าใจแล้วก็จะไม่ได้จด

และขอเตือนว่าบันทึกนี้เขียนตามความรู้สึก เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางเรียนรู้คนเดียว

ไม่ได้มองการเรียนรู้ของกลุ่ม หรือผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งห้อง .... โปรดใช้วิจารณญาณ ๕ ๕ ๕ ๕)

^_,^



ความเห็น (12)

ชื่นชมค่ะคุณหมอ อ่านแล้วได้พลังในการทำงาน มีความสุขค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

กลุ่มนี้ใจเกินร้อยค่ะพี่อุ้ม แรงบันดาลใจ รวมพลังล้นเหลือ มีความสุขค่ะ

ดีจังน้องอ้อ เป็นบันทึกการประชุมที่มีชีวิตชีวาสุดๆ ผู้ให้ทุนจะรู้สึกอย่างไรไม่รู้แต่ในฐานะคนชวนคุยชวนทำเหมือนได้ปุ๋ยได้น้ำที่แสนวิเศษมาหล่อเลี้ยงหัวใจคนทำงานจนพองโตเลยจ๊

ขอบคุณมาเลยเล่าได้เห็นภาพเก็บทุกรายละเอียด

อ่านแล้วสนุกและมีความสุขมากค่ะ เป็นแรงบันดาลใจที่ทรงพลังมาก

ขอบคุณน้องอ้อมากๆค่ะ สำหรับบันทึกความสุขฉบับนี้ ที่มอบให้กับผู้อ่านทุกๆคน

ขอบคุณแลดีใจที่ได้มาร่วมเรียนรู้กับทีมนี้

เห็นแล้วอยากไปทำเรื่อง DHS ด้วยเลยนะครับ

ขอบคุณครับ

ทีมผู้ก่อการดี ชวนคนมาถูก ช่วยกันสร้างบรรยากาศดีค่ะพี่จิ๋ม ขอบคุณค่ะ ^_,^

คัดแล้วว่าภาพดูดี หน้าตาดีทุกคนค่ะพี่ปิ ๕ ๕ ๕ ๕

เพราะบรรยากาศห้องประชุมเต็มไปด้วยความสุขค่ะ แม้แต่น้องจะออก ๒๑.๔๕ น. ก็ตาม

แต่รู้ว่าพี่ ๆ ห้าทุ่มกว่า ๕ ๕ ๕ ๕

ทีมแกนตรงกลางมีสิ่งให้น้อง ๆ เรียนรู้เยอะ น่าค้นหาด้วยค่ะพี่ต่วง

คราวนี้เป็นผู้เข้าประชุมค่ะ อ.ขจิต มีเวลาเปิดหัว เปิดใจ ร่างกายพักผ่อนพร้อมเต็มที่ ... สุขมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท