แนวคิดการความเป็นคนดีเชิงพุทธ


ตามหลักการพัฒนามนุษย์เชิงพุทธ ความเป็นคนดีย่อมเกิดได้จากปัจจัย 2 ประการ คือ ปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในปัจจัยภายนอก(ปรโตโฆสะหรือกัลยาณมิตร) คือ สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะบุคคลแวดล้อมที่ได้แก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ เพื่อนพ้อง รวมทั้งบุคคลในสังคมที่เกี่ยวข้องทั้งหลายส่วนปัจจัยภายใน(โยนิโสมนสิการ) คือ ความรู้สึกนึกคิดที่ดี มีเหตุผล หรือทักษะทางปัญญาของบุคคลที่ส่งผลสู่การกระทำหากบุคคลมีสภาพแวดล้อมชีวิตที่ดี มีครอบครัวที่ดี มีสถาบันการศึกษาที่ดี มีสังคมที่ดี ประกอบกับตนเองมีความรู้สึกนึกคิดที่ดี มีกระบวนการคิดที่มีเหตุผล ใช้สติปัญญาในการตัดสินใจดำเนินชีวิตบุคคลนั้นก็ย่อมอยู่บนครรลองของ “ความเป็นคนดี”

ทั้งนี้ ตามหลักการศึกษาและพัฒนาเชิงพุทธ (ไตรสิกขา) ตัวชี้วัดความเป็นคนดี มีองค์ประกอบ 3 ด้านได้แก่

1. มีพฤติกรรมดี หรือมีวินัยในการอยู่ร่วมในสังคม (ศีล)คือ มีการแสดงออกทางกายและวาจาที่เรียบร้อย อยู่ในระเบียบปฏิบัติที่ดีงาม ไม่เบียดเบียนทำร้ายผู้อื่น งดเว้นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตนเองและส่วนรวมข้อนี้เป็นคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของความเป็นคนดี

2. มีจิตใจดี (สมาธิ) คือ มีจิตใจที่สงบ เยือกเย็น มีคุณธรรมประจำใจ เช่น สัจจะ(ซื่อสัตย์) ทมะ(ข่มใจได้) ขันติ (อดทน)จาคะ (เสียสละ)เมตตา (หวังดี) และกตัญญูรู้คุณ เป็นต้น รวมถึงจิตสำนึกที่ดีทั้งหลาย เช่น สำนึกในหน้าที่สำนึกสาธารณะ เป็นต้น

3. มีปัญญาดี (ปัญญา) คือ มีความคิดเห็นประกอบด้วยเหตุผล เฉลียวฉลาดในการแก้ปัญหาหรือตัดสินใจเลือกดำเนินชีวิตในทางที่ดีสามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่าสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเข้าใจสัจธรรมของชีวิต(ความมีปัญญา คือ คุณสมบัติสูงสุดของมนุษย์ที่ได้รับการพัฒนาแล้ว)

หากบุคคลมีปัจจัยภายนอกและภายในที่ดี สามารถได้รับการพัฒนาและพัฒนาตนเองให้มีคุณสมบัติความเป็นคนดี 3 ประการ คือ ระเบียบวินัยหรือพฤติกรรมดีจิตใจดีและปัญญาดีย่อมได้ชื่อว่าเป็น “คนดี”

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา "คนดีเชิงพุทธ "

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

  1. มีวินัย
  2. มีความรับผิดชอบ
  3. มีสัมมาคารวะ
  4. มีความเป็นพลเมือง
  5. มีจิตอาสา
  6. มีความซื่อสัตย์
  7. มีความกตัญญู
  8. มีทักษะทางปัญญา
  9. มีชีวิตพอเพียง

หมายเลขบันทึก: 604364เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2016 23:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2016 23:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท